ก.อุตฯ ยืนยันลอยตัวน้ำตาลราคาลดลงแน่

กรุงเทพฯ 16 ม.ค.-
ราคาน้ำตาลทรายหลังลอยตัวถูกแน่ แต่จะเริ่มหาซื้อในราคานี้ได้ในอีกประมาณ
2 สัปดาห์นับจากนี้ไป


หลังจากหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
(คสช.) ออกคำสั่ง ที่
1/2561 เรื่อง
การแก้ไขกฎหมายเพื่อรองรับการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายทั้งระบบ
โดยที่รัฐบาลได้ให้ความเห็นชอบแผนการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายทั้งระบบ
พ.ศ.
2559 – 2564
ซึ่งต้องมีการปรับปรุงแก้ไขกฎและระเบียบที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เป็นสากล
และสอดคล้องกับพันธกรณีระหว่างประเทศนั้น ในวันนี้ (
16 ม.ค.)
นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมด้วย นายสมชาย หาญหิรัญ
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรงอุตสาหกรรม นายพสุ โลหารชุน
ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมร่วมกันแถลงข่าว

นายสมชาย กล่าวว่า
การปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย ตามประกาศ หัวหน้าคณะ
คสช.ที่ออกมานั้น
จะส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงราคาน้ำตาลทรายในประเทศที่บริโภคปีละประมาณ 
2.6 ล้านตัน
ปรับเปลี่ยนไปเป็นระบบราคาแบบลอยตัวโดยอ้างอิงกลไกราคาตลาดโลกทันที
ซึ่งเบื้องต้นราคาในประเทศ จะปรับลดลงแน่นอน คาดว่า ผู้บริโภคจะเริ่มได้ซื้อน้ำตาล
ราคาใหม่นี้ในช่วงจากนี้ไปประมาณ
2 สัปดาห์
เนื่องจากปัจจุบัน ยังคงมีน้ำตาลทรายที่คำนวณราคาตามระบบเดิมอยู่ในตลาดที่จะค่อยๆ
หมดไป พร้อม ๆ กับการทยอยออกมาของน้ำตาลที่ราคาลอยตัว 


สำหรับราคาขายน้ำตาลในประเทศหลังลอยตัวตามกลไกตลาดจะเป็นราคาที่อ้างอิงกับราคาซื้อขายน้ำตาลทรายตลาดลอนดอนนับเบอร์ 5
บวกด้วยไทยพรีเมี่ยมทุกวัน และบวกด้วยค่าบริหารจัดการ ค่าบรรจุภัณฑ์ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย(สอน.)เป็นผู้ติดตามราคาและแจ้งทางเว็บไซด์
และสำรวจราคาซื้อขายน้ำตาลทรายหน้าโรงงานในประเทศไทยทุกวัน

ทั้งนี้
ราคาขายน้ำตาลทรายไม่มีประเทศไหนในโลกต่ำกว่าราคาตลาดโลก เช่น บราซิล
ราคาจำหน่ายในประเทศสูงกว่าตลาดโลกมากกว่า
2 เท่า และสูงกว่าราคาในประเทศไทย
เพราะราคาไม่ถูกกำหนดด้วยต้นทุน แต่ถูกกำหนดโดยการผลิตและความต้องการในตลาดโลก
สำหรับน้ำตาลทรายซึ่งเป็นสินค้าควบคุมกระทรวงพาณิชย์จะดูแลราคาไม่ให้สูงผิดปกติ
สำหรับรายได้จากการจำหน่ายน้ำตาลทรายทั้งหมดในประเทศจะแบ่งตามสัดส่วนชาวไร่อ้อยร้อยละ
70 โรงงานร้อยละ 30 ตามเดิม
โดยที่กองทุนอ้อยและน้ำตาลทราย
ยังคงทำหน้าที่ดูแลอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายต่อไป

นายพสุ กล่าวว่า
กองทุนอ้อยและน้ำตาลทราย
ตามระบบโครงสร้างอุตสาหกรรมน้ำตาลใหม่ยังคงทำหน้าที่ดูแลเสถียรภาพของอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย  โดยจะมีเม็ดเงินมาจากส่วนต่างราคาน้ำตาลทรายตลาดลอนดอนนับเบอร์
5
กับส่วนต่างที่ได้จากการสำรวจราคาขายหน้าโรงงานในน้ำตาล
50
กิโลกรัมจัดเก็บเข้ากองทุน หากต่ำกว่าโรงงานจะต้องชดเชย
จากเดิมที่มีเงินจากการขึ้นราคาน้ำตาลทรายเข้ากองทุนกิโลกรัมละ
5 บาท ระบบนี้ยกเลิกไป


นายอุตตม กล่าวว่า
แนวทางการบริหารจัดการอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลใหม่แทนรูปแบบเดิมที่ใช้มากว่า
30 ปีเป็นแนวทางที่ผ่านการหารือกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องแล้ว และได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีต้ังแต่ วันที่ 4 ธันวาคม 2560 ที่ผ่านมา  โดยแนวทางใหม่นี้สอดรับแนวทางการเจริญเติบโตของอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลไทย
และสอดคล้องกับกฎเกณฑ์ กติกาของการค้าขายภายใต้องค์การการค้าโลกหรือ(
WTO) ขณะเดียวกันยังมีการดูแลผู้บริโภคในประเทศทั้งเรื่องราคาและปริมาณน้ำตาลทรายให้มีเพียงพอ
หลักการสำคัญคือ ภาครัฐจะไม่อุดหนุนโดยตรงกับอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายอีกต่อไป
ขณะเดียวกันยังเพิ่มเสถียรภาพให้กับกองทุนอ้อยและน้ำตาลทราย
ให้มีความเข้มแข็งมากยิ่งขึ้น เพราะกองทุนฯ
เป็นกลไกหลักในการดูแลอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย

การปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมครั้งนี้
ราคาน้ำตาลทรายในประเทศ จะไม่ถูกกำหนดโดยฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดอีกต่อไป
แต่จะปรับเปลี่ยนตามกลไกตลาด
จะเกิดประโยชน์ภาพรวมทั้งผู้บริโภคขณะที่ชาวไร่อ้อยยังได้ประโยชน์
ซึ่งประเทศบราซิลรับทราบแนวทางการดำเนินการนี้ของประเทศไทย 
ดังนั้นจึงเชื่อว่าการหารือระหว่างประเทศไทยและประเทศบราซิลเรื่องอุตสาหกรรมน้ำตาลทรายของไทยจะได้ข้อยุติเป็นอย่างดี

นอกจากนี้
ยังปรับปรุงพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ.
2527
เพื่อให้สอดรับกับการปรับปรุงโครงสร้างอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย
ซึ่งกระทรวงอุตสาหกรรมได้หารือกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงพาณิชย์รวมถึงประสานกับสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.)ซึ่งมีคณะทำงานในเรื่องนี้ที่ทำงานครบ
90 วันแล้วและได้ข้อยุติส่วนใหญ่ไปแล้วซึ่งจะนำไปสู่การนำร่างแก้ไขพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. ….
เข้าสู่การพิจารณาของสนช.ต่อไป

สำหรับการใช้ ม.44 ของหัวหน้า คสช.นั้นเกิดจากกระทรวงอุตสาหกรรมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้พิจารณาและนำเสนอว่า การปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายกำลังไปได้ดี และต้องการความต่อเนื่อง
ประกอบกับการเจรจากับประเทศบราซิลก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง จึงต้องการให้ออก ม.
44 เพื่อให้สามารถออกมาตรการได้อย่างรวดเร็ว
ไม่ต้องรอร่างแก้ไขพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. …. ผ่านการพิจารณาเสร็จ

นายอุตตม กล่าวว่า ตามที่
คำสั่งหัวหน้าคสช. ม.
44 ปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายทั้งระบบ
พ.ศ.
2559-2564 มีผลตั้งแต่วันที่ 15
ม.ค.
2561 กระทรวงอุตสาหกรรม
จึงมีชุดมาตรการออกมาที่มีประสิทธิภาพและไม่กระทบทุกฝ่ายผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่ร่วมหารือกันมาโดยตลอด

นายอุตตม กล่าวว่า ไม่ต้องห่วงว่า
น้ำตาลในประเทศจะขาดตลาด
เพราะมีน้ำตาลสำรองหรือบัฟเฟอร์สตอกที่สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย(สอน.)จะร่วมดูแล
โดยโรงงานจะต้องมีสำรองไว้เพื่อการบริโภคภายในประเทศอย่างน้อย
1 เดือนตลอดปี
ส่วนกระทรวงพาณิชย์จะดูแลราคา
ด้านผลประโยชน์มีการปรับกฎหมายเพื่ออนาคตที่สินค้าเกษตรหลักของประเทศสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มได้มากสู่อุตสาหกรรมเศรษฐกิจชีวภาพหรือไบโออีโคโนมี่
เช่น อ้อยสู่บรรจุภัณฑ์ เครื่องสำอาง อาหารเฉพาะทาง ที่ผลประโยชน์จะได้ทั้งชาวไร่และโรงงาน
ขณะที่ผู้บริโภคใช้สินค้าเพิ่มมากขึ้น การส่งออกเพิ่มมากขึ้นย่อมได้ผลดีตามมา

นายสมชาย  กล่าวว่า ม.44 ที่ออกมานั้น
สำนักงานอ้อยและน้ำตาลทราย(สอน.)จะไม่กำหนดราคาน้ำตาลทราย
และจะมีการเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย ดังนี้  ยกเลิกระบบโควตาน้ำตาล มีการดูแลผู้บริโภคภายในประเทศอย่างเป็นธรรมและไม่เกิดภาวะขาดแคลนในช่วงที่ราคาน้ำตาลผิดปกติ
ซึ่งรัฐมนตรีทั้ง
3 กระทรวงคือ กระทรวงอุตสาหกรรม
กระทรวงพาณิชย์และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ลงนามร่วมกันมาแล้ว นอกจากนี้
จะเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตโดยเพิ่มเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาเพิ่มขีดความสามารถของเกษตรกร
มีกองทุนอ้อยและน้ำตาลทรายเข้าไปดูแลช่วยเหลือเรื่องเครื่องมือ เครื่องจักรตัดอ้อย
โดยสนับสนุนดอกเบี้ยบ้าง และสินเชื่อบางส่วน
และมีการปรับให้มีการนำเข้าน้ำตาลทรายอาเซียนที่ภาษีนำเข้าเป็นร้อยละ
0 อยู่แล้ว และรูปแบบกำหนดราคาในประเทศเป็นความร่วมมือเอกชนทั้งหมด
เพื่อให้เกิดความสามารถการแข่งขันและปกป้องอุตสาหกรรมในประเทศด้วยระบบราคาที่นำเข้ามามีราคาใกล้เคียงกันได้
มีการเพิ่มสาขาการผลิตอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เช่น อุตสาหกรรมชีวภาพ
จะเป็นการเพิ่มการใช้ประโยชน์จากอ้อยนอกเหนือจากการผลิตน้ำตาล
ลดความเสี่ยงที่ชาวไร่อ้อยที่เดิมพึ่งพิงเฉพาะน้ำตาลทรายเท่านั้น
ขณะที่ชาวไร่อ้อยและโรงงาน จะมีการตกลงทำสัญญาซื้อขายกับบริษัท อ้อยและน้ำตาลไทย
จำกัด ในการส่งออกและเก็บราคาไว้เป็นราคาอ้างอิงเอง ภายใต้กรรมการ
3 ฝ่ายดูแล รัฐจะไม่เข้าไปเกี่ยวข้องอีกต่อไป

นายพสุ กล่าวว่า
จากการพบและหารือกับตัวแทนประเทศบราซิลที่กรุงลอนดอนประเทศสหราชอาณาจักรล่าสุด
ได้แจ้งความคืบหน้าการแก้ไข
พรบ.อ้อยและน้ำตาลทรายและการลอยตัวราคาน้ำตาลทรายในประเทศ
ซึ่งทางบราซิลพอใจกับสิ่งที่ประเทศไทยดำเนินการ

นางวรวรรณ ชิตอรุณ
รักษาการเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย(สอน.) คาดว่า
ราคาน้ำตาลทรายหลังลอยตัว ราคาหน้าโรงงาน จะลดลงประมาณ
1- 2 บาท จากเดิม 18 – 19
บาทต่อกิโลกรัม เป็นราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 17 – 18 บาท แต่ราคาขายปลีกในประเทศสัปดาห์นี้ยังไม่ลดลง เนื่องจากมีน้ำตาลระบบราคาเดิมขนส่งออกจากโรงงานไปแล้ว
300,000 ตัน คาดว่า น้ำตาลจำนวนนี้
จะขายหมดปลายสัปดาห์นี้ 
ดังนั้นราคาขายปลีกหลังลอยตัวราคา มีแนวโน้มปรับลดลงภายในสัปดาห์หน้า
ซึ่งเป็นหน้าที่ของกระทรวงพาณิชย์ ต้องออกสำรวจว่า
ราคาขายน้ำตาลขายปลีกจะปรับลดลงตามหน้าโรงงานหรือไม่   ส่วนราคาขายปลีกจะลดลงเท่าใด
ก็อยู่ที่ต้นทุนของผู้ค้าแต่ละรายเป็นสำคัญจึงเป็นหน้าที่กระทรวงพาณิชย์จะไปติดตาม.
สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ข่าวแนะนำ

เขากระโดง

“อนุทิน” ยัน เพื่อไทย-ภูมิใจไทย ไม่เคยขัดแย้งปมเขากระโดง

“อนุทิน” ย้ำพรรคร่วมรัฐบาลมีเป้าหมายเหมือนกัน ทำประโยชน์ให้ประชาชน-ประเทศ หลัง “ทักษิณ” ชมพรรคร่วมสามัคคีกันดี ยันเพื่อไทย-ภูมิใจไทย ไม่เคยขัดแย้งปมเขากระโดง ขอคนไม่อยู่ในวงอย่าคาดคะเน ชี้ไม่มีเหตุผลต้องปกป้องผลประโยชน์ใคร โอดกว่าจะนั่งคุม มท. แทบตาย ไม่ให้ใครมาด่าสาดเสียเทเสีย

สนามบินสุวรรณภูมิ

ยูเนสโก ยกย่อง “ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ” 1 ใน 6 สนามบินสวยสุดในโลก

“สุริยะ” รมว.คมนาคม ปลื้ม ยูเนสโก ยกย่อง “ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ” ติดอันดับ 1 ใน 6 สนามบินสวยที่สุดในโลก ประจำปี 2567 ด้าน “อาคาร SAT-1” สุดปัง! หลังถูกเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลสนามบินที่มีสถาปัตยกรรมสวยที่สุดของโลก โชว์ความโดดเด่นด้านความงาม-ความคิดสร้างสรรค์ ชูอัตลักษณ์ความเป็นไทย จ่อประกาศผล 2 ธ.ค.นี้

รฟท. คัดค้านคำสั่งไม่เพิกถอนเอกสารสิทธิที่ดินทับซ้อนเขากระโดง

การรถไฟฯ ลุยยื่นหนังสือถึงอธิบดีกรมที่ดิน คัดค้านคำสั่งไม่เพิกถอนเอกสารสิทธิ์ ที่ดินทับซ้อนเขากระโดง ย้ำปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด โปร่งใสและเป็นธรรม