กรุงเทพฯ 9 ก.ค. – รฟท.เผยมีเอกชนไทย-ต่างชาติ 31 ราย สนใจซื้อซองรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน
การรถไฟแห่งประเทศไทยรายงานว่าตามที่ได้มีการเปิดขายเอกสารการคัดเลือกเอกชนโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม3 สนามบิน ดอนเมือง – สุวรรณภูมิ – อู่ตะเภา ตั้งแต่วันที่ 18 มิถุนายนจนถึงวันที่ 9 กรกฎาคม 2561 ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของการขายเอกสาร รวมระยะเวลา 3 สัปดาห์ มีเอกชนทั้งในประเทศและต่างประเทศให้ความสนใจจำนวนมากเข้าซื้อเอกสารการคัดเลือกเอกชนโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน 31 ราย
ทั้งนี้ ประกอบด้วย 1. บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) (ประเทศไทย) 2. บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด (ประเทศไทย) 3. บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) (ประเทศไทย) 4. บริษัท ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) (ประเทศไทย) 5. บริษัท เอนเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์ จำกัด (ประเทศไทย) 6. ITOCHU Corporation (ประเทศญี่ปุ่น) 7. ซิโนไฮโดร คอร์ปอเรชั่น ลิมิเต็ด (ประเทศจีน) 8. บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) (ประเทศไทย) 9. บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จากัด (มหาชน) จากประเทศไทย 10. บริษัท ฟูจิตะ คอร์ปอเรชั่น (ไทยแลนด์) จำกัด (ประเทศญี่ปุ่น) 11. China Railway Construction Corporation Limited (สาธารณรัฐประชาชนจีน) 12. บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) (ประเทศไทย)
13. บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) (ประเทศไทย) 14. บริษัท ทีพีไอ โพลีน จำกัด (มหาชน) (ประเทศไทย) 15. CHINA RAILWAY GROUP LIMITED (สาธารณรัฐประชาชนจีน) 16.ChinaCommunicationsConstructionCompanyLimited(สาธารณรฐัประชาชนจีน) 17. China Resources (Holdings) Company Limited (สาธารณรัฐประชาชนจีน) 18. CITIC Group Corporation (สาธารณรัฐประชาชนจีน) 19. Korea-Thai High-speed Railroad Consortium Inc. (ประเทศไทย) 20. บริษัท เทอดดาริ จากัด (ประเทศไทย) 21. Salini Impregio S.p.A. (ประเทศอิตาลี) 22. บริษัท ฮิตาชิ เอเซีย (ประเทศไทย) จำกัด (ประเทศไทย) 23. TRANSDEV GROUP (ประเทศฝรั่งเศส) 24. SNCF INTERNATIONAL (ประเทศฝรั่งเศส) 25. Japan Overseas Infrastructure Investment Corporation for Transport & Urban Development (ประเทศญี่ปุ่น) 26. บริษัท เพาเวอร์ไลน์ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน) (ประเทศไทย) 27. บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) (ประเทศไทย) 28. บจก. แอล เอ็ม ที สโตน (ประเทศไทย) 29. WANNASSER INTERNATIONAL GREEN HUB BERHAD (ประเทศมาเลเซีย) 30. บริษัท ไชน่า สเตท คอนสตรัคชั่น เอนยิเนียริ่ง คอร์ปอเรชั่น ลิมิเต็ด (สาธารณรัฐประชาชนจีน) และ 31. MRCB Builders SDN. BHD. (ประเทศมาเลเซีย)
ภายหลังจากการขายเอกสารเสร็จสิ้นจะจัดให้มีการประชุมชี้แจง เพื่อทำความเข้าใจ 2 ครั้ง วันที่ 23 กรกฎาคม 2561 สโมสรรถไฟชั้น 2 การรถไฟแห่งประเทศไทย เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ หลังจากนั้นจะนำผู้ยื่นข้อเสนอไปดูสถานที่ก่อสร้างของโครงการ (Site Visit) วันที่ 24 กรกฎาคม 2561 และวันที่ 26 กรกฎาคม 2561 โดยเข้าดูพื้นที่ของโครงการแอร์พอร์ต เรลลิงค์ มักกะสัน สถานีสุวรรณภูมิ และสถานีรายทาง , โครงการระบบรถไฟชานเมือง(สายสีแดง) ช่วงบางซื่อ – รังสิต สถานีกลางบางซื่อ โครงการ ระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดงอ่อน ช่วงบางซื่อ – พญาไท – มักกะสัน – หัวหมาก และเขตทางรถไฟปัจจุบัน ตลอดแนวเส้นทางโครงการฯ จากสถานีดอนเมืองไปตามเส้นทางรถไฟสายตะวันออก ผ่านสถานีมักกะสัน สถานี ฉะเชิงเทรา สถานีพัทยา และสิ้นสุดบริเวณสถานีบ้านฉาง ทั้งนี้ จะเปิดให้มีการส่งข้อสังเกต ข้อเสนอแนะ หรือคำถามเกี่ยวกับเอกสารการคัดเลือกเอกชน และให้มีการตรวจสอบข้อมูลหรือรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับโครงการ วันที่ 10 กรกฎาคม – 9 ตุลาคม 2561 ณ ห้องประชุมฝ่ายโครงการพิเศษและก่องสร้างการรถไฟฯ ในเวลา ราชการ
สำหรับกำหนดการรับซองข้อเสนอจะมีขึ้นในวันที่ 12 พฤศจิกายน 2561 เวลา 09.00 – 15.00 น. โดยผู้ยื่นข้อเสนอต้องยื่นหลักประกันซองพร้อมกับซองข้อเสนอ มูลค่า 2,000 ล้านบาท และต้องชำระค่าธรรมเนียมการประเมินข้อเสนอให้แก่ รฟท. 2 ล้านบาท ที่สำนักงานโครงการแอร์พอร์ต เรลลิงค์ มักกะสัน และผู้ที่ยื่นเสนอผ่านการประเมินข้อเสนอจะต้องวางหลักประกันสัญญาที่ออกโดยธนาคารให้กับการ รถไฟฯ ในวันที่เข้าทาสัญญาร่วมทุนเป็นมูลค่า 4,500 ล้านบาท เพื่อเป็นหลักประกันการปฏิบัติตามสัญญาร่วม ลงทุนของเอกชนคู่สัญญา.-สำนักข่าวไทย