มจพ. แถลงสร้างดาวเทียมเตรียมวิศวะฯ ไทย-เยอรมัน

20 พ.ค. – มจพ. แถลงข่าวสร้างดาวเทียมของนักเรียนโรงเรียนเตรียมวิศวกรรมศาสตร์ ไทย-เยอรมัน เตรียมส่งดาวเทียมเพื่อการศึกษาสู่อวกาศ


มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) จัดงานแถลงข่าวสร้างดาวเทียมของนักเรียนโรงเรียนเตรียมวิศวกรรมศาสตร์ ไทย-เยอรมัน วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม (KNACKSAT-2 TGPS) ในวันศุกร์ที่ 20 พฤษภาคม 2565 เวลา 09.30 น. ณ ห้องประชุมราชพฤกษ์ อาคารนวมินทรราชินี มจพ. โดยมี ศาสตราจารย์ ดร.สุชาติ เซี่ยงฉิน อธิการบดี มจพ. เป็นประธานในพิธีแถลงข่าว พร้อมด้วยทีมนักวิจัยโครงการดาวเทียมแนคแซท

มจพ. เป็นสถาบันการศึกษาชั้นนำด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านการวิจัยหลากหลายสาขาวิชา หนึ่งในนั้นคือด้านเทคโนโลยีอวกาศ เป็นที่ประจักษ์จากการออกแบบส่งดาวเทียมขนาดเล็กเพื่อการศึกษา “KNACKSAT” ขึ้นสู่อวกาศเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2561 เวลา 18:34 UTC จากฐานทัพอากาศ Vandenberg ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยมี ศาสตราจารย์ ดร.สุวัฒน์ กุลธนปรีดา เป็นหัวหน้าโครงการ และ ดร.พงศธร สายสุจริต เป็นผู้จัดการโครงการ ทีมวิจัยประกอบด้วย บุคลากรและนักศึกษาจากภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกลและการบิน-อวกาศ คณะวิศวกรรมศาสตร์ และบัณฑิตวิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์นานาชาติสิรินธร ไทย-เยอรมัน เป็นดาวเทียมดวงแรกที่ถูกสร้างและพัฒนาโดยฝีมือคนไทย 100% เป็นก้าวสำคัญของการพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศในประเทศไทย แสดงถึงศักยภาพของนักวิจัยไทยในการออกแบบและสร้างดาวเทียมด้วยตนเอง


ในปี 2565 มจพ. ได้สนับสนุนโครงการโรงเรียนเตรียมวิศวกรรมศาสตร์ ไทย-เยอรมัน กับภารกิจส่งดาวเทียมเพื่อการศึกษาสู่อวกาศ โดยนักศึกษาระดับต่ำกว่าระดับปริญญาตรี ซึ่งถือว่าเป็นก้าวเล็กๆ ก้าวแรกที่สำคัญในการพัฒนาศักยภาพของนักเรียนสู่ความเป็นเลิศทางด้านเทคโนโลยีอวกาศ

ศาสตราจารย์ ดร.สุชาติ เซี่ยงฉิน อธิการบดี และผู้บริหาร มจพ. ให้ความสำคัญกับการพัฒนาการเรียนการสอนและการวิจัยในด้านเทคโนโลยีอวกาศ เป็นอีก 1 สาขาที่เป็นจุดเด่นของ มจพ. เนื่องจากเป็นเทคโนโลยีที่มีบทบาทสำคัญในปัจจุบันและในอนาคต มีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต รวมทั้งต่อยอดสร้างสิ่งประดิษฐ์หรือนวัตกรรม เชิงพาณิชย์ช่วยสร้างความมั่นคงและขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทยได้ในอนาคต ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีอวกาศของ มจพ. ไม่จำกัดอยู่แค่การเรียนการสอนและการวิจัยในระดับอุดมศึกษาเท่านั้น ได้นำมาเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมเสริมหลักสูตรของโรงเรียนเตรียมวิศวกรรมศาสตร์ ไทย-เยอรมัน (โรงเรียนเทคนิคไทย-เยอรมัน เดิม) เป็นสถาบันการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี สังกัดวิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มีชื่อเสียง โดดเด่นด้านการฝึกหัดนักเรียนให้มีทักษะ ความชำนาญในงานปฏิบัติ (วิศวกรมือเปื้อน) มายาวนานกว่า 60 ปี การจัดการเรียนการสอนต้องปรับเปลี่ยนให้ทันกับโลกปัจจุบัน การเรียนการสอนของโรงเรียนเตรียมวิศวกรรมศาสตร์ ไทย-เยอรมัน ปัจจุบันส่งเสริมการจัดการศึกษาในรูปแบบ STEM มุ่งเน้นการบูรณาการความรู้ใน 4 สาขาวิชา ได้แก่ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ เพื่อประยุกต์ให้เป็นรูปธรรม นำมาใช้แก้ปัญหา รวมทั้งการพัฒนากระบวนการหรือผลิตภัณฑ์ใหม่ การออกแบบและสร้างดาวเทียมต้องใช้องค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์

ดังนั้น กิจกรรมดังกล่าวเป็นการท้าทายศักยภาพ ความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียน เปิดโอกาสให้นักเรียนได้มีประสบการณ์จริงในการบูรณาการองค์ความรู้ เชื่อมโยงของทั้ง 4 สาขาวิชา สอดคล้องกับปณิธานของโรงเรียนที่ยึดถือมาโดยตลอด จัดการเรียนรู้ด้วยการสร้างประสบการณ์จริงจากการปฏิบัติ นักเรียนของโรงเรียนเตรียมวิศวกรรมศาสตร์ ไทย-เยอรมัน ไม่ได้มีแต่ความชำนาญในทักษะทางวิศวกรรมทั่วไปเท่านั้น แต่ได้ประสบการณ์ตรงด้านเทคโนโลยีอวกาศ มีความสำคัญและมีบทบาทมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ นักเรียนต้องทำงานเป็นทีม พัฒนาทักษะอื่นๆ ที่สำคัญอีกหลากหลายในศตวรรษที่ 21 ต่อการดำเนินชีวิตและการทำงานในอนาคต


ปัจจุบันมีนักเรียน จำนวน 22 คน ได้รับการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ การฝึกอบรมการสร้างดาวเทียม สำหรับนักเรียนโรงเรียนเตรียมวิศวกรรมศาสตร์ ไทย-เยอรมัน (KNACKSAT-2 TGPS) ทีมงานของ ดร.พงศธร สายสุจริต อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกลและการบินอวกาศ มจพ. และรักษาการผู้อำนวยการสถาบันเทคโนโลยีอวกาศนานาชาติเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจประเทศไทย (INSTED) และทีมงานโรงเรียนเตรียมวิศวกรรมศาสตร์ ไทย-เยอรมัน เป็นผู้ฝึกอบรมและให้คำปรึกษา เพื่อให้นักเรียนสามารถออกแบบพันธกิจในอวกาศ พัฒนาเพย์โหลด ระหว่างเดือนมีนาคม-กรกฎาคม 2565 โดยเพย์โหลดที่พัฒนาขึ้นนี้จะถูกนำไปติดในดาวเทียม และนำไปทดสอบในอวกาศภายในไตรมาสที่ 2 ของปี พ.ศ.2566 ภายใต้ความร่วมมือระหว่าง มจพ. และ Kyushu Institute of Technology ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นพันธมิตรทางวิชาการที่สำคัญของ มจพ. ได้ร่วมมือและพัฒนาเทคโนโลยีด้านอวกาศมาอย่างต่อเนื่อง

การที่ มจพ. ขยายการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้านเทคโนโลยีอวกาศจากระดับอุดมศึกษาสู่ระดับเตรียมอุดมศึกษา เป็นการส่งเสริมให้เยาวชนเห็นคุณค่าของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จุดประกายความสนใจและสร้างแรงบันดาลใจในการศึกษาต่อหรือก้าวเข้าสู่อาชีพด้านเทคโนโลยีอวกาศ เตรียมนักเรียนให้มีความพร้อมที่จะพัฒนาศักยภาพของตนเองในสาขานี้ต่อไป เพื่อศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย โครงการดังกล่าวจึงเป็นการวางรากฐานการพัฒนาด้านเทคโนโลยีอวกาศ ผ่านการจัดกิจกรรมให้กับเยาวชนที่เป็นกำลังหลักของประเทศไทยในอนาคตต่อไป อีกทั้งเป็นการสร้างความต่อเนื่องในการจัดการเรียนรู้ด้านเทคโนโลยีอวกาศตั้งแต่ระดับเตรียมอุดมศึกษาสู่ระดับอุดมศึกษา โดยภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกลและการบิน-อวกาศ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มจพ. ได้จัดการศึกษาและทำการวิจัยในสาขาดังกล่าวมาโดยตลอด . – สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

กระบะชนต้นไม้

สังเวย 7 ศพ กระบะหักหลบรถรับ-ส่งนักเรียน พุ่งชนต้นไม้

รถกระบะเสียหลักจะชนรถตู้รับ-ส่งนักเรียน คนขับตัดสินใจหักหลบ ทำให้รถพุ่งชนต้นไม้ เสียชีวิต 7 ราย ในจำนวนนี้เป็นเด็ก 4 คน

สลด! รถทัวร์พาผู้โดยสารกลับจากเที่ยวเบตง ชนต้นไม้ ดับ 8 ราย

รถทัวร์พาผู้โดยสารกลับจากเที่ยว อ.เบตง จ.ยะลา เสียหลักไถลลงร่องกลางถนนชนต้นไม้บนถนนสาย 41 อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี เบื้องต้นเสียชีวิต 8 ราย บาดเจ็บจำนวนมาก

ตักบาตรปีใหม่

ปชช.ร่วมตักบาตรวันปีใหม่ 2568 เพื่อความเป็นสิริมงคล

ประชาชนร่วมกิจกรรมตักบาตร​ รับปีใหม่ 2568 เนืองแน่น​ “สุดาวรรณ” เผยตัวเลขสวดมนต์ข้ามปี กว่า 12 ล้านคน พร้อมเชิญชวนสักการะพระเขี้ยวแก้ว ถึง 14 ก.พ.นี้

ข่าวแนะนำ

อุตุฯ เผยไทยตอนบน อุณหภูมิลดลง 1-2 องศาฯ กทม.อากาศเย็นในตอนเช้า

กรมอุตุฯ เผยประเทศไทยตอนบน อุณหภูมิลดลง 1-2 องศาฯ ส่วนภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคใต้ตอนบน มีอากาศเย็นถึงหนาวในตอนเช้า กรุงเทพฯ-ปริมณฑล อากาศเย็นในตอนเช้า อุณหภูมิจะลดลง 1-2 องศาฯ

เมืองพัทยาเอาจริง เร่งจัดการผู้ลักลอบจุดพลุชายหาด

เมืองพัทยาสั่งแล้ว เร่งจัดการผู้ลักลอบจุดพลุบนชายหาด หลังเกิดเหตุพลุล้ม วิ่งไประเบิดใส่เด็กบาดเจ็บทั่วร่าง ในคืนเคานท์ดาวน์

SET ปิดตลาดซื้อขายวันแรกปี 68 ร่วงลง 20.36 จุด

ดัชนี SET วันแรกของการซื้อขายปี 2568 ปิดที่ 1,379.85 จุด ปรับตัวลดลง 20.36 จุด หรือ 1.45% มูลค่าการซื้อขาย 36,852.83 ล้านบาท ตลาดกังวลนโยบายการค้าระหว่างประเทศ-นโยบายภาษี

สั่งตรวจสอบถนนจุดเกิดเหตุรถทัวร์คว่ำ-กระบะชนต้นไม้

ผู้ว่าฯ สุราษฎร์ฯ สั่งตรวจสอบถนนจุดเกิดเหตุรถทัวร์พลิกคว่ำและกระบะหักหลบรถตู้รับส่งนักเรียนชนต้นไม้ หลังพบเป็นถนนตัดใหม่ การก่อสร้างยังไม่เสร็จสมบูรณ์