กล้านรงค์มั่นใจรัฐ เอกชน ภาคประชาชนร่วมมือแก้คอร์รับชั่นได้

กรุงเทพฯ 16 พ.ค.- “กล้านรงค์” ระบุรัฐธรรมนูญ มาตรา 63 กำหนดให้ภาครัฐ  เอกชน ส่งเสริมภาคประชาชน ร่วมมือต่อต้านการทุจริต และกำหนดให้พลเมือง ไม่ร่วมมือ หรือสนับสนุนการทุจริตทุกรูปแบบ  มั่นใจรัฐธรรมนูญจะปราบโกงได้สัมฤทธิ์ผล


 เมื่อเวลา 09.00 น.ที่โรงแรมมิราเคิล  แกรนด์คอนเวนชั่น คณะกรรมาธิการการเมือง สภานิติบัญญัติแห่งชาติ   จัดสัมมนาหัวข้อ “รัฐธรรมนูญปราบโกง จะสัมฤทธิ์ผลได้จริงหรือไม่”  โดยนายกล้านรงค์ จันทิก ประธานคณะกรรมาธิการการเมือง   กล่าวเปิดงานว่า รัฐธรรมนูญปี 2560 คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญได้จัดทำขึ้นมา ประกาศว่าเป็นรัฐธรรมนูญฉบับปราบโกง และประเด็นที่สำคัญ ในฐานะกรรมาธิการการเมืองก็มีหน้าที่และอำนาจเกี่ยวกับการพิจารณากฎหมาย ศึกษา หรือสอบสวนในเรื่องการเมือง เรื่องการเลือกตั้ง และการบริหารจัดการองค์กรตามรัฐธรรมนูญ จึงเห็นว่า เป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องระดมความคิดเห็น และขอความเห็นจากภาคส่วนต่าง ๆ เพื่อแก้ไขปัญหาคอร์รัปชั่นให้ได้ผล และมีประสิทธิผล

นายกล้านรงค์ กล่าวว่า รัฐธรรมนูญฉบับนี้มีจุดสำคัญหลายจุด โดยเฉพาะการส่งเสริมภาคประชาชนให้เข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต มีการกำหนดหน้าที่ของประชาชน หรือพลเมือง ว่าเป็นหน้าที่ของบุคคลที่จะไม่ร่วมมือ หรือสนับสนุนการทุจริต หรือประพฤติมิชอบในทุกรูปแบบ ซึ่งกำหนดไว้ครั้งแรกในรัฐธรรมนูญนอกจากนั้นยังกำหนดให้เป็นหน้าที่ของรัฐ ที่ต้องเปิดเผยข้อมูลข่าวสารสาธารณะในการครอบครองของหน่วยงานรัฐ และต้องจัดให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลดังกล่าว


“สิ่งสำคัญที่สุดในรัฐธรรมนูญฉบับนี้คือ หน้าที่รัฐในมาตรา 63 เป็นเรื่องสำคัญ มีสาระ 3 ประการ และกำหนดให้เป็นหน้าที่รัฐ คือ 1.ส่งเสริม สนับสนุน ให้ความรู้แก่ประชาชนถึงอันตรายที่เกิดจากการทุจริต ทั้งรัฐ และเอกชน ให้เขารู้ว่า เมื่อเกิดทุจริตมันเกิดอันตรายกับตัวเขาอย่างไร   2.ต้องมีมาตรการ และกลไกที่มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันทุจริตอย่างเข้มงวด และ 3.ต้องมีกลไกส่งเสริมประชาชน รวมตัวกัน เพื่อให้มีความพร้อมในการให้ความรู้เรื่องที่จะต่อต้านการทุจริต เป็นเรื่องการป้องกันหรือชี้เบาะแส โดยจะต้องได้รับความคุ้มครองจากรัฐ ตามที่กฎหมายบัญญัติ นี่คือหัวใจของมาตรา 63 และเป็นหัวใจให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมป้องกันการทุจริต” นายกล้านรงค์ กล่าว

ด้าน พล.ต.อ.วัชรพล ประสารราชกิจ ประธานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) กล่าวว่า รัฐธรรมนูญใหม่ และกฎหมายลูกใหม่ยังคงให้อำนาจหน้าที่ ป.ป.ช.ในการปราบปรามการทุจริต ซึ่งตามกฎหมายใหม่ ป.ป.ช.จะมีภารกิจที่เข้มข้นขึ้น มีอำนาจที่จะส่งมอบเรื่องร้องเรียนทุจริตให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปดำเนินการต่อ เพื่อช่วยลดความหนาแน่นของสำนวนที่อยู่ในการตรวจสอบของ ป.ป.ช. ซึ่งจะทำให้การพิจารณาเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว และคดีค้างเก่าที่ยังอยู่ในการพิจารณาจะแล้วเสร็จภายใน 1 ปี   ซึ่งแต่ละเดือนจะมีสำนวนเข้ามายัง ป.ป.ช.เดือนละ 500 เรื่อง   และคาดว่าสำนวนที่เข้าสู่ ป.ป.ช.จะน้อยลง นอกจากนี้ในอนาคต ป.ป.ช.จะมีอำนาจในการทวงคืนทรัพย์สินในต่างประเทศให้ตกเป็นของแผ่นดิน ในวันที่ 17 พ.ค.นี้ สนช.จะมีการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติมาตรการติดตามทรัพย์สินของภาครัฐคืนจากการเอาไปโดยมิชอบ

ประธาน ป.ป.ช. กล่าวว่า นอกจากเรื่องการปราบปรามแล้ว ป.ป.ช.ยังมีหน้าที่ป้องกันการทุจริตด้วยการเสนอแนะมาตรการต่อรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และการสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชน ซึ่งจะเป็นหัวใจการป้องกันการทุจริต ด้วยการอาศัยความร่วมมือของประชาชนทุกภาคส่วนเข้ามาร่วมกันในการป้องกันการทุจริต.-สำนักข่าวไทย


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

มุกใหม่มิจฉาชีพ

มุกใหม่มิจฉาชีพ! ป่วนโทรแจ้ง ตร. เกิดเหตุร้ายที่บ้านเหยื่อ

อินฟลูฯ สาว สายทำอาหาร ถูกมิจฉาชีพอ้างเป็นตำรวจโทรหา แต่เธอไม่เชื่อ โดนท้าอีก 10 นาทีเจอกัน ปรากฏว่า มีตำรวจจาก 2 โรงพักบุกมาที่บ้านจริง

“วราวุธ” ระบุการแข่งขัน อบจ.-สุพรรณบุรี ไม่มีปัญหา

“วราวุธ” ระบุการแข่งขัน อบจ.-สุพรรณบุรี ไม่มีปัญหา บอกสนามใหญ่ ไม่เข้าไปก้าวก่ายสนามท้องถิ่น ซ้ายก็เพื่อน ขวาก็พวก

ครม.เคาะแจกเงินหมื่นเฟส 2 ผู้สูงอายุ 60 ปี

“จุลพันธ์” เผย ครม.เห็นชอบโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านกลุ่มผู้สูงอายุ วงเงิน 4 หมื่นล้านบาท คาดว่าจะดำเนินการทันก่อน 29 ม.ค.68 รวม 3 มาตรการ สร้างเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบ 1.4-1.5 แสนล้านบาท

ข่าวแนะนำ

มติกฤษฎีกา “กิตติรัตน์” คุณสมบัติไม่ผ่านนั่งประธานบอร์ด ธปท.

คณะกรรมการกฤษฎีกา 3 คณะ มีมติไม่ผ่านคุณสมบัติ “กิตติรัตน์ ณ ระนอง” เป็นประธานบอร์ดธนาคารแห่งประเทศไทย

เครื่องบินโดยสาร อาเซอร์ไบจาน แอร์ไลน์ ตกในคาซัคสถาน

เครื่องบินโดยสารเอ็มบราเออร์ ของสายการบินอาเซอร์ไบจาน แอร์ไลน์ ที่บินจากอาเซอร์ไบจาน ไปยังประเทศรัสเซีย เกิดอุบัติเหตุตกที่บริเวณใกล้กับเมืองอัคเทา ในคาซัคสถาน โดยมีผู้โดยสาร 62 คน และลูกเรือ 5 คน บนเครื่อง เจ้าหน้าที่คาซัคสถานกล่าวว่า มีผู้รอดชีวิต 28 ราย