เผย “ข้าวยีสต์แดง” ญี่ปุ่นทำคนตายเพิ่มเป็น 93 คน

สื่อจีนอ้างรายงานข่าวของสื่อญี่ปุ่นว่า ยอดผู้เสียชีวิตที่สันนิษฐานว่าเกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารของบริษัท โคบายาชิ ฟาร์มาซูติคัล ที่มีข้าวยีสต์แดงเป็นส่วนผสม เพิ่มเป็น 93 คนแล้ว

บุกโรงงานจับกุมผลิตภัณฑ์เสริมอาหารไซบูทรามีน

ตำรวจสอบสวนกลาง ร่วม อย.ทลายโรงงานผลิต สถานที่จำหน่ายผลิตภัณฑ์เสริมอาหารไซบูทรามีน มูลค่ากว่า 8 ล้านบาท พบขายเกลื่อนช่องทางในออนไลน์

ญี่ปุ่นตรวจอีกโรงงานหาสาเหตุคนตายเพราะ “ข้าวยีสต์แดง”

โตเกียว 31 มี.ค.- กระทรวงสาธารณสุขญี่ปุ่นตรวจสอบโรงงานอีกแห่งทางตะวันตกของประเทศในวันนี้ เพื่อหาสาเหตุที่ทำให้มีผู้เสียชีวิต 5 คน และล้มป่วยเข้าโรงพยาบาลอีก 100 กว่าคน โดยคาดว่าเกิดจากข้าวยีสต์แดงที่เป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารของบริษัทโคบายาชิ ฟาร์มาซูติคอล สำนักข่าวเกียวโดของญี่ปุ่นรายงานว่า กระทรวงสาธารณสุขได้ตรวจค้นโรงงานในจังหวัดวากายะมะที่อยู่ในเครือของโคบายาชิ ฟาร์มาซูติคอล โรงงานแห่งนี้ดูแลการผลิตส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์เสริมอาหารหลังจากโรงงานเก่าในจังหวัดโอซากะซึ่งถูกตรวจสอบเมื่อวันเสาร์ ถูกปิดไปในเดือนธันวาคม 2566 ทางการจังหวัดวากายะมะที่เข้าร่วมการตรวจสอบกับกระทรวงสาธารณสุขในวันนี้เผยว่า โรงงานแห่งใหม่นำอุปกรณ์การผลิตมาจากโรงงานในโอซากะและเริ่มการผลิตในเดือนมกราคมปีนี้ โคบายาชิ ฟาร์มาซูติคอลแถลงเมื่อวันศุกร์ว่า ตรวจพบกรดพิวเบอรูลิกในส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร กรดนี้เป็นสารประกอบทางธรรมชาติที่เกิดจากเชื้อราสีน้ำเงิน และอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้บริโภคล้มป่วย โดยพบในส่วนประกอบที่ผลิตในโรงงานในโอซากะช่วงเดือนเมษายน-ตุลาคม 2566 และว่าในผลิตภัณฑ์ที่บริษัทเรียกคืน 3 ผลิตภัณฑ์ ส่วนใหญ่เป็นการร้องเรียนจากผู้ที่บริโภค “เบนิ-โคจิ คอเลสเตอ เฮลป์” หลังเดือนกันยายน เป็นผลิตภัณฑ์ชนิดเม็ดที่อ้างว่า สามารถลดระดับคอเลสเตอรอลชนิดแอลดีแอล (LDL) ซึ่งเป็นคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี บริษัทเริ่มจำหน่ายผลิตภัณฑ์นี้ในเดือนกุมภาพันธ์ 2564 จำหน่ายไปแล้วราว 1 ล้านซองนับจนถึงเดือนกุมภาพันธ์ปีนี้ คาดว่าต้องใช้เวลาหลายเดือนกว่าจะเรียกคืนสินค้าได้หมด เกียวโดรายงานว่า มีผู้เสียชีวิต 5 คน ล้มป่วยเข้าโรงพยาบาล 110 คน สันนิษฐานว่าเกิดจากการรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีส่วนประกอบของเบนิ-โคจิ หรือข้าวยีสต์แดง ผู้ป่วยหลายคนเป็นโรคไต […]

GGC มุ่งขยายพอร์ทหลัก พร้อมสร้าง High Value Product ประเดิมส่ง Nutralist สู่ตลาด

กรุงเทพฯ 21 ก.พ.- บริษัท โกลบอลกรีนเคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GGC เปิดแผนธุรกิจปี 2567 เดินหน้าขับเคลื่อนธุรกิจ  สร้างโอกาสความสำเร็จสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน ด้วย  3 กลยุทธ์ เข้มแข็ง เติบโต ยั่งยืน สู่การปรับธุรกิจให้สอดรับกับความท้าทายในการดำเนินธุรกิจหลัก  และยังมุ่งขยายโอกาสธุรกิจ High Value Product ส่งผลิตภัณฑ์เสริมอาหารภายใต้แบรนด์“Nutralist” สู่ตลาดมั่นใจสร้าง EBITDA 300 ล้านบาทในปี 2026

ตำรวจ ปคบ.ทลายเครือข่ายผลิตภัณฑ์เสริมอาหารลดอ้วนผสมไซบูทรามีน

ตำรวจ ปคบ. ร่วมกับ อย. บุกทลายเครือข่ายบริษัทผลิตภัณฑ์เสริมอาหารลดความอ้วน 2 ยี่ห้อดัง จำหน่ายผ่านออนไลน์ ยึดของกลางรวม 36 รายการ มูลค่ากว่า 7 ล้านบาท เบื้องต้นจับกุมผู้ต้องหาซึ่งเป็นกรรมการบริษัทได้ 3 คน

ตลาดอาหารเสริมเติบโตช่องทางทำเงินคนรุ่นใหม่

ตลาดอาหารเสริมเติบโตช่วงโควิด-19 มูลค่าในไทยกว่า 2.5 หมื่นล้านบาท JP ปั้นผู้ประกอบการรุ่นใหม่โชว์เคส MAWO ประเดิมแข่งสินค้าคอลลาเจน

อย.เตือน FORTAMIN อ้างสรรพคุณเกินจริง

อย. 1 ก.พ. – อย.เตือนผู้บริโภคอย่าหลงเชื่อผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร FORTAMIN อ้างรักษาโรคปวดข้อและกระดูกต่างๆ ทางสื่อออนไลน์ เป็นการอวดอ้างสรรพคุณเกินจริงและไม่ได้รับอนุญาตโฆษณาจาก อย. ย้ำผลิตภัณฑ์เสริมอาหารไม่สามารถรักษาโรคได้ หากมีอาการเจ็บข้อ ปวดกระดูก ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับการรักษาที่ถูกวิธี เภสัชกรหญิงสุภัทรา บุญเสริม รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า จากที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้รับเรื่องร้องเรียนให้ตรวจสอบโฆษณาผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร FORTAMIN ทางเว็บไซต์ https://fortamin-th.genuine-store.com/ พบข้อความโฆษณาระบุ เช่น “FORTAMIN กำจัดโรคที่ซับซ้อน รักษาเนื้อเยื่อส่วนที่มีอาการ บรรเทาอาการปวดทันที เข้าถึงจุดที่ทำให้เกิดความเจ็บปวด การป้องกันโรคข้อและกระดูก ทำให้รู้สึกเหมือนมีชีวิตใหม่ ไร้ความเจ็บปวด” ซึ่งเป็นการอวดอ้างสรรพคุณเกินจริง ทำให้ผู้บริโภคหลงเชื่อโดยไม่สมควร และไม่ได้รับอนุญาตโฆษณาจาก อย. และเมื่อนำเว็บไซต์ไปค้นหาที่อยู่โดเมน พบว่าไม่ระบุชื่อผู้จดทะเบียน และเว็บไซต์จดทะเบียนอยู่ในต่างประเทศ อย. จึงได้มีหนังสือแจ้งกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ดำเนินการระงับเว็บไซต์ดังกล่าวและดำเนินการตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ต่อไป รองเลขาธิการ อย. กล่าวด้วยว่า อย. ไม่อนุญาตให้ผลิตภัณฑ์อาหารโฆษณาไปในทิศทางที่เกี่ยวกับการรักษาโรคต่างๆ ดังนั้น ขอให้ผู้บริโภครู้เท่าทันการโฆษณาผลิตภัณฑ์รักษาโรคข้อต่อและกระดูกต่างๆ ทางสื่อออนไลน์ที่อวดอ้างสรรพคุณเกินจริง หากหลงเชื่อซื้อมารับประทาน อาจได้รับผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายอย่างคาดไม่ถึง กรณีมีอาการเจ็บข้อ […]

เตือน 7Fit สวมเลข อย.อ้างสรรพคุณลดความอ้วน

อย.12 ส.ค.-อย.เตือนผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร 7Fit สวมเลขสารบบอาหารของผลิตภัณฑ์ยี่ห้ออื่น เข้าข่ายเป็นผลิตภัณฑ์อาหารปลอม อีกทั้งโฆษณาอวดอ้างสรรพคุณเกินจริงผ่านเว็บไซต์ ประสานกระทรวงดิจิทัลฯ ระงับการโฆษณาและดำเนินการตามกฎหมายแล้ว แนะผู้บริโภคอย่าหลงเชื่อโฆษณาเกินความเป็นอาหาร ภญ.สุภัทรา บุญเสริม รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้รับเรื่องร้องเรียนขอให้ตรวจสอบผลิตภัณฑ์เสริมอาหารลดความอ้วน 7Fit กรณีข้อมูลผลิตภัณฑ์ไม่ตรงกับฐานข้อมูลของ อย. จากการตรวจสอบพบเว็บไซต์หลักของผลิตภัณฑ์ดังกล่าวได้มีการปิดไปแล้ว แต่พบอีก 7 เว็บไซต์ที่ยังทำการโฆษณาและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ 7Fit อยู่ เมื่อตรวจสอบ เลขสารบบอาหาร 11-1-18157-1-0230 ที่ระบุบนฉลากผลิตภัณฑ์ พบมีการสวมเลขสารบบอาหารของ ผลิตภัณฑ์อื่น จึงเข้าข่ายเป็นผลิตภัณฑ์อาหารปลอม อีกทั้งยังมีการโฆษณาอวดอ้างสรรพคุณเกินจริง ระบุข้อความเช่น “หมดปัญหา แคลอรี่ส่วนเกิน ไม่ต้องคุมอาหาร ลดน้ำหนักด้วย สารสกัดจากธรรมชาติ ไม่มีผลข้างเคียง” ซึ่งเป็นการโฆษณาที่เกินขอบเขตความเป็นอาหาร เนื่องจากผลิตภัณฑ์เสริมอาหารไม่มีสรรพคุณในการบำบัดรักษา หรือเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของร่างกายได้ อย. จึงได้ประสานกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเพื่อระงับการโฆษณาและดำเนินการตามกฎหมายแล้ว รองเลขาธิการ อย.กล่าวในตอนท้ายว่า ขอให้ผู้บริโภคระมัดระวังอย่าหลงเชื่อโฆษณาอวดอ้างสรรพคุณ เกินจริงของผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เช่น เห็นผลไว เห็นผลจริง ปลอดภัย การันตี ไม่มีผลข้างเคียง […]

อย.เจออีก เสริมอาหาร โฆษณาโอ้อวดทางเพศ

อย.พบการโฆษณาผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร Blue M Gold โอ้อวดสรรพคุณทางเพศ เร่งตรวจสอบข้อมูลผลิตภัณฑ์ พบสถานะพักใช้ใบอนุญาตสถานที่ผลิต

พบอีกโฆษณาเกินจริง เสริมอาหารปลอม

อย.ยังพบผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่แจ้งยกเลิกเลขสารบบไปแล้ว โฆษณาขายผ่านสื่อออนไลน์ เตือนอย่าซื้อมาบริโภคจัดเป็นอาหารปลอม เสี่ยงอันตรายปนเปื้อนสารที่ไม่ได้รับอนุญาต

ฟัน!!! วีเอ็มผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร พบสารอันตรายไซบูทรามีน

อย.เตือนอันตรายประชาชนอย่าซื้อมาบริโภค ‘วีเอ็ม’ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร พบสารไซบูทรามีน เข้าข่ายเป็นอาหารไม่บริสุทธิ์

ภัยยาลดน้ำหนัก อาหารเสริมมรณะ ตอน 2

รพ.ปลวกแดง จ.ระยอง เคยพบผู้ป่วยมากกว่า 60 รายมีอาการในระบบหลอดเลือดและหัวใจ เกือบทุกรายกินผลิตภัณฑ์เสริมอาหารลดน้ำหนักยี่ห้อเดียวกันที่วางขายในพื้นที่

1 2 3 4
...