นายกฯเชิญชวนประหยัดไฟ พร้อมย้ำเดินหน้าแผนจัดการน้ำ


กรุงเทพฯ 2
มิ.ย.- 5  มิ.ย. วันสิ่งแวดล้อมโลก –วันข้าวและชาวนาแห่งชาติ
นายกรัฐมนตรีเชิญชวน
ประหยัดไฟฟ้า ใช้ถุงผ้า แยกขยะก่อนทิ้ง คุยข้าวราคาดี
พร้อมย้ำเดินหน้าแผนจัดการน้ำไม่ขาดแคลนทั้งภาคบริโภค การเกษตร และอุตสาหกรรม
โดยเฉพาะ อีอีซี เตรียมพร้อมดึงดูดนักลงทุน


พล.อ.ประยุทธ์
จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการ “ศาสตร์พระราชา
สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน”  วันศุกร์ที่
1 มิถุนายน โดยกล่าวว่า วันอังคารที่
5 มิถุนายนนี้ เป็น “วันสิ่งแวดล้อมโลก”ขอเชิญพี่น้องประชาชนประหยัดไฟฟ้า
ทิ้งขยะให้เป็นที่เป็นทาง และแยกประเภท รวมทั้งหันมาใช้ถุงผ้าแทนถุงพลาสติก โฟม
กล่องโฟม โดยกระทำอย่างต่อเนื่องจนเป็นนิสัย
  และวันที่ 5 มิถุนายนยัง เป็น
“วันข้าวและชาวนาแห่งชาติ” ก็มีเรื่องที่น่ายินดี สำหรับ
“กระดูกสันหลังของชาติ” คือ ปัจจุบันราคาข้าวเปลือกหอมมะลิ 17
,800 บาทต่อตัน
และข้าวเปลือกเจ้านาปรัง ราคา 8
,200 บาทต่อตัน ซึ่งนับว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ดี 

ทั้งนี้
การสนับสนุนสินค้าจากข้าวนี้ ก็จะมีส่วนช่วยรัฐบาลในการส่งเสริมการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากข้าว
เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม และขยายผลในเชิงพาณิชย์ ไปจนถึงการส่งออกไปขายต่างประเทศ
อย่างครบวงจร ซึ่งก็จะช่วยให้พี่น้องเกษตรกรมีรายได้เพิ่มสูงขึ้นอีกด้วย
  นอกจากนี้
รัฐบาลได้สนับสนุนให้เกษตรกรเพาะปลูกข้าวพันธุ์ กข 43 ที่เมล็ดพันธุ์ราคาไม่แพง
และเป็นข้าวที่มีคุณสมบัติพิเศษ เพราะมีการเปลี่ยนแป้งเป็นน้ำตาลต่ำ
เหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคไต ให้เป็นข้าวทางเลือก
สำหรับประชาชนที่ใส่ใจดูแลสุขภาพ ซึ่งข้าวพันธุ์ กข 43 นี้
ได้ผ่านการวิจัยรับรองคุณสมบัติ จากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และคณะแพทย
ศาสตร์ของสถาบันอุดมศึกษาแล้ว

 นอกจากนี้ขอเชิญชวนพี่น้องเกษตรกรและผู้ที่สนใจ
ได้สัมผัสวิถี “ชาวนาไทย ยุค 4.0” ตามนโยบายรัฐบาล อาทิ
นโยบายตลาดนำการผลิต
  โครงการส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ โครงการประกันภัยข้าวนาปี
ไปจนถึงผลิตภัณฑ์แปรรูปจากข้าวเพื่อสุขภาพและความงาม รวมทั้งนวัตกรรมจาก
“งานวิจัย” ผสานกับ “ภูมิปัญญา”
ได้ที่หน่วยงานกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ทั่วประเทศ ชาวนาอาจมีปัญหาเพราะมีหนี้สิน
ทั้งในระบบ นอกระบบค้างเก่าอยู่จำนวนมาก ทำให้ได้ประโยชน์ไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วย
เพราะถูกหักไปใช้หนี้ รวมทั้งต้องซื้อสินค้าต่าง ๆ ที่มีราคาสูงขึ้น
ต้นทุนการผลิตก็เป็นส่วนสำคัญ วันนี้กำลังให้ไปแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบอยู่


สำหรับ
เบื้องหลังความสำเร็จที่ส่งเสริมให้ราคาข้าวดีขึ้นมีอยู่หลายปัจจัยด้วยกัน การปฏิรูปการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของรัฐบาลนี้ก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญ
โดยปี 2561 นี้ นับเป็นปีแรกที่ไม่มีพื้นที่ใดของประเทศ
ต้องประกาศเขตให้การช่วยเหลือภัยแล้ง โดยการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำที่บูรณาการ
  เชื่อมโยงกันเป็นระบบนำไปสู่ประสิทธิภาพสูงสุด
โดยวัดได้จากการดำเนินงานในภาพรวม ที่เร็วขึ้นกว่าในอดีต 4 เท่า
และประหยัดงบประมาณลงได้กว่าช่วงที่ผ่านมาประมาณร้อยละ 30 มีการดำเนินการอย่างมียุทธศาสตร์
มีการจัดทำแผนแม่บท การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี พ.ศ. 2560 – 2579
ที่ต้องสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ด้วย
นอกจากจะมีการน้อมนำศาสตร์พระราชามาประยุกต์ใช้แล้ว  ยังได้คำนึงถึงปฏิญญาสากล จากการประชุมน้ำโลก ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน
การร่วมมือกันของรัฐบาลทั่วโลก การร่วมมือข้ามพรมแดน โดยยึดตามกฎหมายระหว่างประเทศ
การส่งเสริมศักยภาพคนรุ่นใหม่ ในการแก้ปัญหาน้ำ และสุขาภิบาล อีกทั้ง
การเชื่อมโยงกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (
SDG) ขององค์การสหประชาชาติ (UN) เป็นต้น โดย ผลการดำเนินงาน 4
ปีที่ผ่านมารัฐบาลโดยสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ จะจัดให้มีการสร้างการรับรู้
และเสวนาเกี่ยวกับการบริหารจัดการน้ำของประเทศ ในวันจันทร์ที่ 4 มิถุนายน นี้ ณ
ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล โดยสรุป ดังนี้

1.
การจัดการน้ำอุปโภค บริโภค สามารถสร้างระบบประปาหมู่บ้านได้ 97% จาก 7
,490 หมู่บ้าน ทั่วประเทศ
ที่ยังมีไม่ครบ ประปาโรงเรียนดำเนินการแล้วเสร็จ เกือบ 2
,000 แห่ง และเจาะบ่อบาดาลได้ เกือบ
2
,000 แห่ง เช่นกัน ก็คงต้องทำต่อไป
ให้เป็นไปตามเป้าหมาย

2.
การสร้างความมั่นคงเรื่องน้ำให้ภาคการผลิต เกษตรกรรม และอุตสาหกรรม อาทิ
การพัฒนาแหล่งน้ำ ทั้งในและนอกเขตชลประทาน
  การขุดสระน้ำในไร่นา
การเจาะน้ำบาดาลเพื่อการเกษตร และ น้ำบาดาลช่วยภัยแล้ง เป็นต้น
มีประชาชนได้รับผลประโยชน์กว่า 3 ล้านครัวเรือน ครอบคลุมพื้นที่ ประมาณ 2 ล้านไร่

3.
การจัดการน้ำท่วมและอุทกภัย ได้แก่ การขุดลอกลำคลอง ลำน้ำสาขา
  แม่น้ำสายหลัก เกือบ 300 กิโลเมตร
เพื่อป้องกันน้ำท่วม 63 ชุมชน
  ก็ยังคงมีอีกในที่อื่น ๆ ก็ทำต่อไป

4.
การอนุรักษ์ฟื้นฟูสภาพป่าต้นน้ำ ที่เสื่อมโทรม และป้องกันการพังทลายหน้าดิน
โดยดำเนินการแล้ว 3 แสนกว่าไร่
 

นอกจากนี้
ยังมีการจัดการคุณภาพน้ำและที่จะสร้างความยั่งยืนคือ
การเร่งรัดออกกฎหมายทรัพยากรน้ำ ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับ พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ
  และ พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ
เราต้องศึกษาผลกระทบในคราวเดียวกันด้วย

 

สำหรับแผนงานบริหารจัดการน้ำเชิงพื้นที่
ปี 2561 นี้ มีแผนงานที่ผ่านการพิจารณาให้ดำเนินการเพิ่มเติมอีก 216 โครงการ
งบประมาณ 4 พันกว่าล้านบาท เพื่อให้ได้น้ำ 27 ล้านลูกบาศก์เมตร
ครอบคลุมพื้นที่รับประโยชน์ ราว 9 แสนไร่ และในปี 2562 มีอีกกว่า 3 พันโครงการ
ที่กำลังพิจารณาจัดลำดับความเร่งด่วนและ ให้เกิดการใช้งบประมาณที่ประหยัด คุ้มค่า
ได้ประโยชน์สูงสุด ตรงความต้องการของพี่น้องประชาชน
ทั้งนี้จะต้องมีการลงทุนสร้างระบบต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนการตกลงใจเพิ่มเติม
  เพื่อสนับสนุนให้ครบถ้วนสมบูรณ์
อาทิ ระบบงานแผนที่
 ระบบงานแบบจำลอง  ระบบงานคลังข้อมูลน้ำ ระบบงานสถานีตรวจวัดเป็นต้น
ทั้งนี้ เพื่อให้สามารถพยากรณ์และ ติดตามสภาพลมฟ้าอากาศ
ที่จะช่วยให้สั่งการในเรื่องการเก็บกักน้ำ
  การพร่องน้ำ  การใช้พื้นที่แก้มลิง เรียกรวม ๆ
ว่าเป็นการบริหารจัดการที่บูรณาการกัน เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

ในขณะเดียวกันการบริหารจัดการน้ำ
สำหรับภาคการผลิตที่สำคัญของประเทศ ที่ต้องเตรียมการในระยะยาว ตั้งแต่วันนี้
ได้แก่ ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (
EEC) ที่เราจะต้องสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุน
ทั้งชาวไทย และชาวต่างประเทศ
เนื่องจากจะเป็นกลจักรสำคัญในการปฏิรูปเศรษฐกิจของประเทศ ในยุคดิจิทัล หรือ
อีกอย่างน้อย 20 ปีข้างหน้า ซึ่งต้องมีการศึกษาแนวเส้นทางการก่อสร้างระบบท่อส่งน้ำ
ให้สอดคล้องกับแผนการพัฒนาแหล่งน้ำต้นทุนภายในประเทศ
รวมทั้งป้องกันน้ำท่วมพื้นที่สำคัญของ
 EEC อีกด้วย

ทั้งนี้
ในระยะ 10 ปีแรกนี้ จำเป็นต้องมีน้ำใช้ในระบบโครงข่ายเพิ่มอีก 320
ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี โดยจะต้องดำเนินการในหลายส่วน อาทิ การปรับปรุงแหล่งน้ำเดิม
  การพัฒนาอ่างเก็บน้ำ  การเชื่อมโยงแหล่งน้ำและระบบผันน้ำ  การสูบกลับน้ำท้ายอ่างเก็บน้ำ  แผนป้องกันน้ำท่วม  และการจัดหาแหล่งน้ำสำรอง
ส่วนแผนสำหรับรองรับอนาคต ระยะ 20 ปี ก็จะมีการเพิ่มเติมแผนการพัฒนาอ่างเก็บน้ำ
ภาคตะวันออก 104 แห่ง ปริมาณน้ำ 1
,900 ล้านลูกบาศก์เมตร อีกทั้ง
แนวทางการบริหารจัดการความต้องการการลดการใช้น้ำ
  การใช้น้ำซ้ำ
การผลิตน้ำจืดจากน้ำทะเล ซึ่งหลายประเทศมีเทคโนโลยีนี้แล้ว
เนื่องจากเป็นยุทธศาสตร์สำคัญของประเทศ เช่น สิงคโปร์ อิสราเอล
  และการหาแหล่งน้ำสำรองของอุตสาหกรรม
เป็นต้น ทั้งนี้ รูปแบบการดำเนินงานที่ประสบความสำเร็จใน
 EEC ก็จะเป็นโมเดลสำหรับการดำเนินงานในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษทั้ง
10

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ประหารชีวิตแอมไซยาไนด์

ศาลอาญาพิพากษาประหารชีวิต “แอม ไซยาไนด์”

ศาลอาญาพิพากษาประหารชีวิต “แอม ไซยาไนด์” ส่วนอดีตสามี คุก 1 ปี 4 เดือน “ทนายพัช” คุก 2 ปี ไม่รอลงอาญา ชดใช้ ให้ผู้เสียหายกว่า 2 ล้านบาท

นายกฯ ถกตั้งนายพลตำรวจ 41 ตำแหน่ง ยันไม่มีการเมืองแทรก

นายกฯ ถกแต่งตั้งนายพลตำรวจ 41 ตำแหน่ง ยันไม่มีการเมืองแทรก ยึดตาม พ.ร.บ.ตำรวจ ฉบับใหม่ พลิกโผ ‘สยาม บุญสม’ ผงาดคุมนครบาล ‘สันติ ชัยนิรามัย’ นั่ง ผบช.ปส. ‘ไตรรงค์ ผิวพรรณ’ โยกคุมไซเบอร์ ‘ภาณุมาศ บุญญลักษม์’ ขึ้นเป็น ผบช.สตม.

ดีเอสไอพบเส้นเงินโอนจากแม่ถึงนักการเมือง ส. เกือบ 100 ล้าน

ดีเอสไอพบเส้นเงินโอนจากแม่ถึงนักการเมือง ส. เกือบ 100 ล้านบาท จำนวนนี้พบโอนจาก “บอสพอล-บอสปีเตอร์” ด้วย เร่งขยายผลมีบอสรายอื่นโอนเข้าบัญชีดังกล่าวอีกหรือไม่

ข่าวแนะนำ

“เอวา” เสือโคร่งสายแบ๊ว ดาวรุ่งดวงใหม่

หน้าตาที่น่ารักบ้องแบ๊วเหมือนแมวตัวโต ตกหัวใจคนรักสัตว์กันไปเต็มๆ สำหรับน้องเอวา เสือโคร่งสายแบ๊วของเชียงใหม่ไนท์ซาฟารี นอกจากหน้าตาน่ารักแล้วยังมีความสามารถหลายอย่าง จนกลายเป็นดาวรุ่งดวงใหม่ ที่ผู้คนแห่ไปชมความน่ารักกันอย่างคึกคัก คาดจะช่วยดึงนักท่องเที่ยวไปที่เชียงใหม่ไนท์ซาฟารีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

ต้อนรับอบอุ่น “โอปอล” รองอันดับ 3 มิสยูนิเวิร์ส 2024 ถึงไทย

กลับถึงไทยแล้ว “โอปอล สุชาตา” รองอันดับ 3 มิสยูนิเวิร์ส 2024 ปรากฏตัวในชุดไทย สวยสง่า แฟนนางงามต้อนรับอย่างอบอุ่น

“สนธิ” ยื่นถอด “ตั้ม-เดชา” ออกจากทนาย

“สนธิ ลิ้มทองกุล” หอบหลักฐานบุกสภาทนายความ ถอดทนายตั้ม-ทนายเดชา ออกจากทนาย ระบุ ได้รับมอบอำนาจจาก “มาดามอ้อย” แล้ว เดินหน้าเอาผิด ทนายตั้มแบบสุดซอย ไม่ให้มีคนตกเป็นเหยื่อผู้รู้กฎหมายอีก

นายกฯ โชว์วิสัยทัศน์บนเวที Forbes ดันเศรษฐกิจไทย ส่งเสริมซอฟต์พาวเวอร์

“นายกฯ แพทองธาร” โชว์วิสัยทัศน์บนเวที Forbes Global CEO Conference ครั้งที่ 22 ดันเศรษฐกิจไทย ส่งเสริมซอฟต์พาวเวอร์ รับมือความท้าทาย ชูจุดเด่นไทยอยู่ตรงกลางของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีภาคการเกษตรที่เข้มแข็งดึงดูดนักลงทุน บอกกระตุ​้นเศรษฐกิจ​แจกเงินหมื่นเฟส​ 2 พุ่งเป้าเงินสะพัด ลั่น​จุดยืนไทยวางตัวเป็นทูตสันติภาพ พร้อมปรับตัวตามนโยบาย “ทรัมป์”