กก.ปฏิรูปด้าน ศก. แถลงแผนปฏิรูป หวังยกระดับการพัฒนา-ลดความเหลื่อมล้ำ

ทำเนียบฯ 16 ก.พ.-คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านเศรษฐกิจ แถลงแผนปฏิรูป หวังยกระดับการพัฒนาทุกมิติ ลดความเหลื่อมล้ำ ขณะที่แผนปฏิรูปด้านทรัพยากรธรรมชาติฯ เน้นเพิ่มพื้นที่ป่า สร้างการรับรู้ปัญหาสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง


นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ประธานกรรมการในคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านเศรษฐกิจ และ นายรอยล จิตรดอน ประธานกรรมการ คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่วมแถลงความคืบหน้าการปฏิรูปประเทศไทย หัวข้อ “ทรัพยากรมีคุณค่า กับการพัฒนาเศรษฐกิจที่ยั่งยืน” 

โดยนายประสาร กล่าวว่า ขณะนี้ไทยกำลังเผชิญกับปัญหาด้านโครงสร้าง เช่น ปัญหาความเหลื่อมล้ำ ปัญหากลไกและบทบาทภาครัฐที่ไม่เอื้อต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ปัญหากฎหมายและกฎระเบียบที่มีจำนวนมากล้าสมัย มีช่องโหว่จากการใช้ดุลพินิจ เป็นสาเหตุให้เกิดปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่น ขณะเดียวกันบริบททางเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลง จากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี กติกาสากลที่เข้มงวดขึ้น รวมถึงประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ 


“นี่จึงเป็นเป้าหมายที่ต้องการปฏิรูป โดยสาระสำคัญของแผนปฏิรูปแบ่งเป็น 3 ด้าน คือ ด้านแรก ว่าด้วยการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันระดับบุคคล ระดับภาคธุรกิจ และภาครัฐ ด้วยการเพิ่มผลิตภาพ จากสิ่งที่ไทยมีความชำนาญในกลุ่มอุตสาหกรรมหลักเพื่อต่อยอดสร้างอุตสาหกรรมใหม่  ด้วยการพัฒนาทักษะบุคลากร เพิ่มประสิทธิภาพเทคโนโลยีนวัตกรรม ใช้ประโยชน์จากข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data analytics) รวมถึงปรับปรุงกฎระเบียบต่างๆ เพื่อขยายตลาดไปยังประเทศเพื่อนบ้าน สร้างฐานการลงทุนในกลุ่ม CLMV บังกลาเทศ และตอนเหนือของอินเดีย” นายประสาร กล่าว

นายประสาร กล่าวอีกว่า ด้านที่สอง คือ การสร้างความเท่าเทียมและเติบโตอย่างมีส่วนร่วมเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ กระจายประโยชน์จากการพัฒนาไปสู่ประชาชนให้ทั่วถึง ด้วยการจัดตั้งสำนักงานบูรณาการแก้ไขปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ำ ผลักดันให้เกิดผลจริง โดยจะมุ่งสร้างรายได้ให้กับประชาชน กลุ่มเกษตรกร กลุ่มแรงงานไร้ฝีมือ สร้างชุมชนให้เข้มแข็ง และด้านที่สาม คือ การปรับกลไกและบทบาทภาครัฐให้เท่าทันกับบริบทที่เปลี่ยนแปลง โดยต้องกระจายอำนาจให้ท้องถิ่นตัดสินใจมากขึ้น ช่วยแก้ปัญหาให้มีเจ้าภาพที่ชัดเจน

นายประสาร กล่าวด้วยว่า ที่สำคัญคือต้องยกระดับกระบวนการขับเคลื่อนนโยบายเศรษฐกิจให้มีประสิทธิภาพและบูรณาการ (Plan-Do-Check-Act) ใน 3 มิติ โดยมิติแรก ต้องปฏิรูปหน่วยงาน นโยบาย ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติให้ทำงานมีประสิทธิภาพ รวดเร็วทันต่อการเปลี่ยนแปลง ส่วนสำนักงานสถิติแห่งชาติ ต้องพัฒนาระบบข้อมูลให้หลากหลายเรียกใช้ได้รวดเร็ว มิติที่สอง ปฎิรูปหน่วยงานการคลังและงบประมาณให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ เพื่อรองรับการดูแลผู้สูงอายุ ด้วยการปฎิรูประบบประกันสุขภาพ เสนอให้มีองค์กรจัดเก็บภาษีกึ่งภาษีอิสระเพื่อเพิ่มรายได้ให้รัฐบาลและขยายฐานการจัดเก็บภาษีรูปแบบต่างๆ รวมถึงปฎิรูปหน่วยบริหารสินทรัพย์ของรัฐ โดยเฉพาะรัฐวิสาหกิจต้องเพิ่มมูลค่าตามศักยภาพ และมิติที่สาม ปฎิรูปหน่วยงานดำเนินการและประเมินผล เช่น สถาบันด้านการส่งเสริมเอสเอ็มอีเพื่อยกระดับความสามารถเอสเอ็มอี


“ส่วนใหญ่ไม่ใช่เรื่องใหม่ เป็นข้อเสนอที่ผู้เกี่ยวข้องได้ปูทางไว้ ทั้งนักวิชาการ สมาชิกสภาปฎิรูปแห่งชาติ (สปช.) สมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฎิรูปประเทศ (สปท.) ทั้งนี้คณะกรรมการฯ เห็นว่าสถานการณ์ปัจจุบันเอื้อต่อการปฎิรูป ซึ่งรัฐบาลและประชาชนส่วนใหญ่เห็นความสำคัญและสนับสนุน ประกอบกับเศรษฐกิจโดยรวมมีแนวโน้มดี การได้รับการสนับสนุนจากประชาชนถือเป็นเรื่องที่สำคัญ เพราะการปฎิรูปประเทศ เป็นหน้าที่ของทุกคน ไม่ใช่หน้าที่ของใครคนใดคนหนึ่ง” นายประสาร กล่าว

ด้านนายรอยล กล่าวว่า ที่ผ่านมาประเทศไทยใช้การบริหารงานแบบรวมศูนย์ แต่การบริหารงานในเชิงพื้นที่แบบแนวราบก็มีความสำคัญเช่นกัน ดังนั้นรัฐบาลจึงเน้นการลงพื้นที่เพื่อเข้าถึงปัญหาให้ตรงจุด เช่น ปัญหาชายฝั่ง ปัญหาน้ำ รวมถึงสภาวะการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ โดยการปฎิรูปประเทศด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แบ่งเป็น 6 เรื่อง คือ 1.ทรัพยากรทางบก 2.ทรัพยากรทางน้ำ 3.ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 4.ความหลากหลายทางชีวภาพ  5.สิ่งแวดล้อม และ 6.ระบบบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะเร่งรัดให้เกิดแผนที่การใช้ประโยชน์ที่ดิน ป่าไม้ แผนที่ศักยภาพแร่ มีระบบผังเมืองรวมจังหวัด ผังเส้นทางน้ำ พร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลสภาพภูมิอากาศด้วยการนำเทคโนโลยีมาปรับใช้ เพิ่มพื้นที่ป่าเพื่อการอนุรักษ์ ป่าเศรษฐกิจ ป่าชุมชน และระบบบริหารจัดการและกฎหมายต้องผลักดัน เพื่อจัดทำรายงานประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EIA/EHIA) เป็นต้น ทั้งนี้คณะกรรมการฯ หวังว่าจะได้รับความร่วมมือและการตอบรับจากประชาชนทุกภาคส่วน.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

เปิดเนื้อหาหนังสือแจง UNSC กัมพูชาวางทุ่นระเบิด-เริ่มยิงก่อน

25 ก.ค.- เปิดเนื้อหาหนังสือจากผู้แทนถาวรไทยประจำสหประชาชาติที่นิวยอร์ก เพื่อชี้แจงต่อประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ถึงสถานการณ์ชายแดนไทย-กัมพูชา นายเชิดชาย ใช้ไววิทย์เอกอัครราชทูต ผู้แทนถาวรไทย ประจำสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก ส่งหนังสือชี้แจงต่อประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ถึงสถานการณ์ชายแดนไทย-กัมพูชา ระบุว่า ขอแจ้งให้ท่านและสมาชิกคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติทุกท่านทราบ ถึงสถานการณ์อันร้ายแรงที่ส่งผลกระทบต่ออธิปไตยและบูรณภาพแห่งดินแดนของไทย อันเป็นผลจากการรุกรานทางทหารของประเทศกัมพูชา โดยมีรายละเอียด ดังนี้ 1.     เมื่อวันที่ 16 และ 23 กรกฎาคม ค.ศ. 2025 ขณะที่เจ้าหน้าที่ทหารไทยกำลังลาดตระเวนตามเส้นทางปกติที่กำหนดไว้ ซึ่งอยู่ภายในอาณาเขตของประเทศไทย ทหารได้เหยียบทุ่นระเบิดชนิด PMN-2 ส่งผลให้ทหาร 2 นาย ได้รับบาดเจ็บอย่างสาหัสส่งผลถึงขั้นพิการถาวร ขณะที่ทหารนายอื่น ๆ ก็ได้รับบาดเจ็บสาหัส ทุ่นระเบิด PMN-2 ทั้งหมดที่พบอยู่ในสภาพใหม่ ยังมีเครื่องหมายที่มองเห็นได้ชัดเจน หลักฐานบ่งชี้ว่าทุ่นระเบิดเหล่านี้เพิ่งถูกวางใหม่ ในฐานะที่ประเทศไทยเป็นรัฐภาคีของอนุสัญญาห้ามทุ่นระเบิดสังหารบุคคล ไทยได้ยื่นรายงานประจำปีเกี่ยวกับความโปร่งใสในการดำเนินการตามพันธกรณีในอนุสัญญาดังกล่าว ตามมาตรา 7 ของอนุสัญญาฯ อย่างต่อเนื่อง รายงานดังกล่าวระบุว่าประเทศไทยได้ทำลายทุ่นระเบิดในคลังทั้งหมดแล้วตั้งแต่ปี ค.ศ. 2003 และต่อมา ได้ทำลายทุ่นระเบิดทั้งหมดที่เก็บไว้เพื่อการฝึกอบรมและการวิจัยในปี ค.ศ. […]

“ภูมิธรรม” เชื่อประชาชนคิดเหมือน “ทักษิณ” ขอให้กองทัพลบเหลี่ยม “ฮุนเซน”

ก.มหาดไทย 25 ก.ค.-“ภูมิธรรม” เชื่อประชาชนคิดเหมือน “ทักษิณ” ขอให้กองทัพลบเหลี่ยม “ฮุนเซน” ชี้รับฟังทุกความไม่พอใจ แต่ทุกอย่างเป็นไปตามยุทธวิธี ให้ทหารมีอิสระในการทำงาน มอง “ก่อแก้ว” ขอศาล รธน. คืนอำนาจให้ “แพทองธาร” เป็นความเห็นเหมือนประชาชนจำนวนมาก แต่ให้เป็นตามกระบวนการยุติธรรม นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รักษาการนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี โพสต์ข้อความผ่านทวิตเตอร์ ระบุถึง อยากให้กองทัพสั่งสอนความเจ้าเล่ห์ของฮุนเซนก่อน ว่า ก็เหมือนประชาชนทั่วไป ที่เวลานี้มีความรู้สึกเช่นนั้น หลายคนแสดงความเห็นให้ทำแบบนู้นแบบนี้ เราก็รับฟังความห่วงใยความไม่พอใจที่เราถูกกระทำ ตนเข้าใจความรู้สึกเหล่านั้น และเห็นว่าเป็นจุดมุ่งหมายเดียวกัน เพราะเรื่องอธิปไตยของประเทศ การรุกล้ำเข้ามา กระทบประชาชนเรายอมไม่ได้ ซึ่งที่ผ่านมาทุกฝ่ายจะเห็นว่าเราประนีประนอม (Compromise) ให้มากที่สุด แต่เมื่อสิ่งดังกล่าวไม่เกิดขึ้น และเป็นปัญหา วันนี้จึงได้สั่งการให้ทหารมีอิสระในพื้นที่ โดยผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) เป็นผู้คุมยุทธการ ปฏิบัติได้ตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้น รวมถึงได้มีการทำความเข้าใจกับ พลเอก ณัฐพล นาคพาณิชย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม ในฐานะรักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม มีการโทรคุยกับผู้บัญชาการทหารสูงสุด […]

เข้าสู่วันที่ 2 กัมพูชาเปิดฉากตั้งแต่เช้ามืด ที่ปราสาทตาเมือนธม

สุรินทร์ 25 ก.ค.-เข้าสู่วันที่ 2 เหตุปะทะไทย-กัมพูชา เริ่มเปิดฉากยิงกันตั้งแต่เช้ามืด บริเวณปราสาทตาเมือนธม และปราสาทตาควาย อ.พนมดงรัก จ.สุรินทร์ ขณะนี้เสียงยังดังต่อเนื่อง ก่อนขยายการสู้รบไปตลอดแนวชายแดนไทย-กัมพูชา ด้านอีสานใต้ อำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์ เป็นพื้นที่แรกที่ฝ่ายกัมพูชาเปิดฉากยิงก่อนด้านปราสาทตาเมือนครับ เช้ามืดวันนี้ ราวตี 5 ครึ่ง ก็เริ่มปะทะกันอีก ขณะนี้ก็มีเสียงดังอย่างต่อเนื่อง เส้นทางจากอำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ เข้าสู่อำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์ แม้สายแล้ว ก็มีรถสัญจรไปมาค่อนข้างน้อย เนื่องจากเป็นพื้นที่เสี่ยงภัยการสู้รบ โดยอำเภอพนมดงรักเป็นหนึ่งใน 4 อำเภอ ที่ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ ประกาศให้ผู้ที่ไม่มีความจำเป็นเข้าพื้นที่ร่วมกับอำเภอกาบเชิง บัวเชดและสังขะ โดยตลอดช่วงเช้าที่ผ่านมา ในพื้นที่ตามแนวชายแดนได้ยินเสียงการปะทะด้วยกระสุนปืนใหญ่ดังอย่างต่อเนื่อง ผู้นำหมู่บ้านบันทึกสถิติเฉพาะฝั่งไทยตอบโต้เกินกว่า 100 ลูกแล้ว บ้านหนองแรด ตำบลบักได อำเภอพนมดงรัก ที่จรวดหลายลำกล้อง BM 21 ตกเยอะสุด 10 ลูก วานนี้โดยรอบหมู่บ้าน โชคดีไม่ลงบ้านเรือน มีกระจกแตกเล็กน้อยจากแรงอัดลูกจรวดเท่านั้น วันนี้ ยังมีชาวบ้านอยู่นับร้อยคนหลบอยู่ในหลุมหลบภัย จากทั้งหมด […]

เปิดศูนย์พักพิงชั่วคราวรองรับประชาชนพื้นที่เสี่ยงภัยชายแดน

ศรีสะเกษ 24 ก.ค. – บรรยากาศคืนแรกที่ศูนย์อพยพฯ อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ ประชาชนต้องละทิ้งบ้านเรือนมาพักอาศัยชั่วคราว จากเหตุปะทะตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา นี่เป็นบรรยากาศค่ำคืนแรกที่ประชาชนในเขต อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ ต้องออกมาพักอาศัยนอกบ้านเรือน ตั้งแต่เกิดเหตุกัมพูชายิงจรวดเข้าใส่เขตพักอาศัยของพลเรือน ซึ่งเป็นการละเมิดข้อตกลงระหว่างประเทศ ทำให้ตลอดทั้งวัน อ.กันทรลักษ์ มีการอพยพประชาชนแล้วมากกว่า 41,000 คน กระจายไปตามจุดต่างๆ โดยจุดนี้เป็นจุดที่น่าจะมีผู้อพยพมากที่สุด เพราะใกล้แนวชายแดนที่อยู่ในระยะปลอดภัยมากที่สุด คือ ประมาณ 40 กิโลเมตร จากแนวชายแดน มีประชาชนเข้ามาพักอาศัย 4,865 คน และยังมีจุดอื่นๆ ที่ใกล้เคียงกระจายกันไป ผลจากสถานการณ์ตึงเครียดและพลเรือนตกเป็นเป้าของการโจมตี ทำให้หลายคนอยู่ในอาการเครียดและกังวล เจ้าหน้าที่ต้องมีการประชาสัมพันธ์ให้กำลังใจเป็นระยะ รวมทั้งให้บริการยาและอุปกรณ์ต่างๆ ที่จำเป็นเบื้องต้น พร้อมกันนี้ได้ย้ำให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของนายอนุพงศ์ สุขสมนิตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ ที่ได้ฝากแจ้งประชาชนที่ยังลังเลไม่ยอมอพยพออกจากพื้นที่ เนื่องจากเป็นห่วงทรัพย์สินหรือสัตว์เลี้ยง ว่า ขณะนี้มีชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน (ชรบ.) ผู้ใหญ่บ้าน และกำนัน ดูแลพื้นที่อย่างใกล้ชิดทุกหมู่บ้าน จึงขอให้ทุกคนให้ความร่วมมือ และออกมาจากพื้นที่เสี่ยงตามจุดนัดหมาย เพื่อความปลอดภัยของตนเองและครอบครัว. – สำนักข่าวไทย

ข่าวแนะนำ

เชิญธงชาติไทยขึ้นสู่ยอด “ภูมะเขือ” กองทัพยึดคืนพื้นที่เบ็ดเสร็จ

26 ก.ค.- ธงชาติไทยโบกสะบัด! ปักยอด “ภูมะเขือ” หลังทหารไทยเปิดปฏิบัติการเข้าตียึดพื้นที่คืนจากฝ่ายกัมพูชาสำเร็จช่วงเย็นวานนี้ กองทัพบกได้รับรายงานจากกองทัพภาคที่ 2 ว่า เมื่อเวลา 09.20 น. ได้มีการเชิญธงชาติไทยขึ้นสู่ยอดภูมะเขือ หลังจากที่ทหารไทยได้เปิดปฏิบัติการเข้าตียึดพื้นที่ภูมะเขือ ซึ่งเป็นบริเวณที่ฝ่ายทหารกัมพูชาได้วางกำลังไว้อย่างหนาแน่น และสามารถยึดพื้นที่ได้สำเร็จเมื่อช่วงเย็นของเมื่อวานนี้ อย่างไรก็ตาม ยังคงมีความพยายามจากฝ่ายกัมพูชาในการเข้าตีเพื่อแย่งยึดพื้นที่คืนอย่างต่อเนื่อง โดยได้มีการระดมยิงปืนใหญ่และเตรียมการจัดกำลังเข้าตีตอบโต้ฝ่ายไทย -สำนักข่าวไทย

นาวิกโยธินคุมพื้นที่ได้ทั้งหมด ตอบโต้ทหารกัมพูชาหนีกระเจิง

26 ก.ค.- เหตุปะทะชายแดนตราด ทหารนาวิกโยธิน ตอบโต้ทหารกัมพูชาหนีกระเจิง ถอยร่นออกจากพื้นที่อธิปไตยไทย ส่วนประชาชนอพยพไปที่ปลอดภัย เมื่อเวลา 07.30 น. วันที่ 26 ก.ค.69 รายงานข่าวจากหน่วยความมั่นคงจังหวัดตราด เปิดเผยว่าถึงสถานการณ์ บริเวณบ้านชำราก จ.ตราด ทหารกัมพูชา ได้วางกำลังรุกล้ำเขตแดนไทย 3 จุดเปิดฉากยิงทหารไทย เมื่อช่วงเช้ามืดที่ผ่านมา โดยกำลังทหารนาวิกโยธิน ได้เปิดยุทธการ “ตราดพิฆาตไพรี1” จนสามารถควบคุมพื้นที่ได้ทั้งหมด ผลักดันกำลังทหารกัมพูชา ออกนอกพื้นที่ ไม่มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต ส่วนประชาชนพื้นที่ อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด ได้อพยพไปพื้นที่ปลอดภัย ในอำเภอเมืองตราด ประมาณ 75 เปอร์เซนต์เมื่อวันที่ 24-25 ก.ค.68 -สำนักข่าวไทย

กรมอุตุฯ เผย “เหนือ-อีสาน” ยังมีฝนตกหนักบางแห่ง

กทม. 26 ก.ค.- กรมอุตุฯ เผย “เหนือ-อีสาน” ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่ง เตือน 7 จังหวัดรับมือ อาจเกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่ง กรมอุตุนิยมวิทยาเผยประเทศไทยตอนบนยังคงมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเฉพาะบริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ตาก บึงกาฬ สกลนคร นครพนม และมุกดาหาร ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่ง โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม ทั้งนี้เนื่องจากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ในขณะที่มีหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบน และอ่าวไทยตอนบนมีกำลังปานกลาง โดยมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่างมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง อนึ่ง พายุโซนร้อน “ก๋อมัย” บริเวณมหาสมุทรแปซิฟิก มีแนวโน้มเคลื่อนตัวไปทางตอนใต้ของประเทศญี่ปุ่น โดยพายุนี้ไม่เคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทย.- สำนักข่าวไทย

9 ทันโลก : แจงด่วน! คณะมนตรีความมั่นคง ไทยนี้รักสงบ

25 ก.ค. – นายมาริษ เสงี่ยมพงษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ จะร่วมประชุมคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ตามที่กัมพูชาร้องขอไว้ รายงาน 9 ทันโลก พาไปติดตามบทบาทและโอกาสของไทยบนเวทีสำคัญนี้ ไทยในฐานะสมาชิกสหประชาชาตินานเกือบ 80 ปี จะได้แสดงบทบาทอีกครั้งในคณะมนตรีความมั่นคง ซึ่งเป็นโอกาสสำคัญในการสื่อสารกับประชาคมโลก ถึงการกระทำของกัมพูชา ซึ่งเป็นการละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศหลายด้าน รวมถึงกฎบัตรสหประชาชาติที่ไทยยึดมั่น ในห้องประชุมนี้ ไทยในฐานะสมาชิกสหประชาชาติ ลำดับที่ 55 จะทำหน้าที่อีกครั้งในภารกิจด้านสันติภาพ ตั้งแต่เข้าเป็นสมาชิกเมื่อปี 2489 ที่นี่ไทยเคยทำหน้าที่ประธานการประชุมคณะมนตรีความมั่นคง โดยพลอากาศเอก สิทธิ เศวตศิลา และหม่อมหลวง พีระพงศ์ เกษมศรี ทำหน้าที่สองวาระ ในปี 2528 และ 2529 ในเวลาที่สงครามเย็นคุกรุ่น มาในวันนี้ไทยกำลังจะมีโอกาสอันดีที่ได้ใช้ช่องทางการทูตสำคัญ เสาหลักความมั่นคงของสหประชาชาติ ในอีกบทบาทหนึ่งที่ยังคงอยู่บนพื้นฐานการแสวงหาสันติภาพตามกลไกนี้ เมื่อประเทศสมาชิก ในกรณีนี้คือกัมพูชา ร้องขอให้เปิดประชุมเร่งด่วน สมาชิกคณะมนตรีซึ่งมีสมาชิกถาวร 5 ประเทศ และสมาชิกไม่ถาวร 10 ประเทศ พิจารณากรณีที่เป็นภัยคุกคามใดต่อสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ เช่น กรณีการปะทะระหว่างไทยกับกัมพูชา […]