บอร์ดอีอีซีเห็นชอบแผนฝึกอบรมอาชีวะรองรับอีอีซี

ทำเนียบฯ 22 พ.ย. – บอร์ดอีอีซีอนุมัติงบ 861 ล้านบาท ผลิตครูต้นแบบอุตสาหกรรมเป้าหมาย  พร้อมเห็นชอบแผนฝึกอบรมอาชีวะ 40,000  คน รองรับการลงทุนอีอีซี


พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานประชุมคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (กนศ.) เห็นชอบแผนพัฒนาบุคลากรการศึกษา การวิจัย (ปี 60-64) เพื่อการพัฒนาบุคลากรด้านอาชีวะให้ตรงกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรมที่มาตั้งในเขตระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (อีอีซี) ผ่านความร่วมมือระหว่างบริษัทเอกชน สถาบันการศึกษา หน่วยงานรัฐ จึงอนุมัติงบกลางปี 2561 วงเงิน 861 ล้านบาท ผลิตครูต้นแบบในอุตสาหกรรมเป้าหมาย 150 คน หวังให้มีความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ หุ่นยนต์ ระบบอัตโนมัติ สาระสนเทศ ด้านอาชีวะ 40,000 คน และร่วมมือกับบริษัทเอกชนชั้นนำของโลก เช่น โบอิ้งร่วมพัฒนาช่างด้านการบิน กัปตัน บุคลากรด้านการบิน  และช่วยพัฒนาด้านการแพทย์ ที่ประชุมต้องการให้คนในพื้นที่ได้รับประโยชน์จากการพัฒนาอีอีซีควบคู่ไปกับการพัฒนาเศรษฐกิจ 


นายคณิศ  แสงสุพรรณ เลขาธิการอีอีซี กล่าวว่า ขณะนี้มีบริษัทเอกชนรายใหญ่หลายรายพร้อมร่วมจัดทำหลักสูตรการเรียนร่วมกับสถาบันการศึกษานำนักเรียนเกรดเฉลี่ยไม่น้อยกว่า 2.5  เข้าอบรมหลักสูตร พร้อมจ่ายเบี้ยเลี้ยงระหว่างการเรียน  5,000-10,000 บาท จ่ายค่าเทอม 4  ภาคเรียนและสวัสดิการ หากเรียนจบพร้อมรับเข้าทำงานรายได้ 25,000-28,000 บาทต่อเดือน ปีแรกต้องการผลิตนักเรียนอาชีวะให้ได้ 5,000 คน โดยนำนักเรียนเข้าค่ายเรียนรู้ด้านหุ่นยนต์ ช่างชั้นฝีมือ ส่วนระดับประถมศึกษาเตรียมจัดทำรถโมบายออกให้ความรู้นักเรียนทั่วประเทศ อีอีซีไม่ได้พัฒนาเฉพาะเรื่องอุตสาหกรรม แต่ต้องพัฒนาแรงงาน การท่องเที่ยวในพื้นที่ให้ครอบคลุมทุกด้าน 

นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสหากรรม กล่าวว่า ที่ประชุม กนศ.รับทราบความคืบหน้าแผนพัฒนารถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน เตรียมเชิญเอกชนร่วมลงทุนเดือนกุมภาพันธ์ปี 2561 และคัดเลือก เจรจาต่อรองให้เสร็จเดือนกรกฎาคม และเปิดให้บริการปี 2566  ขณะที่การพัฒนาเมืองการบินภาคตะวันออกประกาศเชิญชวนเอกชนร่วมลงทุนเดือนพฤษภาคม 2561 คัดเลือกต่อรองให้เสร็จเดือนตุลาคม และเปิดให้บริการปี 2566  โครงการศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยานอู่ตะเภาร่วมมือระหว่างกองทัพเรือ บริษัท การบินไทย และแอร์บัส เตรียมจัดทำรายละเอียดร่วมทุนกับเอกชน (TOR) เดือนมีนาคม 2561 เริ่มดำเนินงานปี 2564  ส่วนการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภา เช่น รันเวย์ที่ 2 สร้างทางขึ้น Taxiway เพื่อรองรับผู้โดยสารเพิ่ม 


นอกจากนี้ ได้รายงานโครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง เตรียมเชิญเอกชนร่วมลงทุนเดือนมิถุนายน 2561 คัดเลือกเจรจาต่อรองให้เสร็จเดือนตุลาคมและเปิดให้บริการปี 2568 ท่าเรือมาบตาพุดอยู่ระหว่างศึกษา ผลกระทบสิ่งแวดล้อม เชิญเอกชนร่วมลงทุนได้เดือนมิถุนายน 2561 และคัดเลือกเอกชนให้เสร็จเดือนกันยายน เปิดให้บริการปี 2567 การสร้างรถไฟทางคู่เชื่อม 3 ท่าเรือ จัดทำ EIA เสร็จปี 2562 เปิดให้บริการปี 2566 โดยทุกโครงสร้างพื้นฐานกำหนดให้เขียน TOR เพิ่ม เพื่อให้นำยางพารามาใช้เป็นองค์ประกอบในการก่อสร้าง เพื่อช่วยเหลือยางพาราในประเทศอีกด้านหนึ่ง.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สำนักสงฆ์หูตาทิพย์

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์”

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์” พระอ้างใช้สอนวิปัสสนากรรมฐาน เบื้องต้นอายัดไว้พิสูจน์ดีเอ็นเอ พร้อมเอาผิดหัวหน้าสำนักสงฆ์ ฐานนำศพเก็บไว้ในสถานที่ที่ไม่ใช่สุสานและฌาปนสถาน

“สนธิ” ยื่นถอด “ตั้ม-เดชา” ออกจากทนาย

“สนธิ ลิ้มทองกุล” หอบหลักฐานบุกสภาทนายความ ถอดทนายตั้ม-ทนายเดชา ออกจากทนาย ระบุ ได้รับมอบอำนาจจาก “มาดามอ้อย” แล้ว เดินหน้าเอาผิด ทนายตั้มแบบสุดซอย ไม่ให้มีคนตกเป็นเหยื่อผู้รู้กฎหมายอีก

รัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มยูเครน

ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย แถลงยืนยันว่ารัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มภาคตะวันออกยูเครนเมื่อวานนี้ ตอบโต้ที่ยูเครนใช้ขีปนาวุธที่ได้รับมอบจากสหรัฐและอังกฤษ

ข่าวแนะนำ

โค้งสุดท้าย ศึกสองนารีชิงเก้าอี้ นายก อบจ.นครฯ

เหลือไม่ถึง 2 วันแล้ว ที่ชาวนครศรีธรรมราชจะได้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ ศึกนี้เป็นการสู้กันเองของพรรคร่วมรัฐบาล ฝ่ายหนึ่งต้องการรักษาฐานที่มั่นไว้ให้ได้ อีกฝ่ายต้องการเจาะฐานให้แตก เพื่อหวังครองที่นั่งการเมืองระดับชาติในสมัยหน้า

ร้อนระอุโค้งสุดท้าย ศึกชิงเก้าอี้ นายก อบจ.อุดรธานี

การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ครั้งนี้ดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครจาก 2 พรรคใหญ่ลงชิงชัย ต่างเร่งเครื่องเต็มที่ในโค้งสุดท้าย การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 24 พ.ย.นี้ ใครจะเป็นผู้คว้าชัยชนะและสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญให้จังหวัดอุดรธานี ไปติดตามจากรายงาน

ความเห็นนักวิชาการ คดีทักษิณ

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับคำร้อง นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและพรรคเพื่อไทย ร่วมกันกระทำการอันเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครอง ขณะที่นักวิชาการชี้ว่าไม่ได้พลิกไปจากความคาดหมาย และผลจากคดีนี้ ไม่ทำให้เกิดจุดเปลี่ยนทางการเมือง แต่ก็ยังมีจุดเสี่ยงที่ต้องระวัง