กทม. 1 มิ.ย. – บนสังคมออนไลน์แชร์เตือนให้ระวังสารเคมีจาก “กิ้งกือ” ที่ปล่อยไว้เมื่อเลื้อยผ่านเรื่องนี้จริงหรือไม่ ติดตามจากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์. – สำนักข่าวไทย
บทสรุป : แชร์ต่อได้
ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ สำนักข่าวไทย อสมท สอบถาม ดร.วรุฒ ศิริวุฒิ ทีมวิจัยซิสเทมาติกค์ของกิ้งกือและตะขาบ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ระบุกิ้งกือจัดเป็นสัตว์ที่มีประโยชน์ต่อระบบนิเวศ ช่วยย่อยสลาย เวลาเคลื่อนที่จะไม่ปล่อยสารใดๆ แต่หากถูกบีบหรือทำให้ตกใจจะปล่อยสารเคมี 2 ชนิดคือเบนโซควิโนนกับไซยาไนด์ที่จะอยู่บนรูตามปล้องของกิ้งกือ เมื่อสารดังกล่าวถูกผิวหนังจะทำให้เป็นรอยจ้ำหรือรอยเปื้อนสี ยกเว้นคนที่มีอาการแพ้จะมีอาการปวดแสบร้อน หรือผิวหนังลอก แต่ไม่ทำให้เสียชีวิต
ทั้งนี้ กิ้งกือสามารถกัดคนได้แต่กัดไม่เข้า เพราะปากกิ้งกือมีไว้สำหรับขูดเศษอาหาร ไม่สามารถกัดทะลุชั้นผิวหนังได้ ส่วนความเชื่อที่ว่าหากโดนกัดให้นับขานั้น จริงๆ แล้วขากิ้งกือมีไว้สำหรับแบ่งชนิดและสายพันธุ์ โดยนับจำนวนปล้องx4 จะได้จำนวนขาที่แท้จริงของกิ้งกือแต่ละชนิด
ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่าไม่ควรให้เด็กสัมผัสกิ้งกือ เนื่องจากกิ้งกือจะอาศัยบริเวณผิวหน้าดินทำให้ไร ปรสิต หรือเห็บเกาะตามตัว หากเด็กสัมผัสถูกกิ้งกืออาจจะติดเชื้อได้
วิธีการ • Add LINE ของสำนักข่าวไทย เข้าไปที่เพิ่มเพื่อน แล้วพิมพ์ @TNAMCOT ถ้าได้รับแชร์อะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาให้เราตรวจใน “ชัวร์ก่อนแชร์” พบกับสกู๊ปข่าวนี้ได้ในข่าวค่ำสำนักข่าวไทยทุกวัน
หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”
LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
YouTube :: https://www.youtube.com/@SureAndShare
Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
IG :: https://instagram.com/SureAndShare
Website :: http://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare
สมัครรับฟรี ชัวร์ก่อนแชร์ Newsletter ส่งถึงกล่องอีเมลของคุณทุกสัปดาห์ :: https://i.sure.guru/sureandshareNewsletter