ลาวคาดหวังไทยซื้อไฟฟ้าครบ 9,000 MW ใน 5 ปี

หนองคาย 13 ธ.ค. – ไทย – สปป.ลาว ร่วมจัดงาน “50 ปี สายส่งสานสัมพันธ์พลังงานลาว – ไทย มั่นยืน” ทั้ง 2 ประเทศ รำลึกเหตุการณ์สำคัญในอดีต จุดเริ่มต้นสัมพันธภาพพลังงานไฟฟ้า 2 ประเทศนับจากวันที่ 16 ธันวาคม 2511 ซึ่งถือเป็นวันสำคัญทางประวัติศาสตร์ ด้วยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเป็นประธานในพิธีเปิดสายส่งไฟฟ้าแรงสูงจากฝั่งไทย (จ.หนองคาย) ข้ามไปยังฝั่งลาว (นครหลวงเวียงจันทน์) ร่วมกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าชีวิตศรีสว่างวัฒนาแห่งราชอาณาจักรลาว ณ แพปะรำพิธีกลางแม่น้ำโขง จ.หนองคาย และปัจจุบันนี้ไทยมีข้อตกลงเบื้องต้น (เอ็มโอยู) รับซื้อจากลาว 9,000 MW โดยมีข้อตกลงรับซื้อแล้ว 7,000 MW 


นายคำมะนี อินทิลาด รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานและบ่อแร่ สปป.ลาว กล่าววา ขณะนี้ลาวรอแผนพีดีพีหรือแผนพัฒนาไฟฟ้าระยะยาวของไทยจะเสร็จเมื่อใด โดยแม้ว่าความต้องการใช้ไฟฟ้าไทยจะชะลอตัว แต่ก็คาดหวังจะรับซื้อให้ครบ 9,000 เมกะวัตต์ใน 4-5 ปีข้างหน้า โดยโครงการที่กำลังเจรจา ได้แก่ น้ำงึม 3 ( ก่อสร้างเสร็จร้อยละ 60) โครงการดอนสะโฮง (ก่อสร้างเสร็จปี 2562) ซึ่งน้ำงึม 3 ตกลงราคาได้แล้วในราคาเดียวกับน้ำเทิน 1 ส่วนอีก 3 โครงการ ได้แก่ ปากแบง, เซนาคาม, ปากลาย 


ส่วนโครงการเซเปียนเซน้ำน้อยที่เกิดปัญหาเขื่อนแตก คงจะส่งไฟฟ้าช้าลงจากเดิมเดือนกุมภาพันธ์  2562 เป็นเดือนธันวาคม 2562 ซึ่งขณะนี้กำลังสอบสวนสาเหตุของปัญหาและผู้รับเหมาและผู้ลงทุนจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบความเสียหายที่เกิดขึ้น ส่วนโครงการอื่น ๆ ยังเข้าระบบตามสัญญา ซึ่งเข้าปี 2562 ได้แก่ เขื่อนไซยะบุรี เขื่อนน้ำงึม 1 และน้ำเงี๊ยบ 1 

“สปป.ลาวจะมีกำลังผลิตไฟฟ้าในอนาคตรวม 30,000  MW และพร้อมส่งขายในอาเซียนโดยเฉพาะไทย แต่ต้องรอแผนพีดีพีของไทยก่อน” นายคำมะนี กล่าว

นายวิบูลย์ ฤกษ์ศิระทัย ผู้ว่าการ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) กล่าวว่า กฟผ.รอแผนพีดีพีเช่นกันหากได้รับอนุมัติสร้างโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติสุราษฎร์ธานีทดแทนโรงไฟฟ้าถ่านหินในภาคใต้ ก็จะเร่งประมูลเพื่อก่อสร้างทันที และพร้อมปรับตัวเพื่อแข่งขันกับเอกชนในการประมูลโรงไฟฟ้าไอพีพีในอนาคต


ทั้งนี้ 2 ประเทศได้ร่วมมือเชื่อมระบบไฟฟ้าระหว่างกันอย่างต่อเนื่อง ทั้งการพัฒนาระบบส่งไฟฟ้า การพัฒนาโครงการผลิตไฟฟ้า การซื้อขายไฟฟ้า การแลกเปลี่ยนความร่วมมือด้านเทคนิควิชาการ การพัฒนาบุคลากรระหว่างการไฟฟ้าของทั้ง 2 ประเทศ ปัจจุบันขยายการรับซื้อไฟฟ้าจาก 1,500 MW เมื่อปี 2536 เป็น 9,000 MW รวมทั้งมีการพัฒนาการเชื่อมโยงโครงข่ายระบบไฟฟ้าของทั้ง 2 ประเทศเข้าด้วยกัน โดยเชื่อมโยงสายส่งระหว่าง กฟผ. – รัฐวิสาหกิจไฟฟ้าลาว (ฟฟล.) ทั้งหมด 6 จุด ได้แก่ ท่าแขก-นครพนม 22 kV., สะหวันนะเขด-มุกดาหาร 22 kV., โพนต้อง-หนองคาย 115 kV., บังเยาะ-สิรินธร 115 kV., ปากบ่อ-มุกดาหาร 115 kV. และท่าแขก-นครพนม 115 kV. และมีการเชื่อมโยงสายส่งไทย – สปป.ลาว เพื่อรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าอิสระ (IPP) ใน สปป.ลาว เช่น โรงไฟฟ้าเทิน-หินบุน, โรงไฟฟ้าห้วยเฮาะ, โรงไฟฟ้าน้ำเทิน 2,โรงไฟฟ้าน้ำงึม 2, โรงไฟฟ้าหงสา เป็นต้น

นอกจากนี้ ยังมีการพัฒนาให้เกิดการเชื่อมโยงเครือข่ายระบบไฟฟ้าทั่วทั้งอาเซียน (ASEAN Power Grid) โดยมีโครงการซื้อขายไฟฟ้า สปป.ลาว – ไทย – มาเลเซีย โดย สปป.ลาว ขายไฟฟ้าให้มาเลเซียผ่านระบบส่งไฟฟ้าของไทยไม่เกิน 100 MW เริ่มนำร่องตั้งแต่เดือนมกราคม 2561 และภายหลังจากการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านพลังงาน ครั้งที่ 36 (AMEM) เมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา สปป.ลาว – ไทย – มาเลเซีย ได้ตกลงขยายกรอบความร่วมมือพหุภาคีโครงการซื้อขายไฟฟ้า โดยจะเพิ่มปริมาณการรับซื้อไฟฟ้าจาก 100 MW เป็น 300 MW ซึ่งจะเป็นการเชื่อมโยงระบบไฟฟ้า 4 ประเทศ จาก สปป.ลาวไปสิงคโปร์ โดยผ่านระบบสายส่งของไทยและมาเลเซีย นับเป็นก้าวสำคัญของการซื้อขายไฟฟ้าระหว่างอาเซียนอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อความมั่นคงด้านพลังงานและการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ทำให้ประเทศต่าง ๆ ทั่วภูมิภาคนี้สามารถพึ่งพากันด้านพลังงาน และผลักดันเศรษฐกิจในภูมิภาคให้เจริญก้าวหน้าอย่างยั่งยืน

ผู้ว่าการ กฟผ. กล่าวต่อว่า ปีนี้นับเป็นโอกาสพิเศษที่ครบรอบ 50 ปีความสัมพันธ์ด้านพลังงานไทย – ลาว กระทรวงพลังงานของไทย และกระทรวงพลังงานและบ่อแร่ของ สปป.ลาว พร้อมทั้ง กฟผ. ฟฟล. และ จ.หนองคายได้ร่วมกันจัดกิจกรรมรำลึกถึงรัฐพิธีเปิดสายส่งไฟฟ้าแรงสูงต้นแรก โดยจัดงานขึ้นทั้งในฝั่งไทยและฝั่งลาว ระหว่างวันที่ 13 – 14 ธันวาคม 2561 ภายใต้ชื่องาน “50 ปี สายส่ง สานสัมพันธ์ พลังงาน ลาว – ไทย มั่นยืน” โดยวันที่ 13 ธันวาคม 2561 กิจกรรมช่วงเช้าในฝั่งไทย ได้แก่ กิจกรรมนุ่งไทยใส่บาตรริมแม่น้ำโขง ที่ชุมชนตลาดท่าเสด็จ จ.หนองคาย เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลฯ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร และพิธีเปิดนิทรรศการ “50 ปี ท่าเสด็จรำลึก ดุจแสงทองสาดส่องสองฝั่งโขงมหานที” ณ ชุมชนตลาดท่าเสด็จ อ.เมือง จ.หนองคาย เพื่อรำลึกถึงรัฐพิธีเปิดสายส่งไฟฟ้าแรงสูง และพระราชกรณียกิจเกี่ยวกับกิจการด้านพลังงาน รวมถึงวิถีชีวิตของประชาชนริมฝั่งแม่น้ำโขงตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ ยังมีพิธีรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณในหลวง ร.9 โดยได้รับเกียรติจาก อ.เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ และ อ.ธนิสร์ ศรีกลิ่นดี ศิลปินแห่งชาติ ร่วมกันขับลำนำบทสดุดีกวีรำลึก และมีกิจกรรมจากชุมชนตลาดท่าเสด็จอีกมากมาย โดยนิทรรศการดังกล่าวจะเปิดให้ประชาชนเข้าชมระหว่างวันที่ 13 – 16 ธันวาคม 2561.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

มุกใหม่มิจฉาชีพ

มุกใหม่มิจฉาชีพ! ป่วนโทรแจ้ง ตร. เกิดเหตุร้ายที่บ้านเหยื่อ

อินฟลูฯ สาว สายทำอาหาร ถูกมิจฉาชีพอ้างเป็นตำรวจโทรหา แต่เธอไม่เชื่อ โดนท้าอีก 10 นาทีเจอกัน ปรากฏว่า มีตำรวจจาก 2 โรงพักบุกมาที่บ้านจริง

“วราวุธ” ระบุการแข่งขัน อบจ.-สุพรรณบุรี ไม่มีปัญหา

“วราวุธ” ระบุการแข่งขัน อบจ.-สุพรรณบุรี ไม่มีปัญหา บอกสนามใหญ่ ไม่เข้าไปก้าวก่ายสนามท้องถิ่น ซ้ายก็เพื่อน ขวาก็พวก

ครม.เคาะแจกเงินหมื่นเฟส 2 ผู้สูงอายุ 60 ปี

“จุลพันธ์” เผย ครม.เห็นชอบโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านกลุ่มผู้สูงอายุ วงเงิน 4 หมื่นล้านบาท คาดว่าจะดำเนินการทันก่อน 29 ม.ค.68 รวม 3 มาตรการ สร้างเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบ 1.4-1.5 แสนล้านบาท

ข่าวแนะนำ

อลังการเคาท์ดาวน์เชียงใหม่ดึงดูดผู้คนทั่วโลก

ช่วงส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ ที่เชียงใหม่กลายเป็นจุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยวจากทั่วโลก ที่จะไปร่วมเฉลิมฉลองกันที่นั่นไม่ต่ำกว่า 3 แสนคน ซึ่งมีการจัดกิจกรรมนับถอยหลังสู่ปีใหม่ในหลายจุด โดยเฉพาะที่อุทยานหลวงราชพฤกษ์ ซึ่งเต็มไปด้วยความสวยงามของดอกไม้และแสงไฟ เรียกว่าเป็นจุดเคาท์ดาวน์ที่สวยงามทั้งกลางวันและกลางคืน

พ่อช็อก ลูกสาวเสียชีวิตเหตุเครื่องบินไถลออกนอกรันเวย์

พ่อช็อก น้ำตาคลอรู้ข่าวลูกสาวเสียชีวิตเหตุเครื่องบินเชจูแอร์ ไถลออกนอกรันเวย์ เผยเป็นลาง ลูกยื่นเงินหมื่นให้พ่อจ่ายเงินฌาปนกิจศพให้ตัวเอง

Jeju Air CEO apologises for plane crash at airport in South Korea

ซีอีโอเชจูแอร์ขอขมาผู้เสียชีวิตจากเหตุเครื่องบินชน

โซล 29 ธ.ค.- ประธานเจ้าหน้าที่บริหารหรือซีอีโอ (CEO) ของสายการบินเชจูแอร์ (Jeju AIr) ขอขมาต่อผู้เสียชีวิตจากเหตุเครื่องบินชนรั้วกั้นที่ท่าอากาศยานนานาชาติมูอัน ขณะที่ยอดผู้เสียชีวิตล่าสุดอยู่ที่ 124 คน จากจำนวนคนบนเครื่องบินทั้งหมด 181 คน นายคิม อีแบ ซีอีโอเชจูแอร์ แถลงต่อสื่อสั้น ๆ ว่า ขอแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งและขอขมาต่อผู้โดยสารที่เสียชีวิตเพราะอุบัติเหตุครั้งนี้ รวมถึงครอบครัว บริษัทจะแก้ไขสถานการณ์อย่างรวดเร็วและให้ความช่วยเหลือครอบครัวของผู้โดยสาร นอกจากนี้จะพยายามอย่างเต็มที่ในการหาสาเหตุร่วมกับรัฐบาล นายคิม กล่าวว่า บริษัทให้บริการเครื่องบินลำนี้โดยได้มีการซ่อมบำรุงตามปกติ และไม่พบสัญญาณใด ๆ ว่าเครื่องบินมีความผิดปกติ เชจูแอร์เป็นสายการบินต้นทุนต่ำของเกาหลีใต้ที่ตั้งขึ้นในปี 2548 ให้บริการเที่ยวบินระหว่างประเทศไปยังญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ และไทย และมีเที่ยวบินในประเทศจำนวนมาก ด้านโบอิง บริษัทผู้ผลิตเครื่องบินของสหรัฐ แถลงว่า กำลังประสานกับเชจูแอร์ กรณีเครื่องบินโบอิง 737-800 แบบ 2 เครื่องยนต์ เที่ยวบิน 7ซี2216 (7C2216) ชนที่ท่าอากาศยานทางตะวันตกเฉียงใต้ของเกาหลีใต้ และพร้อมให้ความช่วยเหลือสายการบิน ขณะที่กระทรวงคมนาคมของเกาหลีใต้ ระบุว่า เครื่องบินลำนี้ผลิตในปี 2552 […]

ข่าวแห่งปี 2567 : สุดอาลัย…ดาวลับฟ้า ปี 2567

ตลอดปี 2567 นับเป็นปีที่สูญเสียบุคคลมีชื่อเสียง ทั้งในแวดวงบันเทิง ศิลปินแห่งชาติ และวงการสื่อสารมวลชน ที่มีคุณูปการต่อประเทศชาติ