กัลฟ์เผยไม่มีแผนเลื่อนผลิตไอพีพี 5,000 MW


               กรุงเทพฯ 6 ธ.ค.-กัลฟ์ฯ
ยืนยันเดินหน้าลงทุนก่อสร้างโรงไฟฟ้าไอพีพี 5,000 เมกะวัตต์ ตามสัญญาเข้าระบบ ปี
64-68 แต่จะเลื่อนโรง 2 หรือไม่ ขึ้นอยู่กับ กฟผ.จะเจรจาอย่างไร โดย
บริษัทจะเริ่มกู้เงินโครงการแรกปลายปีหน้า คาดต้องกู้รวม 0.8- 1 แสนล้านบาท  


                นายสารัชถ์ รัตนาวะดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี
ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด(มหาชน
) กล่าวว่าจนถึงขณะนี้ยังยืนยันการผลิตไฟฟ้าโครงการผลิตไฟฟ้าภาคเอกชน (ไอพีพี
)ตามสัญญาซื้อขายไฟฟ้า (พีพีเอ)กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) 5,000 เมกะวัตต์
 จำนวน 2 โรงไฟฟ้า   เข้าระบบภายในปี 2564-2568  โดยจะเริ่มลงนามสัญญากู้เงินสำหรับโรงแรกในปลายปี
2561 วงเงิน 4-5 หมื่นล้านบาท โดยกู้จากธนาคารทั้งไทยและต่างประเทศ เช่น เจบิก
ธนาคารพัฒนาแห่งเอเชีย (เอดีบี ) ส่วนสัญญาเงินกู้โรงที่ 2 อีก 4-5 หมื่นล้านบาท
ก็คงจะเป็นการกู้ในระยะเวลาถัดไป

                   นายสารัชถ์ยอมรับว่าที่ผ่านมาภาครัฐได้พยายามเจรจาเลื่อนโครงการ
โรงที่ 2ออกไปด้วยเหตุผลสำรองไฟฟ้าที่สูง แต่ทั้งนี้ก็ยังไม่ชัดเจนก็ขึ้นอยู่แผนพัฒนากำลังไฟฟ้าระยะยาว
(พีดีพี) ที่รัฐบาลกำลังปรับใหม่ และขึ้นกับ กับ กฟผ.จะเจรจาให้เลื่อนหรือไม่  โดยยอมรับว่า จากทีมีข้อสังเกตเรื่องการลงทุนสายส่งของ
กฟผ.เพื่อรองรับโครงการ ทางบริษัทก็ได้มีการเสนอเงื่อนไขที่บริษัทจะลงทุนก่อสร้างสายส่งไปยัง
กฟผ. ซึ่งจะมีวงเงิน 1,900 ล้านบาทหรือไม่นั้น ยังตอบไม่ได้ ในขณะเดียวกันจากการที่ภาครัฐส่งเสริมโครงการระเบียงเศรษฐกิจ
ภาคตะวันออก หรืออีอีซี จึงคาดว่า ความต้องใช้ไฟฟ้าจะเพิ่มสูงขึ้น
และโครงการไอพีพี ของบริษัทก็จะช่วยรองรับความต้องการนี้

                            



                           ทั้งนี้ หุ้นของกัลฟ์
ได้เทรดเป็นวันแรกในวันนี้(6ธ.ค.)ราคาเปิดที่ 59 บาทจากราคาไอพีโอ 45 บาท  เป็นหุ้นที่มีมูลค่าไอพีโอ สูงสุดในรอบ 11 ปีเกือบ
2.4 หมื่นล้านบาท และ มีมาร์เก็ตแคปใหญ่ที่สุดในรอบ 16 ปี มูลค่าเกือบ 9.6 หมื่นล้านบาท
  โดยกัลฟ์
จะนำเงินที่ได้จากการระดมทุนในครั้งนี้ไปชำระคืนเงินกู้ยืม
และใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน สำหรับการลงทุนในอนาคต  โดยปัจจุบันกัลฟ์ เป็นผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่ที่สุดของประเทศ
มีโครงการโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติและโครงการพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา
(
Solar Rooftop) ที่จำหน่ายไฟฟ้าเข้าสู่ระบบเชิงพาณิชย์
(
COD) แล้วจำนวน 4,772.1 เมกะวัตต์และจะเพิ่มอีก
6,353.6 เมกะวัตต์ในปี 2567


                  “ในปี2561 โรงไฟฟ้าเอสพีพีจะเข้าระบบอีก 4
โรงกำลังผลิตกว่า 100 เมกะวัตต์/โรง การขยายกำลังผลิตในอนาคต ทางบริษัทศึกษาเรื่องการลงทุนในเพื่อนบ้าน
ธุรกิจพลังงานทดแทน และธุรกิจเกี่ยวเนื่องกับก๊าซ โรงไฟฟ้าก๊าซในประเทศที่ต้องรอดูว่าภาครัฐจะเปิดให้การแข่งขันอย่างไร
ในขณะเดียวกันจะปรับปรุงต้นทุนผลิตไฟฟ้าให้ต่ำที่สุด ซึ่งจะเป็นผลดีต่อค่าครองชีพของประชาชนและต้นทุนการผลิตของโรงงาน
ซึ่งจะสร้างความสามารถทางการแข่งขันของประเทศ
” นายสารัชถ์
กล่าว
สำนักข่าวไทย

 

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สำนักสงฆ์หูตาทิพย์

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์”

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์” พระอ้างใช้สอนวิปัสสนากรรมฐาน เบื้องต้นอายัดไว้พิสูจน์ดีเอ็นเอ พร้อมเอาผิดหัวหน้าสำนักสงฆ์ ฐานนำศพเก็บไว้ในสถานที่ที่ไม่ใช่สุสานและฌาปนสถาน

“สนธิ” ยื่นถอด “ตั้ม-เดชา” ออกจากทนาย

“สนธิ ลิ้มทองกุล” หอบหลักฐานบุกสภาทนายความ ถอดทนายตั้ม-ทนายเดชา ออกจากทนาย ระบุ ได้รับมอบอำนาจจาก “มาดามอ้อย” แล้ว เดินหน้าเอาผิด ทนายตั้มแบบสุดซอย ไม่ให้มีคนตกเป็นเหยื่อผู้รู้กฎหมายอีก

รัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มยูเครน

ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย แถลงยืนยันว่ารัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มภาคตะวันออกยูเครนเมื่อวานนี้ ตอบโต้ที่ยูเครนใช้ขีปนาวุธที่ได้รับมอบจากสหรัฐและอังกฤษ

ข่าวแนะนำ

โค้งสุดท้าย ศึกสองนารีชิงเก้าอี้ นายก อบจ.นครฯ

เหลือไม่ถึง 2 วันแล้ว ที่ชาวนครศรีธรรมราชจะได้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ ศึกนี้เป็นการสู้กันเองของพรรคร่วมรัฐบาล ฝ่ายหนึ่งต้องการรักษาฐานที่มั่นไว้ให้ได้ อีกฝ่ายต้องการเจาะฐานให้แตก เพื่อหวังครองที่นั่งการเมืองระดับชาติในสมัยหน้า

ร้อนระอุโค้งสุดท้าย ศึกชิงเก้าอี้ นายก อบจ.อุดรธานี

การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ครั้งนี้ดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครจาก 2 พรรคใหญ่ลงชิงชัย ต่างเร่งเครื่องเต็มที่ในโค้งสุดท้าย การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 24 พ.ย.นี้ ใครจะเป็นผู้คว้าชัยชนะและสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญให้จังหวัดอุดรธานี ไปติดตามจากรายงาน

ความเห็นนักวิชาการ คดีทักษิณ

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับคำร้อง นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและพรรคเพื่อไทย ร่วมกันกระทำการอันเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครอง ขณะที่นักวิชาการชี้ว่าไม่ได้พลิกไปจากความคาดหมาย และผลจากคดีนี้ ไม่ทำให้เกิดจุดเปลี่ยนทางการเมือง แต่ก็ยังมีจุดเสี่ยงที่ต้องระวัง