รองเลขาฯ กกต.เผยแบ่งเขตเลือกตั้งยึดประชาชนเป็นหลัก

สำนักงาน กกต. 29 พ.ย.- ณัฏฐ์ รองเลขา กกต. ยืนยันการแบ่งเขตของ กกต.ยึดประชาชนเป็นหลัก นักการเมืองต้องยอมรับผลกระทบ ย้ำไม่หาคนทำเอกสารหลุด เพราะมั่นใจไม่หลุดจากสนง.กกต. เตรียมเปิดรับสมัครผอ.-กกต.ประจำเขตเลือกตั้งสัปดาห์หน้า รองรับการหารือแม่น้ำ 5 สายที่จะชัดเจนเรื่องวันเลือกตั้ง


นายณัฎฐ์ เล่าสีห์สวกุล รองเลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)  แถลงชี้แจงกรณีการประกาศแบ่งเขตเลือกตั้งของ กกต.ว่า การแบ่งเขตเลือกตั้งรอบแรก กกต.ดำเนินการตามคำสั่งหัวหน้าคสช.ที่ 13/2561 แต่ระหว่างรอการประกาศราชกิจจานุเบกษา  หัวหน้าคสช.ก็มีคำสั่งที่ 16/2561 จึงมีการเปิดรับฟังข้อร้องเรียน   ซึ่งก็พบว่า มีการร้องเรียนเข้ามาใน 33 จังหวัด 98 คำร้อง แบ่งเป็นภาคกลาง 19 คำร้อง ภาคเหนือ 21 คำร้อง ภาคอีสาน 52 คำร้อง ภาคใต้ 6 คำร้อง 

รองเลขาฯ กกต.กล่าวว่า ได้มีการพิจารณาคำร้องแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 27 พ.ย. และเห็นชอบให้มีการประกาศแบ่งเขตเลือกตั้งในวันที่ 28 พ.ย. และประกาศราชกิจจาฯ  มีผลบังคับใช้ในวันที่ 29 พ.ย. อย่างไรก็ตามการพิจารณาของ  กกต.เป็นไปตามมาตรา 27 พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. ที่ให้รวมพื้นที่อำเภอเป็นเขตเลือกตั้ง คำนึงพื้นที่ติดต่อใกล้ชิดกัน  คมนาคมสะดวก และการเคยอยู่ในเขตเลือกตั้งเดียวกัน 


นายณัฎฐ์ กล่าวว่า หลังสิ้นสุดการรับคำร้องในวันที่ 25 พ.ย.ก็มีข้อร้องเรียนเพิ่มมาอีก 11คำร้อง กกต.ตรวจสอบแล้วเห็นว่าเป็นการวิจารณ์   ที่ไม่ได้มีการเสนอรูปแบบแบ่งเขตที่เหมาะสม จึงให้ยุติเรื่อง จากนี้ไปก็จะเป็นการเตรียมบุคคลากร ซึ่งก็จะมีการเปิดรับสมัครผู้อำนวยการ และกกต.ประจำเขตเลือกตั้ง  คาดว่าจะเป็นสัปดาห์หน้า และเมื่อมี พ.ร.ฎ.เลือกตั้งส.ส. ผู้อำนวยการประจำเขตเลือกตั้งจะประกาศสถานที่รับสมัคร หลังกกต.ประกาศกำหนดวันเลือกตั้งและวันรับสมัคร ซึ่งคาดว่าจะเกิดขึ้นช่วงเดือนม.ค. 62 โดยทุกอย่างจะมีความชัดเจนหลังการประชุมร่วมแม่น้ำ 5 สาย ในวันที่ 7 ธ.ค. กระบวนการจากนี้จึงไม่สะดุด เดินหน้าเต็มที่

รองเลขาฯ กกต. กล่าวว่า การแบ่งเขตของ  กกต. ตามคำสั่งหัวหน้าคสช.ที่ 13 /2561 ก่อนหน้านี้ก็เป็นไปตามกฎหมาย และเมื่อมีข้อเสนอแนะซึ่งเป็นประโยชน์และบางครั้งดีกว่า กกต.ก็ปรับปรุง การพิจารณาเป็นลักษณะเฉพาะในแต่ละพื้นที่แต่ทุกอย่างอยู่ภายใต้กรอบกฎหมาย ผลที่ได้กลับมากระทบใครบ้างฝ่ายการเมืองต้องยอมรับ เพราะการแบ่งเขตแบบเดิมไม่มีการกำหนดจำนวน ส.ส.ในสภา แต่กำหนดจำนวนประชากรต่อจำนวน ส.ส. ก็จะทำให้จำนวน ส.ส.ไม่แน่นอน   ซึ่งนักการเมืองทราบดี และหลีกเลี่ยงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นไมได้    

“ท่านที่อาสาสมัครรับเลือกตั้งต้องทำคุณงามความดีกับประชาชน และการที่เขาผูกพันกันเป็นเรื่องปกติ เพราะสังคมเราเป็นทั้งคุณธรรมและอุปถัมภ์คู่กัน   การตัดสินใจเลือกของประชาชนไม่ใช่แค่เฉพาะตัวบุคคล  แต่นโยบายพรรคก็เป็นสิ่งสำคัญของการตัดสินใจ จึงต้องเคารพ เมื่อเลือกไปแล้วผลกระทบจะเป็นอย่างไรก็เป็นบทเรียนที่เขาต้องเรียนรู้ ว่าคนที่เลือกไปทำอะไรให้เขาบ้าง   นี่คือการเรียนรู้ด้วยตนเองในระบบประชาธิปไตย การเลือกจะเกิดผลกระทบอะไรเราต้องเรียนรู้ในระบบประชาธิปไตย ” นายณัฎฐ์ กล่าว


รองเลขาธิการ  กกต. ยังชี้แจงว่า การพิจารณาแบ่งเขตของ  กกต.ในรอบแรกเป็นการรับฟังใน 3 รูปแบบ ผอ.กกต.จว.มีสิทธิที่จะปรับปรุงนอกเหนือจาก 3 รูปแบบได้   และกกต.เห็นว่าอำนาจการแบ่งเขตเป็นของ กกต. จึงได้สั่งให้มีการทำรูปแบบที่ 4 แต่ก็มีที่กกต.ไม่ได้เลือก และในบางจังหวัดก็มีการปรับโดยไม่ยึดทั้ง 4 รูปแบบ   ส่วนที่มีการวิจารณ์ว่าบางจังหวัดซอยอำเภอเป็น 3 เขตเลือกตั้งนั้น จะมีเฉพาะอำเภอเมืองของจังหวัดใหญ่ที่มีประชากรมาก  แต่จะไม่พบในอำเภอรอง  

นายณัฎฐ์  กล่าวว่า และจังหวัดที่ไม่มีการเพิ่มลดของจำนวน ส.ส. แต่กลับมีการแบ่งเขตนั้นก็เกิดจากการย้ายถิ่นที่อยู่ของประชาชน อย่างเช่นในบางจังหวัดของภาคใต้ เมื่อไปดูประชากรหายไปถึง 6 หมื่นคน เพราะคำนึงเรื่องความปลอดภัยของตัวเองจึงย้ายเข้ามา ก็ต้องมีการแบ่งเขตใหม่  หรืออย่างจังหวัดกาญจนบุรี แม่ฮ่องสอน เป็นจังหวัดที่มีพื้นที่กว้าง แต่ส่วนใหญ่เป็นภูเขา ประชากรกระจุกตัวอยู่บางจุด  ขณะที่บางพื้นที่กว้างใหญ่ แต่ประชากรอยู่กันกระจาย ซึ่งทำให้เกิดการได้เปรียบในการหาเสียง และมีค่าใช้จ่ายสูง   ดังนั้น การแบ่งเขตครั้งนี้ทำตามความเหมาะสมของพื้นที่ ภูมิภาคและจังหวัดจริง ๆ  คล้ายกับการตัดเสื้อให้ตรงตามรูปแบบของแต่ละจังหวัด

“ผมภูมิใจกับประเทศไทย คือจากที่ประชาชนเสนอรูปแบบมาและทำการบ้านมาอย่างดีมาก กกต.เองยังชมว่าเสนอมาดีมาก ดีกว่าผอ.กกต.จว.ทำมา ที่ประชาชนเสนอมาดูดีและยังเข้าเกณฑ์ของกฎหมาย” นายณัฎฐ์ กล่าวและยืนยันว่าการที่มีเอกสารแบ่งเขตหลุดก่อนมีการประกาศในราชกิจจานุเบกษา ไม่ใช่สิ่งที่สำนักงานต้องกังวล   เพราะในการดำเนินการจำกัดคนทำงาน จึงเชื่อว่าไม่ได้หลุดจากสำนักงาน กกต.อย่างแน่นอน และไม่เห็นประโยชน์ที่จะต้องไปดำเนินการกับใครที่เกี่ยวข้องกับเอกสารหลุด เพราะขณะนี้สถานการณ์ดีขึ้นแล้ว  ประเทศกำลังเดินไปสู่การเลือกตั้งเราควรที่จะช่วยกันประคับประคองเพื่อให้ไปสู่การเลือกตั้ง.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สำนักสงฆ์หูตาทิพย์

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์”

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์” พระอ้างใช้สอนวิปัสสนากรรมฐาน เบื้องต้นอายัดไว้พิสูจน์ดีเอ็นเอ พร้อมเอาผิดหัวหน้าสำนักสงฆ์ ฐานนำศพเก็บไว้ในสถานที่ที่ไม่ใช่สุสานและฌาปนสถาน

“สนธิ” ยื่นถอด “ตั้ม-เดชา” ออกจากทนาย

“สนธิ ลิ้มทองกุล” หอบหลักฐานบุกสภาทนายความ ถอดทนายตั้ม-ทนายเดชา ออกจากทนาย ระบุ ได้รับมอบอำนาจจาก “มาดามอ้อย” แล้ว เดินหน้าเอาผิด ทนายตั้มแบบสุดซอย ไม่ให้มีคนตกเป็นเหยื่อผู้รู้กฎหมายอีก

รัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มยูเครน

ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย แถลงยืนยันว่ารัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มภาคตะวันออกยูเครนเมื่อวานนี้ ตอบโต้ที่ยูเครนใช้ขีปนาวุธที่ได้รับมอบจากสหรัฐและอังกฤษ

ข่าวแนะนำ

โค้งสุดท้าย ศึกสองนารีชิงเก้าอี้ นายก อบจ.นครฯ

เหลือไม่ถึง 2 วันแล้ว ที่ชาวนครศรีธรรมราชจะได้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ ศึกนี้เป็นการสู้กันเองของพรรคร่วมรัฐบาล ฝ่ายหนึ่งต้องการรักษาฐานที่มั่นไว้ให้ได้ อีกฝ่ายต้องการเจาะฐานให้แตก เพื่อหวังครองที่นั่งการเมืองระดับชาติในสมัยหน้า

ร้อนระอุโค้งสุดท้าย ศึกชิงเก้าอี้ นายก อบจ.อุดรธานี

การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ครั้งนี้ดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครจาก 2 พรรคใหญ่ลงชิงชัย ต่างเร่งเครื่องเต็มที่ในโค้งสุดท้าย การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 24 พ.ย.นี้ ใครจะเป็นผู้คว้าชัยชนะและสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญให้จังหวัดอุดรธานี ไปติดตามจากรายงาน

ความเห็นนักวิชาการ คดีทักษิณ

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับคำร้อง นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและพรรคเพื่อไทย ร่วมกันกระทำการอันเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครอง ขณะที่นักวิชาการชี้ว่าไม่ได้พลิกไปจากความคาดหมาย และผลจากคดีนี้ ไม่ทำให้เกิดจุดเปลี่ยนทางการเมือง แต่ก็ยังมีจุดเสี่ยงที่ต้องระวัง