กรมชลฯ สั่งเฝ้าระวังเขื่อนน้ำอูน

กรุงเทพฯ  15 ส.ค. – กรมชลประทานสั่งชลประทานเหนือ-อีสาน เร่งพร่องน้ำจากเขื่อนเกินเกณฑ์ โดยเฉพาะเขื่อนน้ำอูน เพื่อเพิ่มพื้นที่รองรับฝนใหม่ จากอิทธิพลพายุโซนร้อนเบบินคา-มรสุมตะวันตกเฉียงใต้


นายทองเปลว กองจันทร์ อธิบดีกรมชลประทาน กล่าวว่า พายุโซนร้อนเบบินคาจะเข้าปกคลุมประเทศเวียดนามตอนบนระหว่างวันที่ 16-17 สิงหาคมนี้ส่งผลต่อภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยมีฝนตกชุกหนาแน่นและฝนตกหนักบางแห่ง จึงสั่งการให้สำนักงานชลประทานภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือเร่งระบายน้ำจากเขื่อนทุกเขื่อนที่มีน้ำเกินเกณฑ์เก็บกัก โดยเฉพาะเขื่อนขนาดใหญ่ที่ต้องเฝ้าระวังสูงสุด คือ เขื่อนน้ำอูน จังหวัดสกลนคร ซึ่งมีน้ำ 535 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 103 ของความจุอ่าง น้ำเริ่มล้นทางระบายน้ำล้นตั้งแต่วันที่ 2 สิงหาคม ปัจจุบันระดับน้ำเหนือทางระบายน้ำล้น 16 เซนติเมตร น้ำไหลเข้าวันละ 6.230 ล้านลูกบาศก์เมตร แผนการพร่องน้ำทำทั้งระบายออกทางอาคารระบายน้ำล้นและกาลักน้ำที่ติดตั้ง 25  ชุด รวมระบายท้ายเขื่อนวันละ  5.370 ล้านลูกบาศก์เมตร นอกจากนี้ ในจังหวัดสกลนครยังต้องเฝ้าระวังเขื่อนน้ำพุง ซึ่งมีน้ำ 165 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 65 ของความจุอ่างซึ่งเกินเกณฑ์เก็บกัก (Upper Rule Curve) เช่นกัน น้ำไหลเข้าวันละ 1.240 ล้าน ลูกบาศก์เมตร แผนการระบายน้ำออก 680,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน 

นายทองเปลว กล่าวว่า กรมชลประทานได้เฝ้าระวังปริมาณน้ำและการระบายน้ำของหนองหารมากขึ้น ขณะนี้มีน้ำ 233 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 87 ของความจุ ขณะนี้เร่งระบายผ่านทางลำน้ำก่ำตั้งแต่ประตูระบายน้ำสุรัสวดี จนถึงประตูระบายน้ำธรนิศนฤมิตรออกสู่แม่น้ำโขงที่นครพนม เนื่องจากหากมีฝนตกลงมามากน้ำจากตัวเมืองสกลนครที่จะระบายลงสู่หนองหารจะทำได้ช้าแล้วเอ่อท่วมตัวเมือง ปัจจุบันการเร่งระบายน้ำลำน้ำก่ำลงสู่แม่น้ำโขง ทำให้เกิดผลกระทบต่อที่ลุ่มต่ำในจังหวัดสกลนครและนครพนม 15,427 ไร่  


ส่วนเขื่อนขนาดกลางภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่มีน้ำเกินร้อยละ 80 มี 42 แห่งและอ่างที่มีน้ำมากกว่าร้อยละ 100 มี 11 แห่ง ลดลงจากวันที่ 1 สิงหาคมมีมากถึง 47 แห่ง  สำหรับภาคเหนือเขื่อนขนาดใหญ่ไม่เกินเกณฑ์สามารถรับน้ำได้อีกมาก ส่วนเขื่อนขนาดกลางที่มีน้ำร้อยละ 80 ขึ้นไปมี 4 แห่ง ลดลงจากวันที่ 1 สิงหาคมมีอยู่ 14 แห่ง ส่วนเขื่อนขนาดกลางมีน้ำมากกว่าร้อยละ 100 ไม่มีเลย 

สำหรับอิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งพัดปกคลุมทะเลอันดามันและอ่าวไทยที่ทวีกำลังแรงขึ้น ทำให้ต้องเร่งพร่องน้ำออกจากเขื่อนแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี ซึ่งอยู่ในเกณฑ์เฝ้าระวัง เนื่องจากมีน้ำ 725 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 102 ของความจุอ่าง น้ำเริ่มล้นออกทางระบายน้ำล้นวันที่ 6 สิงหาคม ได้ติดตั้งกาลักน้ำ 15 ชุด เพื่อดึงน้ำออกจากอ่าง สำหรับการระบายสู่อ่าวไทยขณะนี้มี 2 ทาง คือ ระบายสู่แม่น้ำเพชรบุรีผ่านตัวเมืองออกทะเลที่อำเภอบ้านแหลมและผันเข้าสู่คลอง D9 ซึ่งจะไปออกทะเลที่ตำบลปึกเตียน อำเภอท่ายาง โดยคลอง D9 ก่อสร้างไปได้ร้อยละ 30 แต่เพื่อจะใช้เสริมการระบายน้ำลงทะเลจึงเร่งขุดขยายให้รับน้ำได้มากขึ้น น้ำไหลเข้า 12.53 ล้านลูกบาศก์เมตร มีแผนการระบายวันนี้ 13.66 ล้านลูกบาศก์เมตร เขื่อนขนาดใหญ่ในภาคกลางฝั่งตะวันตกซึ่งอยู่ในเกณฑ์เฝ้าระวังอีกเขื่อนหนึ่ง คือ เขื่อนปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ซึ่งมีน้ำ 300 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 79 ของความจุอ่างเกินเกณฑ์เก็บกัก น้ำไหลเข้า 6.88 ล้านลูกบาศก์เมตร มีแผนการระบายวันนี้ 9.92 ล้านลูกบาศก์เมตร ส่วนเขื่อนขนาดกลางในภาคกลางฝั่งตะวันตกที่มีน้ำเกินร้อยละ 80 นั้น ไม่มี เนื่องจากพร่องน้ำอย่างต่อเนื่อง

ส่วนเขื่อนขุนด่านปราการชล จังหวัดนครนายกมีน้ำ 174 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 78 ของความจุอ่าง มีน้ำไหลเข้า 13.01 ล้านลูกบาศก์เมตร แต่กรมชลประทานได้ลดปริมาณการระบายน้ำออกให้เหลือเพียง 3.33 ล้านลูกบาศก์เมตร หลังจาก 2 วันก่อนมีฝนตกลงมาอย่างหนักบริเวณเขาเขียว เทือกเขาใหญ่ จังหวัดนครนายก ทำให้เกิดน้ำป่าไหลหลากที่น้ำตกนางรองที่เป็นลำสาขาของแม่น้ำนครนายก ซึ่งจะมารวมกับแม่น้ำนครนายกด้านท้ายเขื่อนขุนด่านปราการชล การปรับลดการระบายน้ำจากเขื่อน ทำให้น้ำที่จะไหลมาลงแม่น้ำนครนายกด้านท้ายเขื่อนน้อยลง เพื่อช่วยลดผลกระทบพื้นที่ด้านท้ายน้ำด้วยอีกทางหนึ่ง ขณะนี้สถานการณ์น้ำเข้าสู่ปกติ ไม่มีผลกระทบจากภาวะน้ำล้นตลิ่ง


นายทองเปลว กล่าวว่า ขอให้ประชาชนมั่นใจว่ากรมชลประทานได้ติดตามการคาดการณ์สภาพอากาศอย่างใกล้ชิด แล้ววางแผนบริหารจัดการน้ำให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริง นอกจากนี้ ได้พร่องน้ำทั้งในเขื่อนและลำน้ำธรรมชาติไว้ล่วงหน้า รวมทั้งดำเนินการอย่างต่อเนื่องตามสถานการณ์จริง แม้จะมีฝนตกชุกอีกครั้งก็ยังมีพื้นที่รองรับน้ำได้.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

โค้งสุดท้ายเลือกตั้ง นายก อบจ.อุบลฯ เดือด ส่งท้ายปี

ใกล้เข้ามาทุกขณะสำหรับการเลือกตั้งนายก อบจ.อุบลราชธานี วันอาทิตย์ที่ 22 ธันวาคมนี้ ซึ่งถือเป็นสนามเลือกตั้งท้องถิ่นขนาดใหญ่ส่งท้ายปีนี้ การแข่งขันดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครต่างเร่งหาเสียงกันอย่างเต็มที่ โดยมีผู้สมัคร 4 คน ลงชิงชัย ไปติดตามบรรยากาศโค้งสุดท้ายว่าใครจะเป็นผู้คว้าชัย

ทอ.ส่ง F-16 ขึ้นบินป้องน่านฟ้า หลังมีอากาศยานไม่ทราบฝ่าย เหนือชายแดนไทย-เมียนมา

กองทัพอากาศส่งเครื่องบินขับไล่ F-16 ขึ้นบิน เพื่อพิสูจน์ฝ่ายและสกัดกั้นอากาศยานไม่ทราบฝ่าย บริเวณแนวชายแดนไทย-เมียนมา จ.ตาก

อุตุฯ เผยอีสาน-เหนือ อากาศหนาว กทม.อุณหภูมิลดลงเล็กน้อย

กรมอุตุฯ เผยภาคอีสาน ภาคเหนือ มีอากาศเย็นถึงหนาว ส่วนภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคใต้ตอนบน มีอากาศเย็นในตอนเช้า ส่วนกรุงเทพฯ-ปริมณฑล อุณหภูมิลดลงเล็กน้อย ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศหนาวเย็น

lightened Christmas tree in front of U.S. Capitol

รู้จัก “ชัตดาวน์” ของสหรัฐและผลกระทบ

วอชิงตัน 20 ธ.ค.- หน่วยงานจำนวนมากของรัฐบาลสหรัฐเสี่ยงต้องปิดทำการชั่วคราว หรือที่เรียกว่า กัฟเวิร์นเมนต์ ชัตดาวน์ (government shutdown) หลังผ่านพ้นเที่ยงคืนวันนี้ (20 ธันวาคม) ตามเวลาสหรัฐ หากรัฐสภาไม่สามารถผ่านร่างงบประมาณฉบับใหม่ได้ทันเวลา หลังจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐลงมติไม่เห็นชอบร่างงบประมาณฉบับใหม่เมื่อวานนี้ สาเหตุที่เสี่ยงชัตดาวน์ ปกติแล้วรัฐสภาสหรัฐ ซึ่งประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาจะต้องจัดสรรงบประมาณให้แก่หน่วยงานรัฐบาลกลางทั้งหมด 438 แห่งก่อนวันที่ 1 ตุลาคมของทุกปี แต่ที่ผ่านมาสมาชิกรัฐสภามักทำไม่ได้ตามกำหนดเวลา และมักผ่านร่างงบประมาณชั่วคราวเพื่อให้หน่วยงานรัฐบาลสามารถดำเนินการได้ต่อไปในระหว่างที่สมาชิกรัฐสภาหารือกันเพื่อผ่านร่างงบประมาณจริง ร่างงบประมาณชั่วคราวฉบับปัจจุบันจะหมดอายุเมื่อเข้าสู่เช้าวันเสาร์ตามเวลาสหรัฐ สมาชิกรัฐสภาพรรครีพับลิกันและพรรคเดโมแครตเตรียมร่างกฎหมายที่จะขยายเวลาไปจนถึงวันที่ 14 มีนาคม 2568 แต่นายโดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีเรียกร้องให้สมาชิกรัฐสภาพรรครีพับลิกันลงมติไม่เห็นด้วย และเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐลงมติไม่เห็นชอบร่างงบประมาณที่เสนอใหม่ ดังนั้นหากรัฐสภาไม่สามารถผ่านร่างงบประมาณฉบับใหม่ได้ก่อนที่ร่างงบประมาณชั่วคราวฉบับปัจจุบันจะหมดอายุ ก็จะเกิดการชัตดาวน์ เพดานหนี้ที่ทรัมป์ต้องการให้แก้ นายทรัมป์ยังต้องการให้สมาชิกรัฐสภาแก้ปัญหาเรื่องการกำหนดเพดานหนี้ประเทศให้รัฐบาลสามารถกู้ยืมได้มากขึ้น ก่อนที่เขาจะสาบานตนรับตำแหน่งประธานาธิบดีในวันที่ 20 มกราคม 2568 รัฐสภาสหรัฐเป็นผู้กำหนดเพดานหนี้สาธารณะที่อนุญาตให้รัฐบาลก่อหนี้ แต่เนื่องจากรัฐบาลมักใช้จ่ายมากกว่ารายได้ที่ได้จากการจัดเก็บภาษี สมาชิกรัฐสภาจึงต้องคอยแก้ปัญหานี้เป็นครั้งคราว รัฐสภาสหรัฐกำหนดเพดานหนี้สาธารณะครั้งแรกในปี 2482 โดยกำหนดไว้ที่ 45,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 1.55 ล้านล้านบาทในปัจจุบัน) และนับจากนั้นเป็นต้นมาได้ขยายเพดานหนี้แล้วทั้งหมด 103 […]

ข่าวแนะนำ

ฟรีคอนเสิร์ต “มหานครคัลเลอร์ฟูลปาร์ตี้ 2025” ส่งสุขรับปีใหม่

ส่งความสุขรับปีใหม่ กับฟรีคอนเสิร์ต “มหานครคัลเลอร์ฟูลปาร์ตี้ 2025” ศิลปินลูกทุ่งเกือบ 100 ชีวิต ร่วมโชว์จัดเต็ม

เลือกตั้งนายก อบจ.อุบลฯ “กานต์” ส่อเข้าป้าย

เลือกตั้งนายก อบจ.อุบลราชธานี “กานต์” หมายเลข 1 จากเพื่อไทย ส่อเข้าป้าย ด้าน ปชน. แถลงยอมรับยังไม่เป็นที่ไว้วางใจ ส่วนอุตรดิตถ์ “ชัยศิริ” อดีตนายก อบจ. ส่อเข้าวิน

เด้ง ตร.จราจร ปมคลิปรับเงินแลกไม่เขียนใบสั่ง

ผบก.ภ.จว.นนทบุรี สั่งย้าย “รอง สว.จร.สภ.รัตนาธิเบศร์” เซ่นคลิปรับเงินแลกไม่ออกใบสั่ง พร้อมตั้งกรรมการสอบข้อเท็จจริงภายใน 3 วัน ด้านเจ้าตัวอ้างไม่เห็นเงินที่วางบนโต๊ะในตู้ควบคุมสัญญาณไฟจราจร