“วิษณุ” ระบุต้องศึกษาข้อดี-ข้อเสียแนวคิดให้ ขรก.แจ้งบัญชีทรัพย์สินฯ

ทำเนียบฯ 18 ส.ค.-“วิษณุ” เผยต้องศึกษาข้อดี-ข้อเสียแนวคิดให้ข้าราชการทุกระดับ แจ้งบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน ยอมรับอาจติดขัดในข้อปฏิบัติบางเรื่อง


นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงแนวคิดให้ข้าราชการทุกระดับแจ้งบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน ว่า เป็นแนวคิดที่มีผู้เสนอมาในที่ประชุมคณะกรรมการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ (คตช.) ซึ่งนายกรัฐมนตรีรับแนวคิดดังกล่าวและได้มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) และคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ไปพิจารณาต่อ ซึ่งตนเห็นว่าก็ไม่ได้เป็นเรื่องเสียหาย แต่อาจจะมีความยุ่งยากในทางปฏิบัติ เพราะจำนวนบุคคลากรของภาครัฐ มีหลายตำแหน่งและมีจำนวนมาก อีกทั้งต้องดูรายละเอียดเรื่องข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับการเปิดเผยบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินว่าจะสามารถเปิดเผยได้เมื่อใด และอาจจะต้องมีการแก้ไขข้อกฎหมายด้วย ดังนั้นจึงต้องมีการไปศึกษาข้อดีและข้อเสียก่อน

“หากว่ายื่นกันมาก แม้จะบอกว่าให้ยื่นต่อหน่วยงานของใครของมันเก็บไว้ ก็จะมีปัญหาเหมือนกัน เพราะอาจจะต้องไปแก้กฎหมาย คือ พอยื่นไป ขนาดซองบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิ้นที่ยื่นต่อ ป.ป.ช. มี 2 ประเภท ทั้งให้เปิดเผย และให้ยื่นเฉย ๆ ไม่ต้องเปิดเผย เช่น กรรมการรัฐวิสาหกิจให้ยื่นแต่ไม่ต้องเปิดเผย ถ้าเป็น ครม. , สนช. , ส.ส. , ส.ว. ยื่นแต่ต้องเปิดเผย ที่นี้พวกที่ยื่นต่อ ป.ป.ช.และห้ามเปิดเผยนั้น กฎหมายยังบอกไว้ว่าห้ามเปิดเผยต่อเมื่อมีคดีเกิดขึ้น จึงจะเปิดเผย นั่นเป็นเพราะกฎหมายเขียนไว้  มันก็มีปัญหาว่าถ้าให้ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ของรัฐทุกตำแหน่งยื่นบัญชี และไม่ได้แก้กฎหมายอะไร ถามว่าพอมีเรื่องอะไรขึ้นมา ใครจะเป็นคนไปเปิดซอง เปิดก็ผิดน่ะ ขนาด ป.ป.ช.จะเปิดก็ยังผิด เว้นแต่กฎหมายบอกให้เปิด อย่างนี้ก็ต้องไปแก้กฎหมาย ทำให้เกิดความยุ่งยากล่าช้าเหมือนกัน” นายวิษณุ กล่าว


นายวิษณุ กล่าวอีกว่า แนวทางที่จะสามารถทำได้ คือ ให้ ป.ป.ช.ขยายตำแหน่งของข้าราชการที่จะต้องยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม อาจจะเหมาะสมกว่า ส่วนที่มีการเสนอแนวคิดที่จะให้ภาคเอกชนเปิดเผยบัญชีทรัพย์สินด้วยนั้น เห็นว่าเป็นเพียงความคิดกว้าง ๆ เท่านั้น ซึ่งหากภาคเอกชนที่ไม่เกี่ยวข้องกับภาครัฐ ก็ไม่จำเป็นต้องเปิดเผย แต่หากเป็นภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องกับภาครัฐ เช่น การเข้าร่วมประมูล อาจจะต้องเปิดเผย แต่ทั้งนี้ต้องพิจารณากันอีกครั้ง

“เอกชนไม่ได้ใช้อำนาจหน้าที่อะไร แต่บางกรณี มีเรื่องเหมือนกัน เพราะมันจะเห็นเส้นทางว่า เวลาเราไปตรวจสอบเจ้าหน้าที่ของรัฐ เราเห็นเงินเข้า แต่ว่าเราไม่เห็นว่าเงินออกมาจากไหน ถ้าตรวจสอบจากเอกชน บางทีก็แมตช์กันนะว่าเงินออกจากบัญชีบริษัทนี้ และอีกวัน มีบัญชีของข้าราชการเปิดรับ ก็เอาเป็นว่าเป็นเรื่องที่ไปศึกษาอยู่เหมือนกัน” นายวิษณุ กล่าว.-สำนักข่าวไทย


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สำนักสงฆ์หูตาทิพย์

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์”

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์” พระอ้างใช้สอนวิปัสสนากรรมฐาน เบื้องต้นอายัดไว้พิสูจน์ดีเอ็นเอ พร้อมเอาผิดหัวหน้าสำนักสงฆ์ ฐานนำศพเก็บไว้ในสถานที่ที่ไม่ใช่สุสานและฌาปนสถาน

“สนธิ” ยื่นถอด “ตั้ม-เดชา” ออกจากทนาย

“สนธิ ลิ้มทองกุล” หอบหลักฐานบุกสภาทนายความ ถอดทนายตั้ม-ทนายเดชา ออกจากทนาย ระบุ ได้รับมอบอำนาจจาก “มาดามอ้อย” แล้ว เดินหน้าเอาผิด ทนายตั้มแบบสุดซอย ไม่ให้มีคนตกเป็นเหยื่อผู้รู้กฎหมายอีก

รัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มยูเครน

ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย แถลงยืนยันว่ารัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มภาคตะวันออกยูเครนเมื่อวานนี้ ตอบโต้ที่ยูเครนใช้ขีปนาวุธที่ได้รับมอบจากสหรัฐและอังกฤษ

ข่าวแนะนำ

“เหนือ-อีสาน-กลาง” อากาศเย็น ภาคใต้ฝนตกหนัก

กรมอุตุฯ รายงานภาคเหนือ อีสาน และภาคกลาง อากาศเย็นในตอนเช้า มีฝนเล็กน้อยบางแห่ง ส่วนภาคใต้ฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ระวังน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก

โค้งสุดท้าย ศึกสองนารีชิงเก้าอี้ นายก อบจ.นครฯ

เหลือไม่ถึง 2 วันแล้ว ที่ชาวนครศรีธรรมราชจะได้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ ศึกนี้เป็นการสู้กันเองของพรรคร่วมรัฐบาล ฝ่ายหนึ่งต้องการรักษาฐานที่มั่นไว้ให้ได้ อีกฝ่ายต้องการเจาะฐานให้แตก เพื่อหวังครองที่นั่งการเมืองระดับชาติในสมัยหน้า

ร้อนระอุโค้งสุดท้าย ศึกชิงเก้าอี้ นายก อบจ.อุดรธานี

การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ครั้งนี้ดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครจาก 2 พรรคใหญ่ลงชิงชัย ต่างเร่งเครื่องเต็มที่ในโค้งสุดท้าย การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 24 พ.ย.นี้ ใครจะเป็นผู้คว้าชัยชนะและสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญให้จังหวัดอุดรธานี ไปติดตามจากรายงาน

ความเห็นนักวิชาการ คดีทักษิณ

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับคำร้อง นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและพรรคเพื่อไทย ร่วมกันกระทำการอันเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครอง ขณะที่นักวิชาการชี้ว่าไม่ได้พลิกไปจากความคาดหมาย และผลจากคดีนี้ ไม่ทำให้เกิดจุดเปลี่ยนทางการเมือง แต่ก็ยังมีจุดเสี่ยงที่ต้องระวัง