Putin says he welcomes Trump statement on seeking to end conflict in Ukraine

“ปูติน” ชื่นชมแถลงการณ์ “ทรัมป์” เรื่องยูเครน

คาซาน 25 ต.ค.- นายวลาดิเมียร์ ปูติน ประธานาธิบดีของรัสเซียแสดงความชื่นชมแถลงการณ์ของนายโดนัลด์ ทรัมป์ที่ต้องการหาทางยุติความขัดแย้งในยูเครน   ประธานาธิบดีปูตินกล่าวระหว่างการแถลงข่าวเมื่อวานนี้ ซึ่งเป็นวันที่ 3 ของการประชุมสุดยอดกลุ่มบริกส์ (BRICS) ที่เมืองคาซานของรัสเซียว่า รัสเซียชื่นชมแถลงการณ์ของนายทรัมป์ ตัวแทนพรรครีพับลิกันในการเลือกตั้งประธานาธิบสหรัฐที่ต้องการหาทางยุติความขัดแย้งในยูเครน พร้อมกับพูดถึงความสัมพันธ์ระหว่างรัสเซียกับสหรัฐว่า หากสหรัฐเปิดกว้างเรื่องการฟื้นความสัมพันธ์ในระดับปกติกับรัสเซีย รัสเซียก็จะทำเช่นกัน แต่จะมีการดำเนินการในเรื่องนี้หรือไม่ ขึ้นอยู่กับรัฐบาลสหรัฐชุดใหม่ที่จะตั้งขึ้นหลังการเลือกตั้งสหรัฐ ผู้นำรัสเซียยังได้กล่าวถึงข้อครหาเรื่องรัสเซียมีการติดต่อกับทรัมป์ว่า ประเด็นนี้ถูกนำมากล่าวหานานกว่า 1 ปีแล้ว และผลการสอบสวนในสหรัฐเองก็ได้ข้อสรุปว่า เป็นเรื่องเหลวไหลอย่างสิ้นเชิง.-816(814).-สำนักข่าวไทย

vote sign

รู้จัก “คณะผู้เลือกตั้ง” ในศึกเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ

วอชิงตัน 25 ต.ค.- ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐวันที่ 5 พฤศจิกายนนี้ คะแนนเสียงของประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจะไม่ใช่เสียงชี้ขาดผู้สมัครที่จะเป็นผู้ชนะโดยตรง แต่เป็นเสียงของ “คณะผู้เลือกตั้ง” ที่จะลงคะแนนเลือกผู้สมัคร ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นไปตามเสียงของประชาชน ข้อมูลจากเอกสารวิชาการ Academic Focus เดือนมกราคม 2560 ในคลังสารสนเทศของสถาบันนิติบัญญัติ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรของไทยอธิบายไว้ว่า คณะผู้เลือกตั้ง (Electoral College) เป็นระบบการเลือกตั้งประธานาธิบดีโดยทางอ้อม เนื่องจากผู้ร่างรัฐธรรมนูญที่เสร็จสมบูรณ์ในปี ค.ศ.1787 เกรงว่า ประชาชนจะไม่มีวิจารณญาณที่ดีเพียงพอที่จะเลือกตั้งประธานาธิบดีที่ดีได้ จึงสร้างระบบคณะผู้เลือกตั้ง เพื่อให้ผู้เลือกตั้ง (Elector) จากแต่ละรัฐเดินทางมาร่วมประชุมเลือกประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดี ขณะเดียวกันการใช้ระบบนี้ทำให้ประธานาธิบดีมีความอิสระจากรัฐสภา เพราะไม่ได้มาจากการเลือกตั้งจากสมาชิกรัฐสภา ขณะที่ผู้เลือกตั้งไม่ใช่เจ้าหน้าที่รัฐบาลกลาง และทำหน้าที่ได้เพียงครั้งเดียว จึงไม่มีอิทธิพลต่อการเลือกตั้ง คณะผู้เลือกตั้งมาจากไหน ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจะเลือกคณะผู้เลือกตั้งพร้อมกับการเลือกตั้งประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดี โดยที่แต่ละรัฐจะมีวิธีการเลือกแตกต่างกันไปตามกฎหมายระดับรัฐ บางรัฐอาจพิมพ์ชื่อผู้สมัครเป็นผู้เลือกตั้งในบัตรลงคะแนนเดียวกับผู้สมัครเป็นประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดี บางรัฐอาจพิมพ์บัตรลงคะแนนแยกออกไป ปัจจุบันจำนวนคณะผู้เลือกตั้งมีทั้งหมด 538 คน เป็นไปตามจำนวนสมาชิกวุฒิสภา (สว.) 100 คน และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) 435 คน จากทั้งหมด 50 รัฐ รวมกับคณะผู้เลือกตั้ง […]

ชี้พรรคแอลดีพีของญี่ปุ่นจะไม่ได้ครองเสียงข้างมากในสภา

นักวิขาการด้านการเมืองญี่ปุ่นกล่าวแสดงความเห็นว่า บรรดาผู้มีสิทธิ์ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งในญี่ปุ่นจะปิดฉากการครองเสียงข้างมากของพรรคเสรีประขาธิปไตย หรือ แอลดีพี ในรัฐสภา

“มัสก์” สัญญาแจกเงินวันละ 1 ล้านดอลลาร์ให้ผู้ลงชื่อหนุนรัฐธรรมนูญ

นายอีลอน มัสก์ มหาเศรษฐี ประกาศให้สัญญาในวันเสาร์ตามเวลาท้องถิ่นว่า เขาจะแจกเงินวันละ 1 ล้านดอลลา ทุกวันจนถึงวันเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐในเดือนพฤศจิกายนนี้ให้กับผู้โชคดีที่ลงชื่อในคำร้องออนไลน์สนับสนุนรัฐธรรมนูญสหรัฐ

โพลระบุพรรคแอลดีพีเสี่ยงเสียเสียงข้างมากในรัฐสภาในการเลือกตั้ง

พรรคเสรีประชาธิปไตย หรือ แอลดีพี ซึ่งเป็นพรรครัฐบาลญี่ปุ่นอาจจะสูญเสียงที่นั่งเสียงข้างมากในสภาล่างในการเลือกตั้งทั่วไปที่จะมีขึ้นในวันที่ 27 ตุลาคมนี้

posters of candidates running in Japan general election

เลือกตั้งญี่ปุ่น 27 ต.ค.นี้มีผู้สมัครหญิงมากเป็นประวัติการณ์

โตเกียว 16 ต.ค.- การเลือกตั้งทั่วไปในญี่ปุ่นที่จะมีขึ้นในวันที่ 27 ตุลาคมนี้ มีผู้สมัครสตรีมากถึง 314 คน มากที่สุดในญี่ปุ่นเท่าที่เคยมีมา ญี่ปุ่นเริ่มการหาเสียงเลือกตั้งอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม หลังจากนายชิเงรุ อิชิบะที่ชนะเลือกตั้งเป็นหัวหน้าพรรคเสรีประชาธิปไตยหรือแอลดีพี (LDP) และขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีในวันที่ 1 ตุลาคม ประกาศยุบสภาเมื่อวันที่ 9 ตุลาคม ทำให้มีการเลือกตั้งก่อนกำหนดประมาณ 1 ปี มีผู้สมัคร 1,344 คนลงชิงชัยที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎร 465 ที่นั่ง โดยเป็นผู้สมัครสตรีมากถึง 314 คน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 23.4 เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.7 จากการเลือกตั้งครั้งล่าสุดในปี 2564 และลบสถิติการเลือกตั้งปี 2552 ที่มีผู้สมัครสตรีมากที่สุดที่ 229 คน รายงานเมื่อไม่นานมานี้ของเวิลด์อีโคโนมิกฟอรัมจัดให้ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีช่องว่างระหว่างเพศชายกับเพศหญิงในอันดับที่ 118 จากทั้งหมด 146 ประเทศ ขณะเดียวกัน ผลการสำรวจของสำนักข่าวเกียวโดพบว่า ผู้สมัครที่รับสืบทอดตำแหน่งจากคนในครอบครัว หรือมีปู่ย่าตายายบิดามารดาเป็นสมาชิกรัฐสภา หรือที่เรียกว่าผู้สมัครมรดกตกทอดมีทั้งหมด 136 […]

VOA ส่งตรงจากสหรัฐ : ความสำคัญของการเลือกตั้งสหรัฐอเมริกา

หลายครั้งที่มักจะมีคำถามสำหรับคนไทยที่อาศัยในสหรัฐอเมริกา และมีสิทธิเลือกตั้ง ว่าทำไมต้องให้ความสำคัญกับการไปเลือกตั้งและมีส่วนร่วมกับการเมืองสหรัฐ ติดตามจากคุณคมสัน ศรีธนวิบุญชัย ผู้สื่อข่าว วีโอเอไทย

อดีตประธานาธิบดี “โอบามา” ช่วยหาเสียงให้ “แฮร์ริส”

นายบารัค โอบามา อดีตประธานาธิบดีสหรัฐออกรณรงค์หาเสียงให้กับรองประธานาธิบดีคอมมาลา แฮร์ริส ตัวแทนชิงตำแหน่งประธานาธิบดีของพรรคเดโมแครตที่มหาวิทยาลัยพิตส์เบิร์ก

 นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นประกาศยุบสภาเพื่อเลือกตั้งใหม่

นายกรัฐมนตรีชิเงรุ อิชิบะ ของญี่ปุ่น ประกาศยุบสภาผู้แทนราษฎรในวันนี้ เพื่อให้มีการเลือกตั้งทั่วไปครั้งใหม่ที่กำหนดไว้ในวันที่ 27 ตุลาคมนี้

Japan's incoming PM Ishiba in press conference

ญี่ปุ่นจะจัดเลือกตั้งทั่วไป 27 ต.ค.นี้

โตเกียว 30 ก.ย.- นายชิเงรุ อิชิบะ ว่าที่นายกรัฐมนตรีคนใหม่ของญี่ปุ่นกำหนดจัดการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 27 ตุลาคมนี้ หลังจากชนะการเลือกตั้งเป็นหัวหน้าพรรคเสรีประชาธิปไตยหรือแอลดีพี (LDP) ซึ่งเป็นพรรครัฐบาลอย่างเฉียดฉิวเมื่อวันศุกร์ นายชิเงรุ วัย 67 ปี เผยวันนี้ว่า จะประกาศให้จัดการเลือกตั้งทั่วไปก่อนกำหนดในวันที่ 27 ตุลาคมนี้ เพื่อขอความไว้วางใจจากประชาชน เร็วขึ้น 1 ปี จากกำหนดการเลือกตั้งในเดือนตุลาคม 2568 ก่อนหน้านี้ในวันเดียวกันผู้บริหารพรรคแอลดีพีเผยว่า หลังจากที่มีการลงมติเลือกนายชิเงรุเป็นนายกรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการในการประชุมสภาสมัยวิสามัญวันที่ 1 ตุลาคม นายชิเงรุจะประกาศยุบสภาในวันที่ 9 ตุลาคม จากนั้นจะเริ่มการหาเสียงอย่างเป็นทางการในวันที่ 15 ตุลาคม หรืออย่างน้อย 12 วันก่อนการเลือกตั้ง พรรคแอลดีพีปกครองญี่ปุ่นเป็นส่วนใหญ่นับตั้งแต่สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ปัจจุบันครองที่นั่งในสภา 258 ที่นั่งจากทั้งหมด 465 ที่นั่ง แม้ผลการสำรวจความนิยมในเดือนมิถุนายนได้เพียงร้อยละ 25.5 ต่ำที่สุดนับจากกลับมาเป็นรัฐบาลอีกครั้งในปี 2555 แต่พรรคแอลดีพียังคงได้รับความนิยมมากที่สุดในบรรดาพรรคการเมืองอื่น ๆ ของญี่ปุ่น.-814.-สำนักข่าวไทย  

Dissanayake takes oath as Sri Lanka's new president

ปธน.คนใหม่ศรีลังกาสาบานตนรับตำแหน่งหลังชนะวานนี้

โคลัมโบ 23 ก.ย.- นายอนุระ กุมารา ดิสซานายาเก นักการเมืองศรีลังกาที่มีแนวคิดไปทางมาร์กซิสต์ประกอบพิธีสาบานตนในวันนี้ หลังจากเป็นผู้ชนะในการนับคะแนนรอบ 2 เมื่อวันอาทิตย์ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีที่มีขึ้นเมื่อวันเสาร์ นายดิสซานายาเก วัย 55 ปี ไม่ได้อยู่ในวงศ์ตระกูลนักการเมืองเหมือนผู้สมัครคนอื่น ๆ เขาสามารถเอาชนะคู่แข่งอย่างนายรานิล วิกรมสิงเห ประธานาธิบดีวัย 75 ปีที่ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี 2565 และนายซาจิธ เปรมาดาสา ผู้นำฝ่ายค้านวัย 57 ปี (อ่านเพิ่มเติม https://tna.mcot.net/world-1423340) คณะกรรมการการเลือกตั้งศรีลังกาแจ้งว่า มีผู้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งประธานาธิบดีเมื่อวันเสาร์ประมาณร้อยละ 75 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 17 ล้านคนจากจำนวนประชากรทั้งหมดมากกว่า 23 ล้านคน เป็นการเลือกตั้งครั้งแรกของประเทศ นับจากเศรษฐกิจเผชิญวิกฤตในปี 2565 จากการขาดแคลนทุนสำรองเงินตราระหว่างประเทศ ทำให้ไม่สามารถนำเข้าสินค้าจำเป็น เช่น เชื้อเพลิง ยา ก๊าซหุงต้ม นำมาซึ่งการประท้วงทั่วประเทศที่ทำให้นายโกตาบายา ราชปักษา ประธานาธิบดีในขณะนั้นต้องหนีออกนอกประเทศและประกาศลาออกในเวลาต่อมา.-814.-สำนักข่าวไทย 

Marxist-leaning Anura Kumara Dissanayake in Sri Lanka Presidential election

ศรีลังกาได้ ปธน. คนใหม่สายมาร์กซิสต์

โคลัมโบ 23 ก.ย.- นายอนุระ กุมารา ดิสซานายาเก วัย 55 ปี นักการเมืองที่มีแนวคิดเอนไปทางมาร์กซิสต์ คว้าชัยชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดีศรีลังกา ซึ่งมีการลงคะแนนไปเมื่อวันเสาร์ การเลือกตั้งครั้งนี้นับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของศรีลังกาที่ต้องมีการนับคะแนนถึง 2 รอบ ระบบการเลือกตั้งประธานาธิบดีในศรีลังกาให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งเลือกผู้สมัครด้วยการเรียงตามอันดับความชอบ ได้ 3 อันดับ หากผลการนับคะแนนรอบแรกไม่มีผู้สมัครคนใดได้รับคะแนนความชอบอันดับ 1 ถึงเกณฑ์ร้อยละ 50 จะตัดผู้สมัครทุกคนให้เหลือเพียงผู้มีคะแนนสูงสุด 2 คนแรก แล้วให้นับรวมคะแนนความชอบอันดับรองลงไปที่ผู้สมัคร 2 คนนี้ได้รับ ผลการนับคะแนนรอบสองเมื่อวันอาทิตย์พบว่า นายดิสซานายาเก วัย 55 ปี ที่ชูนโยบายปราบปรามการทุจริตและกระตุ้นการฟื้นฟูเศรษฐกิจที่ประสบวิกฤตการเงินเลวร้ายที่สุดในรอบหลายทศวรรษ ได้คะแนนร้อยละ 42.3 เพิ่มขึ้นอย่างมากจากการเลือกตั้งปี 2562 ที่เขาได้คะแนนเพียงร้อยละ 3 เท่านั้น เขาได้คะแนนเป็นที่ 1 ทิ้งห่างนายซาจิธ เปรมาดาสา ผู้นำฝ่ายค้านที่ได้คะแนนร้อยละ 32.8 ส่วนนายรานิล วิกรมสิงเห ประธานาธิบดีคนปัจจุบันได้คะแนนร้อยละ 17 ในการนับคะแนนรอบแรก นายดิสซานายาเกประกาศตัวว่าเป็นผู้สมัครแห่งความเปลี่ยนแปลง และรับปากจะยุบสภาภายใน […]

1 2 3 4 5 6 288
...