คาดยอดใช้น้ำมันปีนี้โตร้อยละ 2

กรุงเทพฯ  22 ก.พ. – กรมธุรกิจพลังงานคาดเศรษฐกิจโตการใช้น้ำมันขยายตัวประมาณร้อยละ 2 ส่วนราคาน้ำมันดิบคาดจะทรงตัวกับปีที่แล้ว


นายวิฑูรย์ กุลเจริญวิรัตน์ อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน มีความเห็นเกี่ยวกับราคาน้ำมันดิบแตกต่างกับ บมจ.ปตท.ที่ประเมินว่าราคาน้ำมันดิบดูไบปีนี้จะอยู่ที่ประมาณ 60-65 ดอลลาร์สหรัฐ/บาร์เรล โดยนายวิฑูรย์มองว่าราคาปีนี้น่าจะใกล้เคียงกับปีที่แล้วที่ 57.5 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล เนื่องจากแม้กลุ่มโอเปกและนอกโอเปกจะร่วมมือลดราคาน้ำมันแต่สหรัฐจะเพิ่มกำลังผลิตจากแหล่งหินดินดานหรือเชลล์ออยล์ จึงเป็นส่วนกดดันราคา เมื่อราคาน้ำมันยังทรงตัวบวกกับเศรษฐกิจของไทยดีขึ้น จึงคาดว่าการใช้น้ำมันของไทยจะยังโตขึ้นร้อยละ 2 ในปีนี้ โดยการใช้ดีเซลจะอยู่ที่ 64.3 ล้านลิตรต่อวัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.4 กลุ่มเบนเซินมีการใช้ 30.4 ล้านลิตร/วัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 1 การใช้น้ำมันเครื่องบินคาดจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.2 อยู่ที่ 13.01 ล้านลิตรต่อวัน สำหรับการใช้แอลพีจีภาคขนส่งจะลดลง แต่ภาพรวมทุกภาคแล้วจะเพิ่มขึ้นร้อยละ  3.1 หรือ 17.5 ล้านกิโลกลัม/วัน เอ็นจีวีจะลดลงร้อยละ 8.4 หรือ 6.2 ล้านกิโลกรัม/วัน

“จากที่หลายฝ่ายคาดการท่องเที่ยวของไทยและเศรษฐกิจโตไม่ต่ำกว่าร้อยละ 4 ราคาน้ำมันยังอยู่ในเกณฑ์ต่ำ จึงคาดว่าการใช้น้ำมันเครื่องบิน การใช้น้ำมันของประเทศโดยรวมยังโต ส่วนการใช้ก๊าซในรถยนต์ก็จะลดลง” นายวิฑูรย์ กล่าว 


สำหรับนโยบายส่งเสริมการใช้น้ำมันพลังงานทดแทนปีนี้จะเป็นอย่างไร ขณะนี้กำลังรอการปรับแผนหลัก 5 แผนของกระทรวงพลังงาน โดยจะต้องดูถึงเรื่องราคาน้ำมัน ทิศทางราคาเอทานอลทั้งในและต่างประเทศ ราคาปาล์ม วัตถุดิบและผลิตภันฑ์ที่เกี่ยวข้อง เช่น มันสำปะหลัง กากน้ำตาล เพราะหากส่งเสริมการใช้เอทานอลมากเกินไปแล้วกำลังผลิตจะเพียงพอหรือไม่ โดยหากราคาโมลาสหรือมันในต่างประเทศสูงขึ้น ก็อาจจะมีการส่งออกการผลิตเอทานอลในประเทศก็อาจจะไม่เพียงพอ ซึ่งกำลังผลิตเอทานอลทั้งหมดอยู่ที่ประมาณ 5.89 ล้านลิตร แต่มีการผลิตจริงปี 2560 ที่ 4.0 ล้านลิตร 

ส่วนการใช้ไบโอดีเซล บี 100 หากปีนี้มีการใช้บี 7 ตลอดทั้งปี ก็จะมีการใช้บี 100ที่ 4.5 ล้านลิตร/วัน สูงกว่าปีที่แล้วที่ 3.8 ล้านลิตร/วัน อย่างไรก็ตาม ทางกระทรวงพลังงานกำลังศึกษาการใช้ส่วนผสมในไบโอดีเซลเพื่อเพิ่มให้ใช้บี 10 ได้ แม้จะมีอากาศหนาวเย็น เพราะจะช่วยลดการแข็งตัวในอากาศเย็น หากดำเนินการได้คาดว่าจะเป็นที่ยอมรับของค่ายรถยนต์ เพราะขณะนี้ค่ายรถยนต์ยืนยันขอใช้เพียงบี 7 เท่านั้น  

ทั้งนี้ ภาพรวมการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงเฉลี่ยต่อวันของปี 2560 เติบโตขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2559  โดยกลุ่มน้ำมันเบนซินเฉลี่ยอยู่ที่ 30.1 ล้านลิตร/วัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนคิดเป็นร้อยละ 3.7 ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นของน้ำมันกลุ่มเบนซินเกือบทุกชนิดยกเว้นน้ำมันเบนซินและแก๊สโซฮอล์ 91 โดยน้ำมันเบนซินมีการใช้ลดลงเฉลี่ยต่อวันอยู่ที่ 1.2 ล้านลิตร/วัน คิดเป็นอัตราลดลงร้อยละ 8.2 และแก๊สโซฮอล์ 91 มีการใช้ลดลงเฉลี่ยต่อวันอยู่ที่ 10.6 ล้านลิตร/วัน  คิดเป็นอัตราลดลงร้อยละ 4.4 สำหรับภาพรวมการใช้น้ำมันกลุ่มแก๊สโซฮอล์มีปริมาณการใช้เพิ่มขึ้นจากปีก่อน เฉลี่ยอยู่ที่ 28.8 ล้านลิตร/วัน คิดเป็นร้อยละ 4.2 โดยแก๊สโซฮอล์อี 85 มีอัตราการใช้เพิ่มขึ้นมากที่สุด อยู่ที่ 1.1 ล้านลิตร/วัน คิดเป็นอัตราเพิ่มขึ้นร้อยละ 18 เนื่องจากปัจจุบันมีรถยนต์ผลิตใหม่ที่รองรับแก๊สโซฮอล์ อี 85 เข้าสู่ท้องตลาดมากขึ้น รองลงมาเป็นแก๊สโซฮอล์ 95 มีปริมาณการใช้สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เฉลี่ยอยู่ที่ 11.9 ล้านลิตร/วัน คิดเป็นอัตราเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.0 เนื่องมาจากราคาขายปลีกที่ปรับตัวใกล้เคียงกันกับแก๊สโซฮอล์ 91 ทำให้ประชาชนเลือกใช้น้ำมันชนิดที่มีค่าออกเทนสูงกว่า ในขณะเดียวกันแก๊สโซฮอล์อี 20 มีการใช้เพิ่มขึ้นเฉลี่ยอยู่ที่ 5.2 ล้านลิตร/วัน คิดเป็นอัตราเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.8 


การใช้น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว (บี7) เฉลี่ยต่อวันอยู่ที่ 62.2 ล้านลิตร/วัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 2.7 แม้ว่าราคาขายปลีกจะปรับตัวสูงขึ้นตั้งแต่ปลายปี 2559 แต่ปริมาณการใช้ยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่องตามการเติบโตทางเศรษฐกิจและปริมาณรถยนต์ที่ใช้น้ำมันดีเซลเป็นเชื้อเพลิงมีปริมาณเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.5 (อ้างอิงข้อมูลกรมการขนส่งทางบก) ซึ่งเดือน มี.ค. 2560 เป็นเดือนที่มีการใช้สูงสุดเฉลี่ยอยู่ที่ 67.2 ล้านลิตร/วัน มีปัจจัยหลักมาจากการขนส่งและการเร่งทำงานให้แล้วเสร็จ ก่อนเตรียมตัวหยุดยาวในช่วงเทศกาลสงกรานต์ รวมทั้งเป็นช่วงที่ราคาน้ำมันยังอยู่ในระดับต่ำ และเดือน ต.ค. 60 มียอดการใช้ต่ำสุดเฉลี่ยอยู่ที่ 56.9 ล้านลิตร/วัน โดยมีปัจจัยหลักมาจากช่วงฤดูฝนและเหตุการณ์อุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ช่วง ส.ค. – พ.ย. ส่งผลให้การขนส่งสินค้าในประเทศชะลอตัว

การใช้แอลพีจีเฉลี่ยต่อวันของปี 2560 อยู่ที่ 17.0 ล้าน กก./วัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนคิดเป็นร้อยละ 3.4 ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นของการใช้ทุกภาคยกเว้นภาคขนส่ง ที่มีปริมาณการใช้เฉลี่ยอยู่ที่ 3.6 ล้าน กก./วัน คิดเป็นอัตราลดลงร้อยละ 10.0 สำหรับการใช้ในภาคอื่น ๆ มีอัตราการใช้เพิ่มขึ้น โดยภาคปิโตรเคมีอัตราการใช้เพิ่มขึ้นสูงที่สุดอยู่ที่ 5.7 ล้าน กก./วัน    คิดเป็นอัตราเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.7 รองลงมาเป็นภาคอุตสาหกรรมมีปริมาณการใช้เฉลี่ยอยู่ที่ 1.8 ล้าน กก./วัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.6 และภาคครัวเรือนเฉลี่ยอยู่ที่ 5.9 ล้าน กก./วัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 2.1 

การใช้เอ็นจีวีของปี 2560 เฉลี่ยอยู่ที่ 6.8 ล้าน กก./วัน ลดลงจากปีก่อน  คิดเป็นร้อยละ 12.1 โดยการใช้ เอ็นจีวีลดลงเป็นผลต่อเนื่องจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิงปรับตัวลดลงตั้งแต่ต้นปี 2559 ทำให้ประชาชนและรถบรรทุกสินค้าหันไปใช้น้ำมันเชื้อเพลิงเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยมา และส่งผลให้มีสถานีบริการเอ็นจีวีทยอยปิดตัวลงอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับรถยนต์จดทะเบียนใหม่ประเภทเชื้อเพลิงเอ็นจีวีลดลงร้อยละ 4.7 (อ้างอิงข้อมูลกรมการขนส่งทางบก)

สำหรับการนำเข้าส่งออกน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศของปี 2560 มีปริมาณนำเข้ารวมเพิ่มขึ้น โดยปริมาณการนำเข้านำมันดิบเฉลี่ยอยู่ที่ 907 พันบาร์เรล/วัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.2 โดยมีมูลค่าการนำเข้าน้ำมันดิบคิดเป็น 52,157 ล้านบาท/เดือน สำหรับน้ำมันสำเร็จรูปมีปริมาณนำเข้าเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 67 พันบาร์เรล/วัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 13.6 และมีมูลค่าการนำเข้าน้ำมันสำเร็จรูปอยู่ที่ 4,289 ล้านบาท/เดือน โดยพบว่ามีการนำเข้าเบนซินพื้นฐาน และแอลพีจีเพิ่มขึ้น ในขณะที่ดีเซลพื้นฐาน เตา และอากาศยานลดลง สำหรับการนำเข้า แอลพีจีมีปริมาณเฉลี่ยอยู่ที่ 54 ล้าน กก./เดือน เพิ่มขึ้นร้อยละ 42.1 เนื่องจากช่วงเดือน พ.ค. – ก.ค. 2560 มีโรงกลั่นและโรงแยกก๊าซที่หยุดซ่อมบำรุงจึงกระทบต่อการผลิตแอลพีจี สำหรับการส่งออกน้ำมันสำเร็จรูป เฉลี่ยอยู่ที่ 200 พันบาร์เรล/วัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนคิดเป็นร้อยละ 13.6 โดยพบว่ามีการส่งออก เบนซิน ดีเซลพื้นฐาน น้ำมันอากาศยาน น้ำมันเตา และแอลพีจีในปริมาณที่เพิ่มขึ้น

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าปี 2560 มีการปิดซ่อมบำรุงโรงกลั่นในประเทศ 6 โรงกลั่น รวมจำนวนวันทั้งหมด 232 วัน และโรงแยกก๊าซ 81 วัน แต่พบว่ามีจำนวนวันสำหรับปิดซ่อมบำรุงน้อยกว่าปี 2559 ที่มีจำนวนวันปิดซ่อมบำรุงรวม 321 วัน จึงส่งผลให้มีการนำเข้าน้ำมันสำเร็จรูปประเภท ดีเซลพื้นฐาน เตา และ อากาศยานลดลง ขณะที่การนำเข้าน้ำมันเบนซินพื้นฐานมีปริมาณมากขึ้นเนื่องจาก โรงกลั่นยังคงมีข้อจำกัดในการผลิตน้ำมันเบนซินพื้นฐานชนิดที่ 2 ซึ่งนำไปใช้ในการผสมเพื่อผลิตแก๊สโซฮอล์ 95 อี 20 และ อี 85 ประกอบกับความต้องการใช้น้ำมันแก๊สโซฮฮล์ประเภทดังกล่าวปริมาณการใช้เติบโตอย่างต่อเนื่อง จึงจำเป็นต้องมีการนำเข้ามาในประเทศเพิ่มขึ้นเช่นกัน.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

เลือกตั้งนายก อบจ.อุบลฯ “กานต์” ส่อเข้าป้าย

เลือกตั้งนายก อบจ.อุบลราชธานี “กานต์” หมายเลข 1 จากเพื่อไทย ส่อเข้าป้าย ด้าน ปชน. แถลงยอมรับยังไม่เป็นที่ไว้วางใจ ส่วนอุตรดิตถ์ “ชัยศิริ” อดีตนายก อบจ. ส่อเข้าวิน

วัยรุ่นซิ่งเบนซ์เสียหลักพุ่งเหินฟ้าคารถ 6 ล้อ

รอดตายปาฏิหาริย์! วัยรุ่นซิ่งเบนซ์เสียหลัก ก่อนพุ่งเหินฟ้าติดคาบนรถ 6 ล้อ พลเมืองดีเข้าช่วยเหลือออกมาจากรถ ปลอดภัย

กกต.สั่งเอาผิดอาญา “ชวาล” สส.ปชน. ยื่นบัญชีใช้จ่ายเท็จ

กกต.สั่งดำเนินคดีอาญา “ชวาล” สส.ปชน. ยื่นบัญชีค่าใช้จ่ายเลือกตั้งไม่ตรงความเป็นจริง โทษหนักทั้งจำคุก-ตัดสิทธิ 5 ปี

ข่าวแนะนำ

“พิธา-ทักษิณ” ช่วยหาเสียงผู้สมัครนายก อบจ.เชียงใหม่

“พิธา” ลงพื้นที่ตลาดต้นลำไย จ.เชียงใหม่ พบปะพี่น้องประชาชน ด้านพรรคเพื่อไทย “ทักษิณ” ขึ้นเวทีแนะนำ “พิชัย เลิศพงศ์อดิศร หรือ สว.ก๊อง” ผู้สมัครนายก อบจ.เชียงใหม่

ไตรภาคีเคาะแล้ว! ค่าจ้างขั้นต่ำ มีผล 1 ม.ค.68

ไตรภาคี เคาะค่าจ้าง 400 บาท ลูกจ้าง 4 จังหวัด 1 อำเภอ “ภูเก็ต-ฉะเชิงเทรา-ชลบุรี-ระยอง-อ.เกาะสมุย” มีผล 1 ม.ค.68 ขึ้นค่าจ้าง 7-55 บาท 3 จังหวัดชายแดนใต้ได้วันละ 337 บาท

“ภูมิธรรม” สั่งปิดชายแดนไทย-เมียนมา จ.ตาก 1 เดือน สกัดอหิวาตกโรค

“ภูมิธรรม” สั่งปิดชายแดนไทย-เมียนมา จ.ตาก 1 เดือน สกัดอหิวาตกโรค ไม่ให้ระบาดในไทย พร้อมยกมาตรรักษาสุขภาวะในพื้นที่อย่างเข้มข้น