ทปอ.เสนอรัฐ หนุนนวัตกรรมด้านเกษตร ลดการเผาป่า

ทปอ.5 เม.ย.-ทปอ.เสนอรัฐ สนับสนุนนวัตกรรมด้านการเกษตรเพื่อช่วยชาวบ้านลดการเผาป่า ลดปัญหาฝุ่นพิษ พร้อมให้หาพื้นที่เก็บน้ำเพิ่ม หลังสำรวจพบไม่เพียงพอ พร้อมเปิดบัญชีศูนย์กลางรับบริจาคเงินซื้อหน้ากากอนามัยช่วยเหลือพี่น้องชาวเหนือ


 

นายสุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ ประธานที่ประชุมอธิการบดีเเห่งประเทศไทย (ประธาน ทปอ.)เป็นประธานเเถลงข่าวมาตรการการแก้ปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ในพื้นที่ภาคเหนือของสถาบันอุดมศึกษา ว่า ทปอ.พร้อมด้วยที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏ (ทปอ.มรภ.) ที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชมงคล (ทปอ.มทร.)เเละสมาคมสถาบันอุดม ศึกษาเอกชน เห็นความสำคัญของปัญหาฝุ่น เพราะส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตของนักศึกษาเเละอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาหลายเเห่ง อาทิ   ม.เชียงใหม่ ม.เชียงราย ม.เเม่ฟ้าหลวง ม.พะเยา ม.เเม่โจ้ มรภ.เชียงใหม่ มรภ.เชียงรายเเละมรภ.ลำปาง มทร.ล้านนา เป็นต้น 


ทั้งนี้ จึงมีมาตรการในการช่วยเหลือและบรรเทาภาวะวิกฤตินี้เป็นการเร่งด่วน นอกจากที่เเต่ละมหาวิทยาลัยได้ดำเนินการแก้ไขไปแล้ว ทั้งการหยุดเรียน ติดตั้งเครื่องกรองอากาศฯลฯ โดยได้เปิดบัญชี สมาคมที่ประชุมอธิการบดีเเห่งประเทศไทย ‘ทปอ.ร่วมใจต้านภัยฝุ่น’ เลขบัญชี 013-0-30079-9 ธนาคารกรุงไทย โดยมีเงินตั้งต้น 1 แสนบาท เป็นบัญชีส่วนกลาง เพื่อระดมเงินเป็นค่าใช้จ่ายจัดหาหน้ากากป้องกันฝุ่นพิษเป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าชั่วคราวในระยะสั้น 


ขณะที่ช่วงหลังเทศกาลสงกรานต์ ทปอ.จะลงพื้นที่ติดตามการเเก้ปัญหาเพื่อหามาตรการระยะกลางเเละระยะยาว ซึ่งเบื้องต้นจากการหารือ มีมติเสนอมาตรการให้รัฐบาลสนับสนุนงบประมาณให้มหาวิทยาลัยจัดทำนวัตกรรมด้านการเกษตรสำหรับการถางป่าเพื่อลดปัญหาการเผาป่า อย่าง มหาวิทยาลัยเเม่โจ้ ขณะนี้มีการพัฒนานวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเกษตรต่อเนื่อง ขณะเดียวกันเสนอให้เพิ่มพื้นที่เก็บน้ำในภาคเหนือ เพื่อใช้ดับไฟป่าเเละภัยเเล้ง ซึ่งจากการวิจัยของนักวิชาการด้านสิ่งเเวด ล้อม ของ ปทอ.ยังพบว่ามีไม่เพียงพอ

ด้านน.ส.ชยาพร วัฒนศิริ ตัวเเทนมหาวิทยาลัยเเม่ฟ้าหลวง กล่าวว่า สถานการณ์ที่เกิดขึ้นในภาคเหนือขณะนี้ถือเป็นภัยพิบัติทางอากาศ ซึ่งที่ผ่านมามหาวิทยาลัยช่วยเหลือตนเอง เเจกหน้ากากอนามัยให้นักศึกษา คณาจารย์รวมถึงชุมชนโดยรอบมหาวิทยาลัย เเละเปิดเป็นศูนย์กลางรับบริจาคของเพื่อลดปัญหาดังกล่าว และมีการประกาศหยุดเรียน งดทำกิจกรรมกลางแจ้ง เตรียมห้องเรียนที่เป็น clean room เเละมีพื้นที่ safety zone เพื่อป้องกันฝุ่นละอองขนาดเล็ก ซึ่งขณะนี้เริ่มพบปัญหานักศึกษาเรียนไม่ทัน เเละอาจกระทบกับการจบการศึกษาช้า จึงเปลี่ยนเป็นการปรับพื้นที่ให้ปลอดภัยกับนักเรียนทุกคน เเละเสียงสะท้อนจากนักศึกษายังบอกว่า เเม้หยุดเรียนก็ยังเจอสภาพอากาศที่ไม่ดีอยู่ดี จึงเปิดเรียนตามปกติ ขณะที่พบปัญหาเเผ่นกรองอากาศหรือ hepa fliter ขณะนี้ขาดตลาด จึงฝากผู้ที่เกี่ยวข้องเร่งผลิตหรือให้มีการจำหน่ายเพิ่มขึ้นในภาคเหนือ

ขณะที่มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ยังได้ทำจดหมายเปิดผนึกถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เพื่อขอให้รัฐบาลแก้ปัญหาหมอกควันในภาคเหนืออย่างเร่งด่วนและจริงใจ เมื่อวันที่ 31 มี.ค.ที่ผ่านมา โดยขอให้รัฐบาลดำเนินการดังนี้ 1.ให้ยกระดับความสำคัญของปัญหามลพิษฝุ่นละอองขนาดเล็กให้เป็นปัญหาของอาเซียนและขอให้บรรจุเป็นวาระสำคัญของการประชุมอาเซียนเพื่อหาข้อยุติในการแก้ปัญหาร่วมกัน อย่างเร่งด่วนและเป็นรูปธรรม พร้อมจัดตั้งเครือข่ายความร่วมมือในการป้องกันการเกิดไฟป่าและการเกิดฝุ่นละอองขนาดเล็กในระดับอาเซียน(Regional Network Smog Free)

2.เห็นสมควรจัดตั้งหน่วยประสานงานการแก้ไขปัญหามลพิษฝุ่นละอองขนาดเล็กอย่างถาวรเพื่อการแก้ไขอย่างฉับพลันและยั่งยืน

3.ให้ทุกจังหวัดที่ได้รับผลกระทบจัดตั้งเครือข่ายในระดับท้องถิ่น ประกอบด้วยผู้นำชุมชนและองค์กรทุกระดับ เพื่อเฝ้าติดตาม เฝ้าระวังสถานการณ์ อย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี โดยให้ภาครัฐจัดสรรงบประมาณเพื่อการดำเนินการ 

4.เมื่อเกิดสถานการณ์สถานการณ์มลพิษฝุ่นละอองขนาดเล็กเกินค่ามาตรฐานในประเทศไทย รัฐบาลควรพิจารณาประกาศให้เป็นพื้นที่ภัยพิบัติทางอากาศ พร้อมทั้งมีมาตรการแก้ไขอย่างฉับพลัน 

5.เมื่อเกิดสถานการณ์มลพิษฝุ่นละอองขนาดเล็กเกินค่ามาตรฐาน ให้รัฐบาลเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร เกี่ยวกับการดำเนินการของรัฐ ทั้งในด้านการแก้ปัญหา การป้องกัน การเยียวยา และให้การสนับสนุนการดำเนินการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างเต็มที่ 

6.เมื่อเกิดสถานการณ์มลพิษฝุ่นละอองขนาดเล็กเกินค่ามาตรฐานจนเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ให้เป็นนโยบายของสถานพยาบาลรัฐทุกแห่ง เปิดช่องทางพิเศษให้ผู้ได้รับผลกระทบเข้ารับบริการการตรวจ-รักษาฟรี /ทั้งนี้เพื่อให้การดำเนินการดังกล่าวบังเกิดผลในทางปฏิบัติ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงจึงได้จัดตั้งศูนย์การศึกษา วิจัยและปฏิบัติการเพื่อลดปัญหาการเกิดไฟป่าและหมอกควันในประเทศไทยและในภูมิภาค โดยทำหน้าที่เป็นศูนย์ศึกษา วิจัย และเป็นตัวกลางเชื่อมโยงทุกหน่วยงาน ทั้งในระดับประเทศและภูมิภาค

น.ส.ชยาพร กล่าวด้วยว่า มฟล.ขอขอบคุณนายกฯที่รับข้อเสนอต่างๆของมหาวิทยาลัย รวมทั้งผู้ว่าฯเชียงราย ก็รับที่จะดำเนินการตามข้อเสนอของ มฟล.ทันที นอกจากนี้เห็นว่าปัญหาหมอกควันซึ่งเกิดขึ้นทุกปีและรุนแรงขึ้น โดยคาดหวังว่าปีหน้า ปัญหานี้จะต้องลดลง โดยมฟล.ตั้งกองทุนเมืองไทยไร้หมอกควัน โดยมีทุนประเดิมจาก มฟล.2 แสนบาท เงินจากมูลนิธิสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี หรือสมเด็จย่า 2 แสนบาท โดยกองทุนนี้ มุ่งหวังที่จะช่วยเหลือแก้ปัญหาหมอกควันในประเทศไทยทุกภูมิภาค ซึ่งเราพบว่า ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคใต้ รวมทั้งภาคกลาง ก็ประสบปัญหาหมอกควันเช่นเดียวกัน .-สำนักข่าวไทย 

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สำนักสงฆ์หูตาทิพย์

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์”

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์” พระอ้างใช้สอนวิปัสสนากรรมฐาน เบื้องต้นอายัดไว้พิสูจน์ดีเอ็นเอ พร้อมเอาผิดหัวหน้าสำนักสงฆ์ ฐานนำศพเก็บไว้ในสถานที่ที่ไม่ใช่สุสานและฌาปนสถาน

“สนธิ” ยื่นถอด “ตั้ม-เดชา” ออกจากทนาย

“สนธิ ลิ้มทองกุล” หอบหลักฐานบุกสภาทนายความ ถอดทนายตั้ม-ทนายเดชา ออกจากทนาย ระบุ ได้รับมอบอำนาจจาก “มาดามอ้อย” แล้ว เดินหน้าเอาผิด ทนายตั้มแบบสุดซอย ไม่ให้มีคนตกเป็นเหยื่อผู้รู้กฎหมายอีก

รัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มยูเครน

ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย แถลงยืนยันว่ารัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มภาคตะวันออกยูเครนเมื่อวานนี้ ตอบโต้ที่ยูเครนใช้ขีปนาวุธที่ได้รับมอบจากสหรัฐและอังกฤษ

ข่าวแนะนำ

โค้งสุดท้าย ศึกสองนารีชิงเก้าอี้ นายก อบจ.นครฯ

เหลือไม่ถึง 2 วันแล้ว ที่ชาวนครศรีธรรมราชจะได้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ ศึกนี้เป็นการสู้กันเองของพรรคร่วมรัฐบาล ฝ่ายหนึ่งต้องการรักษาฐานที่มั่นไว้ให้ได้ อีกฝ่ายต้องการเจาะฐานให้แตก เพื่อหวังครองที่นั่งการเมืองระดับชาติในสมัยหน้า

ร้อนระอุโค้งสุดท้าย ศึกชิงเก้าอี้ นายก อบจ.อุดรธานี

การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ครั้งนี้ดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครจาก 2 พรรคใหญ่ลงชิงชัย ต่างเร่งเครื่องเต็มที่ในโค้งสุดท้าย การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 24 พ.ย.นี้ ใครจะเป็นผู้คว้าชัยชนะและสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญให้จังหวัดอุดรธานี ไปติดตามจากรายงาน

ความเห็นนักวิชาการ คดีทักษิณ

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับคำร้อง นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและพรรคเพื่อไทย ร่วมกันกระทำการอันเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครอง ขณะที่นักวิชาการชี้ว่าไม่ได้พลิกไปจากความคาดหมาย และผลจากคดีนี้ ไม่ทำให้เกิดจุดเปลี่ยนทางการเมือง แต่ก็ยังมีจุดเสี่ยงที่ต้องระวัง