นายกฯ เข้าร่วมการประชุมสุดยอดอาเซียน ที่ ลาว 6-8 ก.ย.นี้

69กรุงเทพฯ 5 ก.ย.-นายกรัฐมนตรี เข้าร่วมการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 28-29 ณ นครเวียงจันทน์ สปป.ลาว 6-8 ก.ย.นี้ เตรียมยกประเด็นส่งเสริมประชาคมอาเซียนเป็นประชาคมที่เติบโตอย่างสมดุลใน 3 เสาความร่วมมือ มาหารือ


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มีกำหนดการเข้าร่วมการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 28-29 และการประชุมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ณ  นครเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) ระหว่างวันที่ 6-8 กันยายน 2559 ต่อจากการประชุมผู้นำกลุ่ม 20 ณ สาธารณรัฐประชาชนจีน โดยนายกรัฐมนตรีจะเดินทางจากท่าอากาศยานนานาชาติเซียวซาน นครหางโจว ถึงท่าอากาศยานนานาชาติวัดไต ในเวลา 22.00 น. วันนี้ (5 ก.ย.)

พล.ต.วีรชน สุคนธปฏิภาค รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า การประชุมครั้งนี้ ถือเป็นการประชุมครั้งสำคัญของอาเซียน เนื่องจากก้าวเข้าสู่ 1 ปีของการเป็นประชาคมอาเซียน


“เวลานี้อาเซียนเปรียบเสมือนแกนกลาง หรือพื้นที่สำคัญของภูมิภาคและของโลก จากการที่มีประชาชนกร 600 ล้านคน สามารถสร้างโอกาสให้หลาย ๆ ประเทศ ที่ต้องการเข้ามาแสวงหาโอกาส การไปร่วมประชุมครั้งนี้ ถือเป็นอีกบทบาทหนึ่งของรัฐบาลนี้ ในการมีส่วนร่วมสำคัญในการขับเคลื่อนอาเซียนให้ก้าวไปข้างหน้าร่วมกัน โดยไม่ทอดทิ้งใครไว้เบื้องหลัง” พล.ต.วีรชน กล่าว

พล.ต.วีรชน กล่าวว่า หัวข้อหลักการประชุมอาเซียนปีนี้ คือ “Turning Vision into Reality for a Dynamic ASEAN Community” ซึ่งให้ความสำคัญใน 8 ประเด็นหลัก ได้แก่ การดำเนินการตามวิสัยทัศน์อาเซียน ค.ศ.2025  การลดช่องว่างการพัฒนา การอำนวยความสะดวกด้านการค้า การพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม การส่งเสริมการท่องเที่ยว การส่งเสริมความเชื่อมโยง สภาวะการจ้างงานในอาเซียน และการเสริมสร้างความร่วมมือในระดับภูมิภาคเพื่ออนุรักษ์ ปกป้องและส่งเสริมมรดกทางวัฒนธรรมของอาเซียน

พล.ต.วีรชน กล่าวว่า ในการประชุมครั้งนี้ นายกรัฐมนตรีจะหยิบยกประเด็นการส่งเสริมให้ประชาคมอาเซียนเป็นประชาคมที่เติบโตอย่างสมดุลใน 3 เสาความร่วมมือ ได้แก่ ความสมดุลในการพัฒนาทางเศรษฐกิจ ระหว่างอุตสาหกรรมเดิม (old S curve) กับการพัฒนาอุตสาหกรรมใหม่ (new S curve) การพัฒนาบุคลากรที่เน้นการเพิ่มศักยภาพเยาวชน และการเตรียมรับสังคมผู้สูงอายุ และการส่งเสริมการเชื่อมโยงในภูมิภาคและนอกภูมิภาค โดยที่รักษาสมดุลและเอกภาพของอาเซียนในการรับมือกับความท้าทายต่าง ๆ


“นอกจากนี้ จะหยิบยกประเด็นการให้อาเซียนเป็นกรอบความร่วมมือและกลไกสำคัญ ในการส่งเสริมสันติภาพ เสถียรภาพ และความรุ่งเรืองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มาหารือด้วย” พล.ต.วีรชน กล่าว

พล.ต.วีรชน กล่าวอีกว่า ในการประชุมครั้งนี้ ผู้นำอาเซียนจะร่วมลงนามในเอกสารสำคัญ 1 ฉบับ คือ ปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยความเป็นหนึ่งเดียวในการตอบโต้ภัยพิบัติทั้งภายในและภายนอกภูมิภาค (ASEAN Declaration on One ASEAN, One Response: ASEAN Responding to Disasters as One in the Region and Outside the Region) และจะร่วมกันรับรองเอกสาร อีก 19 ฉบับ.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สำนักสงฆ์หูตาทิพย์

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์”

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์” พระอ้างใช้สอนวิปัสสนากรรมฐาน เบื้องต้นอายัดไว้พิสูจน์ดีเอ็นเอ พร้อมเอาผิดหัวหน้าสำนักสงฆ์ ฐานนำศพเก็บไว้ในสถานที่ที่ไม่ใช่สุสานและฌาปนสถาน

“สนธิ” ยื่นถอด “ตั้ม-เดชา” ออกจากทนาย

“สนธิ ลิ้มทองกุล” หอบหลักฐานบุกสภาทนายความ ถอดทนายตั้ม-ทนายเดชา ออกจากทนาย ระบุ ได้รับมอบอำนาจจาก “มาดามอ้อย” แล้ว เดินหน้าเอาผิด ทนายตั้มแบบสุดซอย ไม่ให้มีคนตกเป็นเหยื่อผู้รู้กฎหมายอีก

รัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มยูเครน

ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย แถลงยืนยันว่ารัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มภาคตะวันออกยูเครนเมื่อวานนี้ ตอบโต้ที่ยูเครนใช้ขีปนาวุธที่ได้รับมอบจากสหรัฐและอังกฤษ

ข่าวแนะนำ

โค้งสุดท้าย ศึกสองนารีชิงเก้าอี้ นายก อบจ.นครฯ

เหลือไม่ถึง 2 วันแล้ว ที่ชาวนครศรีธรรมราชจะได้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ ศึกนี้เป็นการสู้กันเองของพรรคร่วมรัฐบาล ฝ่ายหนึ่งต้องการรักษาฐานที่มั่นไว้ให้ได้ อีกฝ่ายต้องการเจาะฐานให้แตก เพื่อหวังครองที่นั่งการเมืองระดับชาติในสมัยหน้า

ร้อนระอุโค้งสุดท้าย ศึกชิงเก้าอี้ นายก อบจ.อุดรธานี

การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ครั้งนี้ดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครจาก 2 พรรคใหญ่ลงชิงชัย ต่างเร่งเครื่องเต็มที่ในโค้งสุดท้าย การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 24 พ.ย.นี้ ใครจะเป็นผู้คว้าชัยชนะและสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญให้จังหวัดอุดรธานี ไปติดตามจากรายงาน

ความเห็นนักวิชาการ คดีทักษิณ

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับคำร้อง นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและพรรคเพื่อไทย ร่วมกันกระทำการอันเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครอง ขณะที่นักวิชาการชี้ว่าไม่ได้พลิกไปจากความคาดหมาย และผลจากคดีนี้ ไม่ทำให้เกิดจุดเปลี่ยนทางการเมือง แต่ก็ยังมีจุดเสี่ยงที่ต้องระวัง