“สุรชัย” ยันตั้ง กก.สอบคลิปเสียงโหวตคว่ำสรรหา กทสช.

รัฐสภา 20 เม.ย.-รองประธาน สนช. ยืนยัน วิป สนช.ไม่ได้คุยเรื่องนายกรัฐมนตรีสั่งคว่ำการเลือกกรรมการ กสทช.หลังจากมีคลิปเสียงปรากฏ ย้ำตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงแล้ว ยืนยัน สนช.ทำงานอย่างอิสระ


นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) กล่าวถึงกรณีที่ประชุม สนช.มีมติเสียงข้างมากไม่รับรองรายชื่อผู้สมควรได้รับเลือกเป็นกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ตามที่คณะกรรมการสรรหาเสนอมา ว่า หลังจากที่ สนช.มีมติไม่เลือกตามรายชื่อดังกล่าว ก็ต้องเริ่มกระบวนการสรรหาใหม่ได้ทันที ส่วนตัวไม่มั่นใจในข้อกฎหมายว่าทั้ง 14 คนนั้นจะสามารถเข้ารับการสรรหาได้อีกหรือไม่ เพราะ สนช.มีมติไม่เลือกตามรายชื่อทั้งหมด จึงเป็นหน้าที่ของคณะกรรมการสรรหาในการพิจารณา ตนไม่สามารถวินิจฉัยแทนได้

ส่วนกรณีที่ สนช.ลงมติไม่เลือกทั้ง 14 คน จะขัดกับมาตรา 17 ของ พ.ร.บ.ว่าด้วย กสทช.หรือไม่นั้น นายสุรชัย กล่าวว่า ในมาตรา 17 ได้มีการถกเถียงกันมาก ซึ่งมาตราดังกล่าว กำหนดให้สภาฯ เป็นผู้พิจารณาเลือก หากจะตีความตามตัวอักษรว่าส่งชื่อมาแล้วต้องเลือกอย่างเดียว จะไม่เกิดความเป็นธรรมและเป็นช่องโหว่ของการใช้กฎหมายเป็นเครื่องในการบล๊อกคนมาได้ ดังนั้นจึงต้องเป็นเรื่องระมัดระวังในการตีความกฎหมาย และสภาฯ ก็พยายามตีความกฎหมาย เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมมากที่สุด โดยเฉพาะเมื่อ สนช.ได้ฟังรายงานลับ แต่น่าเสียดายที่ไม่สามารถนำข้อมูลในรายงานลับของกรรมาธิการเสนอ มาเผยแพร่ต่อสาธารณะได้ แต่สมาชิก สนช.ทุกคนได้ฟังข้อมูลจากรายงานลับแล้ว ก็มีข้อวิตกกังวลตรงกันทั้งหมดว่าหากลงมติเลือกไป จะเกิดปัญหาในอนาคต และนำไปสู่การฟ้องร้อง เพียงแต่สมาชิกมีความเห็นต่างในแนวทางว่าสภาฯ จะมีการลงมติอย่างไร ดังนั้นสิ่งที่สภาฯ ตัดสินใจ คือ เป็นไปบนพื้นฐานของการสร้างความถูกต้องในการได้ผู้ที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญมาทำหน้าที่ ขณะเดียวกัน ไม่ต้องการให้เป็นบรรทัดฐานในการนำมาตรา 17 ไปใช้ในช่องทางที่ไม่ถูกต้องต่อไปในอนาคต โดยเฉพาะการบล๊อกตัวบุคคลและบังคับให้สภาฯ ต้องเลือก ดังนั้นในช่วงของการประชุมลับ ได้มีการถกเถียงกันอย่างมาก


นายสุรชัย ยังกล่าวกรณีที่มีการเผยแพร่คลิปเสียงที่อ้างว่าเป็นการประชุมวิป สนช.โดยมีเนื้อหาช่วงหนึ่งพูดถึงการโหวตคว่ำบุคคลที่ได้รับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ทั้ง 14 คน โดยอ้างว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ไม่พอใจบุคคลที่ได้รับการเสนอชื่อ 8 คน จาก 14 คน ว่า ตนเพิ่งทราบเมื่อวานนี้ (19 เม.ย.) หลังจากเสร็จสิ้นการทำหน้าที่เป็นประธานการประชุม เนื่องจากมีคนเปิดให้ดู จึงหารือกับนายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธาน สนช.ว่าควรต้องตั้งกรรมการขึ้นมาตรวจสอบเรื่องดังกล่าวว่ามีความเป็นมาอย่างไร แต่ยืนยันว่าในที่ประชุม วิป สนช.เมื่อวันที่ 17 เมษายนที่ผ่านมา ไม่มีการพูดคุยเรื่องนี้แต่อย่างใด ดังนั้น ตนจึงไม่ทราบว่าเรื่องดังกล่าวเกิดขึ้นได้อย่างไร และข้อมูลถูกต้องหรือไม่ ส่วนเป็นการพูดคุยในที่ประชุมของคณะกรรมการสรรหา หรือ คณะกรรมาธิการสามัญเพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบประวัติ ความประพฤติและพฤติกรรมทางจริยธรรมของบุคคลผู้สมควรได้รับเลือกเป็นกรรมการ กสทช.หรือไม่นั้น ตนไม่ทราบ และตนก็ไม่ทราบว่าสื่อนำคลิปมาจากที่ใด หรือได้มาจากใคร

“ขอยืนยันว่ากรณีที่ สนช.มีมติไม่เลือกบุคคลทั้ง 14 คน เพราะพบปัญหาด้านคุณสมบัติและความประพฤติ 8 คนนั้น ไม่ได้ถือว่า สนช.เป็นผู้วินิจฉัยคุณสมบัติตัวบุคคล เพียงแต่มองในประเด็นว่าหากมีปัญหาเรื่องคุณสมบัติ ก็จะเกี่ยวโยงไปข้อกฎหมายที่เขียนให้กรรมการสรรหาต้องเสนอชื่อมา 2 เท่า หากสมมติว่า 1 ใน 2 คนนั้นมีปัญหาด้านคุณสมบัติ บัญชีนั้นที่เสนอมา จะถือว่าเสนอมาอย่างถูกต้องตามที่กำหนดว่าต้องเสนอมา 2 เท่าหรือไม่ แม้ว่ากฎหมายจะไม่ได้กำหนดให้ สนช.วินิจฉัยเรื่องคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามก็ตาม แต่เมื่อมีข้อมูลเข้ามาแล้ว หาก สนช.เดินหน้าลงมติเลือกไปแล้ว ก็จะเกิดคำถามตามมาว่ามีข้อมูลปรากฎอยู่ในรายงานว่ามีปัญหาที่จะต้องมอง แต่ สนช.ก้าวข้ามไป ซึ่งหากภายหลังมีการฟ้องร้องแล้วศาลชี้ว่าขาดคุณสมบัติ สังคมก็ต้องกลับมาถาม สนช.ว่า สนช.เลือกไปได้อย่างไร ทำไม สนช.ไม่สนใจ” นายสรุชัย กล่าว

นายสุรชัย กล่าวอีกว่า ไม่ขอกล่าวโทษว่าเรื่องนี้เป็นความรับผิดชอบของใคร แต่ สนช.จะทำหน้าที่ของ สนช.อย่างดีที่สุด เพราะเป็นด่านสุดท้ายในการรองรับคนเข้าสู่ตำแหน่งสำคัญของประเทศ ส่วนกรรมการสรรหาต้องรับผิดชอบหรือไม่นั้น ตนตอบไม่ได้


ส่วนกรณีที่คลิปเผยแพร่ออกมาเช่นนี้ จะส่งผลต่อภาพลักษณ์การถ่วงดุลอำนาจหรือไม่นั้น นายสุรชัย กล่าวว่า เรื่องนี้จึงต้องมีการตรวจสอบที่มาว่าเป็นความจริงหรือไม่ ส่วนใครจะมองว่า สนช.ถูก คสช.ครอบงำนั้น ก็สุดแล้วแต่จะมอง เพราะขณะนี้ยังไม่ทราบว่าเป็นข้อมูลจริงหรือไม่ 

ส่วนกรณีนี้จะถือว่านายกรัฐมนตรีมีอิทธิพลต่อ สนช.ทั้ง 250 คนหรือไม่นั้น นายสุรชัย กล่าวว่า สนช.ทำงานโดยยึดหลักประโยชน์ของสังคมและสาธารณะ ไม่ตัดสินใจบนพื้นฐานของความชอบหรือไม่ชอบ ซึ่งต้องดูการทำงานอื่นของ สนช.ด้วย ไม่ใช่แค่กรณีนี้เท่านั้น จึงยืนยันว่า สนช.มีอิสระในการทำงานอย่างแน่นอน.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สำนักสงฆ์หูตาทิพย์

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์”

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์” พระอ้างใช้สอนวิปัสสนากรรมฐาน เบื้องต้นอายัดไว้พิสูจน์ดีเอ็นเอ พร้อมเอาผิดหัวหน้าสำนักสงฆ์ ฐานนำศพเก็บไว้ในสถานที่ที่ไม่ใช่สุสานและฌาปนสถาน

“สนธิ” ยื่นถอด “ตั้ม-เดชา” ออกจากทนาย

“สนธิ ลิ้มทองกุล” หอบหลักฐานบุกสภาทนายความ ถอดทนายตั้ม-ทนายเดชา ออกจากทนาย ระบุ ได้รับมอบอำนาจจาก “มาดามอ้อย” แล้ว เดินหน้าเอาผิด ทนายตั้มแบบสุดซอย ไม่ให้มีคนตกเป็นเหยื่อผู้รู้กฎหมายอีก

รัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มยูเครน

ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย แถลงยืนยันว่ารัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มภาคตะวันออกยูเครนเมื่อวานนี้ ตอบโต้ที่ยูเครนใช้ขีปนาวุธที่ได้รับมอบจากสหรัฐและอังกฤษ

ข่าวแนะนำ

โค้งสุดท้าย ศึกสองนารีชิงเก้าอี้ นายก อบจ.นครฯ

เหลือไม่ถึง 2 วันแล้ว ที่ชาวนครศรีธรรมราชจะได้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ ศึกนี้เป็นการสู้กันเองของพรรคร่วมรัฐบาล ฝ่ายหนึ่งต้องการรักษาฐานที่มั่นไว้ให้ได้ อีกฝ่ายต้องการเจาะฐานให้แตก เพื่อหวังครองที่นั่งการเมืองระดับชาติในสมัยหน้า

ร้อนระอุโค้งสุดท้าย ศึกชิงเก้าอี้ นายก อบจ.อุดรธานี

การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ครั้งนี้ดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครจาก 2 พรรคใหญ่ลงชิงชัย ต่างเร่งเครื่องเต็มที่ในโค้งสุดท้าย การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 24 พ.ย.นี้ ใครจะเป็นผู้คว้าชัยชนะและสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญให้จังหวัดอุดรธานี ไปติดตามจากรายงาน

ความเห็นนักวิชาการ คดีทักษิณ

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับคำร้อง นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและพรรคเพื่อไทย ร่วมกันกระทำการอันเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครอง ขณะที่นักวิชาการชี้ว่าไม่ได้พลิกไปจากความคาดหมาย และผลจากคดีนี้ ไม่ทำให้เกิดจุดเปลี่ยนทางการเมือง แต่ก็ยังมีจุดเสี่ยงที่ต้องระวัง