กรุงเทพฯ 11 ธ.ค.-ประธาน กกพ.ปรับวิสัยทัศน์การทำงานนำเทคโนโลยี โดยจะส่งเสริมการแข่งขันภาคเอกชน เพื่อบริการประชาชน เช่น การกำกับดูแลการขนส่งแอลเอ็นจีด้วยรถยนต์ พร้อมชี้ 3 การไฟฟ้า ปตท.แข่งขันเอกชนลำบาก ต้องปรับตัวเป็นการผลิตเพื่อความมั่นคง-การสร้างเสถียรภาพเป็นหลัก
นายเสมอใจ ศุขสุเมฆ เป็นประธานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน หรือ กกพ.แถลงข่าวเปิดใจถึงการทำงาน เป็นครั้งแรก โดยระบุว่า แม้ ค่าไฟฟ้างวดแรกในปีหน้า จะขยับขึ้นมา 4 สตางค์เศษๆ มีผลตั้งแต่ มกราคม-เมษายน 2562 แต่ก็ยังถือว่าอยู่ในเกณฑ์ ติดลบ โดยค่าไฟฟ้าอัตโนมัติ หรือเอฟทียังคงติดลบถึง 11.60 สตางค์ต่อหน่วย ถือว่าต่ำมาก หากค่าไฟฟ้าปีหน้าจะเปลี่ยนแปลงก็คาดว่าจะไม่ถึงระดับ 0 สตางค์แน่นอน โดยค่าไฟฟ้าก็ขึ้นกับค่าก๊าซธรรมชาติและอัตราแลกเปลี่ยน โดยก๊าซก็ผันแปรตามราคาน้ำมัน ซึ่งก็โชคดีที่ราคาน้ำมันลดต่ำลงในช่วงนี้
ประธาน กกพ. ระบุด้วยในส่วนของการทำงาน กกพ.จะมีการปรับหลักเกณฑ์ให้สะท้อนเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลง ทั้งบล็อกเชน ระบบโซลาร์รูฟท็อปเสรี เทคโนโลยีการขนส่งก๊าซธรรมชาติเหลว(แอลเอ็นจี )ด้วยรถยนต์ ยานยนต์ไฟฟ้า (EV) โดยยอมรับว่า เทคโนโลยีอาจทำให้เอกชนผลิตไฟฟ้ามากขึ้น และ 3 การไฟฟ้า และ บมจ.ปตท.อาจจะแข่งขันได้ยากลำบากในการผลิตไฟฟ้า การจำหน่ายก๊าซฯ ในขณะที่ ก๊าซธรรมชาติลดน้อยลง ต้องนำเข้าก๊าซแอลเอ็นจีมากขึ้น ซึ่งการแข่งขันยากเพราะเอกชนคล่องตัว ไม่ติดปัญหากฏระเบียบของรัฐวิสาหกิจ ดังนั้น 3 การไฟฟ้า และ ปตท. ต้องปรับตัวเองไปบริการในลักษณะการสร้างความมั่นคงและเสถียรภาพ เช่น โครงข่ายไฟฟ้า โครงข่ายก๊าซฯ
โดยกิจการก๊าซธรรมชาติ ยังคงมีบริษัท ปตท. จากัด (มหาชน) เป็นผู้ประกอบการรายเดียวในกิจการก๊าซธรรมชาติของประเทศ กกพ.ก็จะเริ่มเร่งรัดเพื่อให้มีการ เปิดเสรีมากขึ้น โดยจะมีการกาหนดแนวทางและกระบวนการขออนุญาตการประกอบธุรกิจก๊าซธรรมชาติ เพื่อให้ เกิดการแข่งขันอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นธรรมกับทุกฝ่าย ตลอดจนการพัฒนาและการออกใบอนุญาต ศูนย์ควบคุมการสั่งจ่ายก๊าซธรรมชาติ (Transmission System Operation: TSO) เพื่อดำเนินการควบคุมการ สั่งจ่ายก๊าซธรรมชาติให้มีประสิทธิภาพและเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้พลังงาน จะมีการกำกับดูแลเรื่องการขนส่งแอลเอ็นจีด้วยรถยนต์ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่กำลังจะเกิดขึ้น
“ การปรับตัวในการทำงาน เพื่อรองรับEnergy Disruptive การกำกับดูแล ต้องมุ่งไปข้างหน้า แทนกำกับดูแลแบบตามหลัง เพื่อให้ทันต่อสถานการณ์และไม่ล้าสมัย รวมไปถึงการกากับดูแลภาคพลังงาน แบบ Regulatory Sand Box ที่เป็นไปในรูปแบบของการนาเสนอ ข้อเสนอ แนวทางการศึกษา กำกับดูแลเทคโนโลยีพลังงานใหม่ๆ จากภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ EV ,Blockchain ฯลฯในรูปแบบของโครงการทดลองและเป็นโครงการนำร่องที่จะทำให้ การกำกับ ดูแล ทันต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป เชื่อว่าการสนับสนุนและส่งเสริมการแข่งขัน จะส่งผลดีต่อการดูแลภาคประชาชนซึ่งเป็นผู้ใช้พลังงาน ส่วนใหญ่ของประเทศ ที่จะได้รับคุณภาพการบริการที่ดีภายใต้ต้นทุนที่เหมาะสม”นายเสมอใจกล่าว
ประธาน กกพ.กล่าวด้วยว่า กำลังอยู่ระหว่างการทบทวน แผนยุทธศาสตร์การกำกับกิจการพลังงานฉบับปัจจุบัน และกาหนดให้ “การส่งเสริม และสนับสนุนการแข่งขันอย่างเป็นธรรม ” ซึ่งวิสัยทัศน์ใหม่ดังกล่าว จะสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ บทบาท ภารกิจของ กกพ. ภายใต้พระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. 2550 ตอบสนองต่อนโยบายด้าน พลังงานและแผนปฏิรูปภาคพลังงานของประเทศและสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญพ.ศ.2560 พร้อมกันนี้กกพ. จะนาเอาแนวทางการปฏิรูปภาคพลังงาน ภายใต้แผนปฏิรูปประเทศ ด้านพลังงาน เป็นแนวทางในการขับเคลื่อน งานกำกับดูแลภาคพลังงานของประเทศด้วย
สำหรับนโยบายโซลาร์ภาคประชาชน ในขณะนี้ กำลังรอแผนพัฒนาไฟฟ้าระยะยาว (พีดีพี ) ที่กระทรวงพลังงานกำลังจัดทำ และคาดว่าจะเสนอเข้าสู่ คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน วันที่ 6-7 มกราคม 2562 โดยหากผ่านความเห็นชอบ กกพ.ก็พร้อมจะประกาศหลักเกณฑ์รับซื้อไฟฟ้าภายใน 1-2 สัปดาห์ -สำนักข่าวไทย