“พรเพชร” พอใจผลงานวุฒิสภา ระบุทำได้ดี

รัฐสภา 30 ธ.ค. – “พรเพชร” พอใจผลงานวุฒิสภา ระบุทำได้ดี แต่ไม่พอใจผลงานปฏิรูปประเทศ


นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานวุฒิสภา กล่าวถึงแนวทางการทำงานของ ส.ว. ในปี 2566 ก่อนจะหมดวาระว่า ก่อนครบ 5 ปี การทำงานของ ส.ว. เหลืออีกปีเศษๆ ซึ่งเรียนสมาชิกแล้วว่าคงจะมีการเปลี่ยนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) จำนวน 500 คนใหม่ และต้องทำงานร่วมกับ ส.ส. ทั้ง 500 คน และพรรคการเมือง ซึ่งยังไม่รู้ว่าพรรคไหนจะได้คะแนนเสียงมาก และประธานรัฐสภาจะมาจากพรรคไหน ยังไม่ทราบแน่นอน แต่เราพร้อมให้ความร่วมมือ ประสบการณ์ที่ผ่านมา 3-4 ปี คิดว่าจากทำงานและประสานงานกับ ส.ส. ให้ได้กฎหมายที่ดี และญัตติต่างๆ ที่ 2 สภาฯ เสนอร่วมกัน และเสนอตามขั้นตอนก็มี เพราะกฎหมายส่วนใหญ่จะดำเนินไปตามขั้นตอน คือ สภาฯ พิจารณาก่อน และถึงจะเข้าวุฒิสภา ซึ่งจะเห็นได้ว่าวุฒิสภามีส่วนในการแก้ไขและตกลงกันได้แทบทุกฉบับ ซึ่งเป็นระบบคิดว่าประเทศไทยพัฒนากฎหมายมาเช่นนี้จะได้กฎหมายที่ดีออกมาบังคับใช้แก่ประชาชน แต่ถ้ามีเรื่องที่ที่มีปัญหามากอาจจะไม่ผ่าน ก็ต้องยอมรับ

เมื่อถามถึงการปฏิรูปประเทศที่ทางวุฒิสภาต้องดำเนินการแต่ถูกวิจารณ์ว่ายังไม่ไปถึงไหน นายพรเพชร กล่าวว่า ในส่วนนี้เราต้องยอมรับว่ากฎหมายเกี่ยวกับการปฏิรูปประเทศมีบางส่วนที่ได้ผ่านไปบ้างแล้ว เช่น เรื่องการปฏิรูปด้านตำรวจ แต่เท่าที่ตนทราบยังไม่เป็นที่พอใจ ส่วนเรื่อง พ.ร.บ.การศึกษา ที่จะเข้าที่ประชุมร่วมรัฐสภาในวันที่ 10-11 ม.ค. 66 ขณะร่างมายังไม่พอใจ แต่ถ้าเป็นเรื่องที่สั้นหน่อยก็ผ่านไปได้ เช่น กฎหมายที่เกี่ยวกับการซ้อมทรมาน ความจริงกฎหมายฉบับนี้เริ่มต้นจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ตอนนี้พยายามจะทำให้เสร็จ แต่เป็นที่ทราบกันดีว่ากฎหมายนี้กระทบกับการกระทำกับเจ้าหน้าที่ สมัย สนช. จึงต้องระวัง แต่เมื่อเอามาเข้าที่ประชุมร่วมรัฐสภาก็ไปด้วยกันได้ราบลื่น แม้จะมีการเปลี่ยนแปลงบ้าง เราทราบดีว่าทางสภาฯ ต้องยึดประชาชนเป็นหลัก ซึ่งเป็นสิ่งที่ถูกต้อง แต่วุฒิสภาต้องพิจารณาด้วยว่าบางเรื่องต้องเข้าใจเจ้าหน้าที่ที่ต้องมีอำนาจบางอย่างแต่ถ้าอำนาจเกินเลยก็ต้องดูเพื่อไม่ให้อำนาจเกินไป รวมถึงกฎหมายทำแท้งก็ผ่านไปได้ด้วยดี


เมื่อถามว่าใกล้ครบ 5 ปีอายุของ ส.ว. แล้ว การติดตามเรื่องการปฏิรูปจะไปทางไหน เพราะมีการมองว่า ส.ว. ไม่มีบทบาทเต็มที่เรื่องการปฏิรูป นายพรเพชร กล่าวว่า เรื่องนี้ พล.อ.สิงห์ศึก สิงห์ไพร รองประธานวุฒิสภาคนที่หนึ่ง เคร่งครัดมาก ในการที่จะให้เป็นไปตามแผนปฏิรูปประเทศที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญและในกฎหมาย ในส่วนของกฎหมายยังไม่เป็นที่พอใจ แต่ในส่วนที่ต้องดำเนินการโดยไม่ต้องใช้กฎหมายก็มีเยอะ ส่วนนี้เป็นส่วนที่ยาก แต่ได้มีการเชิญมาซักถาม ทำไปถึงไหน เป็นอย่างไร ทำไมไม่ทำ ซึ่งเรายังมีเวลาในการดูสิ่งเหล่านี้เพื่อให้ประสบผลสำเร็จ อาจจะไม่ร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่ต้องได้ผลประโยชน์ตามที่รัฐธรรมนูญเขียนไว้ ซึ่งในรัฐบาล คสช. ตั้งใจที่จะให้มีสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้น จึงได้เขียนไว้ในรัฐธรรมนูญ และเมื่อเป็นความตั้งใจ ตนเข้าใจว่าองค์กรหรือหน่วยราชการต่างๆ อาจจะไม่คุ้นเคยกับสิ่งเหล่านี้ คิดว่าเป็นเรื่องธรรมดา ตามที่มีการชี้แจงทุกปีตลอดมา

“เรื่องนี้วุฒิสภาให้ความสำคัญมาก และเท่าที่ตนดูสมาชิกวุฒิสภาบางส่วนมาจากสภาปฏิรูปประเทศ (สปท.) ก็เข้มแข็งและพยายามที่จะดูสิ่งเหล่านี้ และคิดว่าคงต้องดำเนินการต่อไป แม้จะเป็นช่วงปิดสมัยประชุม และรอรัฐบาลชุดใหม่มา ตนก็บอกกับสมาชิกว่าเราต้องทำงานต่อ แม้ว่างานด้านนิติบัญญัติจะยังทำไม่ได้ เพราะสภาฯ ยังไม่มี แต่หากมีเรื่องที่สำคัญจริงๆ สามารถให้มีการเปิดสภาฯ ได้ในบางขั้นตอน แต่ก็ยาก จึงต้องไปเน้นในเรื่องการปฏิบัติ เช่น ปฏิบัติต่อหน่วยราชการต่างๆ รับฟังความคิดเห็นของประชาชน ซึ่งต้องอยู่ในขอบเขตจำกัด และต้องหยุดไปก่อน เพราะพรรคการเมืองต่างๆ เขาหาเสียงกัน เมื่อได้สภาฯ ใหม่เราค่อยดำเนินการไปหาประชาชนต่อ” นายพรเพชร กล่าว

เมื่อถามต่อว่าพอใจกับผลงานของวุฒิสภาตลอดปี 65 รวมถึงการทำงานของตัวเอง ประธานวุฒิสภาเอง นายพรเพชร กล่าวว่า ตนประเมินว่าทำได้ดี อาจจะมีที่จะถูกวิจารณ์ว่าไม่ผ่านมีเฉพาะกฎหมายรัฐธรรมนูญ ซึ่งผ่านไปเพียงเรื่องระบบเลือกตั้ง จึงเป็นเรื่องที่ต้องพัฒนากันต่อไป ซึ่งตนยอมรับว่าประชาชนหรือผู้ที่เห็นว่ากฎหมายที่ไม่ผ่านเป็นต้นเหตุมาจากรัฐธรรมนูญที่ีให้อำนาจ ส.ว. 1 ใน 3 จริงๆ แล้วบางครั้งที่กฎหมายไม่ผ่านก็ไม่ได้เกี่ยวกับเสียงของ ส.ว. 1 ใน 3 เพราะบางครั้งเสียง ส.ว. ก็ไม่ให้ผ่านเลย


เมื่อถามว่าเสียง ส.ว. ที่ไม่ให้กฎหมายผ่าน เป็นเพราะ ส.ว. มาจากการแต่งตั้งของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) หรือไม่ นายพรเพชร กล่าวว่า ตั้งแต่ตนมาเป็นประธานวุฒิสภา หลายคนเข้าใจว่าตนสามารถสั่งการได้ แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่ สมาชิกเลือกตนมาในแง่ที่ตนมีประสบการณ์ในเรื่องนิติบัญญัติ ตั้งแต่สมัยอายุยังน้อย เขาก็ไว้วางใจให้ตนทำงานด้านนี้ ส่วนการเป็นวิปวุฒิสภา ตนไม่ทราบว่าวิปวุฒิสภามีแค่ไหน เพียงใด คงวิปได้เป็นกลุ่มๆ เพราะถ้าเห็นด้วยกันก็คงจะไปในแนวทางเดียวกัน แต่ตนมั่นใจว่า ส.ว. ไม่ไปทางเดียวกันตลอด.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

โค้งสุดท้ายเลือกตั้ง นายก อบจ.อุบลฯ เดือด ส่งท้ายปี

ใกล้เข้ามาทุกขณะสำหรับการเลือกตั้งนายก อบจ.อุบลราชธานี วันอาทิตย์ที่ 22 ธันวาคมนี้ ซึ่งถือเป็นสนามเลือกตั้งท้องถิ่นขนาดใหญ่ส่งท้ายปีนี้ การแข่งขันดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครต่างเร่งหาเสียงกันอย่างเต็มที่ โดยมีผู้สมัคร 4 คน ลงชิงชัย ไปติดตามบรรยากาศโค้งสุดท้ายว่าใครจะเป็นผู้คว้าชัย

ทอ.ส่ง F-16 ขึ้นบินป้องน่านฟ้า หลังมีอากาศยานไม่ทราบฝ่าย เหนือชายแดนไทย-เมียนมา

กองทัพอากาศส่งเครื่องบินขับไล่ F-16 ขึ้นบิน เพื่อพิสูจน์ฝ่ายและสกัดกั้นอากาศยานไม่ทราบฝ่าย บริเวณแนวชายแดนไทย-เมียนมา จ.ตาก

อุตุฯ เผยอีสาน-เหนือ อากาศหนาว กทม.อุณหภูมิลดลงเล็กน้อย

กรมอุตุฯ เผยภาคอีสาน ภาคเหนือ มีอากาศเย็นถึงหนาว ส่วนภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคใต้ตอนบน มีอากาศเย็นในตอนเช้า ส่วนกรุงเทพฯ-ปริมณฑล อุณหภูมิลดลงเล็กน้อย ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศหนาวเย็น

lightened Christmas tree in front of U.S. Capitol

รู้จัก “ชัตดาวน์” ของสหรัฐและผลกระทบ

วอชิงตัน 20 ธ.ค.- หน่วยงานจำนวนมากของรัฐบาลสหรัฐเสี่ยงต้องปิดทำการชั่วคราว หรือที่เรียกว่า กัฟเวิร์นเมนต์ ชัตดาวน์ (government shutdown) หลังผ่านพ้นเที่ยงคืนวันนี้ (20 ธันวาคม) ตามเวลาสหรัฐ หากรัฐสภาไม่สามารถผ่านร่างงบประมาณฉบับใหม่ได้ทันเวลา หลังจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐลงมติไม่เห็นชอบร่างงบประมาณฉบับใหม่เมื่อวานนี้ สาเหตุที่เสี่ยงชัตดาวน์ ปกติแล้วรัฐสภาสหรัฐ ซึ่งประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาจะต้องจัดสรรงบประมาณให้แก่หน่วยงานรัฐบาลกลางทั้งหมด 438 แห่งก่อนวันที่ 1 ตุลาคมของทุกปี แต่ที่ผ่านมาสมาชิกรัฐสภามักทำไม่ได้ตามกำหนดเวลา และมักผ่านร่างงบประมาณชั่วคราวเพื่อให้หน่วยงานรัฐบาลสามารถดำเนินการได้ต่อไปในระหว่างที่สมาชิกรัฐสภาหารือกันเพื่อผ่านร่างงบประมาณจริง ร่างงบประมาณชั่วคราวฉบับปัจจุบันจะหมดอายุเมื่อเข้าสู่เช้าวันเสาร์ตามเวลาสหรัฐ สมาชิกรัฐสภาพรรครีพับลิกันและพรรคเดโมแครตเตรียมร่างกฎหมายที่จะขยายเวลาไปจนถึงวันที่ 14 มีนาคม 2568 แต่นายโดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีเรียกร้องให้สมาชิกรัฐสภาพรรครีพับลิกันลงมติไม่เห็นด้วย และเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐลงมติไม่เห็นชอบร่างงบประมาณที่เสนอใหม่ ดังนั้นหากรัฐสภาไม่สามารถผ่านร่างงบประมาณฉบับใหม่ได้ก่อนที่ร่างงบประมาณชั่วคราวฉบับปัจจุบันจะหมดอายุ ก็จะเกิดการชัตดาวน์ เพดานหนี้ที่ทรัมป์ต้องการให้แก้ นายทรัมป์ยังต้องการให้สมาชิกรัฐสภาแก้ปัญหาเรื่องการกำหนดเพดานหนี้ประเทศให้รัฐบาลสามารถกู้ยืมได้มากขึ้น ก่อนที่เขาจะสาบานตนรับตำแหน่งประธานาธิบดีในวันที่ 20 มกราคม 2568 รัฐสภาสหรัฐเป็นผู้กำหนดเพดานหนี้สาธารณะที่อนุญาตให้รัฐบาลก่อหนี้ แต่เนื่องจากรัฐบาลมักใช้จ่ายมากกว่ารายได้ที่ได้จากการจัดเก็บภาษี สมาชิกรัฐสภาจึงต้องคอยแก้ปัญหานี้เป็นครั้งคราว รัฐสภาสหรัฐกำหนดเพดานหนี้สาธารณะครั้งแรกในปี 2482 โดยกำหนดไว้ที่ 45,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 1.55 ล้านล้านบาทในปัจจุบัน) และนับจากนั้นเป็นต้นมาได้ขยายเพดานหนี้แล้วทั้งหมด 103 […]

ข่าวแนะนำ

ฟรีคอนเสิร์ต “มหานครคัลเลอร์ฟูลปาร์ตี้ 2025” ส่งสุขรับปีใหม่

ส่งความสุขรับปีใหม่ กับฟรีคอนเสิร์ต “มหานครคัลเลอร์ฟูลปาร์ตี้ 2025” ศิลปินลูกทุ่งเกือบ 100 ชีวิต ร่วมโชว์จัดเต็ม

เลือกตั้งนายก อบจ.อุบลฯ “กานต์” ส่อเข้าป้าย

เลือกตั้งนายก อบจ.อุบลราชธานี “กานต์” หมายเลข 1 จากเพื่อไทย ส่อเข้าป้าย ด้าน ปชน. แถลงยอมรับยังไม่เป็นที่ไว้วางใจ ส่วนอุตรดิตถ์ “ชัยศิริ” อดีตนายก อบจ. ส่อเข้าวิน

เด้ง ตร.จราจร ปมคลิปรับเงินแลกไม่เขียนใบสั่ง

ผบก.ภ.จว.นนทบุรี สั่งย้าย “รอง สว.จร.สภ.รัตนาธิเบศร์” เซ่นคลิปรับเงินแลกไม่ออกใบสั่ง พร้อมตั้งกรรมการสอบข้อเท็จจริงภายใน 3 วัน ด้านเจ้าตัวอ้างไม่เห็นเงินที่วางบนโต๊ะในตู้ควบคุมสัญญาณไฟจราจร