วงเสวนาสะท้อนสิทธิเสรีภาพในไทยยังมีปัญหา

สำนักงาน กสม.  13 ก.ค. -วงเสวนาโรดแมปสิทธิมนุษยชนเส้นทางประชาธิปไตย  เห็นตรงกันสิทธิเสรีภาพในรัฐบาลหลังรัฐประหารยังมีปัญหา”วัส” ระบุตราบาปรัฐธรรมนูญ 60  คนร่างมีวาระซ่อนเร้น  ใช้กฎหมายเซ็ตซีโรองค์กรอิสระ     “บรรเจิด”  เห็นว่า เรื่องการเซ็ตซีโร่ กสม.และ กกต.เป็นรอยด่างในรัฐธรรมนูญ 60   ด้าน “พงษ์เทพ”  ชี้องค์กรอิสระขาดความน่าเชื่อถือ  เพราะได้ประโยชน์


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (13 ก.ค.)สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  จัดงานครบรอบวันสถาปนาองค์กร กสม. 17 ปี โดยมีการเสวนาหัวข้อ   “โรดแมป สิทธิมนุษยชนเส้นทางประชาธิปไตย”   โดยมี นายวัส ติงสมิตร ประธานกรรมการสิทธิมนุษยนชนแห่งชาติ    นายพงษ์เทพ เทพกาญจนา อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม   นายบรรเจิด สิงคะเนติ อาจารย์คณะนิติศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์   และนายวิทิต มันตราภรณ์   อาจารย์คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมเวที  โดยส่วนใหญ่เห็นตรงกัน  ว่าเรื่องของสิทธิมนุษยชนในประเทศไทยมีความก้าวหน้ามาโดยลำดับ  แต่ยังมีหลายอย่างที่เป็นปัญหา โดยเฉพาะเรื่องของสิทธิเสรีภาพ

นายวัส  กล่าวว่า การเขียนบทเฉพาะกาลในรัฐธรรมนูญให้กรรมการในองค์กรอิสระอยู่ในวาระต่อไปหรือไม่  ให้เป็นไปตามกฎหมาย จนทำให้มีการเซ็ตซีโร่องค์กรอิสระ   แต่ไม่เซ็ตซีโร่บางองค์กร  จะเป็นปัญหาการปฏิบัติหน้าที่ขององค์กรที่ไม่ถูกเซ็ตซีโร  ว่าจะมีการคอบแทนบุญคุณหรือไม่    ซึ่งตนและ กสม.บางคนได้ยื่นเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย  แต่ก็มีการยกคำร้อง   ในขณะที่คนที่จะต้องเป็นผู้วินิจฉัย คือ  ศาล  ก็ได้ประโยชน์จากกฎหมายลักษณะนี้  ทำให้เกิดปัญหาผลประโยชน์ขัดกัน   ถือเป็นเรื่องที่ผิดตั้งแต่การร่างรัฐธรรมนูญ  เหมือนเป็นตราบาป   จึงเชื่อว่าผู้เขียนกฎหมายน่าจะมีวาระซ่อนเร้นหรือไม่  และเห็นว่ารัฐธรรมนูญที่ต้องการลดความขัดแย้งภายในประเทศนั้น  หากผู้มีอำนาจในปัจจุบันเดินหน้าเป็นรัฐบาลหลังการเลือกตั้งจะทำให้เห็นได้ว่าความหวังที่คิดว่าปัญหาความขัดแย้งอย่างสันติจะเลือนลางเต็มที


นายวิทิต  กล่าวว่า เรื่องสิทธิมนุษยชนในประเทศที่มีความก้าวหน้า คือ  เรื่องการเข้าถึงบริการด้านสุขภาพ การปราบปรามการค้ามนุษย์  มีการนำหลักการสากลมาใช้ในประเทศมากขึ้น  และการนำกระบวนการยุติธรรมปกติมาใช้ในพื้นที่ภาคใต้มากขึ้น  แทนที่จะใช้แต่ พ.ร.ก.สถานการณ์ฉุกเฉินเพียงอย่างเดียว   แต่สิ่งที่ยังไม่ราบรื่น คือ เรื่องนิรโทษกรรมตนเองยังมีอยู่ หรือการลังเลเรื่องการเลือกตั้งทำให้นานาชาติไม่สบายใจและเรื่องสิทธิเสรีภาพยังมีปัญหาทั้งเรื่องกฎหมายอาญามาตรา 112 และ 116 นอกจากนี้ยังมีการจับกุมคนที่เรียกร้องประชาธิปไตย   และมีการลงโทษประหารชีวิต   อย่างไรก็ตามในเรื่องพื้นที่สู่การเลือกตั้ง มี 4 คดี ที่ศาลรัฐธรรมนูญตีความแล้วว่าไม่ขัดรัฐธรรมนูญ  เปิดช่องทางสู่การเลือกตั้งง่ายขึ้นคือ คำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 53/2560 ออกมาแก้ไข พ.ร.ป.พรรคการเมือง / ร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยการได้มาซึ่ง ส.ว.  / ร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.ที่ศาลรัฐธรรมนูญตีความ   และกรณีที่ยกฟ้องเรื่องการทำรัฐประหาร ทำให้การเลือกตั้งน่าจะเร็วขึ้น  จึงอยากให้เปิดพื้นที่การแสดงออกมากขึ้น  และเปิดให้ภายนอกเข้ามาสังเกตการณ์การเลือกตั้ง  จัดการเลือกตั้งให้เกิดความเสรีและเที่ยงธรรม อย่างไรก็ตามเรื่องของสิทธิมนุษยชนนั้น  ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลจากการเลือกตั้งหรือไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง  ก็ไม่มีหลักประกันว่าสิทธิมนุษยชนจะได้รับความคุ้มครอง   สังคมจึงต้องร่วมกันผลักดันให้ผู้มีอำนาจเคารพสิทธิมนุษยชนของประชาชนด้วย พร้อมกับเสนอให้ลดการใช้กฎหมายที่ไปลิดรอนสิทธิเสรีภาพของประชาชน   และคดีที่เกี่ยวกับพลเรือนอย่าไปขึ้นศาลทหาร  หรือถ้าขึ้นศาลทหารก็ขอให้อุทธรณ์ไปยังศาลพลเรือนได้

ด้านนายบรรเจิด   กล่าวว่า หลักการสิทธิมนุษยชนกับหลักการประชาธิปไตยเป็นรากแก้วของเสรีประชาธิปไตย คือหลักนิติรัฐนิติธรรมและประชาธิปไตย  ต้องสัมพันธ์กันจึงจะอยู่อย่างมั่นคงได้  ประเทศไทยเรื่องหลักนิติรัฐ นิติธรรม มีปัญหาตั้งแต่การยกร่างรัฐธรรมนูญปี 2560   ส่วนประชาธิปไตยในรอบหนึ่งทศวรรษมีรัฐบาลจากการเลือกตั้งและไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง    ซึ่งรัฐบาลจากการเลือกตั้งไม่มีปัญหาเรื่องเสรีภาพในการแสดงออก   แต่เมื่อมีการใช้เสรีภาพในการชุมนุมกลับมีปัญหาเรื่องการทำลายชีวิต   ส่วนรัฐบาลที่ไม่มาจากการเลือกตั้งมีข้อจำกัดเรื่องการแสดงออก  แต่มีความมั่นคงในชีวิตและร่างกาย  เพราะฉะนั้นบริบทสิทธิมนุษยชนในหนึ่งทศวรรษจึงมีปัญหาทั้งสองด้าน   จึงเหมือนทางสองแพ่งว่าจะเดินต่ออย่างไร นายบรรเจิด ยังเห็นว่า รัฐธรรมนูญปี 60  มีปัญหา   เพราะแม้จะมีการกำหนดเรื่องหลักนิติรัฐ  นิติธรรมเอาไว้ แต่กลับมีการเซ็ตซีโร กกต.และ กสม. คุ้มครองบางองค์กร   ซึ่งจะกลายเป็นปัญหาในอนาคต  เช่น ป.ป.ช.หากวินิจฉัยเอื้อประโยชน์ให้ฝ่ายการเมืองก็จะถูกมองว่าสองมาตรฐาน  เพราะได้ประโยชน์จากการไม่ถูกเซ็ตซีโร่   จะกลายเป็นประเด็นที่ถูกนำมาขยายผล ถือว่าเป็นรอยด่างของรัฐธรรมนูญที่ควรจะซักฟอกใหม่  ไม่เช่นนั้นจะเป็นรอยด่างไปชั่วนิรันดร์  ไม่สามารถอธิบายหลักความเสมอภาคและการเลือกปฏิบัติได้  อีกทั้งขัดกับหลักการให้กฎหมายมีผลย้อนหลัง

“เพราะกฎหมายมหาชนกฎหมายมีผลย้อนหลังได้  แต่รัฐต้องอธิบายได้ว่า  มีประโยชน์สาธารณะสำคัญกว่าหลักการคุ้มครองความสุจริต  พร้อมตั้งข้อสังเกตถึงบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญที่การระบุเกี่ยวกับสิทธิการชุมนุม   ว่าต้องไม่กระทบความมั่นคงของรัฐ   ซึ่งจะทำให้สิทธิเสรีภาพการชุมนุมถูกจำกัดตั้งแต่ต้นทาง”นายบรรเจิด กล่าว


ส่วนนายพงษ์เทพ  เห็นว่า เมื่อประเทศไม่เป็นประชาธิปไตยก็ทำให้ประชาชนไม่มีสิทธิมนุษยชนอย่างที่ควรจะเป็น  ทำอะไรไม่ได้  เพราะจะถูกจับตั้งข้อหา  อีกทั้งรัฐธรรมนูญปี 60 ยังคุ้มครองการใช้อำนาจของ คสช.ให้ใช้อำนาจได้ทั้งฝ่ายบริหาร นิติบัญญัติและตุลาการ   ซึ่งเป็นระบบที่แย่กว่ารัฐบาลจากการรัฐประหารในอดีต  เพราะสามารถแทรกแซงได้ทั้งศาลและองค์กรอิสระ  และยังมีการกำหนดถึงวาระการดำรงตำแหน่งของกรรมการในองค์กรอิสระให้ขึ้นอยู่กับกฎหมาย จนมีการเซ็ตซีโร่  กสม.และ กกต.แต่หลายองค์กรได้รับความคุ้มครอง  ทำให้สังคมขาดความเชื่อมั่นต่อการปฏิบัติหน้าที่ขององค์กรอิสระ รวมถึงศาลรัฐธรรมนูญ ที่ได้ประโยชน์จากเรื่องดังกล่าวด้วยเช่นเดียวกัน   นอกจากนี้ยังกำหนดให้ ส.ว.มาจากการแต่งตั้งของ คสช. 250 คน  มีสิทธิเลือกนายกรัฐมนตรี  และจะเป็นผู้ให้ความเห็นชอบองค์กรอิสระในอนาคต  ทำให้เชื่อมั่นไม่ได้ ขณะเดียวกันผู้มีอำนาจก็แสดงท่าทีว่าจะกลับเข้าสู่อำนาจอีกครั้ง  ทำให้กระบวนการตรวจสอบมีปัญหา อย่างไรก็ตามยังเชื่อมั่นในระบอบประชาธิปไตยแม้จะมีปัญหา แต่การปกครองระบอบอื่นมีปัญหามากกว่า  โดยในช่วงการบริหารของรัฐบาลที่มาจากการรัฐประหาร  คงต้องฝากความหวังไว้กับศาลเพียงอย่างเดียว.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ประหารชีวิตแอมไซยาไนด์

ศาลอาญาพิพากษาประหารชีวิต “แอม ไซยาไนด์”

ศาลอาญาพิพากษาประหารชีวิต “แอม ไซยาไนด์” ส่วนอดีตสามี คุก 1 ปี 4 เดือน “ทนายพัช” คุก 2 ปี ไม่รอลงอาญา ชดใช้ ให้ผู้เสียหายกว่า 2 ล้านบาท

นายกฯ ถกตั้งนายพลตำรวจ 41 ตำแหน่ง ยันไม่มีการเมืองแทรก

นายกฯ ถกแต่งตั้งนายพลตำรวจ 41 ตำแหน่ง ยันไม่มีการเมืองแทรก ยึดตาม พ.ร.บ.ตำรวจ ฉบับใหม่ พลิกโผ ‘สยาม บุญสม’ ผงาดคุมนครบาล ‘สันติ ชัยนิรามัย’ นั่ง ผบช.ปส. ‘ไตรรงค์ ผิวพรรณ’ โยกคุมไซเบอร์ ‘ภาณุมาศ บุญญลักษม์’ ขึ้นเป็น ผบช.สตม.

ดีเอสไอพบเส้นเงินโอนจากแม่ถึงนักการเมือง ส. เกือบ 100 ล้าน

ดีเอสไอพบเส้นเงินโอนจากแม่ถึงนักการเมือง ส. เกือบ 100 ล้านบาท จำนวนนี้พบโอนจาก “บอสพอล-บอสปีเตอร์” ด้วย เร่งขยายผลมีบอสรายอื่นโอนเข้าบัญชีดังกล่าวอีกหรือไม่

ข่าวแนะนำ

“เอวา” เสือโคร่งสายแบ๊ว ดาวรุ่งดวงใหม่

หน้าตาที่น่ารักบ้องแบ๊วเหมือนแมวตัวโต ตกหัวใจคนรักสัตว์กันไปเต็มๆ สำหรับน้องเอวา เสือโคร่งสายแบ๊วของเชียงใหม่ไนท์ซาฟารี นอกจากหน้าตาน่ารักแล้วยังมีความสามารถหลายอย่าง จนกลายเป็นดาวรุ่งดวงใหม่ ที่ผู้คนแห่ไปชมความน่ารักกันอย่างคึกคัก คาดจะช่วยดึงนักท่องเที่ยวไปที่เชียงใหม่ไนท์ซาฟารีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

ต้อนรับอบอุ่น “โอปอล” รองอันดับ 3 มิสยูนิเวิร์ส 2024 ถึงไทย

กลับถึงไทยแล้ว “โอปอล สุชาตา” รองอันดับ 3 มิสยูนิเวิร์ส 2024 ปรากฏตัวในชุดไทย สวยสง่า แฟนนางงามต้อนรับอย่างอบอุ่น

“สนธิ” ยื่นถอด “ตั้ม-เดชา” ออกจากทนาย

“สนธิ ลิ้มทองกุล” หอบหลักฐานบุกสภาทนายความ ถอดทนายตั้ม-ทนายเดชา ออกจากทนาย ระบุ ได้รับมอบอำนาจจาก “มาดามอ้อย” แล้ว เดินหน้าเอาผิด ทนายตั้มแบบสุดซอย ไม่ให้มีคนตกเป็นเหยื่อผู้รู้กฎหมายอีก

นายกฯ โชว์วิสัยทัศน์บนเวที Forbes ดันเศรษฐกิจไทย ส่งเสริมซอฟต์พาวเวอร์

“นายกฯ แพทองธาร” โชว์วิสัยทัศน์บนเวที Forbes Global CEO Conference ครั้งที่ 22 ดันเศรษฐกิจไทย ส่งเสริมซอฟต์พาวเวอร์ รับมือความท้าทาย ชูจุดเด่นไทยอยู่ตรงกลางของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีภาคการเกษตรที่เข้มแข็งดึงดูดนักลงทุน บอกกระตุ​้นเศรษฐกิจ​แจกเงินหมื่นเฟส​ 2 พุ่งเป้าเงินสะพัด ลั่น​จุดยืนไทยวางตัวเป็นทูตสันติภาพ พร้อมปรับตัวตามนโยบาย “ทรัมป์”