คลังเตรียมกฎหมายรองรับภาษีที่ดินฉบับใหม่

รร.ดิเอ็มเมอรัล 12 ก.พ. – คลังร่วมกับหลายหน่วยงานเตรียมกฎหมายรองรับภาษีที่ดินฉบับใหม่  ขณะที่เอกชน-นักวิชาการหวั่นเกิดพฤติกรรมการเปลี่ยนแปลงใช้ประโยชน์ที่ดินครั้งใหญ่  ยอมรับชาวบ้านยังกังวล อปท.จัดเก็บภาษี คลังยืนยันยื่นอุทธรณ์มีขั้นตอนคานอำนาจ อปท. 


นายวิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวในงานสัมมนา “ร่าง พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง” ว่า ร่าง พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเตรียมเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) พิจารณาวาระ 2,3 ช่วงเดือนมีนาคมนี้ ยืนยันว่าอัตราการจัดเก็บจริงไม่เปลี่ยนแปลงตามที่หารือในระดับกรรมาธิการ และคาดว่าจะมีผลบังคับใช้ปี 2562 ตามกำหนด และขณะนี้หลายหน่วยงานเร่งเตรียมความพร้อมยกร่างกฎหมายรองอีกหลายฉบับ เพื่อรองรับการจัดเก็บจริง  ซึ่งกำหนดแนวทางปฏิบัติแต่ละหน่วยงาน เช่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) และหน่วยงานอื่น เรื่องค่าเสื่อมราคา ดังนั้น ในช่วงระยะเวลา 120 วัน หลังกฎหมายบังคับใช้จะดำเนินการได้ทันตามกำหนด  ยอมรับว่าเดิมรัฐบาลจัดเก็บภาษีโรงเรือนประมาณ 30,000 ล้านบาทต่อปี ภาษีฉบับใหม่รายได้เพิ่มขึ้นประมาณ 2,500 ล้านบาท นับว่ารายย่อยแทบไม่มีผลกระทบ เพราะส่วนใหญ่เป็นกลุ่มเชิงพาณิชย์และอุตสาหกรรม สำหรับการยกเว้นภาษีเกษตรไม่เกิน 50 ล้านบาท ในแต่ละพื้นที่ของ อปท. เพราะเป็นการจัดเก็บแต่ละพื้นที่ ไม่ได้นับรวมว่าใครมีที่ดินจังหวัดใดบ้าง  

นายชินภัทร วิทธิแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษีอากร บริษัท สำนักกฎหมาย สยามซิตี้ กำจัด กล่าวว่า เมื่อกฎหมายที่ดินฯ มีผลบังคับใช้จะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมากต่อการใช้ประโยชน์หลายอย่าง เช่น เจ้าของบ้านที่นิยมสร้างบ้านหลายหลัง หลายพื้นที่ จะรวมมาเป็นบ้านหลังใหญ่แทนการสร้างบ้านหลายหลัง  ตลาดบ้านมือสองจะเติบโตขึ้น การปล่อยที่ดินว่างเปล่าไม่ได้ทำประโยชน์จะถูกเก็บภาษีสูงขึ้นร้อยละ 3   ภาระสูงสุดถึง 150,000  บาทต่อปี บางครั้งอาจเปิดให้ภาครัฐนำไปใช้ประโยชน์ เช่น สนามกีฬา สนามเด็กเล่น ถนน ลานคอนกรีต บ่อบัดน้ำเสีย เพราะได้รับการยกเว้นภาษี แต่ต้องกำหนดระยะเวลา การใช้ประโยชน์ไม่โอนกรรมสิทธิ์


ทั้งนี้ ยอมรับว่าที่ดินเกษตรฯ และที่ดินรกร้างมีสัดส่วนถึงร้อยละ 45 ที่ดินของรัฐ เช่น แม่น้ำ ลำคลอง สัดส่วนร้อยละ 50 จึงมองเห็นภาพว่าที่ดินเกษตรฯ และที่ดินรกร้างต้องบริหารจัดการเปลี่ยนแปลงมากที่สุด หากมูลค่าสูงต้องเสียภาษี และหากต้องให้เช่าที่ดินทำนาระวังเวลาขายที่ดินต้องแจ้งชาวนาผู้เช่าให้สิทธิ์ได้ซื้อก่อนราคาตลาด เพราะมีกฎหมายรองรับไม่เช่นนั้นผิดกฎหมายการเช่านา เจ้าของที่ดินควรทำนาเองในรูปแบบการจ้างทำนา เจ้าของที่ดินบางรายอาจเปลี่ยนที่ดินโยกไปอยู่ในรูปหุ้นของบริษัท เพราะที่ดินชำระมูลค่าหุ้นได้ เพื่อเปลี่ยนไปถือในรูปหุ้นของบริษัทแทนการถือครองที่ดิน 

นายพรชัย ฐีระเวช ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการคลัง สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กล่าวว่า  อปท.ต้องสำรวจที่ดินว่าชาวบ้านใช้ประโยน์จากที่ดินอย่างไรบ้าง และติดประกาศไว้เพื่อให้เจ้าของมายืนยันการใช้ประโยชน์ที่ดิน เช่น ร้านก๋วยเตี๋ยวในตึกแถว หากใช้ประโยชน์เปิดร้านค้าแค่ชั้นล่างต้องเสียภาษีเชิงพาณิชย์เพียงชั้นเดียว ส่วนชั้น 2, 3 ใช้อยู่อาศัย ประเมินเป็นที่อยู่อาศัย หากเจ้าของไม่พอใจยื่นอุทธรณ์การประเมินภาษีประจำจังหวัดได้  ส่วนกรณี อปท.ประเมินภาษีได้เองนั้น ได้ตั้งคณะกรรมการเข้ามาคานอำนาจไม่ให้ อปท.คิดภาษีตามอำเภอใจกับผู้เสียภาษีรายใดรายหนึ่งได้  เพื่อคานอำนาจ ทั้งการประชาคมในท้องถิ่น สภาท้องถิ่นอนุมัติและเสนอคณะกรรมการในระดับจังหวัด  

สำหรับอัตราภาษีเสนอโดย กมธ. กรณีที่ดินเกษตรกรรมที่เจ้าของเป็นบุคคลธรรมดา มูลค่าที่ดินไม่เกิน 50 ล้านบาท ได้รับยกเว้นภาษี , มูลค่า  50-75 ล้านบาท เก็บร้อยละ 0.01 , 75-100 ล้านบาท เก็บร้อยละ 0.03 , 100-500 ล้านบาท เก็บร้อยละ 0.05 , 500-1,000 ล้านบาท เก็บร้อยละ 0.07 ส่วนที่ดินเกษตรกรรมที่เจ้าของเป็นนิติบุคคล มูลค่าที่ดินระหว่าง 0-75 ล้านบาท เก็บร้อยละ 0.01 , 75-100 ล้านบาท เก็บร้อยละ 0.03 , 100-500 ล้านบาท เก็บร้อยละ 0.05 , 500-1,000 ล้านบาท เก็บร้อยละ 0.07 และเกิน 1,000 ล้านบาท เก็บร้อยละ 0.10 คำนวณโดยมูลค่า 1 ล้านบาท หากอัตราร้อยละ 0.01 เสียภาษี 100 บาทต่อปี 


นายพรชัย กล่าวอีกว่า กรณีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ใช้เป็นที่อยู่อาศัยหลัก เจ้าของต้องเป็นบุคคลธรรมดาที่มีชื่อในโฉนดและทะเบียนบ้านตั้งแต่วันที่ 1 มกราคมของปีภาษี หากมูลค่าทรัพย์สินไม่เกิน 20 ล้านบาท ได้รับยกเว้นภาษี (ถ้าเป็นเจ้าของสิ่งปลูกสร้าง แต่ไม่เป็นเจ้าของที่ดินจะได้รับยกเว้นภาษีในกรณีมูลค่าทรัพย์สินไม่เกิน 10 ล้านบาท), 20-50 ล้านบาท เก็บร้อยละ 0.02 , 50-75 ล้านบาท เก็บร้อยละ 0.03 , 75-100 ล้านบาท จัดเก็บร้อยละ 0.05 และมากกว่า 100 ล้านบาท เก็บร้อยละ  0.10  ส่วนที่อยู่อาศัยหลังอื่น ๆ หากราคาไม่เกิน 50 ล้านบาท เก็บร้อยละ  0.02 , 50-75 ล้านบาท เก็บร้อยละ 0.03 , 75-100 ล้านบาท เก็บร้อยละ  0.05  และมากกว่า 100 ล้านบาท เก็บร้อยละ 0.1 

ส่วนที่ดินประเภทอื่น ๆ ทั้งเพื่อการพาณิชย์และอุตสาหกรรม รวมถึงที่รกร้างว่างเปล่าที่ไม่ได้ทำประโยชน์ ถ้ามูลค่า 0-50 ล้านบาท จะเก็บร้อยละ 0.3 , 50-200 ล้านบาท เก็บร้อยละ 0.4 , 200-1,000 ล้านบาท เก็บร้อยละ 0.5 , 1,000-5,000 ล้านบาท เก็บร้อยละ 0.6  และมากกว่า 5,000 ล้านบาท เก็บร้อยละ  0.7 โดยในกรณีที่ดินรกร้างว่างเปล่าจะมีการปรับเพิ่มร้อยละ 0.3  ทุก 3 ปี แต่ไม่เกินร้อยละ 3 

นายอธิป พีชานนท์ ประธานคณะกรรมการพัฒนาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์  ยอมรับว่า  ภาคเอกชนเป็นห่วงผลกระทบที่จะเกิดจากการใช้กฎหมายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เพราะจากผลการสำรวจความเข้าใจกฎหมายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งจะบังคับใช้ต้นปี 2562 ส่วนใหญ่ยังไม่มีความเข้าใจและไม่มีความพร้อมกับภาระภาษีที่จะเพิ่มขึ้น  โดยเฉพาะอัตราจัดเก็บจริงต้องเสีย ยังมีความซับซ้อนในการจัดเก็บและวิธีการจัดเก็บ มีการกำหนดเพดานอัตราจัดเก็บจริง ทำให้ทั้งเอกชน ประชาชน เกษตรไม่เข้าใจ  จึงมองว่า  อัตราการจัดเก็บควรเป็นอัตราเดียว แต่เป็นอัตราที่ยอมรับได้และไม่เป็นภาระกับทุกฝ่าย

นอกจากนี้ ยังเป็นห่วงกลุ่มผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่จะต้องรับภาระอัตราภาษีที่เพิ่มขึ้น เพราะปัจจุบันต้องรับภาระจากต้นทุนค่าแรงที่สูงขึ้น ซึ่งบางรายอาจจะรับภาระไม่ไหวและความไม่โปร่งใส่ในการประเมินในการใช้ประโยชน์ของที่ดินที่ยังต้องใช้ดุลพินิจของ อปท.เข้ามาพิจารณา โดยเฉพาะที่ดินการเกษตรและรกร้าง วิธีการกำหนดเส้นแบ่งว่าจะเป็นที่ดินรกร้าง หรือ ที่ดินการเกษตร ถ้าไม่หากไม่โปร่งใสก็จะมีการหลบเลี่ยงภาษี รวมถึงสิ่งปลูกสร้างสำหรับการเช่า เช่น อพาร์ทเม้น หอพัก เพราะหากจะจดทะเบียนกับกรมที่ดิน จะต้องมีการเช่าอย่างน้อย 3 ปี ขัดกับความจริง ซึ่งถูกตีความว่าเป็นการให้เช่าเพื่อการพาณิชย์ ทำให้ต้องเสียภาษีสูงขึ้น และจะต้องผลักภาระไปยังผู้เช่าแทน 

ขณะเดียวกันยังกังวลผลกระทบต่อเกษตรกร เพราะหากบังคับใช้กฎหมายอาจทำให้นายทุนที่มีที่ดินจำนวนมากหันมาทำการเกษตร หรือก่อสร้างเชิงพาณิชย์ จนกระทบต่อสาธารณูปโภค เช่น แย่งกันใช้น้ำจากเกษตรกรในพื้นที่ และทำให้เกิดผลผลิตส่วนเกินทางการเกษตร เป็นการกระตุ้นเพื่อหลบเลี่ยงภาษี แต่ไม่เกิดจากการความต้องการของตลาด ส่วนการจัดเก็บภาษีบ้านหลังที่ 2 เชื่อว่าจะกระทบธุรกิจการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ เช่น บ้านพักตากอากาศ ที่อยู่อาศัยให้เช่าต้องมีภาระภาษีเพิ่มขึ้น.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สำนักสงฆ์หูตาทิพย์

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์”

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์” พระอ้างใช้สอนวิปัสสนากรรมฐาน เบื้องต้นอายัดไว้พิสูจน์ดีเอ็นเอ พร้อมเอาผิดหัวหน้าสำนักสงฆ์ ฐานนำศพเก็บไว้ในสถานที่ที่ไม่ใช่สุสานและฌาปนสถาน

“สนธิ” ยื่นถอด “ตั้ม-เดชา” ออกจากทนาย

“สนธิ ลิ้มทองกุล” หอบหลักฐานบุกสภาทนายความ ถอดทนายตั้ม-ทนายเดชา ออกจากทนาย ระบุ ได้รับมอบอำนาจจาก “มาดามอ้อย” แล้ว เดินหน้าเอาผิด ทนายตั้มแบบสุดซอย ไม่ให้มีคนตกเป็นเหยื่อผู้รู้กฎหมายอีก

รัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มยูเครน

ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย แถลงยืนยันว่ารัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มภาคตะวันออกยูเครนเมื่อวานนี้ ตอบโต้ที่ยูเครนใช้ขีปนาวุธที่ได้รับมอบจากสหรัฐและอังกฤษ

ข่าวแนะนำ

“โอปอล สุชาตา” รองอันดับ 3 มิสยูนิเวิร์ส 2024 เข้าพบนายกฯ

“โอปอล สุชาตา” รองอันดับ 3 มิสยูนิเวิร์ส 2024 เข้าพบ “แพทองธาร” นายกฯ ชื่นชมเป็นคนเก่ง-มองโลกบวก เป็นหน้าตาของประเทศ นำเสนอวัฒนธรรม-ซอฟต์พาวเวอร์ ผ่านการประกวด พร้อมชวนร่วมงานรัฐบาล สร้างแรงบันดาลใจเด็กๆ ขณะที่ นายกฯ เขินถูกชมว่าตัวจริงสวย

ล้มล้างการปกครอง

ศาล รธน.มีมติเสียงข้างมากไม่รับคำร้อง “ทักษิณ-พท.” ล้มล้างการปกครอง

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเสียงข้างมากไม่รับคำร้องของนายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ขอให้ศาลวินิจฉัยว่า “ทักษิณ-พรรคเพื่อไทย” ล้มล้างการปกครอง

คดีทักษิณ

ศาลรัฐธรรมนูญถกคำร้อง “ทักษิณ-เพื่อไทย” ล้มล้างฯ

จับตา ศาลรัฐธรรมนูญ “รับ/ไม่รับ” คำร้องปม “ทักษิณ-พรรคเพื่อไทย” ใช้สิทธิเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองหรือไม่