“ประสาร”ย้ำไทยลดความเหลื่อมล้ำ แนะเอกชนเน้นความยั่งยืน

กรุงเทพฯ 26 ม.ค. – “ประสาร” เผยดัชนีชี้วัด SCG ของไทยอยู่อันดับที่ 55 จาก 157 ประเทศทั่วโลก หลังพยายามแก้ไขปัญหาความยากจน  ย้ำต้องปรับปรุงความเหลื่อมล้ำ แนะภาคเอกชนให้ความสำคัญกับความยั่งยืน


ในงานเปิดตัวหนังสือ Thailand’ s Sustainable Business Guide นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล อดีตผู้ว่าธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ ธปท. ในฐานะประธานคณะที่ปรึกษาในการจัดทำหนังสือฯ ปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “ธุรกิจไทยบนเส้นทางการเติบโตอย่างยั่งยืน” ว่า ภาคธุรกิจต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งบางองค์กรนำเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนเข้าไปอยู่ในวิสัยทัศน์ ภารกิจ และกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจขององค์กร ซึ่งหลายองค์กรได้ประยุกต์หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ องค์กรมีภูมิคุ้มกันเมื่อเจอวิกฤตที่รุนแรง และมีแนวทางในการรับมือความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น 

นายประสาร กล่าวว่า เอกชนควรให้ความสำคัญกับความยั่งยืน เพื่อไม่ให้ผลเสียกลับมามีผลกระทบต่อศักยภาพการเติบโตของภาคธุรกิจ โดยบริษัทขนาดใหญ่ที่ประสบความสำเร็จในโลก จะให้ความสำคัญกับความยั่งยืนและดูแลภาคสังคมอย่างเหมาะสม เพื่อไม่ให้เกิดความเสี่ยงทางกลยุทธ์ของธุรกิจ เพราะหากผู้ถือหุ้นไม่เห็นด้วยกับการดำเนินธุรกิจ หรือเกิดการต่อต้านจากสังคม จะทำให้เกิดปัญหาใหญ่ตามมา เช่น การตั้งโรงไฟฟ้าถ่านหิน


“หลายปีที่ผ่านมาภาคธุรกิจไทยให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มากขึ้น เป็นผลจากทิศทางการกำกับดูแลมาตรฐานต่างๆที่เข้มงวด ความก้าวหน้าของเทคโนโลยี สะท้อนจากราคาหุ้นที่เพิ่มขึ้นของบริษัทที่คำนึงถึงผลกระทบสิ่งแวดล้อมและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ใช้หลักธรรมภิบาลในการดำเนินธุรกิจ เป็นที่ยอมรับของชุมชน” นายประสารกล่าว

สำหรับปัจจุบันองค์การสหประชาชาติได้ประกาศเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน จัดทำดัชนีชี้วัด SCG ซึ่งไทยอยู่อันดับที่ 55 จาก 157 ประเทศทั่วโลก จากความพยายามในการแก้ไขปัญหาความยากจน ให้ความสำคัญกับการพัฒนาเศรษฐกิจแบบยั่งยืน 

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ต้องปรับปรุง คือ การแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำ โดยพบว่าความมั่งคั่งในประเทศที่สูงขึ้น ร้อยละ 58 อยู่ในมือประชาชนจริงๆเพียงร้อยละ 1 เท่านั้น การแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุบนท้องถนน ไทยสูงเป็นอันดับ 2 ของโลก ธนาคารโลกชี้ว่าหากสามารถลดลดลงได้ ร้อยละ 50 จะส่งผลให้รายได้ต่อหัวคนไทยเพิ่มขึ้นถึง ร้อยละ 9 


ทั้งนี้มูลนิธิมั่นพัฒนา และสำนักพิมพ์ Editions Didier Millet (เอดิซิยองส์ ดดิเยร์ มิลเยต์) หรือ EDM เปิดตัวหนังสือ Thailand’ s Sustainable Business Guide : How to Future Proof Your Business in the Name of a Better World เพื่อเผยแพร่การดำเนินธุรกิจที่ยั่งยืนให้กับผู้ประกอบการเอกชน ซึ่งภายในหนังสือจะเหมือนเป็นคู่มือในการช่วยสร้างความเข้าใจถึงแนวทางการปฎิบัติด้านความยั่งยืนของการทำธุรกิจ ทั้งในระดับประเทศและสากล โดยเฉพาะการใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในภาคธุรกิจอย่างเป็นรูปธรรม และยั่งยืน.- สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สำนักสงฆ์หูตาทิพย์

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์”

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์” พระอ้างใช้สอนวิปัสสนากรรมฐาน เบื้องต้นอายัดไว้พิสูจน์ดีเอ็นเอ พร้อมเอาผิดหัวหน้าสำนักสงฆ์ ฐานนำศพเก็บไว้ในสถานที่ที่ไม่ใช่สุสานและฌาปนสถาน

“สนธิ” ยื่นถอด “ตั้ม-เดชา” ออกจากทนาย

“สนธิ ลิ้มทองกุล” หอบหลักฐานบุกสภาทนายความ ถอดทนายตั้ม-ทนายเดชา ออกจากทนาย ระบุ ได้รับมอบอำนาจจาก “มาดามอ้อย” แล้ว เดินหน้าเอาผิด ทนายตั้มแบบสุดซอย ไม่ให้มีคนตกเป็นเหยื่อผู้รู้กฎหมายอีก

รัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มยูเครน

ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย แถลงยืนยันว่ารัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มภาคตะวันออกยูเครนเมื่อวานนี้ ตอบโต้ที่ยูเครนใช้ขีปนาวุธที่ได้รับมอบจากสหรัฐและอังกฤษ

ข่าวแนะนำ

โค้งสุดท้าย ศึกสองนารีชิงเก้าอี้ นายก อบจ.นครฯ

เหลือไม่ถึง 2 วันแล้ว ที่ชาวนครศรีธรรมราชจะได้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ ศึกนี้เป็นการสู้กันเองของพรรคร่วมรัฐบาล ฝ่ายหนึ่งต้องการรักษาฐานที่มั่นไว้ให้ได้ อีกฝ่ายต้องการเจาะฐานให้แตก เพื่อหวังครองที่นั่งการเมืองระดับชาติในสมัยหน้า

ร้อนระอุโค้งสุดท้าย ศึกชิงเก้าอี้ นายก อบจ.อุดรธานี

การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ครั้งนี้ดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครจาก 2 พรรคใหญ่ลงชิงชัย ต่างเร่งเครื่องเต็มที่ในโค้งสุดท้าย การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 24 พ.ย.นี้ ใครจะเป็นผู้คว้าชัยชนะและสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญให้จังหวัดอุดรธานี ไปติดตามจากรายงาน

ความเห็นนักวิชาการ คดีทักษิณ

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับคำร้อง นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและพรรคเพื่อไทย ร่วมกันกระทำการอันเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครอง ขณะที่นักวิชาการชี้ว่าไม่ได้พลิกไปจากความคาดหมาย และผลจากคดีนี้ ไม่ทำให้เกิดจุดเปลี่ยนทางการเมือง แต่ก็ยังมีจุดเสี่ยงที่ต้องระวัง