สบส.เร่งตรวจสอบ กรณีวินิจฉัยโรคผิดพลาดป่วยเป็นเอชไอวี

กรมสบส.21 ส.ค.-กรม สบส.สั่งตรวจสอบข้อเท็จจริง หลังมีชายรายหนึ่งร้องเรียน รพ.เอกชนแห่งหนึ่ง วินิจฉัยโรคผิดพลาดว่าป่วยเป็นโรคเอชไอวี จนได้รับความเดือดร้อนในการดำเนินชีวิต ชี้หากพบมีการทำผิดมาตรฐานตามที่ พ.ร.บ.สถานพยาบาล พ.ศ. 2541 กำหนดด้านใดด้านหนึ่งจะดำเนินการตามกฎหมายโดยทันที  


จากกรณีมีการเผยแพร่ข่าวถึงชาย อายุ 50 ปี ซึ่งไปตรวจสุขภาพกับโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง ย่านศรีนครินทร์ เพื่อจะนำผลไปประกอบการกู้เงินธนาคารเพื่อขยายธุรกิจ แต่ผลออกมาว่าเป็นโรคติดเชื้อไวรัสเอชไอวี (Human Immunodeficiency Virus ;HIV)จึงไปตรวจเลือดกับโรงพยาบาลอื่นอีกหลายแห่งเพื่อยืนยัน จนผลตรวจออกมาแน่ชัดแล้วว่าตนไม่ได้เป็นโรคติดเชื้อไวรัสเอชไอวี นั้น


นพ.ธงชัย กีรติหัตถยากร รองอธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (กรม สบส.) กระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ว่า กรม สบส. ได้รับการร้องเรียนจากผู้เสียหาย และได้สั่งการให้พนักงานเจ้าหน้าที่ของสำนักสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ ตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีดังกล่าว  โดยพนักงานเจ้าหน้าที่จะตรวจสอบในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับพระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ. 2541 ทั้ง 3 ประเด็น คือ 1.ผู้ดำเนินการสถานพยาบาลมีการควบคุมและดูแล ผู้ประกอบวิชาชีพในสถานพยาบาลของตนให้ปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพ ตามที่พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) สถานพยาบาล พ.ศ.2541 กำหนดหรือไม่ 


2.ผู้ประกอบวิชาชีพ มีการดำเนินการตามมาตรฐานวิชาชีพหรือไม่ และ 3.สถานพยาบาลมีการควบคุม คุณภาพ มาตรฐาน ครบถ้วนทั้ง 5 ด้าน ตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งประกอบด้วย 1)สถานที่ สะอาด เหมาะสมแก่การให้บริการ 2)ผู้ประกอบวิชาชีพในสถานพยาบาลจะต้องขึ้นทะเบียนและได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพถูกต้องตามกฎหมาย 3)การบริการเป็นไปตามมาตรฐานที่กฎหมายกำหนด 4)เครื่องมือ ยา และเวชภัณฑ์ มีคุณภาพได้รับการขึ้นทะเบียนจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และ 5)ความปลอดภัย มีอุปกรณ์ช่วยชีวิตในกรณีฉุกเฉิน หรือไม่ โดยในเบื้องต้นกรม สบส.ได้รับการชี้แจงจากโรงพยาบาลเอกชนดังกล่าวบางส่วนแล้ว และเพื่อให้ความเป็นธรรมแก่ทั้งสองฝ่าย ได้มีการมอบให้ผู้เกี่ยวข้องดำเนินการต่อไป

ด้านทันตแพทย์อาคม ประดิษฐสุวรรณ ผู้อำนวยการสำนักสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ (สพรศ.) กล่าวว่า การวินิจฉัยโรคหรือการวินิจฉัยภาวะผิดปกติต่างๆของร่างกาย ด้วยการตรวจทางห้องปฏิบัติการหรือห้องแล็บ (Laboratory) ซึ่งหนึ่งในวิธีการรายงานผลตรวจ คือ การรายงานว่า “ผลตรวจเป็นบวก” หรือ “ผลตรวจเป็นลบ” หาก “ผลตรวจเป็นบวก” หมายความว่า อาจจะมีโอกาสเป็นโรค หรือมีภาวะนั้น แต่อย่างไรก็ตามการตรวจวินิจฉัยโรคที่มีความร้ายแรง แพทย์ควรจะใช้วิธีการอย่างน้อย 2-3 วิธีร่วมกัน ทั้งการตรวจประวัติอาการ ประวัติทางการแพทย์ การตรวจร่างกาย และผลจากการตรวจสืบค้นเพิ่มเติม ทั้งนี้ หากประชาชนมีข้อร้องเรียนสถานพยาบาลเอกชนสามารถแจ้งได้ที่กรม สบส. หมายเลขโทรศัพท์ 02 193 7000 ต่อ 18830 (กลุ่มคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิ์) ในวันและเวลาราชการ   .-สำนักข่าวไทย 

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ใบประกอบวิชาชีพครู

เตือนคุณครูเปิดเทอมนี้ ต้องมี “ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู”

เตือนคุณครูเปิดเทอมนี้ ต้องมี “ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู” แนะรีบต่ออายุใบอนุญาต หลังคุรุสภาออกมาตรการ 5 ต. คุมเข้มทุกโรงเรียนทั่วไทย

เริ่ม 1 พ.ค.นี้ นักท่องเที่ยวเข้าไทย ต้องลงทะเบียนบัตร ตม.6 แบบดิจิทัล

เริ่ม 1 พ.ค.นี้ นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเดินทางเข้าไทย ต้องลงทะเบียนบัตร ตม.6 แบบดิจิทัล หรือ TDAC ล่วงหน้า อย่างน้อย 3 วันก่อนเดินทาง ตามกฎใหม่ ตม.

พีชเรียกอาต่าย

ผบ.ตร.ไม่ปลื้ม “พีช” โอ้อวดเรียก “อาต่าย” ลั่นไม่ใช่ญาติ

ผบ.ตร.ไม่ปลื้ม “พีช” คู่กรณีรถกระบะ โอ้อวดเรียก “อาต่าย” รู้จักคนในรัฐบาล หวังผลคดี ลั่นไม่ใช่ญาติ สอนลูกเสมออย่าทำตัวเป็นขยะสังคม บอกประชาชนใช้วิจารณญาณเลือกตั้ง

“นายกเบี้ยว” ยอมรับลูกขับรถหวาดเสียว พร้อมชดใช้-ดูแลลุงคู่กรณี

“นายกเบี้ยว” รับจบแทนลูก ยอมรับลูกขับรถหวาดเสียว พร้อมชดใช้ ดูแลลุงคู่กรณี ระบุสอนลูกไม่ดี ไม่มีเวลาให้ลูก ปฏิเสธไม่สนิทกับ ผบ.ตร. อย่าเอาท่านมาแปดเปื้อน ส่วนที่ลูกชายยังไม่ไปเยี่ยมลุงคู่กรณี เนื่องจากกลัวโดนถูกโวยวาย

ข่าวแนะนำ

พายุฝนพัดต้นยางอายุร่วม 100 ปี ทับโรงครัววัดพังราบ

พายุฝนลมกระโชกแรง ซัดต้นยางอายุร่วม 100 ปี วัดนางเหลียว ล้มทับโรงครัวพังเสียหาย ชาวบ้านในงานศพตื่นตระหนก วิ่งหนีกระเจิง

ลุยรื้อถอนต่อเนื่องเข้าวันที่ 24 จนท.ทำงานหนักตลอด 24 ชม.

เดินหน้ารื้อถอนอาคาร สตง. เข้าสู่วันที่ 24 แล้ว เจ้าหน้าที่ทำงานตลอด 24 ชม. เพื่อให้เสร็จตามแผน ขณะที่ภารกิจค้นหาผู้ติดค้างยังคงดำเนินต่อเนื่อง