เจาะเนื้อหาร่าง พ.ร.บ.ยา เปรียบเทียบฉบับเก่า-ใหม่

สำนักข่าวไทย 3 ก.ย.- ร่าง พ.ร.บ.ยา ฉบับใหม่ อยู่ระหว่างจัดทำ และเตรียมเสนอตามขั้นตอนเพื่อออกมาบังคับใช้เป็นกฎหมายต่อไป แต่มีผู้เกี่ยวข้องออกมาคัดค้านอย่างต่อเนื่อง โดยประเด็นสำคัญที่มีการคัดค้าน คือ การเปิดช่องให้ผู้อื่นที่ไม่ใช่ “เภสัชกร” สามารถจ่ายยาได้ รวมถึงความเชื่อมโยงที่มีการตั้งข้อสังเกตว่าอาจไปเอื้อประโยชน์ให้เอกชน


ร่าง พ.ร.บ.ยา ฉบับใหม่ มีการผลักดันโดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือ อย. และปิดการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนไปแล้ว เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคมที่ผ่านมา สาระสำคัญของร่างกฎหมายนี้ จะขอให้แก้ไข พ.ร.บ.ยา ฉบับเดิม ที่มาใช้ตั้งแต่ปี 2510 ให้มีความทันสมัยและมีความเป็นสากลมากยิ่งขึ้น แต่ประเด็นที่มีการเห็นต่างมากที่สุดอยู่ที่ “การให้บุคคลในวิชาชีพอื่นที่ไม่ใช่ “เภสัชกร” สามารถจ่ายยาได้”


ท่าทีของสภาเภสัชกรรมออกแถลงการณ์คัดค้านเนื้อหาร่าง พ.ร.บ.ยา ฉบับใหม่ ใน 9 ประเด็น เช่น การแบ่งแยกประเภทยาที่ไม่เป็นไปตามสากล การตัดบทบาทของวิชาชีพเภสัชกรรมในการปรุงยาและจ่ายยา การให้เภสัชกรสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้เกิน 1 แห่ง ทำให้เกิดอาชีพ ‘เภสัชกรแขวนป้าย’ ฯลฯ 


สำนักข่าวไทย  อสมท  เปรียบเทียบความแตกต่าง ระหว่าง พ.ร.บ. ยา พ.ศ.2510 กับ ร่าง พ.ร.บ.ยา ….ที่กำลังเป็นประเด็น 2 เรื่อง 

1.เรื่อง การแบ่งประเภทของยาตามร่าง มาตรา 4 ว่าด้วย นิยาม

• ปี 2510 ฉบับเดิม มีการกำหนดนิยามคำเดิม มี 4 ประเภท

-ยาอันตราย

-ยาควบคุมพิเศษ

-ยาสามัญ

-ยาแผนปัจจุบัน  หรือยาที่ไม่มีอันตราย  

แต่ในร่าง พ.ร.บ.ยา ที่กำลังเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ นี้มีการปรับปรุง โดยยึดหลักการคุ้มครองผู้บริโภคเพื่อความปลอดภัยในการใช้ยา จากการที่ยาทุกชนิดมีทั้งคุณและโทษ การใช้ยาตามหลักสากลส่วนใหญ่จึงแบ่งยาเป็น 3 กลุ่ม คือ

-ยาควบคุมพิเศษ คือ ยาที่จ่ายตามใบสั่งแพทย์ Prescription only

-ยาอันตรายพิเศษ คือ ยาที่จ่ายโดยเภสัชกร Pharmacist only

-ยาสามัญ คือ ยาที่ประชาชนเลือกใช้ได้เอง Self-medication  ซึ่งเป็นที่เข้าใจโดยง่ายของประชาชนในการได้มาซึ่งยารักษาโรค

2.เรื่องหน้าที่ของวิชาชีพเภสัชกรรมในการปรุงยาและจ่ายยาตามใบสั่งของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรม และผู้ประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ หรือแพทย์ ทันตแพทย์ และสัตวแพทย์ โดยบุคคลผู้ที่มีบทบาทหน้าที่เกี่ยวกับยามีอยู่ 3 กลุ่ม คือ 

แพทย์ – ตรวจรักษา วินิจฉัยอาการ และสั่งยา

พยาบาล – ดำเนินการสั่งยา

เภสัชกร – จัดยา จัดยาตามใบสั่งแพทย์ ร่วมวิเคราะห์การสั่งยา อธิบายสรรพคุณยาให้ผู้ป่วยได้เข้าใจ

พ.ร.บ.ยา พ.ศ. 2510 บัญญัติให้หน้าที่ในการจ่ายยา-เภสัชกร แพทย์ ทันตแพทย์ สัตวแพทย์ สั่งจ่ายยาสำหรับรักษาผู้ป่วยเฉพาะรายของตนเท่านั้น แต่ พ.ร.บ.ยาใหม่ ผู้มีหน้าที่มีการจ่ายยา เพิ่มขึ้นมาจากเดิมอีก 4 ด้าน พยาบาลวิชาชีพ นักเทคนิคการแพทย์ นักกายภาพบำบัด แพทย์แผนไทย

นพ.วันชัย สันติยาวุฒิพงศ์ เลขาธิการ อย. ก็ออกมาบอกว่า จากการรับฟังความคิดเห็นที่ผ่านมา ทุกฝ่ายต่างเห็นพ้องกับเนื้อหา 90% ของ พ.ร.บ.ยา ฉบับใหม่ มีที่เห็นต่างแค่ 10% เท่านั้น จึงจะเสนอส่วนที่เห็นพ้องไปตามขั้นตอน ส่วนที่เห็นต่างก็อาจจะเขียนว่าให้มีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาปรับแก้ได้ภายหลัง

ขณะที่อีกด้านหนึ่ง ภก.นิลสุวรรณ ลีลารัศมี นายกสภาเภสัชกรรม ได้ทำหนังสือถึงเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา โดยเป็นหนังสือขอคัดค้านร่าง พระราชบัญญัติยา พ.ศ…(ฉบับใหม่) เมื่อวันวันที่ 27 สิงหาคม 2561.-สำนักข่าวไทย 

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

คลอดลูกแฝดตกตึก

หญิงวัย 31 เพิ่งคลอดลูกแฝด พลัดตกตึก 18 ชั้น รพ.ดัง เสียชีวิต

สลด! หญิงวัย 31 ปี เพิ่งคลอดลูกแฝด พลัดตกตึก 18 ชั้น โรงพยาบาลดัง เสียชีวิต ด้านโรงพยาบาลแถลงแสดงความเสียใจต่อครอบครัวผู้เสียชีวิต พร้อมทบทวนมาตรการป้องกันไม่ให้เกิดเหตุแบบนี้ขึ้นอีก

ทหารควง M16 ยิงเพื่อนตำรวจดับคาบ้านพัก

ทหารพรานควง M16 บุกยิงเพื่อนตำรวจเสียชีวิตภายในบ้านพัก ก่อนขี่รถจักรยานยนต์ออกจากบ้านผู้ตาย เข้ามอบตัวกับตำรวจ สภ.เมืองปัตตานี เบื้องต้นคนก่อเหตุให้การวกวน เนื่องจากอยู่ในอาการหลอน

ลูกน้องปืนโหดรัวยิงหัวหน้างานดับคา สนง.ปฏิรูปที่ดินฯ

ลูกน้องชักปืนกระหน่ำยิงหัวหน้างานดับกลางห้องทำงาน สำนักงานปฏิรูปที่ดิน จ.น่าน ก่อนลั่นไกยิงตัวเอง ปมเหตุขัดแย้งเรื่องงาน

จนท.ปะทะเดือด! เสียงปืนสงบพบศพคนร้าย 4 ศพ

ตำรวจ ทหาร ฝ่ายปกครอง นำกำลังปิดล้อมตรวจค้นพื้นที่ อ.กรงปินัง จ.ยะลา เกิดการปะทะ เสียงปืนสงบพบศพคนร้าย 4 ศพ ยึดอาวุธสงคราม 3 กระบอก

ข่าวแนะนำ

ญาติแรงงานไทยเฮลั่นบ้านหลังเห็นภาพการปล่อยตัว

1 ปีกว่า กับการรอคอยสุดทรมาน แต่วันนี้ครอบครัวแรงงานไทย ทั้ง 5 คนที่ได้รับการปล่อยตัว ยิ้มออก โล่งใจ บอกว่าเป็นวันที่รอคอย ปาฏิหาริย์มีจริง