fbpx

แจงปรับโฉมพิพิธภัณฑ์เก่าแก่เมืองน่านหลังมีเสียงวิจารณ์

น่าน 10 ม.ค.- เสียงวิจารณ์ปรับปรุง 3 ปี อาคารเก่าแก่พิพิธภัณฑสถานฯ น่าน ไม่สอดคล้องความเป็นเมืองเก่า ด้าน หน.พิพิธภัณฑสถานฯ เร่งแจงดำเนินงานโดยส่วนกลางได้ออกแบบและสืบค้นข้อมูลทุกขั้นตอนให้ตรงกับของเดิมที่สุด 


น.ส.ชลลดา สังวร  หัวหน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน ชี้แจงกรณีมีผู้แสดงความเห็นในโซเชียลเกี่ยวกับการปรับปรุงพิพิธภัณฑสถานฯ ไม่สอดคล้องกับความเป็นโบราณสถานและพื้นที่เมืองเก่าน่านว่าว่า อาคารพิพิธภัณฑสถานฯ มีความชำรุดทรุดโทรมตามกาลเวลาจำเป็นต้องปิดปรับปรุง โดยสำนักสถาปัตยกรรม และกลุ่มเทคนิคศิลปกรรม สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ซึ่งได้ปิดมาตั้งแต่ปี 2558 ใช้งบประมาณซ่อมแซมทั้งสิ้น 34,810,000 ล้านบาท (สามสิบสี่ล้านแปดแสนหนึ่งหมื่นบาท)  ทั้งนี้ การออกแบบได้สืบค้นประวัติจากภาพถ่ายและหลักฐานอ้างอิงทางประวัติศาสตร์เพื่อให้คงความดั้งเดิมที่สุด ส่วนการเปลี่ยนราวไม้ระเบียงหน้ามุข และลวดลายหน้าบัน ที่เปลี่ยนไปจากอาคารเดิมก่อนหน้านี้นั้น ตามที่สืบค้นพบภาพถ่ายในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ซึ่งเป็นภาพเก่าแก่ที่สุดและสืบค้นได้ จึงได้นำมาออกแบบให้ตรงตามภาพ 

น.ส.ชลลดา กล่าวอีกว่า การเปลี่ยนสีตัวอาคารจากเดิมเป็นสีขาวกลายเป็นสีเหลืองอ่อน  เนื่องจากการขูดชั้นสีของตัวอาคารจนลึกสุดปรากฏว่าเป็นสีเหลืองอ่อน จึงได้ทาสีตัวอาคารเป็นสีดังอาคารในปัจจุบัน ขณะที่ประตูอะลูมิเนียม ซึ่งอาคารเดิมก็เป็นอะลูมิเนียมเช่นกัน และสีอาจดูกลมกลืนกับตัวอาคารทำให้ไม่ขัดสายตา อย่างไรก็ตาม ข้อวิจารณ์หรือข้อแสดงความคิดเห็นนั้นจะนำเข้าหารือกับหน่วยงานกลาง เพื่อพิจารณาดำเนินการต่อไป เพราะการออกแบบและปรับปรุงเป็นการดำเนินงานจากส่วนกลางทั้งหมด


สำหรับพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน เดิมเป็นที่ประทับของพระเจ้าสุริยพงษ์ผลิตเดชฯ พระเจ้าน่าน ทรงสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2446 เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน 2 ชั้น มีมุขด้านหน้า หลังคามุงด้วยไม้แป้นเกล็ด บนเนื้อที่ 14 ไร่ 2 งาน 32 ตารางวา  ครั้นเมื่อเจ้ามหาพรหมสุรธาดา เจ้าผู้ครองนครน่านองค์สุดท้ายถึงพิราลัย  เจ้านายบุตรหลานของเจ้าผู้ครองนครน่านจึงได้มอบหอคำหลังนี้พร้อมที่ดินให้แก่รัฐบาล เพื่อใช้เป็นอาคารศาลากลางจังหวัดน่าน ต่อมาเมื่อกระทรวงมหาดไทยได้ก่อสร้างอาคารศาลากลางจังหวัดหลังใหม่ขึ้น  กรมศิลปากรจึงได้ขอรับมอบอาคารเพื่อใช้เป็นสถานที่จัดตั้งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน ขึ้นในปี พ.ศ. 2517 และประกาศจัดตั้งอย่างเป็นทางการขึ้นในปี พ.ศ. 2528 โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานประกอบพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2530    โดยภายในจัดแสดง ศิลปะ โบราณวัตถุ ต่างๆ ประวัติศาสตร์ และชีวิตความเป็นอยู่ ของชาวพื้นเมืองภาคเหนือ และชาวเขาเผ่าต่าง ๆ สิ่งสำคัญที่สุดคือ “งาช้างดำ” และด้านหน้าพิพิธภัณฑ์เป็นที่ตั้งอนุสาวรีย์เจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช ผู้เป็นเจ้าของหอคำแห่งนี้.-สำนักข่าวไทย


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

Made in Thailand แดนไทยเท่ : เสน่ห์ผ้าทอชาวเขา สู่แบรนด์แฟชั่นชั้นนำของเชียงใหม่

ผ้าทอชาวเขาและเครื่องแต่งกายชนเผ่าต่างๆ ของไทยที่มีลวดลายสวยงามแปลกตาไม่เหมือนใคร ทำให้ดีไซเนอร์ชาวเชียงใหม่ นำมาออกแบบตัดเย็บ กลายเป็นเสื้อผ้าแฟชั่นที่ทันสมัย

ศาลปกครองอุบลราชธานี ไม่รับฟ้องกรณีนักศึกษาไม่ได้รับเงิน

กรุงเทพฯ 3 พ.ค.-ศาลปกครองอุบลราชธานี ไม่รับฟ้อง กรณีนักศึกษา ไม่ได้รับเงิน ยืนยันโอนเงินให้เแล้ว 

พายุฤดูร้อนถล่ม 31 จังหวัด ฝนฟ้าคะนอง-ลมแรง

กรมอุตุฯ ออกประกาศเตือนพายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทยตอนบน ฉบับที่ 5 ฝนฟ้าคะนอง-ลมกระโชกแรง วันนี้ (3 พ.ค.) ได้รับผลกระทบ 31 จังหวัด ในภาคเหนือ อีสาน และภาคกลาง

ข่าวแนะนำ

ไฟไหม้โกดังกระดาษดับหมดแน่คืนนี้ เสียหาย 500 ล้าน

เหตุเพลิงไหม้โกดังเก็บกระดาษรีไซเคิล จ.สมุทรสาคร คุมเพลิงได้แล้ว 90% คาดดับไฟได้หมดภายในคืนนี้ ประเมินความเสียหายเบื้องต้นไม่ต่ำกว่า 500 ล้านบาท ด้านเจ้าของพร้อมเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ

“นายกฯ-แพทองธาร” ขึ้นเวทีเพื่อไทย ยันเงินดิจิทัลได้แน่

“นายกฯ-แพทองธาร” ขึ้นเวทีเพื่อไทยพบประชาชน ขอบคุณชาวร้อยเอ็ด เลือก สส. ให้ได้เป็นรัฐบาล ย้ำเดินหน้าแก้ปัญหาภัยแล้ง-ยาเสพติด ยันดิจิทัลวอลเล็ตได้แน่สิ้นปีนี้

นายกฯ ยันรัฐบาลเดินหน้าช่วยประชาชนทุกมิติ

นายกฯ พบชาวบ้านมหาสารคาม ย้ำชัดเงินดิจิทัลวอลเล็ตได้แน่ไตรมาส 4 ยืนยันรัฐบาลเดินหน้าช่วยเหลือประชาชนในทุกๆ มิติ ทั้งภัยแล้ง ยาเสพติด หนี้นอกระบบ

ปภ.นำเฮลิคอปเตอร์บินโปรยน้ำดับไฟป่าห้วยตึงเฒ่า

เจ้าหน้าที่ ปภ. นำเฮลิคอปเตอร์ขึ้นบินโปรยน้ำดับไฟป่าหลังอ่างเก็บน้ำห้วยตึงเฒ่า และพื้นที่สวนลำไยของชาวบ้าน อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่