เพื่อไทยยันหนุนร่างแก้ไข รธน.ของไอลอว์
หัวหน้าพรรคเพื่อไทย ยัน ไม่มีส.ส. ของพรรคลงมติไม่รับร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญของภาคประชาชน เผยหลังเห็นญัตติและทำความเข้าใจแล้วทุกคนหายกังวล “สุทิน” ระบุร่างของภาคประชาชนไม่แตะหมวด 1 – 2
หัวหน้าพรรคเพื่อไทย ยัน ไม่มีส.ส. ของพรรคลงมติไม่รับร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญของภาคประชาชน เผยหลังเห็นญัตติและทำความเข้าใจแล้วทุกคนหายกังวล “สุทิน” ระบุร่างของภาคประชาชนไม่แตะหมวด 1 – 2
การรักษาความปลอดภัยเข้ม ขณะที่ ส.ส. – ส.ว.ผิดหวัง รายงานการศึกษาของ กมธ. ไม่มีบทสรุป
สุทิน” เผย ส.ส.เพื่อไทยบางกลุ่มอาจไม่รับญัตติแก้ไขรัฐธรรมนูญของไอลอว์ เพราะแก้ไขทั้งฉบับ หวั่นขัดรัฐธรรมนูญ แต่ขอฟังรายละเอียดก่อน
“จุรินทร์” ระบุ ปชป. รับญัตติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญของพรรคร่วมรัฐบาล และฝ่ายค้าน แต่ไม่ตัดทิ้งร่างไอลอร์ ขอฟังเหตุผลในสภาก่อนมีมติ ย้ำจุดยืนไม่แตะหมวด 1 – หมวด 2
รัฐสภา 17 พ.ย.- นาย ชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภา เปิดเผยว่า ไม่ลำบากใจในการทำหน้าที่ในการประชุมรัฐสภา วันนี้ (17 พ.ย.) เพื อพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ และยืนยันว่าผู้ชุมนุมมีสิทธิ์เรียกร้อง แต่ต้องไม่ปฎิบัติหรือฝ่าฝืนกฎหมาย ไม่คุกคามการทำหน้าที่ของสมาชิกรัฐสภา ส่วนเรื่องการรักษาความปลอดภัยในรัฐสภา เป็นหน้าที่ของรัฐสภาที่ต้องดูแล ส่วนพื้นที่รอบนอกเป็นหน้าที่ของตำรวจ ส่วนที่มีการประเมินว่า หากร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญของไอลอว์ถูกตีตกไป จะเป็นการจุดชนวนทางการเมืองให้ร้อนแรงกว่าเดิมหรือไม่ นายชวน กล่าวว่าไม่ทราบ เป็นหน้าที่ของรัฐสภา แต่ส่วนตัวเชื่อว่า การประชุมของรัฐสภาจะไม่มีปัญหาเกิดขึ้น ส่วนเวลาในการอภิปรายเบื้องต้นยังไม่แน่นอน ส่วนกรณีที่กลุ่มไทยภักดีจะไปยื่นหนังสือต่ออัยการหากร่างของไอลอว์ผ่านมติของสภา นาย ชวน กล่าวว่า ขอให้เป็นเรื่องเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับภายในสภา ไม่ขอพูดเรื่องนอกสภา .- สำนักข่าวไทย
รัฐสภา 17 พ.ย.- นายชินวรณ์ บุญยเกียรติ ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า รายงานของคณะกรรมาธิการศึกษาร่างแก้รัฐธรรมนูญก่อนรับหลักการมีประเด็นหลัก 2 ประเด็น คือ ร่างที่เสนอเข้ามาชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ และต้องทำประชามติก่อนหรือไม่ ซึ่งเป็นคำถามที่เกิดจากการประชุมรัฐสภาครั้งที่ผ่านมา และกรรมาธิการฯ ต้องชี้แจง คาดว่าใช้เวลาไม่มากนัก แต่ที่น่าเป็นห่วง คือ ร่างของไอลอว์ ซึ่งผู้เสนอกฎหมายต้องตอบคำถาม 5 ประการ คือ 1.ไม่มีบทบัญญัติห้ามแก้ไขหมวด 1 และ 2 ซึ่งต้องชี้แจงว่ามีเจตนาอย่างไร 2.ในส่วนที่เกี่ยวกับ ส.ส.ร. และแยกประเด็นไปถึง 10 ประเด็น จะทำให้เกิดความซ้ำซ้อนกันหรือไม่ 3.เรื่องการดำเนินการยกเลิกการสรรหาองค์กรอิสระต่างๆ มองว่ายังไม่ได้เสนอรูปแบบที่ดีกว่า แล้วจะมั่นใจได้อย่างไร ว่าจะไม่นำไปสู่การยกเลิกองค์กรอิสระ 4.มีข้อห่วงใยในข้อบังคับข้อ 124 มีบทบัญญัติชัดเจนว่า การแก้ไขเพิ่มเติมวาระที่ 2 หากรับหลักการมาแล้ว จะไม่สามารถแก้ไขให้ขัดกับขั้นรับหลักการได้ ซึ่งผู้เสนอร่างต้องตอบให้ได้ถึงหลักการนี้ และ 5.มีบางส่วนเข้าเงื่อนไขมาตรา 256 วงเล็บ 8 ที่อาจจะมีความซ้ำซ้อนกันเรื่องการทำประชามติ.- สำนักข่าวไทย
เครือข่าย People Go ออกแถลงการณ์จากราษฎร์ดำเนินสู่ราษฎร์สภา พร้อมร่วมล้อมรัฐสภากับม็อบปลดแอก 17 พ.ย. จนกว่าจะโหวตรับร่างรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน
กลุ่มไทยภักดี คัดค้านแก้รัฐธรรมนูญตั้งส.ส.ร. ยืนยันชุมนุมหน้าสภา ยุติก่อนกลุ่มคณะราษฎร 63 รวมตัว ไม่ต้องห่วงว่าจะมีการปะทะ เล็งยื่นอัยการสูงสุดส่งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย การแก้ไขไม่ชอบด้วยกฎหมาย
จับตาการประชุมร่วมรัฐสภาในวันที่ 17-18 พฤศจิกายนนี้ ซึ่งเป็นวาระสำคัญเพื่อพิจารณาว่าจะรับร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญฉบับใดบ้าง โดยมีทั้งหมด 7 ฉบับ ทั้งนี้ มติพรรคประชาธิปัตย์รับร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับฝ่ายค้าน-ฝ่ายรัฐบาล
สมชัย ชี้ ร่างฯประชามติของรัฐบาลที่เสนอสภาสะท้อนความไม่จริงใจ ไม่ทันการณ์ ไม่ทันสมัย ไม่เข้าใจหลักการการทำประชามติ และไม่เห็นหัวประชาชน เผยรับฟังความเห็นแบบไม่เปิดกว้าง
“อภิสิทธิ์” เรียกร้องนายกฯ แสดงความจริงใจแก้รัฐธรรมนูญ บอกให้ส.ว.ยกมือผ่าน ก็จะทำให้ประเทศมีทางออก “คุณหญิงสุดารัตน์” ให้นายกฯ เสียสละลาออก เลือกตั้งใหม่ปลายปี 64
อภิสิทธิ์ แนะ พล.อ.ประยุทธ์ โชว์บทบาทการแก้ รธน.ให้ชัดเจน เพื่อคลี่คลายสถานการณ์ ขณะอมยิ้มหลังถูกถามเป็นแคนดิเดตนายกฯ กรณีนายกฯลาออก ชี้ ยังไม่เห็นสัญญาณ