เจ็บป่วยจากการทำงาน สปส.มีกองทุนฯดูแล

สปส.4 พ.ค.-สปส.เผย4เดือนแรกของปี มีลูกจ้างประสบอันตราย-เจ็บป่วยจากการทำงาน 2.6 หมื่นราย กรุงเทพฯสูงสุด ตามด้วย จ.สมุทรปราการและชลบุรี ส่วนใหญ่ในสถานประกอบการที่มีลูกจ้างมากกว่า1,000 คน ประเภทกิจการหมวดการผลิต โดยสูญเสียอวัยวะนิ้วมือมากที่สุด มีกองทุนเงินทดแทนฯดูแล 


นายสุรเดช วลีอิทธิกุล เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน เปิดเผยถึงการดูแลลูกจ้างของสำนักงานประกันสังคม ว่า สำนักงานประกันสังคม มีกองทุนเงินทดแทนดูแลลูกจ้างที่ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงาน ซึ่งจากสถิติข้อมูลลูกจ้างประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงาน ระหว่างเดือนม.ค.–เม.ย.2561 มีจำนวนทั้งสิ้น 26,142 ราย เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2560 ซึ่งมีจำนวนการประสบอันตราย 25,922 ราย พบว่าเพิ่มขึ้น 220 ราย คิดเป็นร้อยละ 0.85 


จังหวัดที่มีลูกจ้างประสบอันตรายจากการทำงานสูงสุดคือ กรุงเทพฯ มี 7,123 ราย รองลงมาคือสมุทรปราการ 3,837รายและชลบุรี 1,609 ราย 


ประเภทสถานประกอบการที่มีลูกจ้างมากกว่า 1,000 คน มีสถิติประสบอันตรายสูงสุด คือ 6,081 ราย รองลงมา คือสถานประกอบการที่มีลูกจ้าง 201–500 คน จำนวน 4,227 ราย และสถานประกอบการที่มีลูกจ้าง 21- 50 คน จำนวน 3,107 ราย ตามลำดับ 

ประเภทกิจการที่ประสบอันตรายสูงสุด คือ ประเภทกิจการหมวดการผลิต  จำนวน 14,465 ราย รองลงมาคือประเภทกิจการหมวดการขายส่งและการขายปลีก การซ่อมยานยนต์และจักรยานยนต์ 3,892 รายและประเภทกิจการหมวดก่อสร้าง จำนวน 2,831 ราย ตามลำดับ 

ส่วนกรณีที่ลูกจ้างประสบเหตุจนสูญเสียอวัยวะสูงสุด คือ นิ้วมือ จำนวน 6,220 ราย รองลงมา คือตา จำนวน 3,480 ราย และบาดเจ็บหลายส่วน จำนวน 2,040 ราย 

สำหรับหน้าที่ของนายจ้าง หากลูกจ้างประสบอันตรายจากการทำงาน นายจ้างมีหน้าที่ต้องแจ้งการประสบอันตราย ตามแบบแจ้งการประสบอันตรายเป็นอันดับแรก รวมถึงคำร้อง ขอรับเงินทดแทน (กท.16) และสำเนาแบบส่งตัวลูกจ้างเข้ารับการรักษาพยาบาล (กท.44) ส่งให้สำนักงานประกันสังคมพื้นที่/จังหวัด/สาขา ที่นายจ้างขึ้นทะเบียนไว้ ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ทราบการประสบอันตรายของลูกจ้าง 

กรณีลูกจ้างประสบอันตรายเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงาน สำนักงานประกันสังคม ขอแนะนำให้นายจ้าง ส่งตัวลูกจ้างเข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลในความตกลงของกองทุนเงินทดแทน โดยที่นายจ้างไม่ต้องสำรองจ่ายค่ารักษาล่วงหน้าและสามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลได้เท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็นตามกฎกระทรวงกำหนดอัตราค่ารักษาพยาบาลที่ให้นายจ้างจ่าย (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2560 ซึ่งค่ารักษาพยาบาลเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็นในเบื้องต้นไม่เกิน 50,000 บาท ต่อการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย 1 ครั้ง 

อย่างไรก็ตามหากมีการบาดเจ็บรุนแรงหรือเรื้อรังตามหลักเกณฑ์ ที่กำหนดในประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง ลักษณะการประสบอันตรายฯ ให้นายจ้างจ่ายค่ารักษาพยาบาล เพิ่มได้อีก 100,000 บาท รวมแล้วไม่เกิน 300,000 บาท หรือหากไม่เพียงพอ สามารถจ่ายเพิ่มขึ้นได้อีก รวมแล้วไม่เกิน 500,000 บาท โดยตามความเห็นของคณะกรรมการการแพทย์ และหากไม่เพียงพอสามารถจ่ายค่ารักษาพยาบาลเพิ่มขึ้น แต่รวมทั้งสิ้นไม่เกิน 1,000,000 บาท โดยตามความเห็นของคณะกรรมการการแพทย์พิจารณา คณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนให้ความเห็นชอบ เว้นแต่ ลูกจ้างเข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลของรัฐ ตั้งแต่เริ่มแรกจนสิ้นสุดการรักษา หรือ มีเหตุสมควรที่ไม่สามารถเข้ารับการรักษาพยาบาล ในสถานพยาบาลของรัฐตั้งแต่เริ่มแรก แต่ภายหลังได้เข้ารับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลของรัฐสามารถเบิกเพิ่มได้ในวงเงินสูงสุด ไม่เกิน 2,000,000 บาท .-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ทหารทำร้าย

ทบ.ตั้ง กก.สอบปมกรมยุทธศึกษาทหารบก ทำร้ายผู้ใต้บังคับบัญชา

“ธนเดช” เผย กมธ.ทหาร รับเรื่องร้องเรียนเจ้ากรมยุทธศึกษาทหารบก ทำร้ายร่างกายผู้ใต้บังคับบัญชา ขณะ ทบ. ตั้งกรรมการสอบแล้ว หวังเป็นตัวอย่างการลงโทษผู้บังคับบัญชาระดับสูงหากพบผิดจริง

“บิ๊กแจ๊ส” ลั่นพร้อมดูแลสนามกอล์ฟธูปะเตมีย์ ให้เป็นปอดประชาชน

“บิ๊กแจ๊ส” ลั่นหากได้รับถ่ายโอน อบจ.ปทุมฯ พร้อมจัดงบดูแลสนามกอล์ฟธูปะเตมีย์ ให้เป็นปอดประชาชน หลังขาดพื้นที่ออกกำลังกาย แต่จะกระทบความมั่นคงหรือไม่เป็นเรื่องละเอียดอ่อนต้องคุยกันต่อ

ข่าวแนะนำ

ทนายดิไอคอน แจ้งความเอาผิด “กฤษอนงค์-ฟิล์ม” พยายามฉ้อโกง

“ทนายบอสพอล” แจ้งความเอาผิด “กฤษอนงค์-ฟิล์ม” พยายามฉ้อโกง จ่อฟันเอาผิดเพิ่ม 89 ขบวนการอ้างตัวเป็นผู้เสียหาย

นายกฯ เผยเศรษฐกิจฟื้นตัวต่อเนื่อง เล็งออกมาตรการช่วยผู้สูงอายุ

นายกฯ เป็นประธานประชุมบอร์ดกระตุ้นเศรษฐกิจนัดแรก เผยจีดีพีรวม 3 ไตรมาส 2.3% ฟื้นตัวต่อเนื่อง เล็งออกมาตรการช่วยกลุ่มผู้สูงอายุต่อไป