กรุงเทพฯ 20 ธ.ค.- ผลสำรวจความเห็นนักอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ คาดว่า ปีหน้าเศรษฐกิจไทยทรงตัว มองปัจจัยต่างประเทศเป็นความเสี่ยง
นายกำพล ปัญญาโกเมศ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ หรือนิด้าเปิดเผยว่า จากการสอบถามความคิดเห็นตัวแทนผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรมต่างๆทั่วทุกภูมิภาครวมทั้งสิ้น 207 รายเกี่ยวกับทิศทางเศรษฐกิจอุตสาหกรรมในปีหน้าโดยสำรวจระหว่างวันที่ 30 ต.ค.ถึง30 พ.ย.60 พบว่า ผู้ประกอบการส่วนใหญ่หรือคิดเป็นร้อยละ 42.51 ดูว่าเศรษฐกิจไทยปีหน้าจะทรงตัว
ขณะที่ผู้ประกอบการร้อยละ 35.7ระบุว่าแนวโน้มเศรษฐกิจไทยในปีหน้าจะขยายตัว ไม่เกินร้อยละ 5 ส่วนผู้ประกอบการอีกร้อยละ 21.74 ระบุว่าเศรษฐกิจไทยปีหน้าจะหดตัว ไม่เกินร้อยละ 5
ส่วนความคิดเห็นของผู้ประกอบการต่อแนวโน้มภาพรวมภาวะอุตสาหกรรมในปี 2561 พบว่าผู้ประกอบการร้อยละ 41.55 เชื่อว่าจะทรงตัวขณะที่ร้อยละ 37.2 0 เชื่อว่าจะขยายตัวและร้อยละ 21.26 คาดว่าจะหดตัว
ปัจจัยที่จะเป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไทยในปี 2561 ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ร้อยละ 44.93 ระบุว่าเกิดจากเศรษฐกิจและปริมาณการค้าโลกที่ขยายตัวตามภาวะเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศเศรษฐกิจหลักรวมถึงการใช้จ่ายและมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆของภาครัฐในสัดส่วนที่เท่าๆกัน รองลงมาเห็นว่าเกิดจากภาคการท่องเที่ยวที่เติบโตได้แข็งแกร่ง
ปัจจัยเสี่ยงต่อการเติบโตของเศรษฐกิจอุตสาหกรรมในปี 2561 ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ร้อยละ 43 ระบุว่าเป็นความเสี่ยงจากปัญหาการเมืองระหว่างประเทศ บางผู้ประกอบการระบุว่าเป็นการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่อาจไม่เป็นไปตามเป้าหมาย
ทั้งนี้ผู้ประกอบการส่วนใหญ่คิดเป็นร้อยละ 6 2.32มีการวางแผนและมีแนวทางรับมือขณะที่ร้อยละ 3 7.68 ยังไม่มีการปรับเปลี่ยนแผนมากนักจากช่วงครึ่งปีหลังของปี 2560 โดยในจำนวนผู้ที่ระบุว่ามีการวางแผนและแนวทางการรับมือนั้นส่วนใหญ่มีแผนที่จะขยายตลาดทั้งในและต่างประเทศเพื่อเพิ่มฐานลูกค้าและปรับปรุงเทคโนโลยีนวัตกรรมในการผลิตในสัดส่วนที่เท่าเท่ากันเพราะอโรมาระบุว่าเป็นการขยายการลงทุนและขยายฐานการผลิตการลงทุนไปยังต่างประเทศ
สิ่งที่ต้องการให้ภาครัฐเร่งดำเนินการเพื่อสนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจปี 2561 ผู้ประกอบการส่วนใหญ่คิดเป็นร้อยละ 46.86 ระบุว่าควรเร่งเจรจาการค้ากับประเทศที่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจเพื่อขยายตลาด ลดอุปสรรคทางการค้าและมีมาตรการกีดกันสินค้าที่มิใช่ภาษีและเพิ่มช่องทางการส่งออกและออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องเพื่อสนับสนุนการขยายตัวของอุปสงค์ภายในประเทศในสัดส่วนที่เท่ากัน รองลงมาระบุว่าให้สนับสนุนการขยายตลาดเข้าสู่หัวเมืองรองในกลุ่มประเทศ clmv เพื่อขยายฐานลูกค้าและกระจายสินค้าให้มากขึ้นรวมไปถึงการพัฒนาการค้าและการขนส่งชายแดนและผ่านแดนเพื่อเพิ่มมูลค่าการค้าตามแนวชายแดน-สำนักข่าวไทย