fbpx

กรมสุขภาพจิต แนะ 4 ข้อปฏิบัติรับมือน้ำท่วม

กรมสุขภาพจิต 7 ส.ค.-กรมสุขภาพจิต แนะประชาชนเตรียมพร้อมรับมือน้ำท่วมล่วงหน้า ป้องกัน-ลดสูญเสีย ชีวิตและทรัพย์สิน ติดตามข่าวสารจากราชการเป็นหลัก สำรองอาหารน้ำดื่มให้เพียงพออย่างน้อย 3 วัน ผู้มีโรคประจำตัว ให้จัดเตรียมยากินไว้ใกล้ตัว โดยเฉพาะผู้ป่วยจิตเวช ห้ามขาดยา หากยาใกล้หมด ให้พบแพทย์ก่อนนัด      


วันนี้ (7 ส.ค.) นพ.ชิโนรส  ลี้สวัสดิ์ รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับกรณีการระบายน้ำจากเขื่อนต่างๆ โดยเฉพาะที่เขื่อนแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรีตามประกาศแจ้งเตือนของสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ  (สทนช.)  ซึ่งจะทำให้มีน้ำเอ่อท่วมพื้นที่ลุ่ม 2 ฝั่งแม่น้ำเพชรบุรี  จะเคลื่อนตัวถึงอำเภอเมืองเพชรบุรีและอำเภอบ้านแหลม ในวันนี้ เวลา 24.00 น.เป็นต้นไป ว่า ขอให้ประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ที่จะมีผลกระทบจากการระบายน้ำครั้งนี้ อย่าตื่นตระหนก แต่ขอให้ตระหนักและตั้งสติรับมือกับน้ำท่วมที่เรารู้ล่วงหน้าแล้ว  โดยขอให้ประชาชนปฎิบัติ 4 ประการดังนี้


1.ผู้อยู่ในพื้นที่มีโอกาสน้ำท่วมซ้ำ หรือพื้นที่เสี่ยงเกิดน้ำท่วมใหม่ ติดตาม ข่าวสารประกาศเตือนภัยจากทางราชการเป็นหลัก เพื่อลดการตื่นตระหนก และความวิตกกังวล

2.ให้ตั้งสติ อย่าตกใจ และให้คิดถึงความปลอดภัยของชีวิตและคนในครอบครัวไว้ก่อน เนื่องจากเป็นภัยที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ  โดยให้เตรียมความพร้อมร่วมกันในครอบครัว จัดลำดับความสำคัญเร่งด่วนของปัญหา  เรียงจากมากไปหาน้อยแก้ไปทีละข้อจะลดความกังวลได้ จัดเตรียมสำรองอาหารแห้ง น้ำดื่มให้เพียงพออย่างน้อย 3 วัน กำหนดหน้าที่ของคนในครอบครัว และวางแผนการขนย้ายผู้ที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้หรือได้น้อย เช่น ผู้ป่วยติดเตียง ผู้สูงอายุ ผู้พิการ รวมทั้งสิ่งของจากบ้านเรือนไว้ให้พร้อม หากเกิดน้ำท่วมขึ้นจริง ก็จะสามารถดำเนินการตามแผนที่วางไว้ได้ทันที ซึ่งจะช่วยลดความสับสน ตื่นตระหนกลงได้ และจะช่วยลดความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินลงได้มาก ผลกระทบความเครียดจะลดน้อยลง 


3.สำหรับผู้มีโรคประจำตัวทุกโรค ขอให้จัดเตรียมยาที่กินประจำไว้ใกล้ตัว เพื่อหยิบง่ายในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน โดยเฉพาะผู้ป่วยจิตเวช ห้ามขาดยา เพราะอาการจะกำเริบได้ แนะนำให้ครอบครัวผู้ป่วยช่วยตรวจสอบจำนวนยา หากพบยาใกล้หมดหรือยากินสูญหาย ไม่ต้องรอให้มีอาการป่วยก่อน เนื่องจากสถานการณ์น้ำท่วมขณะนี้บางพื้นที่ยังเดินทางยากลำบาก ไม่สามารถเดินทางไปโรงพยาบาลตามนัดได้ ให้รีบแจ้งหน่วยแพทย์เคลื่อนที่หรือ อสม.หรือสถานพยาบาลที่อยู่ใกล้บ้าน  ประการสำคัญการได้รับยาต่อเนื่องจะทำให้ผู้ป่วยสามารถควบคุมอาการให้เป็นปกติได้  หากปล่อยให้อาการกำเริบบ่อยๆ  จะส่งผลเสียอาจเกิดอาการทางจิตรุนแรงขึ้น  การรักษาจะยุ่งยากขึ้น

4.ควรจดเบอร์ฉุกเฉินของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะด้านสุขภาพและความปลอดภัยไว้ประจำบ้าน ได้แก่   สายด่วนสุขภาพจิต 1323 , สายด่วนกู้ชีพ 1669  , สายด่วนนิรภัย 1784 ของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย  เพื่อสามารถโทรขอรับความช่วยเหลือได้ทันทีหากเกิดภาวะจำเป็นเร่งด่วน       

สำหรับการเตรียมความพร้อมให้การดูแลจิตใจประชาชนในพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วม  ได้ให้โรงพยาบาลจิตเวชและศูนย์สุขภาพจิตที่มี 33 แห่งทั่วประเทศครอบคลุมทุกภาค เตรียมทีมสุขภาพจิตเอ็มแคท พร้อมเวชภัณฑ์ยารักษาด้านอารมณ์จิตใจ สนับสนุนการปฏิบัติงานของทีมสุขภาพจิตเอ็มแคทเครือข่ายของโรงพยาบาลที่อยู่ในพื้นที่ประสบภัยอย่างใกล้ชิด.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

พบศพโบลท์หญิงวัย 47 ในป่าหญ้าริมทาง คาดถูกฆ่าชิงรถ

โบลท์หญิงวัย 47 ปี หายตัวจากบ้านพักย่านดินแดง 9 วัน ล่าสุดพบเป็นศพในป่าหญ้าริมถนนสายนครชัยศรี-ห้วยพลู อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม ส่วนรถยนต์โผล่ที่ จ.ภูเก็ต คาดถูกคนร้ายฆ่าชิงรถ

pagers on display

ทำไมยังมีการใช้ “เพจเจอร์” ในยุคสมาร์ทโฟน

ลอนดอน 19 ก.ย.- เพจเจอร์ หรือวิทยุติดตามตัวเป็นอุปกรณ์การสื่อสารยอดนิยมในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1990 ที่ต้องหลีกทางให้แก่โทรศัพท์เคลื่อนที่ เนื่องจากเป็นการสื่อสารทางเดียว แต่ยังคงมีการใช้งานในบางกลุ่ม รวมถึงกลุ่มฮิซบอลเลาะห์ที่เพจเจอร์ระเบิดพร้อมกันหลายพันเครื่องทั่วเลบานอนเมื่อวันที่ 17 กันยายน แหล่งข่าวเผยว่า ฮิซบอลเลาะห์ใช้เพจเจอร์ เนื่องจากเป็นช่องทางสื่อสารเทคโนโลยีต่ำ ส่งข้อความผ่านสัญญาณวิทยุ จึงตรวจจับสัญญาณและตำแหน่งได้ยากกว่าโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ส่งสัญญาณไปยังเสาส่งที่อยู่ใกล้ที่สุด อีกทั้งไม่มีเทคโนโลยีระบุพิกัดบนพื้นโลกอย่างจีพีเอสด้วย อดีตเจ้าหน้าที่สำนักงานสอบสวนกลางหรือเอฟบีไอ (FBI) ของสหรัฐเผยว่า ในอดีตแก๊งอาชญากรรมโดยเฉพาะแก๊งค้ายาเสพติดในสหรัฐเคยนิยมใช้เพจเจอร์ แต่ขณะนี้หันมาใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่แบบเติมเงินราคาถูกที่สามารถเปลี่ยนเครื่องและหมายเลขได้อย่างง่ายดาย ทำให้เจ้าหน้าที่ติดตามแกะรอยได้ยาก อย่างไรก็ดี  ศัลยแพทย์โรงพยาบาลใหญ่แห่งหนึ่งในสหราชอาณาจักรเผยว่า เพจเจอร์เป็นอุปกรณ์ที่แพทย์และพยาบาลสังกัดสำนักงานบริการสุขภาพแห่งชาติหรือเอ็นเอชเอส (NHS) ต้องพกติดตัวอยู่เสมอ เพื่อรับแจ้งข่าวในการปฏิบัติหน้าที่ เป็นช่องทางที่ถูกที่สุดและมีประสิทธิภาพมากที่สุดในการแจ้งข่าวทางเดียวกับคนจำนวนมาก เพจเจอร์หลายรุ่นสามารถส่งเสียงไซเรนและมีข้อความเสียงแจ้งให้ทีมแพทย์ไปรวมตัวที่ห้องฉุกเฉินได้ทันที ข้อมูลล่าสุดในปี 2562 ระบุว่า เอ็นเอชเอสใช้เพจเจอร์ประมาณ 130,000 เครื่อง คิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 1 ใน 10 ของที่ใช้ทั่วโลก คอกนิทีฟมาร์เก็ตรีเสิร์ช  (Cognitive Market Research) ซึ่งเป็นบริษัทวิจัยคาดการณ์ว่า ตลาดเพจเจอร์จะเติบโตร้อยละ 5.9 ต่อปี จากปี 2566 ถึงปี 2573 […]

ข่าวแนะนำ

ชีวิตติดลบ! ชาวแม่สายจมน้ำจมโคลน 10 วันแทบหมดตัว

หลายชุมชนชายแดนแม่สาย เผชิญน้ำท่วมและจมโคลนมา 10 วันแล้ว อยู่ในสภาพแทบหมดตัว ต้องเริ่มนับหนึ่งใหม่กับชีวิตที่ต้องติดลบจากน้ำท่วมครั้งนี้

อาลัย “อดีตแข้ง U19” ขับเบนซ์พลิกคว่ำดับพร้อมภรรยา

วงการลูกหนังอาลัย “อดีตนักเตะ U19” ขับเบนซ์พลิกคว่ำดับพร้อมภรรยา ชาวบ้านเผยจุดนี้เกิดอุบัติเหตุบ่อย ลงสะพานอย่าขับเร็ว

สอบเพิ่ม “ไอ้แม็ก” ฆ่าชิงทรัพย์หญิงขับโบลท์ ฝากขังพรุ่งนี้

ตำรวจคุมตัว “ไอ้แม็ก” สอบปากคำเพิ่มคดีฆ่าชิงทรัพย์โชเฟอร์สาวขับโบลท์ เจ้าตัวปฏิเสธไปชี้จุด อ้างปวดท้องไม่สบาย เตรียมฝากขังพรุ่งนี้