ก.เกษตรฯเดินหน้าส่งเสริมเกษตรทฤษฎีใหม่

กรุงเทพฯ 16 เม.ย.-กระทรวงเกษตรฯ เผยคืบหน้าผลการดำเนินงาน “5 ประสาน สืบสานเกษตรทฤษฎีใหม่ ถวายในหลวง” เดือน มี.ค.60 ปรับแนวคิด สร้างแรงบันดาลใจ พร้อมหนุนเกษตรกรจัดทำแผนการผลิตแล้วกว่าร้อยละ 81 จากกลุ่มเป้าหมายแรก 21,000 ราย เดินหน้าแผนเดือน เม.ย.60 ต่อเนื่อง เน้นให้เกษตรกรลงมือทำตามแผนการผลิตในแปลงตนเอง ควบคู่ส่งเสริมจัดทำบัญชีครัวเรือน/บัญชีฟาร์ม ในลักษณะเพื่อนช่วยเพื่อน


นายธีรภัทร ประยูรสิทธิ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จัดทำโครงการ “5 ประสาน สืบสานเกษตรทฤษฎีใหม่ ถวายในหลวง”เพื่อรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ และเผยแพร่พระเกียรติคุณพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ตลอดทั้งเป็นการเผยแพร่แนวพระราชดำริเกษตรทฤษฎีใหม่ไปสู่สาธารณชน โดยส่งเสริมให้เกษตรกรที่มีความสมัครใจจาก 882 อำเภอ รวม 70,000 ราย ได้น้อมนำหลักเกษตรทฤษฎีใหม่มาปรับใช้ในพื้นที่ของตนเองอย่างเหมาะสม ให้สอดคล้องกับสภาพพื้นที่ของเกษตรกร โดยมุ่งหวังจะช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกรในการลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ อันเกิดจากการพัฒนาศักยภาพของตนเอง ครอบครัว และชุมชน โดยการสร้างอาชีพอย่างเหมาะสมกับทรัพยากรและปัจจัยการผลิตที่มีอยู่อย่างคุ้มค่า โดยได้คัดเลือกเกษตรกรที่มีความพร้อมเพื่อดำเนินการในปี 2560 จำนวน 70,000 ราย

ทั้งนี้ แนวทางการดำเนินงานโครงการ “5 ประสาน สืบสานเกษตรทฤษฎีใหม่ ถวายในหลวง” จะเริ่มต้นจากเกษตรกรกลุ่มแรกที่มีความพร้อมมาก และยังไม่เคยทำเกษตรกรทฤษฎีใหม่มาก่อน 21,000 ราย ในเดือน ก.พ.- เม.ย.60 ส่งเสริมในกลุ่มเกษตรกรที่มีความพร้อมปานกลาง 42,000 ราย ในเดือน พ.ค.- ก.ย. 60 และส่งเสริมในกลุ่มเกษตรกรที่มีความพร้อม 7,000 ราย หรือมากกว่า ในเดือน ต.ค.- ธ.ค.60 โดยแบ่งแผนปฏิบัติงานออกเป็น 4 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 (ม.ค. – ก.พ.60) โดยกำหนดผู้ร่วมบูรณาการ 5 ประสาน (เกษตรกร ปราชญ์เกษตรกร เจ้าหน้าที่ภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันการศึกษา) มาพบปะสร้างการรับรู้แนวทางของโครงการฯ และสร้างกิจกรรมการมีส่วนร่วมระดับประเทศ ระยะที่ 2  (มี.ค.- เม.ย.60) เกษตรกรปรับ/เปลี่ยนพัฒนาตนเอง โดยปราชญ์เกษตรช่วยเพิ่มพูนองค์ความรู้เชิงปฏิบัติการตามแนวเกษตรทฤษฎีใหม่ การวิเคราะห์ตนเอง และวางแผนการผลิตตามศักยภาพ ระยะที่ 3 (พ.ค.- ส.ค.60) ขับเคลื่อนการดำเนินงานในลักษณะเพื่อนช่วยเพื่อน โดยดำเนินการกิจกรรมตามแผนการผลิต โดยมีภาคเอกชนสนับสนุนการจัดหาปัจจัยการผลิตตามแผนที่เกษตรกรวางไว้ตามความเหมาะสม ส่งเสริมการดำเนินกิจกรรมการผลิตที่หลากหลายให้เกษตรกรตามศักยภาพฐานะตนเอง รวมทั้งวางแผนการตลาด และ ระยะที่ 4  (ก.ย.- ธ.ค.60) ติดตาม/เยี่ยมเยียน/ประเมินผล โดยเยี่ยมเยียนเกษตรกร อย่างน้อย 1 ครั้ง/เดือน รวมทั้งประเมินความสำเร็จเพื่อปรับแผนปฏิบัติงานให้มีความเหมาะสมสำหรับเกษตรกรแต่ละราย เพื่อให้เกษตรกรสามารถขับเคลื่อนไปด้วยตนเองได้ในระยะยาว     


 สำหรับความก้าวหน้าการดำเนินงานโครงการฯ ประจำเดือนมีนาคม 2560 ที่ดำเนินการในกลุ่มเป้าหมายแรก21,000 ราย แบ่งเป็น 4 กิจกรรม ดังนี้ (1) การจัดพบปะ 5 ประสานในพื้นที่ โดยพบปะหารือระดับตำบลหรืออำเภอ (เกษตรกร/ปราชญ์เกษตรกร/หน่วยงานภาครัฐ) ดำเนินการแล้ว 52 จังหวัด จากเป้าหมาย 77 จังหวัด คิดเป็นร้อยละ 67.53 ส่วนการพบปะหารือระดับอำเภอหรือจังหวัด (ภาคเอกชน/สถาบันการศึกษา/ภาครัฐ) ดำเนินการแล้ว 49 จังหวัด จากเป้าหมาย 77 จังหวัด คิดเป็นร้อยละ 63.64 (2) การปรับแนวคิด เปลี่ยนวิธีทำ สร้างแรงบันดาลใจแก่เกษตรกร โดยสร้างแรงบันดาลใจในการปรับแนวคิด เปลี่ยนวิธีทำ และสร้างแนวบันดาลใจให้เกษตรกรเข้าร่วมโครงการมาปรับทำการเกษตรตามแนวทฤษฎีใหม่ แล้ว 18,413 ราย จากเป้าหมาย 21,113 ราย คิดเป็นร้อยละ 87.21 (3) จัดทำแผนการผลิตและสนับสนุนปัจจัยการผลิต เกษตรกรมีการจัดทำแผนการผลิตแล้ว 17,156 ราย จากเป้าหมาย 21,113 ราย      คิดเป็นร้อยละ 81.26 และหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันการศึกษา ได้ดำเนินการรวบรวมความต้องการตามแผนการผลิตของเกษตรกรแต่ละราย เพื่อขอรับการสนับสนุนจากในพื้นที่แล้ว 9,815 ราย จากเป้าหมาย 21,113 ราย    คิดเป็นร้อยละ 46.54 และ (4) เกษตรกรลงมือตามแผนการผลิตในแปลงตนเอง โดยปราชญ์เกษตรกรและหน่วยงานรับผิดชอบดูแลให้คำแนะนำในลักษณะเพื่อนช่วยเพื่อน ซึ่งดำเนินการแล้ว 12,960 ราย จากเป้าหมาย 21,113 ราย คิดเป็นร้อยละ 61.38 ปราชญ์เกษตรและหน่วยงานที่รับผิดชอบได้ติดตามเยี่ยมเยียน เพื่อเป็นที่ปรึกษาในลักษณะเพื่อนเกษตรกร ดำเนินการแล้ว 10,523 ราย จากเป้าหมาย 21,113 ราย คิดเป็นร้อยละ 49.84

 ส่วนแผนปฏิบัติงาน “5 ประสาน สืบสานเกษตรทฤษฎีใหม่ ถวายในหลวง”ในเดือนเมษายน 2560            จะขับเคลื่อนในเกษตรกรกลุ่มพร้อมมาก 21,000 ราย เหมือนเช่นเดือน มี.ค.60 ให้ต่อเนื่องและครบตามเป้าหมาย แต่ในเดือนนี้จะเน้นให้เกษตรกรได้ลงมือทำตามแผนการผลิตในแปลงของตนเอง ประกอบด้วย 5 กิจกรรม ดังนี้ (1)เกษตรกรลงมือทำตามแผนการผลิตในแปลงตนเอง (1 – 30 เม.ย.60) โดยเกษตรกรลงมือทำตามแผนการผลิตในแปลงตนเอง หรือเพิ่มกิจกรรมในแปลงให้หลากหลายขึ้น โดยปราชญ์เกษตร และหน่วยงานรับผิดชอบดูแล ให้คำแนะนำในลักษณะเพื่อนช่วยเพื่อน (2)การส่งเสริมการจัดทำบัญชีครัวเรือน / บัญชีฟาร์ม (1 – 30 เม.ย.60) หน่วยงานที่รับผิดชอบ ร่วมกับครูบัญชีอาสา ส่งเสริมการบันทึกบัญชีครัวเรือน /บัญชีฟาร์ม ให้มีคุณภาพเพื่อใช้วิเคราะห์ความเปลี่ยนแปลงในระยะต่อไป

 (3) ติดตาม / เยี่ยมเยียนเกษตรกร (1 – 30 เม.ย.60) โดยคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายกระทรวงเกษตรและสหกรณ์แบบเบ็ดเสร็จ (Single Command) หน่วยงานที่รับผิดชอบ ปราชญ์เกษตร เอกชน และสถาบันการศึกษา ลงพื้นที่ติดตาม เยี่ยมเยียน ให้คำแนะนำ คำปรึกษา รวมทั้งแก้ไขปัญหาในการดำเนินกิจกรรมในแปลงเกษตรกร โดยเฉพาะในพื้นที่ที่อาจประสบปัญหาภัยแล้ง (4) สำรวจเพื่อกำหนดเป้าหมายเกษตรกร กลุ่ม Cell แตกตัว (1 – 25 เม.ย.60) โดย Single Command และหน่วยงานที่รับผิดชอบ เริ่มสำรวจหาเกษตรกรกลุ่มพร้อมปานกลาง ซึ่งจะเป็น Cell แตกตัวครั้งที่ 1 จำนวน 42,000 ราย โดยเกษตรกรที่เป็น Cell แตกตัวตามเป้าหมาย อาจอยู่ใกล้เคียงกับเกษตรกรต้นกำเนิดในหมู่บ้านหรืออำเภอเดียวกัน อาจจะเป็นเกษตรกรสมัครใหม่ หรือเป็นเกษตรกรที่คัดเลือกไว้แล้ว และอาจมีการจัดหาปราชญ์เกษตร หรือเกษตรกรต้นแบบ ที่มีจิตอาสามาเป็นตัวช่วยเกษตรกรตามความเหมาะสม โดยเกษตรกรที่เป็น Cell แตกตัว ครั้งที่ 1 จะมาเรียนรู้กับปราชญ์เกษตร หรือเกษตรกรต้นแบบ ร่วมกับเกษตรกร cell ต้นกำเนิด ในลักษณะเพื่อนช่วยเพื่อน และ(5) รายงานผล (23 – 30 เม.ย. 60) โดยรายงานผลความก้าวหน้าประจำเดือน เม.ย.60 ภายในวันที่ 28 เม.ย.60-สำนักข่าวไทย


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

นร.หญิง ม.1 จมทะเลดับ หลังโรงเรียนพาไปทัศนศึกษาที่ระยอง

โรงเรียนเอกชนแห่งหนึ่งใน จ.นครราชสีมา พานักเรียนไปทัศนศึกษาที่ จ.ระยอง นักเรียนหญิง ม.1 ถูกคลื่นดูดลงทะเลขณะเล่นน้ำ เสียชีวิต พ่อแม่สุดเศร้าสูญเสียลูกสาวคนเดียวของครอบครัว

น้ำท่วมเชียงใหม่

เชียงใหม่จมบาดาล น้ำท่วมครั้งประวัติศาสตร์

น้ำท่วมในตัวเมืองเชียงใหม่ ยังวิกฤติ หลังน้ำในลำน้ำปิงขึ้นสูงสุดทรงตัวสูงกว่า 5.30 เมตร ซึ่งสูงที่สุดตั้งแต่มีการวัดระดับน้ำปิง

น้ำท่วมขนส่งเชียงใหม่กระทบผู้โดยสาร เปิดจุดจอดรับ-ส่งชั่วคราว

น้ำขยายวงกว้างเข้าท่วมสถานีขนส่งเชียงใหม่แห่งที่ 2 และ 3 เต็มพื้นที่ ระดับน้ำสูงเกือบ 50 ซม. ผู้ประกอบการขนส่งต้องนำรถทัวร์โดยสารออกมาจอดรับ-ส่งบนถนนซุปเปอร์ไฮเวย์ ยืนยันผู้ประกอบการยังให้บริการตามปกติ

ระทึก! แท็กซี่พลิกคว่ำเกิดเพลิงไหม้ 5 ชีวิตรอดหวุดหวิด

รถแท็กซี่พลิกคว่ำและเกิดเพลิงลุกไหม้กลางถนนพระราม 9 ผู้โดยสารหญิงสติดีถีบประตูช่วยตัวเองและคนอื่นออกมาจากตัวรถรวม 5 ชีวิตได้ทัน แต่ในจำนวนนี้บาดเจ็บสาหัส 1 คน เป็นคนขับแท็กซี่ ตำรวจเร่งสอบสวนหาสาเหตุ

ข่าวแนะนำ

น้ำท่วมเชียงใหม่

เชียงใหม่จมบาดาล น้ำท่วมครั้งประวัติศาสตร์

น้ำท่วมในตัวเมืองเชียงใหม่ ยังวิกฤติ หลังน้ำในลำน้ำปิงขึ้นสูงสุดทรงตัวสูงกว่า 5.30 เมตร ซึ่งสูงที่สุดตั้งแต่มีการวัดระดับน้ำปิง

น้ำท่วมเชียงใหม่

นายกฯ ห่วงน้ำท่วมเชียงใหม่ สั่งเร่งช่วยเหลือ เฝ้าระวัง 24 ชม.

“นายกฯ แพทองธาร” ห่วงน้ำท่วมเชียงใหม่ สั่งเร่งช่วยเหลือประชาชนและสัตว์โดยด่วน เฝ้าระวังสถานการณ์ 24 ชม. พร้อมฟื้นฟู

หญ้าอาหาร​สัตว์​พระราชทาน

ระดม​ขน​ส่ง​ “หญ้าอาหาร​สัตว์​พระราชทาน” ช่วยช้างแม่แตง

พระนคร​ศรี​อยุธยา​ 5 ต.ค. – รมว.​เกษตร​ฯ​ สั่งอธิบดี​กรม​ปศุสัตว์ ​เร่งนำส่ง​ “หญ้า​อาหารสัตว์​พระราชทาน” ช่วย​เหลือ​ช้าง​ของ​ศูนย์​บริบาล​ช้าง​ อำเภอ​แม่แตง​ จังหวัด​เชียงใหม่​ ที่ประสบภัย​น้ำท่วม​ ต้องอพยพสัตว์​หนีน้ำ อธิบดี​กรม​ปศุสัตว์​ระบุส่งถึงจุดพักพิงสัตว์​ชั่วคราว​แล้ววานนี้​ ระดมขนส่งต่อเนื่อง​ทั้งหญ้าสดและหญ้า​แห้ง​ เตรียม​จัดทีมสัตวแพทย์​สนับสนุน​การ​ดูแล​สุขภาพ​และ​รักษา​สัตว์​ต่าง​ๆ​ ของ​ศูนย์​บริบาล​ช้าง​ที่​มีอยู่เป็น​จำนวนมาก นายสัตวแพทย์สมชวน​ รัตนมังคลานนท์​ อธิบดีกรมปศุสัตว์กล่าวว่า​ ได้เร่งขนส่ง​ “หญ้าอาหารสัตว์พระราชทาน” ไปช่วยเหลือ​ช้างกว่า​ 100 ตัวของ ศูนย์บริบาลช้าง อำเภอแม่แตง​ จังหวัดเชียงใหม่ที่ประสบภัยน้ำท่วม​ ตามข้อสั่งการของศ.ดร.​ นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยศูนย์บริบาลช้างแห่งนี้ มีช้างกว่า 100 เชือก รวมถึงสัตว์อีกหลายชนิดเช่น​ ควาย​ แพะ​ แกะ​ สุนัข​ แมว​ เป็น​ต้น หลังเกิดเหตุ​น้ำท่วมฉับพลันและระดับน้ำสูง​ ได้​สั่งการ​ให้ศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์ลำปางร่วมกับสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดเชียง สำนักงานปศุสัตว์สัตว์อำเภอแม่แตง นำหญ้าอาหารสัตว์พระราชทาน 2, 000 กิโลกรัม​หรือ​ 2 ตันไปส่งมอบเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนเบื้องต้นให้แก่ช้าง ทั้งนี้​ กำชับ​ให้​สำนักพัฒนาอาหารจัดส่ง​หญ้าไปช่วยเหลือเพิ่มเติม​ โดยวันนี้​ […]

ปรับเส้นทางรถไฟสายเหนือ

รฟท.ปรับสถานีต้นทางสายเหนือเป็นลำปาง ผลกระทบจากน้ำท่วม

การรถไฟฯ แจ้งปรับเปลี่ยนสถานีต้นทาง-ปลายทาง ขบวนรถสายเหนือ 12 ขบวนเป็นการชั่วคราว หลังเกิดน้ำท่วมเชียงใหม่อีกระลอก