“ตาพระยา” ขอประกาศภัยแล้ง นาไร่นับหมื่นขาดน้ำ

สระแก้ว 27 ก.ค.- นายอำเภอตาพระยาหวั่นอีก 1 สัปดาห์ถ้าไม่มีฝน พื้นที่การเกษตรอาจเสียหายทั้งอำเภอ ชี้เป็นพื้นที่เงาฝน ล่าสุดกระทบแล้วเกือบครึ่ง หรือ 50,000 ไร่ อ่างเก็บน้ำหลักน้ำก็ลดต่ำ เร่งทำหนังสือถึงจังหวัดสระแก้วขอประกาศภัยแล้ง ขณะที่หน่วยฝนหลวงยังเดินหน้าทำฝนเทียมมาตั้งแต่ 1 มิ.ย.


นายอารยันต์ ท่าใหญ่ นายอำเภอตาพระยา จ.สระแก้ว เปิดเผยว่า พื้นที่ตาพระยาได้รับผลกระทบจากฝนทิ้งช่วงเช่นเดียวกัน อ่างเก็บน้ำห้วยยางและอ่างห้วยตะเคียนมีปริมาณน้ำลดลง เหลือเพียง 7-8%   ขณะนี้ได้ทำหนังสือรายงานจังหวัดและขอเสนอประกาศให้อำเภอตาพระยาเป็นพื้นที่ประสบปัญหาภัยแล้ง เพื่อช่วยเหลือเกษตรกร เบื้องต้นทราบว่ามีพื้นที่เริ่มเสียหายแล้วประมาณ 50,000-60,000 ไร่ หรือเกือบครึ่งของพื้นที่เพาะปลูกรวมทั้งหมด  หาก อ.ตาพระยา ขาดฝนอีก 15 วัน พื้นที่การเกษตรอาจเสียหายทั้งอำเภอ เนื่องจากปริมาณน้ำที่มีอยู่ในอ่างเก็บน้ำนั้นต้องรักษาไว้เพื่อการอุปโภคบริโภค ซึ่งขณะนี้มี 1 หมู่บ้าน ประสบปัญหาน้ำไม่เพียงพอ และได้นำรถน้ำไปช่วยเติมระบบประปาหมู่บ้าน อย่างไรก็ดี ในสัปดาห์หน้าทางอำเภอจะเรียกประชุมคณะกรรมการช่วยเหลือผู้ประสบภัย เพื่อวางแนวทางการช่วยเหลือให้ครอบคลุมที่สุด

นายอารยันต์ กล่าวว่า จากการติดตามข้อมูลปริมาณน้ำของโครงการชลประทานสระแก้ว พบว่าฤดูฝนปีนี้ ทุกพื้นที่ของจังหวัดสระแก้วมีฝนตกกระจาย ยกเว้นอำเภอตาพระยา ซึ่งเป็นอำเภอทางตอนเหนือของจังหวัดสระแก้ว อยู่ทางใต้ติดกับ อ.ละหานทราย จ.บุรีรัมย์ เป็นพื้นที่เงาฝน มีภูเขากั้น ทำให้ฝนไม่ตกเหมือนที่อื่น ส่งผลให้พื้นที่ทางการเกษตรทำนาข้าวได้รับผลกระทบ ข้าวยืนต้นตาย ซึ่งอ่างเก็บน้ำหลักทั้งสองแห่งถือว่าปีนี้มีน้ำน้อยกว่าปีที่ผ่านมาในช่วงเดียวกัน  โดยอ่างเก็บน้ำห้วยยางมีน้ำเพียง 4.5 ล้านลูกบาศก์เมตร (ปีที่แล้วกว่า 10 ล้าน ลบ.ม.) อ่างเก็บน้ำห้วยตะเคียนมีน้ำเพียง 0.915 ล้าน ลบ.ม. (ปีที่แล้ว 2.196 ล้าน ลบ.ม.)


ด้านนายสุรพันธ์ สุวรรณไพบูลย์ หัวหน้าหน่วยปฏิบัติการฝนหลวงจังหวัดสระแก้ว กล่าวว่า หน่วยฝนหลวงฯ เร่งทำฝนเทียมตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายนเป็นต้นมา เพื่อเติมน้ำให้อ่างเก็บน้ำห้วยยางและอ่างเก็บน้ำห้วยตะเคียนในการช่วยพื้นที่เกษตรของอำเภอตาพระยา จำนวน 160,000 ไร่เป็นหลัก จากการบินทำฝนเทียมสามารถช่วยพื้นที่ปลูกข้าวได้ระดับหนึ่ง และเริ่มมีฝนตกลงมาบ้าง แต่น้ำยังน้อยอยู่ในปัจจุบัน  


นางพรทวี หอมชวน อายุ 59 ปี ชาวบ้านบ้านกุดเตย หมู่ 11 ต.ตาพระยา กล่าวว่า ปลูกข้าว  6 ไร่ ปกตินาข้าวมีน้ำแช่อยู่ แต่ตอนนี้ดินแห้ง ถ้าฝนไม่มาภายในต้นเดือนหน้าเสียหายแน่ วอนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งช่วยเหลือ

ส่วนนายเหลือม ทุมทอง อายุ 67 ปี  ชาวบ้านร่ม หมู่ 17 ต.ตาพระยา  ระบุว่า อ.ตาพระยา เป็นพื้นที่แห้งแล้งซ้ำซาก ฝนที่ตกในพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นฝนจากมรสุมต่าง ๆ เข้ามาทางสระแก้วและบุรีรัมย์ จึงจะตกพื้นที่ตาพระยา หากมีการทำฝนเทียมส่วนมากลมจะพัดเมฆฝนไปตกที่อื่น ถ้าฝนไม่ตกมาภายในเดือนนี้นาข้าว 22 ไร่ คงยืนต้นตาย หากเป็นไปได้อยากให้สร้างแหล่งน้ำไว้ในพื้นที่หรือห้วยสะโตน เพื่อจะได้มีน้ำจากโครงการชลประทานมาทำนา โดยไม่ต้องรอฟ้ารอฝน.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ผ่าไชน่า เรลเวย์ คว้า 3 โครงการรัฐในภูเก็ต

เหตุการณ์ตึก สตง.ถล่ม กลายเป็นปฐมบทในการปูพรมตรวจสอบบริษัท ไชน่า เรลเวย์ หลังพบเป็นผู้ชนะการประมูลโครงการก่อสร้างตึก สตง. และโครงการรัฐหลายแห่งทั่วประเทศ ล่าสุดที่ จ.ภูเก็ต ตรวจพบ 3 โครงการ และหนึ่งในนั้นกำลังมีปัญหาก่อสร้างที่ไม่ได้มาตรฐาน

มหาสงครามโลก

นักวิชาการชี้ “มหาสงครามโลกครั้งที่ 3” เกิดแน่ถ้าโลกยังตึงเครียด

นักวิชาการด้านความมั่นคงและการต่างประเทศระดับแนวหน้าของไทย มีความเห็นตรงกันว่า หากผู้นำชาติมหาอำนาจไม่เร่งลดระดับความตึงเครียดสถานการณ์โลก

กู้ภัยนานาชาติ เครือข่าย USAR ถอนกำลังแล้ว

กู้ภัยนานาชาติ เครือข่าย USAR ถอนกำลังแล้ว หลังอยู่ปฏิบัติภารกิจค้นหา-กู้ชีพ สนับสนุนกู้ภัยไทย เหตุตึก สตง.ถล่ม กว่า 1 สัปดาห์

ธรรมชาติใต้ดินเปลี่ยนไป หลังแผ่นดินไหว 1 สัปดาห์

แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ส่งแรงสั่นสะเทือนในหลายพื้นที่ของภาคเหนือ แม้บนพื้นผิวดินจะไม่ได้สร้างความเสียหายมากนัก แต่พบความเปลี่ยนแปลงสภาพใต้ดินจนเกิดปรากฏการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ทั้งหลุมยุบขนาดใหญ่ น้ำพุร้อนที่เคยพุ่งจากใต้ดินหายไป แต่น้ำตกที่แห้งในหน้าแล้งกลับมีน้ำไหลออกมา ซึ่งนักธรณีวิทยายืนยันเป็นผลพวงจากแผ่นดินไหวครั้งนี้

ข่าวแนะนำ

“ไฮโซกำมะลอ” กระโดดชั้น 3 สน.โคกคราม

“ไฮโซเก๊” โลก 2 ใบ เครียดปีนตึก หลังถูก “คะน้า” ดาราสาว ออกมาแฉกลางรายการดัง จนตำรวจต้องเข้าเกลี้ยกล่อมพาไปโรงพัก แต่ยังวิ่งหนีการควบคุม กระโดดลงมาจากชั้น 3 สน.โครกคราม บาดเจ็บ

วันที่ 11 ปฏิบัติการกู้ซากตึก สตง. ถล่ม

วันที่ 11 ของปฏิบัติการกู้ซากตึก สตง. พังถล่ม เจ้าหน้าที่เดินหน้าใช้เครื่องจักรหนักเข้า เคลียร์ซากต่อเนื่อง โดยเฉพาะโซนบี และซี ที่คาดว่าเป็นจุดที่มีผู้ติดค้างอยู่จำนวนมาก

ชุดค้นหาลงโพรงโซน B, C ลึก 5-6 เมตร ได้กลิ่นแรง ไม่พบผู้สูญหาย

“กู้ภัย” เผยเจาะโพรงพื้นที่โซน B และ C ได้แล้ว พร้อมส่งชุดค้นหาลงโพรงไปตรวจสอบลึก 5-6 เมตร ยังไม่พบผู้สูญหายเพิ่ม แต่ได้กลิ่นแรง เร่งเดินหน้าเครื่องจักรหนักเคลียร์ซากต่อเนื่อง ยันจะช่วยเหลือจนกว่านำร่างสุดท้ายออกมาครบ