นับหนึ่งรถไฟฟ้าสายสีเหลือง-ชมพู คาดเปิดใช้ได้ปี 2563

กรุงเทพฯ 16 มิ.ย. – รองนายกฯเป็นประธานการลงนามโครงการรถไฟฟ้สายสีเหลือง-ชมพู โดยคาดว่าจะเริ่มเปิดใช้ได้ในปี 2563 


นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวในโอกาสเป็นประธานในพิธีลงนามในสัญญาสัมปทานโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี และโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง ระหว่างรฟม.กับกลุ่มกิจการร่วมค้าบีเอสอาร์ โดยระบุว่า รัฐบาลมีนโยบายเร่งรัด ผลักดัน โครงการขนาดใหญ่ต่างๆ ให้ดำเนินไปอย่างต่อเนื่องและให้เกิดขึ้นเป็นรูปธรรมโดยเร็ว โดยเฉพาะโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน เพื่อให้ประชาชนได้รับความสะดวกสบายในการเดินทาง ลดปัญหาการจราจร ขยายความเจริญจากกรุงเทพมหานครสู่ปริมณฑล

สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูฯ และโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลืองฯ ล้วนเป็นโครงการภายใต้นโยบาย PPP Fast Track ของรัฐบาล ที่เปิดโอกาสให้เอกชนได้เข้าร่วมลงทุนในโครงการพื้นฐานขนาดใหญ่ต่างๆ ร่วมกับภาครัฐ เพื่อลดภาระด้านงบประมาณและหนี้สาธารณะของประเทศ


นายสมคิด กล่าวว่า การลงนามในสัญญาสัมปทานโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี และโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง ในวันนี้ เป็นอีกจุดเริ่มต้นหนึ่งที่สำคัญที่จะช่วยให้โครงข่ายการคมนาคมในพื้นที่กรุงเทพมหานครมีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ทั้งนี้ รัฐบาลพร้อมที่จะให้การสนับสนุนและผลักดันอย่างเต็มที่ เพื่อให้การดำเนินงานประสบผลสำเร็จและเกิดเป็นรูปธรรมได้โดยเร็วและตามแผนงาน และเพื่อให้โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี และโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง สามารถเปิดให้บริการแก่ประชาชนได้ในปี 2563 

นายสมคิด ย้ำเพิ่มเติมว่าไทยเป็นศูนย์กลางหลายกลุ่มประเทศ  เมื่อหัวหน้า คสช.ออก ม.44 แก้ปัญหารถไฟฟ้าไทย-จีน ร่างสัญญาช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา เตรียมเดินหน้าขยายถึงหนองคาย เพื่อให้ไทยเป็นศูนย์กลางภูมิภาคการขนส่งและเศรษฐกิจรอบเส้นทางรถไฟฟ้าเติบโตสูงขึ้น และหลังจากเริ่มก่อสร้างรถไฟสีเหลืองและชมพูแล้ว เตรียมเสนอ ครม.พิจารณาอีก 3 เส้นทาง ได้แก่ สายม่วงใต้ สายส้มฝั่งตะวันตก และสีแดง ช่วงสามเสน-หัวลำโพง นอกจากนี้  จะเร่งการสร้างรถไฟทางคู่อีก 5 เส้นทาง ได้ข้อสรุปเดือนสิงหาคมด้วยเงินลงทุน 80,000 ล้านบาท รวมถึงรถไฟฟ้ากรุงเทพฯ-ระยอง และการเชื่อมต่อรถไฟไปท่าเรือเขตอีอีซี ทำให้ 2 ปีข้างหน้าเงินลงทุนผ่านระบบราง 2.4 ล้านล้านบาท ออกสู่ระบบ โดยรัฐบาลจะให้ลงนามเส้นทางที่กล่าวมาภายในปีนี้ เพื่อเริ่มก่อสร้างปี 2561 ดังนั้น จากนี้ไปไทยจะก้าวสู่ยุค 4.0 ดึงความเชื่อมั่นจากต่างชาติ เพื่อเดินหน้าเชื่อมโยงการเดินทางจากจีนผ่านลาว ไทยไปยังมาเลเซีย ยืนยันว่า ม.44 ไม่ได้เอื้อประโยชน์ให้กับจีน แต่เป็นการร่วมลงทุนและสร้างประโยชน์ระหว่างประเทศ เนื่องจากการขนส่ง 29 ประเทศของทุกกลุ่มประเทศจะมุ่งผ่านไทยไปยังประเทศต่าง ๆ 

ด้านนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า หลังจากลงนามสัญญาภายใน 120 วัน ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา จากนั้นในวรรคท้ายของประกาศ ม.44 ระบุให้อำนาจนายกรัฐมนตรีเสนอ คสช. เพื่อขยายก่อสร้างไปยังหนองคาย ขณะที่สภาวิศวกรพร้อมให้ความร่วมมือจีนทดสอบรถไฟฟ้า และยืนยันว่า รถไฟไทย-จีนสามารถลงนามตามข้อกำหนด  ส่วนการกู้เงินจะเน้นกู้สำหรับนำเข้าอุปกรณ์หัวรถจักรบางส่วน โดยส่วนใหญ่จะระดมทุนในประเทศเป็นหลัก เมื่อสัญญาก่อสร้างเส้นที่ 1 จำนวน 3.1 กม. เริ่มจะเริ่มสัญญาที่ 2 จำนวน 11 กม. สัญญา 3 จำนวน 300 กม. และ 119 กม. คาดว่าทุกอย่างจะเป็นไปตามเป้าหมายกำหนดไว้


โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง) ระยะทาง 30.4 กม. เป็นระบบรถไฟฟ้ารางเดี่ยว (Monorail) จำนวน 23 สถานี เชื่อมโครงข่ายขนส่งด้านตะวันออกของกรุงเทพ โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง  จุดเริ่มต้น รัชดา – ลาดพร้าว ผ่าน – บางกะปิ – แยกลำสาลี – พัฒนาการ – ลาซาล สิ้นสุดสถานี สำโรง สมุทรปราการ

ส่วนโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู (ช่วงแคราย-มีนบุรี) ระยะทาง 36 กม.  จำนวน 30 สถานีใช้ระบบรถไฟฟ้ารางเดี่ยว (monorail)   เชื่อมพื้นที่จังหวัดนนทบุรีและกรุงเทพมหานคร โดยเริ่มโครงการที่ศูนย์ราชการนนทบุรี ผ่านแคราย ปากเกร็ด เมืองทองธานี หลักสี่ รามอินทรา มาสิ้นสุดที่มีนบุรี จุดเชื่อมต่อสถานีศูนย์ราชการนนทบุรี สามารถเชื่อมต่อการเดินทางกับระบบรถไฟฟ้าสายสีม่วง (บางใหญ่ – บางซื่อ)  และเชื่อมสายสีส้มที่สถานีปลายทางมีนบุรี ใช้เวลาก่อสร้าง 3 ปี 3 เดือน สร้างเสร็จในปี 2563 ด้วยเงินลงทุนกว่าแสนล้านบาท

นายคีรี กาญจนพาสน์ ประธานกรรมการ บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด  ( มหาชน ) กล่าวว่า จะเร่งรัดการดำเนิน 2 โครงการนี้ให้เสร็จเร็วกว่าแผนงานเดิมที่จะสร้างเสร็จใน 39 เดือน โดยจะให้เสร็จประมาณต้นปี 2563 วงเงินลงทุนทั้งหมดประมาณ 100,000 ล้านบาท จะเป็นส่วนของทุนประมาณ 28,000 ล้านบาทที่เหลือทางธนาคารกรุงเทพจะเป็นแกนนำในการจัดหาเงินกู้  

นอกจากนี้ เพื่อให้เส้นทางสมบูรณ์ทางกลุ่มกิจการร่วมค้าบีเอสอาร์เสนอเพิ่มก่อสร้างส่วนขยายสายสีชมพูจากสถานีศรีรัชเข้าไปเมืองทองธานี ระยะทาง 2.8 กม. และส่วนต่อขยายเชื่อมโครงการสายสีเขียวที่ถนนพหลโยธิน บริเวณใกล้สี่แยกรัชโยธิน ระยะทาง 2.6 กม. ใช้งบลงทุนอีก 6,000 ล้านบาท ซึ่งก็คาดหวังว่า รฟม.และรัฐบาลจะอนุมัติ 

“กลุ่มบีเอสอาร์พร้อมจะลงทุนในโครงการระบบรางของรัฐบาลที่กำลังจะเกิดขึ้นทั้งรถไฟฟ้าใน กทม.ปริมณฑล รวมถึงอีอีซี ซึ่งก็จะดูเงื่อนไขของรัฐบาลที่จะประกาศออกมา” นายคีรี กล่าว. – สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

นร.หญิง ม.1 จมทะเลดับ หลังโรงเรียนพาไปทัศนศึกษาที่ระยอง

โรงเรียนเอกชนแห่งหนึ่งใน จ.นครราชสีมา พานักเรียนไปทัศนศึกษาที่ จ.ระยอง นักเรียนหญิง ม.1 ถูกคลื่นดูดลงทะเลขณะเล่นน้ำ เสียชีวิต พ่อแม่สุดเศร้าสูญเสียลูกสาวคนเดียวของครอบครัว

น้ำท่วมเชียงใหม่

เชียงใหม่จมบาดาล น้ำท่วมครั้งประวัติศาสตร์

น้ำท่วมในตัวเมืองเชียงใหม่ ยังวิกฤติ หลังน้ำในลำน้ำปิงขึ้นสูงสุดทรงตัวสูงกว่า 5.30 เมตร ซึ่งสูงที่สุดตั้งแต่มีการวัดระดับน้ำปิง

น้ำท่วมขนส่งเชียงใหม่กระทบผู้โดยสาร เปิดจุดจอดรับ-ส่งชั่วคราว

น้ำขยายวงกว้างเข้าท่วมสถานีขนส่งเชียงใหม่แห่งที่ 2 และ 3 เต็มพื้นที่ ระดับน้ำสูงเกือบ 50 ซม. ผู้ประกอบการขนส่งต้องนำรถทัวร์โดยสารออกมาจอดรับ-ส่งบนถนนซุปเปอร์ไฮเวย์ ยืนยันผู้ประกอบการยังให้บริการตามปกติ

ระทึก! แท็กซี่พลิกคว่ำเกิดเพลิงไหม้ 5 ชีวิตรอดหวุดหวิด

รถแท็กซี่พลิกคว่ำและเกิดเพลิงลุกไหม้กลางถนนพระราม 9 ผู้โดยสารหญิงสติดีถีบประตูช่วยตัวเองและคนอื่นออกมาจากตัวรถรวม 5 ชีวิตได้ทัน แต่ในจำนวนนี้บาดเจ็บสาหัส 1 คน เป็นคนขับแท็กซี่ ตำรวจเร่งสอบสวนหาสาเหตุ

ข่าวแนะนำ

เตรียมตั้ง 7 เตาไฟฟ้า พิธีพระราชทานเพลิงศพ นร.-ครู 23 คน

เตรียมพื้นที่ตั้ง 7 เตาไฟฟ้า กลางสนามโรงเรียนวัดเขาพระยาสังฆาราม จ.อุทัยธานี ในพิธีพระราชทานเพลิงศพ นักเรียน-ครู 23 คน เหยื่อไฟไหม้รถบัสทัศนศึกษา วันที่ 8 ต.ค.นี้

เชียงใหม่ยังอ่วม เจอน้ำท่วมครั้งประวัติศาสตร์

แม้ระดับน้ำปิงที่ทะลักท่วมตัวเมืองเชียงใหม่เริ่มลดลง จากที่เคยขึ้นสูงสุดถึง 5.30 เมตร ซึ่งถือว่าสูงที่สุดเท่าที่เคยวัดระดับมา จนทำให้เชียงใหม่เผชิญกับน้ำท่วมครั้งใหญ่สุดเป็นประวัติการณ์ บ้านเรือนหลายพันหลังและย่านการค้ายังจมน้ำ บางจุดยังท่วมสูงกว่า 2 เมตร ยังต้องเร่งอพยพผู้คนออกจากพื้นที่น้ำท่วม หลายคนต้องใช้ชีวิตอยู่ในรถที่จอดบนสะพาน

ภาคกลางเริ่มกระทบ น้ำเจ้าพระยาเอ่อท่วมบ้านประชาชน

น้ำเจ้าพระยาล้นข้ามถนนเข้าท่วมบ้านกว่า 30 หลังคาเรือน ต.ชีน้ำร้าย อ.อินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี ส่วนชุมชุนริมท่าน้ำปากเกร็ด เริ่มกระทบ

ระทึก! เรือคณะนายอำเภอคว่ำ ขณะช่วยผู้ประสบภัย

กู้ภัยเข้าช่วยเหลือ เรือคณะนายอำเภอฮอดพลิกคว่ำ ขณะฝ่ากระแสน้ำเชี่ยวเข้าไปช่วยผู้ประสบภัย ขณะที่จุดอื่นในเชียงใหม่ เร่งอพยพประชาชนที่ยังตกค้าง