ก.พลังงานชี้แจงส่งเสริมบทบาทการแข่งขัน สร้างประโยชน์ต่อประชาชน

กรุงเทพฯ 5 ม.ค. – สร.ปตท.-กฟผ.เป็นงง เอกสารแจกใน ครม. 7 พ.ย. 60 กฟผ.เตรียมจัดสัมมนาใหญ่  17 ม.ค.รับมือการเปลี่ยนแปลง  ด้าน “มนูญ” ยืนยันไม่ใช่ข้อเสนอ คก.ปฎิรูปด้านพลังงาน ด้าน ก.พลังงานทำเอกสารแจงพีเอ็มดียู ทำนโยบายส่งเสริมการแข่งขันภาคพลังงานอยู่แล้ว สร้างประโยชน์ต่อประชาชน


นายมนูญ ศิริวรรณ กรรมการปฏิรูปประเทศด้านพลังงาน กล่าวว่า ข้อเสนอการปฏิรูปด้านพลังงานมีเรื่องการบริหารที่จะส่งเสริมการแข่งขันด้านธุรกิจพลังงาน โดยแยกระบบสายส่งออกจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และระบบท่อก๊าซธรรมชาติออกจาก บมจ.ปตท. เพื่อให้บุคคลที่ 3 เข้ามาใช้ โดยรูปแบบจะเป็นอย่างไรขึ้นอยู่กับคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) กำกับดูแล แต่คณะกรรมการปฎิรูปไม่ได้มีข้อเสนอไม่ให้ กฟผ.สร้างโรงไฟฟ้าใหม่แต่อย่างใด 

ทั้งนี้ กรณีคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2560 มีการแจกเอกสารเกี่ยวกับพลังงานในที่ประชุม โดยมีเนื้อหาลดบทบาท บมจ.ปตท. และ กฟผ. โดยเฉพาะ กฟผ.ที่ระบุให้แยกสายส่งออกจาก กฟผ.และให้เอกชนเข้ามามีบทบาทการผลิตไฟฟ้ามากขึ้น รวมทั้งกำหนดให้ กกพ.ไม่ควรมาจาก 3 การไฟฟ้า และ บมจ.ปตท.นั้น 


 นายมนูญ กล่าวว่า เรื่องนี้ไม่ใช่ข้อเสนอของคณะกรรมการปฎิรูปฯ แต่อย่างใด โดยในส่วนตัวเห็นว่า การทำงานของคณะกรรมการ กกพ.ทำตามนโยบายของคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ที่มีนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ดังนั้น หาก กพช.กำหนดนโยบายที่อาจจะเป็น ประโยชน์หรือไม่เป็นประโยชน์ ต่อรัฐวิสาหกิจด้านพลังงาน กกพ.ก็ต้องดำเนินการตาม โดยกรรมการ กกพ.แม้เกษียณจะมาจาก รัฐวิสาหกิจนั้น ๆ ก็ต้องดำเนินการตามนโยบาย กพช.เป็นหลัก 

“การแยกท่อก๊าซฯ และสายส่งออกมารูปแบบอาจเป็นแยกบัญชี หรือมีองค์กรใหม่ขึ้นมาดูแล เพื่อให้เกิดการแข่งขัน ลดการผูกขาดแบบธรรมชาติ เปิดทางให้บุคคลที่ 3 มาใช้ โดยในส่วนของ กฟผ.จะเป็นหน่วยงานโอเปอเรเตอร์หรือหน่วยงานด้านการทำงานเท่านั้น โดยทางคณะกรรมการฯ ไม่ได้เสนอให้ลดบทบาทการทำงานด้านอื่น ๆ ของ กฟผ.และ ปตท.แต่อย่างใด” นายมนูญ กล่าว 

นายศิริชัย ไม้งาม ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (สร.กฟผ.) กล่าวว่า เรื่องดังกล่าวคงจะต้องเช็คว่ามีเรื่องนี้เข้า ครม.จริงหรือไม่ มีเหตุผลที่แท้จริงว่าเป็นอย่างไร ใครเป็นผู้เสนอ เพราะขณะนี้การผลิตไฟฟ้าและสายส่ง กฟผ.เป็นผู้ดูแลและเมื่อเอกชนผลิตจะเป็นระบบประมูลขายผ่านระบบ กฟผ. ที่ผ่านมามีความพยายามที่จะแปรรูป กฟผ.เมื่อไม่สำเร็จก็พยายามจะมาอ้างเรื่องต้นทุนการผลิตแล้วให้เอกชนเข้ามามีบทบาท แยกสายส่ง กฟผ.ออก ซึ่งตลอดเวลา กฟผ.ทำหน้าที่ดูแลโครงสร้างพื้นฐานด้านไฟฟ้าให้กับรัฐมาอย่างมั่นคง จึงอยากให้รัฐตอบมาตรง ๆ ว่าจะยังคงให้มี กฟผ.หรือไม่ และการอ้างว่าผูกขาดก็ควรดูว่าต่างประเทศเองก็มีการกำหนดสัดส่วนที่จะไม่ให้เอกชนผูกขาดเช่นกัน อย่างไรก็ตาม  กฟผ.พร้อมปรับตัวตามเทคโนโลยีใหม่ ด้านพลังงานทดแทนที่มีบทบาทมากขึ้น โดยว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษา ปรับโครงสร้างกำลังคนที่มีอยู่ 22,000 คนทั่วประเทศว่าเพื่อให้สอดรับกับอนาคต


นายศิริชัย กล่าวด้วยว่า วันที่ 17 มกราคม 2561 เพื่อการเตรียมพร้อม กฟผ.จะมีการจัดเวทีสัมมนาภายในเรื่อง ฝ่าวิกฤติกิจการไฟฟ้า กฟผ.จะก้าวข้ามอย่างไร โดยจะเชิญอดีตผู้ว่าฯ กฟผ. ได้แก่ 1.นายสุนชัย คำนูณเศรษฐ์  2.นายไกรสีห์ กรรณสูต และ 3. นายกรศิษฎ์ ภัคโชตานนท์ ผู้ว่าฯ กฟผ.คนปัจจุบัน  ที่จะเป็นเวทีสำคัญที่จะชี้ถึงแนวทางการปรับบทบาทของ กฟผ. เพื่อรองรับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป

น.ส.อัปสร กฤษณะสมิต ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือ สร.ปตท. กล่าวว่า ตามเอกสารที่ปรากฎใน ครม.ทำให้ สร.ปตท.รู้สึกแปลกใจกับข้อมูล เพราะทั้ง ปตท.และ กฟผ.เป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจที่ดำเนินงานตามนโยบายของรัฐ ซึ่งไม่ว่าจะมีผลกำไรเกิดขึ้นผลประโยชน์ก็จะตกกับประเทศ ซึ่ง สร.ปตท.ไม่ได้เป็นห่วงว่าการเปิดเสรีจะทำให้ ปตท.ถูกลดบทบาทลง  แต่นโยบายดังกล่าวทำแล้วประเทศชาติจะได้ประโยชน์จริงหรือไม่ โดยในส่วนของ ปตท.หลังจากเข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์แล้วได้วางรากฐานการสร้างความแข็งแกร่งให้องค์กรและทำธุรกิจที่หลายหลายมากขึ้น สร้างรายได้ที่สูงแก่ภาครัฐ มีการปรับตัวมาตลอด ขณะที่มีพนักงานประมาณ 4,000 คน ดังนั้น หากจะมีการลดบทบาทลงบ้างก็คงไม่มีผลกระทบมากนัก  

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าเอกสารที่แจกใน ครม.วันที่ 7 พฤศจิกายน 2560 เป็นเอกสารที่มาจากที่ปรึกษาพิเศษ ของนายกรัฐมนตรี ซึ่งไม่ได้เป็นมติ ครม.และทางกระทรวงพลังงานได้ทำหนังสือชี้แจงผ่านสำนักบริหารนโยบายของนายกรัฐมนตรี (พีเอ็มดียู) ที่มีนายอําพน กิตติอําพน เป็นผู้อำนวยการ อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีการรายงานเข้าสู่ ครม.แต่อย่างใด โดยกระทรวงพลังงานได้ชี้แจงถึงการทำงานที่ดูแลถึงความมั่นคงด้านพลังงานเป็นหลัก พร้อม ๆ กับการส่งเสริมพลังงานทดแทน และการส่งเสริมบทบาทของภาคเอกชนที่มีส่วนแบ่งด้านพลังงานทำให้เกิดการแข่งขันเป็นประโยชน์ต่อภาคประชาชน  มีการเปิดให้บุคคลที่ 3 เข้ามาใช้คลังก๊าซฯ และท่อก๊าซ ปตท. ขณะที่โรงไฟฟ้าถ่านหินทั้งกระบี่และเทพานั้น แม้จะให้ กฟผ.เป็นผู้ก่อสร้าง แต่ทั้ง 2 โรงไฟฟ้าก็ยังไม่ได้ผ่านความเห็นชอบจาก ครม.ในการก่อสร้างแต่อย่างใด จึงยังไม่ถือว่าเป็นภาระต่อค่าไฟฟ้าของภาคประชาชน 

ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่าหลังจากนายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม อดีตปลัดกระทรวงพลังงาน ลาออกจากตำแหน่งประธานคณะกรรมการ กฟผ. เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2560  ดังนั้น ในการประชุมคณะกรรมการ กฟผ.เดือน ประมาณปลายเดือนมกราคมนี้จะมีการเลือกผู้รักษาการตำแหน่งประธานฯ  จากคณะกรรมการ 9 คนที่เหลือ ซึ่งคาดว่าจะเป็นนายวิฑูรย์ กุลเจริญวิรัตน์ อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน โดยจะมีการแต่งตั้งประธานคนใหม่ก็ต่อเมื่อ ครม.มีการแต่งตั้งกรรมการ กฟผ.แทนนายอารีพงศ์ที่ลาออกไป. – สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

มุกใหม่มิจฉาชีพ

มุกใหม่มิจฉาชีพ! ป่วนโทรแจ้ง ตร. เกิดเหตุร้ายที่บ้านเหยื่อ

อินฟลูฯ สาว สายทำอาหาร ถูกมิจฉาชีพอ้างเป็นตำรวจโทรหา แต่เธอไม่เชื่อ โดนท้าอีก 10 นาทีเจอกัน ปรากฏว่า มีตำรวจจาก 2 โรงพักบุกมาที่บ้านจริง

“วราวุธ” ระบุการแข่งขัน อบจ.-สุพรรณบุรี ไม่มีปัญหา

“วราวุธ” ระบุการแข่งขัน อบจ.-สุพรรณบุรี ไม่มีปัญหา บอกสนามใหญ่ ไม่เข้าไปก้าวก่ายสนามท้องถิ่น ซ้ายก็เพื่อน ขวาก็พวก

ครม.เคาะแจกเงินหมื่นเฟส 2 ผู้สูงอายุ 60 ปี

“จุลพันธ์” เผย ครม.เห็นชอบโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านกลุ่มผู้สูงอายุ วงเงิน 4 หมื่นล้านบาท คาดว่าจะดำเนินการทันก่อน 29 ม.ค.68 รวม 3 มาตรการ สร้างเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบ 1.4-1.5 แสนล้านบาท

ข่าวแนะนำ

ข่าวแห่งปี 2567 : รวมฉ้อโกง “ดารา-คนดัง” ไม่รอด

ตลอดปี 2567 ยังมีผู้คนตกเป็นเหยื่อของกลโกง มิจฉาชีพ ที่มาในรูปแบบต่างๆ รวมถึงการลงทุนรูปแบบใหม่ๆ บางคนถึงขั้นสิ้นเนื้อประดาตัว และที่น่าตกใจเริ่มมีคนดังเข้ามาเกี่ยวข้องกับคดีมากขึ้น

หมอชิต 2 คึกคัก ประชาชนเดินทางกลับภูมิลำเนาฉลองปีใหม่

บรรยากาศการเดินทางหมอชิต 2 คึกคัก ประชาชนเดินทางกลับภูมิลำเนาและท่องเที่ยวในช่วงหยุดยาวปีใหม่ ด้าน รฟท. คาดผู้โดยสารเดินทางขาออกวันนี้ 1 แสนคน

รถเริ่มแน่น! สายเหนือ-อีสาน การจราจรชะลอตัว

ประชาชนทยอยเดินทางกลับภูมิลำเนา หยุดยาวปีใหม่ ถ.พหลโยธิน มุ่งหน้าสายอีสาน รถแน่น ส่วนถนนสายเอเชีย ขึ้นเหนือ รถเคลื่อนตัวได้ช้า