กรุงเทพฯ 29 ก.ค. -นายเขมรัตน์ ศาสตร์ปรีชา รักษาการกรรมการผู้จัดการใหญ่
บริษัท พีอีเอ เอ็นคอม อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เปิดเผยความคืบหน้าโครงการโรงไฟฟ้าประชารัฐสำหรับพื้นที่
3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (จ.ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส) กำลังการผลิตรวม 12 เมกะวัตต์
อยู่ระหว่างการจัดทำข้อกำหนดโครงการ(TOR) เพื่อดำเนินการก่อสร้าง ซึ่งจะต้องหารือในส่วนของผู้ถือหุ้น
ประกอบด้วย บริษัท ประชารัฐชีวมวล นราธิวาส จำกัด (จังหวัดนราธิวาส), บริษัท ประชารัฐชีวมวล แม่ลาน จำกัด
(จังหวัดปัตตานี) และบริษัท ประชารัฐชีวมวล บันนังสตา จำกัด (จังหวัดยะลา)
ซึ่งตามมติ ครม.บริษัทฯจะลงทุนในสัดส่วน 40% ของส่วนทุน ,ภาคเอกชน ในสัดส่วน 40% และวิสาหกิจชุมชน 20% ระยะเวลาโครงการ
20 ปี ใช้เงินลงทุนรวมประมาณ1,550 ล้านบาท
แบ่งเป็นลงทุนในโรงไฟฟ้าที่ยะลาและปัตตานี แห่งละประมาณ 300 ล้านบาท รวมกว่า 600
ล้านบาท และที่นราธิวาสกว่า 700 ล้านบาท
อย่างไรก็ตามมติคณะรัฐมนตรี(ครม.)เมื่อวันที่ 16 พ.ค.2561
กำหนดให้ผลิตไฟฟ้าขายเข้าระบบ(COD) ในปี 2563
ส่วนความร่วมมือระหว่างพีอีเอ
เอ็นคอม กับบริษัท บีซีพีจี จำกัด (มหาชน) หรือ BCPG ที่จัดตั้งบริษัทร่วมทุน บริษัท Thai Digital Energy Development
(TDED) เพื่อพัฒนาธุรกิจพลังงานสะอาดโดยใช้นวัตกรรมช่วยในการบริหารจัดการ
ล่าสุดเตรียมเสนอคณะกรรมการ พีอีเอ เอ็นคอม ในเดือน ส.ค.นี้
เพื่ออนุมัติวงเงินลงทุนใน TDED ซึ่งปัจจุบันพีอีเอ
เอ็นคอมถือหุ้นสัดส่วน 25% และ BCPG ถือหุ้นสัดส่วน
75%
โดยบริษัท
TDED จะลงทุนผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน
เช่นโซลาร์รูฟท็อปและนำเทคโนโลยีบล็อกเชน (Blockchain) มาใช้ในการซื้อขายไฟฟ้าระหว่างผู้บริโภค มีเป้าหมายลงทุนช่วง 5 ปี (ปี 62-66)
จะมีกำลังผลิตไฟฟ้า 100 เมกะวัตต์ เป้าหมายรายได้รวมอยู่ที่ 1,000 ล้านบาท
สำหรับโครงการลงทุนภายใน
TDED ทาง BCPG ได้นำโครงการอสังหาฯ T77 ของบริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน)
หรือ SIRI และโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคากับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่กำลังการผลิต
12 เมกะวัตต์ เข้ามาอยู่ภายใต้บริษัทร่วมทุนดังกล่าว ปัจจุบันโครงการ T77 เริ่มดำเนินการแล้ว
ขณะที่โครงการของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ยังอยู่ในช่วงออกแบบก่อสร้าง
คาดว่าโครงการดังกล่าวจะใช้เงินลงทุนประมาณ 300 ล้านบาท แล้วเสร็จปลายปี 2562 นี้
และเริ่มรับรู้รายได้ปี 2563
“โครงการร่วมทุนระหว่างพีอีเอ เอ็นคอม
และ BCPG เตรียมเสนอบอร์ด
เพื่อขออนุมัติเงินลงทุนที่จะใส่เข้าไปใน TDED ปีแรก ตามสัดส่วนถือหุ้นที่ 25%
โดยเงินลงทุนจะเพิ่มเข้าไปอีกในปีถัดไป ส่วนโครงการลงทุนใหม่ๆ ทาง BCPG จะเป็นผู้ดำเนินการ”นายเขมรัตน์ กล่าว
นายเขมรัตน์
กล่าวด้วยว่า สำหรับการดำเนินงานของพีอีเอ เอ็นคอม
ปัจจุบันมีสัญญารูปแบบของการจำหน่ายไฟฟ้าตรงให้กับผู้ประกอบการ (Private PPA) ลูกค้ากลุ่มโรงงานอุตสาหกรรมแล้ว 20
ราย คิดเป็นกำลังการผลิตรวม 20 เมกะวัตต์ โดยตั้งเป้าเพิ่มเป็น 50
เมกะวัตต์ภายในสิ้นปีนี้ โดยในปี 62 บริษัทเตรียมเงินลงทุนไว้ที่ 3,000 ล้านบาท
นอกจากนี้ยังตั้งเป้ารายได้ปีนี้ไว้ที่ 300 ล้านบาท เทียบกับปีก่อนอยู่ที่ 230
ล้านบาท
ขณะที่ความคืบหน้าโครงการโรงไฟฟ้าประชารัฐสำหรับพื้นที่
3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (จ.ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส) กำลังการผลิตรวม 12 เมกะวัตต์
ขณะนี้อยู่ระหว่างการจัดทำข้อกำหนดโครงการ(TOR) เพื่อดำเนินการก่อสร้าง ซึ่งจะต้องหารือในส่วนของผู้ถือหุ้น
ประกอบด้วย บริษัท ประชารัฐชีวมวล นราธิวาส จำกัด (จังหวัดนราธิวาส), บริษัท ประชารัฐชีวมวล แม่ลาน จำกัด
(จังหวัดปัตตานี) และบริษัท ประชารัฐชีวมวล บันนังสตา จำกัด (จังหวัดยะลา)
ซึ่งตามมติ ครม.บริษัทฯจะลงทุนในสัดส่วน 40% ของส่วนทุน ,ภาคเอกชน ในสัดส่วน 40% และวิสาหกิจชุมชน 20% ระยะเวลาโครงการ
20 ปี ใช้เงินลงทุนรวมประมาณ1,550 ล้านบาท
แบ่งเป็นลงทุนในโรงไฟฟ้าที่ยะลาและปัตตานี แห่งละประมาณ 300 ล้านบาท รวมกว่า 600
ล้านบาท และที่นราธิวาสกว่า 700 ล้านบาท
อย่างไรก็ตามมติคณะรัฐมนตรี(ครม.)เมื่อวันที่ 16 พ.ค.2561
กำหนดให้ผลิตไฟฟ้าขายเข้าระบบ(COD) ในปี
2563.-สำนักข่าวไทย