จุฬาฯ 28 มิ.ย.-กลุ่มเครือข่ายเภสัชกร เรียกร้อง ก.ดิจิทัล-พาณิชย์-อย.เร่งควบคุมผลิตภัณฑ์เสริมอาหารลดน้ำหนักในโลกออนไลน์ ขณะเดียวกันเจ้าของเว็บไซต์ ตรวจสอบสินค้าก่อนขาย จี้ กสทช.ต้องช่วยคุม
เภสัชกรหญิงนิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี ผู้จัดการศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา กล่าวแถลงข่าวไซบูทรามีน:อันตราย สถานะทางกฎหมายและการลักลอบนำเข้า ว่า แม้ทาง อย.จะมีการประชุมเตรียมยกระดับสารไซบูทรามีน ให้เป็นวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ประเภท 1.ผู้ใดฝ่าฝืนมีโทษจำคุก 20 ปี ครอบคลุมตั้งแต่ผู้นำเข้า,ผู้ผลิต และผู้จำหน่าย แต่ก็พบว่ายังไม่การฝ่าฝืนจำหน่ายในออนไลน์และแม้ว่าข่าวจากสื่อมวลชนจะเตือนให้ระวัง หรือแจ้งว่า ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารนี้อันตรายถึงแก่ ชีวิต แต่ก็ยังมีคนหลงเชื่อซื้อหามารัยประทาน และจากการเก็บข้อมูลตั้งแต่ปี 2552-2561 พบว่ามีผู้เสียชีวิตจากผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเฉลี่ยปีละ 2 ราย แต่ในปี 2561 เพียงแค่ครึ่งปี เสียชีวิตแล้ว 4 ราย มากที่สุด จึงอยากเรียกร้องสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กรมศุลกากร และกระทรวงพาณิชย์ ร่วมกันช่วยแก้ไขระวังทำอย่างให้มีการตรวจสอบ การนำเข้า และจับปรับร่วมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ
น.ส.สถาพร อารักษ์วทนะ นักวิชาการผลิตภัณฑ์สุขภาพ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่า จากการสุ่มตรวจสอบของมูลนิธิฯ พบผลิตภัณ์เสริมอาหารลดน้ำหนักในตลาดออนไลน์ พบว่า ไม่มีการอัพเดทข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่ทางอย.ยกเลิกตำรับ หรือห้ามจำหน่ายอย่างเด็ดขาด ทำให้ประชาชนหลงเชื่อ และอยู่ในวังวนของอันตรายจากการรับประทาน อีกทั้งเมื่อมีกาาตรวจสอบเลขสารระบบ ของอย.พบว่าบางผลิตภัณฑ์ไม่มี เท่ากับเป็นสินค้าอันตราย จึงอยากเรียกร้องให้ตลาดออนไลน์ เว็บไซต์ชื่อดัง มีการตรวจสอบสินค้าก่อนนำมาจำหน่ายให้กับผู้บริโภค และติดตามประกาศอย.อย่างต่อเนื่อง เนื่องจากการตรวจสอบ พบว่า ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารลีน ที่มีผู้เสียชีวิต เจ้าหน้าที่ตำรวจดำเนินคดี และอย.ประกาศห้ามจำหน่ายกลับยังไม่ถูกเอาลงจากเว็บไซต์ เรื่องนี้กระทรวงดิจิทัลและกสทช. ต้องเข้ามาตรวจสอบควบคุมคุ้มครองประชาขน
นพ.วินัย วนานุกูล รองผู้อำนวยการ รพ.รามาธิบดี และหัวหน้าศูนย์พิษวิทยา กล่าวว่า สารไซบูทรามีนทำให้เกิดอาการใจสั่นและมีอาการระบบทางประสาท โดยสูตรโครงสร้างของไซบูทรามีน พบว่า มีโครงสร้างทางเคมีคล้ายยาบ้า โดยผลข้างเคียงทำให้เบื่ออาหาร ปัจจุบันทางการแพทย์ได้ยกเลิกการใช้ไปแล้ว ฉะนั้นผลิตภัณฑ์ที่เห็นในท้องตลาดมักเขียนหรือแสดงสรรพคุณทำให้เกิดความเข้าใจผิด
ข้อมูลของศูนย์พิษวิทยาในปี2558-2560 พบอายุเฉลี่ยของผู้ได้รับอันตรายจากผลิตภัณฑ์ลดน้ำหนัก อยู่ที่13-48 ปี ร้อยละ 86 รองลงมา อายุ 12 ปี ร้อยละ14. นอกจากยังพบว่าผลิตภัณฑ์ไซบูทรามีน เป็นในลักษณะของการแบบใส่ เพื่อให้ดูผลิตภัณฑ์มีผลลดน้ำหนักได้จริง ทั้งนี้ยังพบอันตรายข้างเคียงจากการบริโภคสารไซบูทรามีน ราวมกับกลุ่มยาทางจิตเวช จะช่วยเสริมฤทธิ์ เกิดอาการระบบประสาท ใจสั่น ชีพจรผิดปกติ เสียชีวิตได้
เภสัชกรวสันต์ มีคุณ เภสัชกร รพ.วาริชภูมิ จ.สกลนคร กล่าวว่าปัญหายาลดน้ำหนักระบาด ซื้อหาง่าย ทำให้ประชาชนในพื้นที่เครือข่ายของเภสัชกรภาคอิสาน พบว่า มีคนไข้หลายราย มาด้วยอาการ ใจสั่น ท้องเสีย และมีอาการระบบประสาท เป็นผลจากไซบูทรามีน หากไม่มีการซักประวัติคนไข้ให้ดีจะไม่รู้เลยและแก้ไขปัญหาไม่ตรงจุดและยังพบว่าคนไข้ส่วนใหญ่ เกินครึ่งซื้อหาผลิตภัณฑ์เสริมอาการลดน้ำหนักมาจากเว็บไซต์จึงอยากเรียกร้องให้มีการควบคุมตรวจสอบ.-สำนักข่าวไทย