รมว.พลังงานรุกศึกษาโรงไฟฟ้าขยะสิงคโปร์ จ่อใช้เป็นโมเดลแก้ขยะล้นเมืองในไทย

สิงคโปร์ 2 พ.ย. – รมว.พลังงานนำคณะผู้บริหาร พพ. ชูแนวทางบริหารจัดการขยะของโรงไฟฟ้าขยะแซมบ์คอร์ปประเทศสิงคโปร์ ต้นแบบการแข่งขันด้านราคาค่าไฟฟ้าที่เหมาะสมในหลักการจัดการขยะที่ยั่งยืน “ผู้ก่อขยะเป็นผู้จ่าย” เดินหน้ารณรงค์คนไทยส่งเสริมนำขยะกำจัดถูกวิธีสู่การผลิตพลังงานเพื่อความมั่นคง 


นายศิริ จิระพงษ์พันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ได้นำคณะผู้บริหาร กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) กระทรวงพลังงาน และสื่อมวลชนเข้าศึกษาดูงานภายในโรงงานผลิตไฟฟ้าจากขยะ ของบริษัท แซมบ์คอร์ป จำกัด (Sembcorp) ซึ่งตั้งอยู่ที่นิคมอุตสาหกรรมจูล่ง ประเทศสิงคโปร์ เพื่อเป็นแนวทางส่งเสริมการนำขยะมาเป็นเชื้อเพลิงสำหรับประเทศไทยตามแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก หรือ  AEDP 2015 ที่อยู่ภายใต้แผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าของประเทศ หรือ PDP 2015


ทั้งนี้ โรงงานดังกล่าวมีศักยภาพการผลิตไฟฟ้า – ไอน้ำที่ใช้ขยะด้วยเทคโนโลยีในกระบวนการผลิตที่ทันสมัย ซึ่งสามารถกำจัดขยะได้ 140 ตันต่อชั่วโมง โดยขยะที่นำมาใช้ในกระบวนการเผาต้องเป็นขยะที่คัดแยกแล้ว และต้องนำมาผสมกับเศษไม้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของเชื้อเพลิงก่อนเข้าเตาเผา ซึ่งโรงไฟฟ้าขยะดังกล่าว ใช้เทคโนโลยีใกล้เคียงกับประเทศไทย  เพียงแต่แตกต่างหลักการและวิธีการจัดหาขยะ โดยในประเทศสิงคโปร์ผู้ผลิตขยะจะต้องเป็นผู้รับชอบค่าใช้จ่ายในการกำจัดขยะ ขณะที่ประเทศไทยโรงกำจัดขยะจะต้องเป็นผู้รับซื้อทำให้ต้นทุนการผลิตไฟฟ้าในไทยจะสูงกว่าในประเทศสิงคโปร์

สำหรับโรงไฟฟ้าขยะที่ประเทศสิงคโปร์ทำหน้าที่เป็นผู้รับจ้างกำจัดขยะ โดยคิดอัตราค่าจ้างประมาณ 90 เหรียญสิงคโปร์ต่อตัน หรือประมาณ 2,250 บาทต่อตัน ขณะที่ประเทศไทยโรงไฟฟ้าจะเป็นผู้จัดหาและรับซื้อขยะ 800 – 1,200 บาทต่อตัน ทำให้ราคาไฟฟ้าในประเทศสูงและไม่สามารถแข่งขันกับราคาค่าไฟฟ้าที่มาจากการผลิตจากก๊าซธรรมชาติได้เช่นเดียวกับที่ประเทศสิงคโปร์ โดยประเทศไทยต้องมีนโยบายการอุดหนุนค่าไฟฟ้า เพื่อผลักดันให้เกิดโรงไฟฟ้าจากขยะ


“โรงไฟฟ้าขยะในประเทศไทยมีเทคโนโลยีและมีระบบมาตรฐานในการผลิตไฟฟ้าขยะและไอน้ำใกล้เคียงกับโรงงานแห่งนี้ แต่สิ่งที่มีความแตกต่างคือมุมมองวิธีคิดเรื่องหลักการทางเศรษฐศาสตร์ในการบริหารจัดการขยะ และโครงสร้างทางธุรกิจการผลิตไฟฟ้าจากขยะ ซึ่งตามหลักสากลทั่วโลกดำเนินการคือผู้ผลิตขยะจะต้องเป็นผู้จ่ายค่าบำบัด ขณะที่ประเทศไทยการดำเนินงานของโรงไฟฟ้าที่อยู่ในฐานะผู้กำจัดขยะกลับต้องเป็นผู้ซื้อขยะ จึงทำให้ต้นทุนของขยะที่ใช้ผลิตสูงส่งผลต่อราคาต้นทุนค่าไฟฟ้าที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน เพราะคนไทยมองว่าขยะมีมูลค่ามากกว่าที่จะลดปริมาณขยะและผลิตไฟฟ้าได้อย่างยั่งยืน” นายศิริ กล่าว

ดังนั้น ปัญหาขยะที่เกิดขึ้นจำนวนมากในประเทศไทยจะต้องมีการปรับมุมมองและทัศนคติในเรื่องหน้าที่ความรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการกำจัดขยะอย่างถูกวิธี ซึ่งเป็นการรณรงค์ให้คนไทยลดการผลิตขยะมากกว่าการส่งเสริมให้เกิดขยะ ซึ่งเรื่องนี้หน่วยงานต่าง ๆ จะต้องดำเนินการอย่างจริงจังและต้องทำอย่างต่อเนื่อง . – สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สำนักสงฆ์หูตาทิพย์

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์”

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์” พระอ้างใช้สอนวิปัสสนากรรมฐาน เบื้องต้นอายัดไว้พิสูจน์ดีเอ็นเอ พร้อมเอาผิดหัวหน้าสำนักสงฆ์ ฐานนำศพเก็บไว้ในสถานที่ที่ไม่ใช่สุสานและฌาปนสถาน

“สนธิ” ยื่นถอด “ตั้ม-เดชา” ออกจากทนาย

“สนธิ ลิ้มทองกุล” หอบหลักฐานบุกสภาทนายความ ถอดทนายตั้ม-ทนายเดชา ออกจากทนาย ระบุ ได้รับมอบอำนาจจาก “มาดามอ้อย” แล้ว เดินหน้าเอาผิด ทนายตั้มแบบสุดซอย ไม่ให้มีคนตกเป็นเหยื่อผู้รู้กฎหมายอีก

รัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มยูเครน

ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย แถลงยืนยันว่ารัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มภาคตะวันออกยูเครนเมื่อวานนี้ ตอบโต้ที่ยูเครนใช้ขีปนาวุธที่ได้รับมอบจากสหรัฐและอังกฤษ

ข่าวแนะนำ

โค้งสุดท้าย ศึกสองนารีชิงเก้าอี้ นายก อบจ.นครฯ

เหลือไม่ถึง 2 วันแล้ว ที่ชาวนครศรีธรรมราชจะได้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ ศึกนี้เป็นการสู้กันเองของพรรคร่วมรัฐบาล ฝ่ายหนึ่งต้องการรักษาฐานที่มั่นไว้ให้ได้ อีกฝ่ายต้องการเจาะฐานให้แตก เพื่อหวังครองที่นั่งการเมืองระดับชาติในสมัยหน้า

ร้อนระอุโค้งสุดท้าย ศึกชิงเก้าอี้ นายก อบจ.อุดรธานี

การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ครั้งนี้ดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครจาก 2 พรรคใหญ่ลงชิงชัย ต่างเร่งเครื่องเต็มที่ในโค้งสุดท้าย การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 24 พ.ย.นี้ ใครจะเป็นผู้คว้าชัยชนะและสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญให้จังหวัดอุดรธานี ไปติดตามจากรายงาน

ความเห็นนักวิชาการ คดีทักษิณ

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับคำร้อง นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและพรรคเพื่อไทย ร่วมกันกระทำการอันเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครอง ขณะที่นักวิชาการชี้ว่าไม่ได้พลิกไปจากความคาดหมาย และผลจากคดีนี้ ไม่ทำให้เกิดจุดเปลี่ยนทางการเมือง แต่ก็ยังมีจุดเสี่ยงที่ต้องระวัง