กรุงเทพฯ
3 ก.พ.- นักลงทุนคาดการณ์เฟดขึ้นดอกเบี้ยเร็วกว่าเป้าหมายเดิม หลังการจ้างงานดีขึ้น
ส่งผลเงินดอลลาร์แข็ง ตลาดหุ้นสหรัฐดิ่งแรง ส่งผลมายังค่าเงินไทยและตลาดหุ้น
บริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทย
รายงานว่า สัปดาห์ที่ผ่านมา เงินบาททรงตัวอยู่ในกรอบจำกัด โดยเงินดอลลาร์ฯ ได้รับแรงหนุนจากแรงซื้อคืนเพื่อปรับคาดการณ์ของนักลงทุนก่อนการประชุมธนาคารกลาง
สหรัฐหรือ เฟด ขณะที่ สามารถรักษาทิศทางการฟื้นตัวได้ต่อเนื่องอีกเล็กน้อย
หลังจากจากแถลงการณ์หลังการประชุมเฟดระบุถึงการปรับตัวขึ้นของเงินเฟ้อสหรัฐฯ เข้าใกล้เป้าหมายที่ร้อยละ
2 ในปีนี้
ซึ่งทำให้ตลาดประเมินว่า
เฟดมีโอกาสที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมนโยบายการเงินในเดือนมี.ค. นี้
นอกจากนี้
สถานะขายสุทธิพันธบัตรไทยของนักลงทุนต่างชาติ
ก็อาจช่วยชะลอแรงกดดันด้านแข็งค่าของเงินบาทไว้ได้บางส่วน โดยในวันศุกร์ (2 ก.พ.) เงินบาทอยู่ที่ 31.37
บาทต่อดอลลาร์ฯ เทียบกับระดับ 31.36 บาทต่อดอลลาร์ฯ ในวันศุกร์ก่อนหน้า (26 ม.ค.)
ด้านดัชนีตลาดหุ้นไทยแกว่งตัวตามปัจจัยภายนอกประเทศ โดยดัชนี SET ปิดที่ระดับ 1,827.35 จุด ลดลง 0.08%
จากสัปดาห์ก่อน มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันลดลงประมาณ 14.97% จากสัปดาห์ก่อน
มาที่ 59,738.05 ล้านบาท ส่วนตลาดหลักทรัพย์ mai
ปิดที่ 532.76
จุด ลดลง 0.24% จากสัปดาห์ก่อน
ดัชนีตลาดหุ้นไทยสามารถปรับตัวเพิ่มขึ้นได้ช่วงสั้นๆ
ในช่วงต้นและระหว่างสัปดาห์ ด้วยแรงหนุนหุ้นกลุ่มพลังงานจากราคาน้ำมันในตลาดโลก ประกอบกับมีปัจจัยบวกเพิ่มเติมจากตัวเลขเศรษฐกิจไทยรายเดือนของ
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ที่ออกมาตามที่คาด อย่างไรก็ดี
ปัจจัยดังกล่าวยังไม่เพียงพอที่จะหนุนดัชนี SET
ให้ขยับขึ้นต่อได้จากสัปดาห์ที่แล้ว
ท่ามกลางแรงกดดันจากการปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่องของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ
สัปดาห์ถัดไป (5-9 ก.พ.) ธนาคารกสิกรไทยประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทที่
31.00-31.40
บาทต่อดอลลาร์ฯ
บริษัทหลักทรัพย์กสิกรไทย จำกัด มองว่า
ดัชนีหุ้นไทยมีแนวรับที่ 1,810 และ 1,795 จุด
ขณะที่ แนวต้านอยู่ที่ 1,840 และ 1,855 จุด
ตามลำดับ โดยปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม คงได้แก่ การประกาศผลประกอบของ บจ. งวดปี
2560 ส่วนข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ
ที่สำคัญอื่นๆ ได้แก่ ถ้อยแถลงของเจ้าหน้าที่ระดับสูงของเฟด
และข้อมูลการค้าระหว่างประเทศเดือนธ.ค. ขณะที่ ปัจจัยต่างประเทศที่สำคัญอื่นๆ ได้แก่ ผลการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางอังกฤษและออสเตรเลีย
ดัชนี PMI Composite ของยูโรโซน และตัวเลขเงินเฟ้อของจีนสำหรับเดือนม.ค.
อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 2 ก.พ.ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดร่วงลงหนักสุดในรอบกว่า
1 ปี
โดยได้รับแรงกดดันจากการพุ่งขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ
หลังจากกระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนม.ค.ที่แข็งแกร่งเกินคาด
และการพุ่งขึ้นของตัวเลขจ้างงาน ยังเป็นการกระตุ้นให้เกิดการคาดการณ์ว่า
เฟดอาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วกว่าที่คาดไว้ในปีนี้ โดยดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่
25,520.96 จุด
ร่วงลง 665.75
จุด หรือ ร้อยละ2.54 ดัชนี
Nasdaq ปิดที่
7,240.95 จุด
ลดลง 144.92 จุด
หรือ ร้อยลด1.96
และดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,762.13 จุด
ลดลง 59.85 จุด
หรือ ร้อยละ2.12 ทั้ง ตลอดทั้งสัปดาห์ ดัชนีดาวโจนส์ปรับตัวลงทั้งสิ้นร้อยละ 4.1 ขณะที่ดัชนี
S&P ปรับตัวลงร้อยละ
3.9 และดัชนี
Nasdaq ปรับตัวลงร้อยละ
3.5 –สำนักข่าวไทย