กม.ปิโตรเลียมมีผลแล้วประมูลได้ตามแผน

กรุงเทพฯ 22 มิ.ย. – ปัญหาพื้นที่สัมปทานผลิตปิโตรเลียมยังไม่พ้นวิบากกรรม หลัง คสช.ใช้มาตรา 44 ปลดล็อคที่ดิน ส.ป.ก.แล้ว ยังติดปัญหาพื้นที่กรมเจ้าท่าและผังเมืองใหม่ที่หลายจุดประกาศเป็นพื้นที่สีเขียว กรมเชื้อเพลิงฯ เร่งเจรจาแก้ไขแบบบูรณาการ ด้าน 2 กม.ปิโตรเลียมประกาศใช้แล้วคาดประมูลคัดเลือก 2 แหล่งสัมปทานเก่าตามแผน ก.พ.61


นายวีระศักดิ์ พึ่งรัศมี อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ  กล่วว่า ขณะนี้กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติรอประกาศ คสช.อย่างเป็นทางการที่จะใช้มาตรา 44 แก้ไขปัญหาการใช้ประโยชน์จากพื้นที่ตามพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม โดยให้อำนาจแก่คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมในการพิจารณาอนุญาตให้ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) ในการสำรวจและผลิตปิโตรเลียม หากออกมาแล้ว ทางกรมฯ จะทำหนังสือถึงผู้ประกอบการทั้ง 7 ราย ที่หยุดดำเนินการในพื้นที่ ส.ป.ก.ตั้งแต่วันที่ 3 มิถุนายน2560 ให้กลับมาสำรวจและผลิตปิโตรเลียมได้ อย่างไรก็ตาม คงจะกลับมาผลิตได้เต็มที่เท่าเดิมต้องใช้เวลาอีก 1 เดือน ดังนั้น หากคำนวณแล้วผลกระทบจากการหยุดผลิต คิดเป็นมูลค่าการจำหน่ายของเอกชนจะอยู่กว่า 1,000 ล้านบาท ค่าภาคหลวงกระทบ 125 ล้านบาท และคิดเป็นในส่วนที่องค์กรส่วนท้องถิ่น เช่น อบต.ได้รายได้จากค่าภาคหลวงร้อยละ 60 คิดเป็นรายได้สูญเสียประมาณ 75 ล้านบาท 

ส่วนการช่วยเหลือเกษตรกรและชุมชนนั้น ทางองค์กรบริหารส่วนท้องถิ่นได้เงินจากส่วนนี้ ขณะเดียวกันบริษัทผู้รับสัมปทานยังมีการดำเนินกิจกรรมเพื่อสังคม (CSR) ในพื้นที่ที่มีการดำเนินสำรวจและผลิตปิโตรเลียม เพื่อเป็นการส่งเสริมอาชีพ สร้างรายได้ และพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชนอีกด้วย เช่น การนำก๊าซธรรมชาติที่จำเป็นต้องเผาทิ้งบางส่วนมาใช้แทนก๊าซหุงต้มในการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรของท้องถิ่น 


ทั้งนี้ การหยุดผลิตดังกล่าวส่งผลกระทบโดยตรงต่อปริมาณปิโตรเลียมที่ผลิตได้ในประเทศ น้ำมันดิบลดลง 16,000 บาร์เรล/วัน ก๊าซธรรมชาติลดลง 110 ล้านลูกบาศก์ฟุต/วัน ก๊าซธรรมชาติเหลวลดลง 100 บาร์เรล/วัน 

นายวีระศักดิ์ กล่าวว่า ตามหลักการที่รัฐบาลระบุเบื้องต้นในการแก้ไขปัญหานั้น คือ ให้ ส.ป.ก.ไปกำหนด หากมีการใช้พื้นที่ ส.ป.ก.ที่เป็นที่ดินเพื่อเกษตรกรรมมาดำเนินการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมต้องพิจารณาถึงประโยชน์ที่เกษตรกรจะได้รับนอกเหนือไปจากการทำเกษตรกรรมเพียงอย่างเดียว โดยเฉพาะการชดเชยโดยตรงให้กับเกษตรกรผู้ถือครองสิทธิ์ในพื้นที่นั้น ๆ และหากมีการนำผลประโยชน์ที่ได้ส่งเข้ากองทุนเพื่อเกษตรกรตามข้อเสนอของ ส.ป.ก. ดังนั้น คงต้องรอ ส.ป.ก.ว่าจะกำหนดอัตราจัดเก็บเข้ากองทุนเท่าใด โดยก่อนหน้านี้ ส.ป.ก.มีการหารือกับผู้ประกอบการจะจัดเก็บในอัตราร้อยละ 20 ของราคาที่กรมธนารักษ์ประเมินไว้ 

“ตามที่ ส.ป.ก.ระบุว่าจะเก็บเงินชดเชยจาก บมจ.ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม ในแหล่งเอส 1 ในการใช้พื้นที่ ส.ป.ก.ตั้งแต่ปี 2524 อัตราร้อยละ 20 ของเงินประเมินกรมธนารักษ์ เป็นเงิน 20 ล้านบาทนั้น เป็นการหารือกันในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ดังนั้น อัตราใหม่จะเป็นอย่างไร ก็รอ ส.ป.ก.กำหนด โดยจะเป็นอัตราที่ใช้สำหรับทุกราย รวมถึงการประกาศให้เอกชนเข้ามาแข่งขันยื่นเสนอสำรวจและผลิตปิโตรเลียมรอบใหม่รอบที่ 21 ด้วย”  นายวีระศักดิ์ กล่าว 


อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กล่าวถึงทิศทางการดำเนินงานของกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ ว่า กรมฯ มีแผนจะดำเนินการอย่างบูรณาการร่วมกับหน่วยงานอื่น ๆ  เช่น กรมป่าไม้ กรมโยธาธิการและผังเมือง และกรมเจ้าท่า เป็นต้น เกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อประกอบกิจการปิโตรเลียมเพื่อให้เกิดความมั่นคงด้านพลังงานและลดการพึ่งพาการนำเข้าจากต่างประเทศ เพราะตามประกาศใหม่ล้วนกระทบต่อพื้นที่ปิโตรเลียม เช่น กรณีจังหวัดเพชรบูรณ์ผังเมืองใหม่เป็นพื้นที่สีเขียวประมาณร้อยละ 90 ดังนั้น ต้องขอผ่อนผัน เพื่อไม่ให้กระทบกับกำลังผลิตปิโตรเลียมอีก

ด้านเว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ได้เผยแพร่ประกาศกระทรวงพลังงานวันนี้ (22 มิ.ย. ) เรื่องพระราชบัญญัติปิโตรเลียม (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2560  http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/A/065/32.PDF  และพระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2560 http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/A/065/42.P  

อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กล่าวว่า เป็นเรื่องดีที่ 2 กฎหมายดังกล่าวมีผลบังคับใช้แล้ว หลังจากนี้ กระทรวงพลังงานจะทยอยนำกฎหมายลูก 6 ฉบับ ทั้งระบบแบ่งปันผลผลิต (พีเอสซี) และระบบสัญญาจ้างบริการ (เอสซี ) รวมทั้งเงื่อนไขการเปิดทีโออาร์คัดเลือกผู้ประมูลแหล่งสัมปทานปิโตรเลียมที่หมดอายุปี 2565-2566 คือ แหล่งเอราวัณและแหล่งบงกชเข้าสู่ที่ประชุม ครม.และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา หากได้รับความเห็นชอบก็จะประกาศทีโออาร์ทันที โดยทุกอย่างยังเป็นไปตามกรอบเวลาที่ พล.อ.อนันตรพร กาญจนรัตน์ รมว.พลังงาน กำหนด คือ เปิดทีโออาร์ได้ภายในเดือนกรกฎาคม-สิงหาคมและคัดเลือกผู้ชนะประมูลได้ภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2561. -สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ใบประกอบวิชาชีพครู

เตือนคุณครูเปิดเทอมนี้ ต้องมี “ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู”

เตือนคุณครูเปิดเทอมนี้ ต้องมี “ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู” แนะรีบต่ออายุใบอนุญาต หลังคุรุสภาออกมาตรการ 5 ต. คุมเข้มทุกโรงเรียนทั่วไทย

เริ่ม 1 พ.ค.นี้ นักท่องเที่ยวเข้าไทย ต้องลงทะเบียนบัตร ตม.6 แบบดิจิทัล

เริ่ม 1 พ.ค.นี้ นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเดินทางเข้าไทย ต้องลงทะเบียนบัตร ตม.6 แบบดิจิทัล หรือ TDAC ล่วงหน้า อย่างน้อย 3 วันก่อนเดินทาง ตามกฎใหม่ ตม.

พีชเรียกอาต่าย

ผบ.ตร.ไม่ปลื้ม “พีช” โอ้อวดเรียก “อาต่าย” ลั่นไม่ใช่ญาติ

ผบ.ตร.ไม่ปลื้ม “พีช” คู่กรณีรถกระบะ โอ้อวดเรียก “อาต่าย” รู้จักคนในรัฐบาล หวังผลคดี ลั่นไม่ใช่ญาติ สอนลูกเสมออย่าทำตัวเป็นขยะสังคม บอกประชาชนใช้วิจารณญาณเลือกตั้ง

“นายกเบี้ยว” ยอมรับลูกขับรถหวาดเสียว พร้อมชดใช้-ดูแลลุงคู่กรณี

“นายกเบี้ยว” รับจบแทนลูก ยอมรับลูกขับรถหวาดเสียว พร้อมชดใช้ ดูแลลุงคู่กรณี ระบุสอนลูกไม่ดี ไม่มีเวลาให้ลูก ปฏิเสธไม่สนิทกับ ผบ.ตร. อย่าเอาท่านมาแปดเปื้อน ส่วนที่ลูกชายยังไม่ไปเยี่ยมลุงคู่กรณี เนื่องจากกลัวโดนถูกโวยวาย

ข่าวแนะนำ

สอบเข้ม “ชวนหลิง จาง” กรรมการไชน่า เรลเวย์ฯ ปฏิเสธทุกข้อหา

ดีเอสไอสอบเข้ม “ชวนหลิง จาง” กรรมการ บ.ไชน่า เรลเวย์ฯ เบื้องต้นให้การปฏิเสธทุกข้อหา อ้างเป็นผู้แทนรัฐวิสาหกิจจีนมาลงทุนในไทย ถูกส่งมาบริหารบริษัทในไทยเท่านั้น

“พีช” หอบเงิน 2 แสน หวังจ่ายค่ารักษาลุงป้า แต่ญาติชิงจ่ายแล้ว

“นายกเบี้ยว” พร้อมลูกชาย หอบเงิน 2 แสน หวังจ่ายค่ารักษาลุงป้า แต่ญาติชิงจ่ายก่อนแล้ว จึงฝากจดหมายขอโทษไว้ ด้าน “กัน จอมพลัง” ยอมถอย ให้สองฝ่ายพูดคุย แต่ต้องเป็นรูปธรรม

นักธรณีคาดดินยุบตัว เพราะเป็นจุดทางน้ำไหลผ่านจนเกิดโพรง

นักธรณีวิทยาลงพื้นที่ตรวจสอบเหตุดินยุบตัว กินพื้นที่กว่า 4 ไร่ เบื้องต้นคาดเป็นจุดทางน้ำไหลผ่านจนเกิดโพรง ทำให้ดินยุบตัวเป็นวงกว้าง

ก.อุตฯ เตรียมส่งตรวจเหล็กตึก สตง. เพิ่ม 21 เม.ย.

ก.อุตสาหกรรม กางผลตรวจเหล็กตึก สตง.ถล่ม รอบแรก ก่อนส่งตรวจเพิ่มอีก 40 ท่อน 21 เม.ย. ย้ำผิดคือผิด! ผู้ผลิต-จนท.มีเอี่ยว เตรียมปิดเทอม