ผ่าวิกฤติวงการสงฆ์จากมุมมองนักวิชาการ

กรุงเทพฯ 25 พ.ค. – หลังมีการจับกุมและดำเนินคดีพระชั้นผู้ใหญ่ในคดีต่างๆ ทำให้หลายฝ่ายวิตกว่า อาจสั่นสะเทือนวงการพระพุทธศาสนาอย่างหนัก โดยนักวิชาการชำแหละปัญหาว่า มาจากโครงสร้างมหาเถรสมาคม ที่ไม่สามารถตรวจสอบการกระทำผิดได้อย่างเข้มแข็ง 


การบุกเข้าตรวจค้นวัดและจับกุมผู้ต้องหาคดีเงินทอนวัด ลอต 3 สร้างความสั่นสะเทือนวงการพระสงฆ์ เมื่อผู้ต้องหาสำคัญในคดี คือ พระเถระชั้นผู้ใหญ่ ที่มีทั้งระดับเจ้าอาวาสวัด ผู้ช่วยเจ้าอาวาส และยังเป็นกรรมการมหาเถรสมาคมอีกด้วย 


นักวิชาการด้านศาสนา ให้ข้อมูลว่า สังคมมักคาดหวังว่า พระสงฆ์ชั้นผู้ใหญ่ควรต้องมีคุณธรรม จริยธรรม แต่หากมองอีกมุมหนึ่ง พระสงฆ์ก็ยังเป็นบุคคลธรรมดาที่อาจกระทำผิดได้ แต่สิ่งสำคัญที่สะท้อนออกมา คือ อำนาจการปกครองในคณะสงฆ์ของไทยเป็นแบบอำนาจรวมศูนย์ โดยมีมหาเถรสมาคมเป็นองค์กรสูงสุดในการปกครองคณะสงฆ์ กุมอำนาจทั้งอำนาจบริหาร นิติบัญญัติ ตุลาการ และพระสงฆ์ที่เป็นกรรมการมหาเถรสมาคมจะดำรงตำแหน่งยาวนาน จึงมีความพยายามที่จะเข้าถึง และเสนอผลประโยชน์กันอย่างชัดเจน และนี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่มีเหตุการณ์พระชั้นผู้ใหญ่กระทำความผิด 


นักวิชาการมีข้อเสนอแนะว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นไม่อยากให้มองว่าเป็นปัญหาของพระสงฆ์ฝั่งมหานิกายหรือธรรมยุติ แต่อยากให้มองภาพรวมว่าเป็นปัญหาที่โครงสร้างมหาเถรสมาคม ที่ไม่สามารถจัดการปัญหาได้ ระบบตรวจสอบไม่เข้มแข็ง ขณะที่สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ซึ่งมีหน้าที่ส่งเสริมกิจการพระพุทธศาสนา ก็กลับเกิดการทุจริตเสียเอง ทำให้เมื่อเกิดปัญหาขึ้น กลายเป็นหน่วยงานอื่นที่ต้องเข้ามาแก้ปัญหา

พระราชบัญญัติลักษณะการปกครองคณะสงฆ์ มีการประกาศใช้ครั้งแรกในประเทศไทย สมัยรัชกาลที่ 5 ชื่อว่า พ.ร.บ.คณะสงฆ์ ร.ศ. 121 และมีมหาเถรสมาคมเกิดขึ้น เป็นการปกครองแบบรวมศูนย์อำนาจ 

ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 8 มีการแก้ไขเป็น พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ. 2484 สาเหตุจากมีข้อเรียกร้องว่า เกิดความไม่เสมอภาคของพระสงฆ์ โดยเป็นการปกครองแบบ “สังฆสภา” หรือรัฐสภา โดยมีสังฆสภา ทำหน้าที่นิติบัญญัติ คณะสังฆมนตรี ทำหน้าที่บริหาร และคณะวินัยธร ทำหน้าที่พิจารณาอธิกรณ์ หรือตุลาการ หลังประกาศใช้ได้ 21 ปี ก็ถูกยกเลิกไป และมีการประกาศใช้ พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 แทน มีมหาเถรสมาคมเป็นองค์กรสูงสุดในการปกครองคณะสงฆ์ไทย

ต่อมามีการแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.คณะสงฆ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 และแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.คณะสงฆ์ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2560 และใช้มาจนถึงขณะนี้ ซึ่งสาระสำคัญยังคงเป็นการรวมศูนย์อำนาจ. – สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ทีมกู้ภัยเดินหน้าค้นหาผู้สูญหายแผ่นดินไหวเมียนมา

ทีมกู้ภัยยังเดินหน้าค้นหาผู้สูญหายจากเหตุแผ่นดินไหวในเมียนมา แม้จะผ่านมา 4 วันแล้ว จนกลิ่นศพเริ่มคละคลุ้งไปทั่ว ขณะที่ยอดผู้เสียชีวิตใกล้แตะหลัก 3,000 ราย

ตึกถล่มพบเสียชีวิตเพิ่ม

พบผู้เสียชีวิตเพิ่ม 5 ราย ทีมกู้ภัยเร่งกู้ร่าง

พบผู้เสียชีวิตเพิ่ม 5 ราย ในพื้นที่โซน B และโซน C มีซากอาคารถล่มทับร่างอยู่ ทีมกู้ภัยเร่งกู้ร่างและค้นหาผู้สูญหายใต้ซากอาคารต่อเนื่อง

ข่าวแนะนำ

ค้นหาผู้สูญหายตึกถล่ม

ผู้ว่าฯ กทม. สั่งปรับแผนค้นหาผู้สูญหายตึกถล่ม

ครบ 7 วันเหตุแผ่นดินไหว อาคารถล่ม ล่าสุดผู้ว่าฯ กทม. สั่งปรับแผนค้นหาผู้สูญหาย ใช้เครื่องจักรหนักรื้อถอนทุกโซน เบื้องต้นพบร่างผู้เสียชีวิตเพิ่มเติมอีก 2 ร่าง ยังไม่สามารถนำออกมาได้

เจาะโซน C และ D สำเร็จ อีก 1 เมตรถึงลิฟต์-บันไดหนีไฟ

กู้ภัย เผยเจาะโซน C และ D ได้สำเร็จ อีก 1 เมตรถึงลิฟต์และบันไดหนีไฟ เชื่อมีผู้สูญหายติดอยู่โซนนี้จำนวนมาก หลังพบเสียงขอความช่วยเหลือจากโซน B ตั้งแต่เมื่อคืนที่ผ่านมา

ลุ้นช่วยผู้รอดชีวิต หลังพบสัญญาณชีพ

ปฏิบัติการค้นหาผู้สูญหายจากอาคาร สตง.ถล่ม ยังเดินหน้าต่อเนื่อง ขณะนี้ในพื้นที่เสียงเครื่องจักรหนักหยุดลง เป็นสัญญาณว่าทีมกู้ภัย ทั้งเจ้าหน้าที่ค้นหาและสุนัข K9 กำลังเข้าไปเดินสำรวจหลายจุด ซึ่งปฏิบัติการตลอดทั้งวันนี้เน้นจุดโซน B หลังจากช่วงคืนที่ผ่านมา (2 เม.ย.) มีสัญญาณตอบกลับจากผู้ที่คาดว่าจะรอดชีวิต

สภาฯ ถก 11 ญัตติ หาทางรับมือแผ่นดินไหว-ภัยพิบัติ

สภาฯ ถก 11 ญัตติ หาทางรับมือแผ่นดินไหว-ภัยพิบัติ ชง “ครม.” ผุดมาตรการตรวจสอบ “บ.รับจ้าง” ขึ้นบัญชีดำผู้รับเหมา หวังป้องกันเหตุซ้ำรอยตึก สตง. ถล่ม