อาเซียนเรียกร้องเมียนมาเริ่มกระบวนการสันติภาพ
รัฐนตรีต่างประเทศของชาติสมาชิกอาเซียนประณามการใช้ความรุนแรงกับพลเรือนในเมียนมาและเรียกร้องให้ทุกฝ่ายยุติความเป็นปรปักษ์และเดินหน้าตามแผนสันติภาพที่ได้ตกลงกันไว้
รัฐนตรีต่างประเทศของชาติสมาชิกอาเซียนประณามการใช้ความรุนแรงกับพลเรือนในเมียนมาและเรียกร้องให้ทุกฝ่ายยุติความเป็นปรปักษ์และเดินหน้าตามแผนสันติภาพที่ได้ตกลงกันไว้
เพนนี หว่อง รัฐมนตรีต่างประเทศออสเตรเลียกล่าววันนี้ว่า ความขัดแย้งในเมียนมาอยู่ในสภาพย่ำแย่ลงเรื่อย ๆ และข้อความที่เธออยากจะส่งไปถึงรัฐบาลทหารเมียนมาก็คือ
เรตโน มาร์ซูดี รัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซียกล่าวในระหว่างการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนที่ประเทศลาวเมื่อวานนี้เรียกร้องให้ฝ่ายต่าง ๆ ในเมียนมาที่ยังไม่ยอมหันหน้ามาเปิดการเจรจา
รัฐสภา 25 ก.ค.- พันธมิตรชานม-เครือข่ายในเมียนมา ยื่นหนังสือต่อ กมธ.ความมั่นคงฯ เรียกร้องปฏิบัติตามข้อแนะนำของผู้รายงานพิเศษสหประชาชาติ ร่วมกันคว่ำบาตร MEB และ MOGE หยุดการมีส่วนร่วมสนับสนุนรัฐประหารในเมียนมา นายรังสิมันต์ โรม สส.แบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการความมั่นคงแห่งรัฐ กิจการชายแดนไทย ยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปประเทศ รับหนังสือจากตัวแทนกลุ่มพันธมิตรชานมไทย ร่วมกับองค์กรเครือข่าย 240 องค์กร ภาคประชาคมในเมียนมา และองค์กรระหว่างประเทศ เรียกร้องให้ร่วมกันคว่ำบาตรธนาคารเศรษฐกิจเมียนมา (Myanma Economic Bank: MEB) และบริษัทวิสาหกิจน้ำมันและก๊าซเมียนมา (Myanma Oil and Gas Enterprise: MOGE) เนื่องจากคณะรัฐประหารได้ใช้ทุนจากองค์การรัฐวิสาหกิจซื้ออาวุธเชื้อเพลิงสำหรับอากาศยาน และเข้าถึงตลาดการเงินระหว่างประเทศ ตัวแทนกลุ่มพันธมิตรชานมไทย และเครือข่ายเมียนมา กล่าวว่า สหภาพยุโรปคว่ำบาตร MOGE เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2565 ทำให้คณะรัฐประหารสูญเสียเงินอย่างน้อย 500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่อเมริกาคว่ำบาตร MOGE ได้เพียงบางส่วน และบริษัท […]
รมว.ต่างประเทศไทย-อินโดนีเซีย เห็นพ้องใช้บทบาทอาเซียนนำความสงบสุขกลับคืนสู่เมียนมา
นายมิ้น ส่วย ประธานาธิบดีของรัฐบาลทหารเมียนมา มีอาการป่วยหนักอย่างรุนแรงหลายด้าน ซึ่งเป็นแถลงการณ์เกี่ยวกับสุขภาพของบุคคลสำคัญในคณะรัฐบาลที่ไม่เกิดขึ้นบ่อยนักในเมียนมาในชณะที่เหลือเวลาอีกไม่กี่สัปดาห์ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินก็จะหมดอายุลง
“มาริษ” รมว.ต่างประเทศ ตอบกระทู้สภาฯ โต้ “รังสิมันต์” ยันไม่พบหลักฐานธนาคาร-รัฐบาลไทยเข้าไปเกี่ยวข้องกับธุรกรรมซื้ออาวุธเมียนมา พร้อมย้ำไทยไม่สนับสนุนการละเมิดสิทธิมนุษยชน
ย่างกุ้ง 1 ก.ค.- สื่อทางการเมียนมารายงานวันนี้ว่า ทางการจับกุมคน 11 คน ฐานพัวพันกับการโก่งราคาขายข้าว โดยมีผู้บริหารซูเปอร์มาร์เก็ตร่วมทุนของญี่ปุ่นรวมอยู่ด้วย หนังสือพิมพ์โกลบอลนิวไลท์ออฟเมียนมารายงานว่า บุคคลกลุ่มนี้ถูกกล่าวหาว่าโก่งราคาขายข้าวขึ้นไปร้อยละ 31-70 จากราคาที่กำหนดไว้ ผู้ถูกจับกุมมีทั้งผู้ค้าข้าว เจ้าหน้าที่โรงสีข้าว ผู้ค้าข้าวรายย่อย ผู้บริหาร 4 คนของอิออนออเรนจ์ ที่เป็นธุรกิจร่วมทุนระหว่างอิออนของญี่ปุ่นกับครีเอชันเมียนมาในย่างกุ้ง ในจำนวนนี้เป็นชาวญี่ปุ่น 1 คน นายโยชิมาสะ ฮายาชิ หัวหน้าเลขาธิการคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่นเผยกับสื่อว่า มีชาวญี่ปุ่นถูกตำรวจสอบปากคำในกรุงย่างกุ้งที่เป็นเมืองหลวงเชิงพาณิชย์ของเมียนมา รัฐบาลจะดำเนินมาตรการที่เหมาะสมด้วยการประสานงานกับบริษัทของชาวญี่ปุ่นรายนั้นและเสนอให้การสนับสนุนที่จำเป็น ขณะเดียวกันจะขอให้ทางการเมียนมาปล่อยตัวเขาโดยเร็ว ด้านอิออนแถลงโดยระบุชื่อเจ้าหน้าที่อาวุโสชายวัย 53 ปี ว่า เป็นพนักงานของบริษัทในเมียนมาที่ถูกรัฐบาลเมียนมาควบคุมตัว บริษัทจะให้ความร่วมมือในการสอบสวนกับทางการท้องถิ่น และจะขอความสนับสนุนจากสถานทูตญี่ปุ่นในเมียนมา.-814.-สำนักข่าวไทย
ธนาคารกลางแห่งเมียนมา ปฏิเสธรายงานของสหประชาชาติหรือยูเอ็น เรื่องรัฐบาลทหารเมียนมายังคงเข้าถึงเงินและอาวุธจากบางประเทศ สำหรับทำสงครามกับกลุ่มต่อต้านการรัฐประหาร
วอชิงตัน 26 มิ.ย.- สหประชาชาติหรือยูเอ็นเผยรายงานวันนี้ว่า การที่นานาชาติพยายามโดดเดี่ยวรัฐบาลเมียนมาดูเหมือนจะสามารถลดทอนความสามารถในการจัดซื้ออาวุธใหม่จากต่างประเทศ แต่กองทัพเมียนมายังคงเข้าถึงเงินและอาวุธจากบางประเทศไว้ทำสงครามกับกลุ่มต่อต้าน นายทอม แอนดรูวส์ ผู้รายงานพิเศษยูเอ็นด้านสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในเมียนมาเผยแพร่รายงานว่า รัฐบาลทหารเมียนมานำเข้าอาวุธ เทคโนโลยีที่ใช้ได้ทั้งทางทหารและพลเรือน อุปกรณ์การผลิต และวัสดุอื่น ๆ มูลค่า 253 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 9,311 ล้านบาท) ในปีงบประมาณสิ้นสุดเดือนมีนาคม 2567 ลดลง 1 ใน 3 จากปีงบประมาณก่อน อันเป็นผลจากการที่สิงคโปร์พยายามขัดขวางไม่ให้บริษัทสิงคโปร์ให้ความช่วยเหลือรัฐบาลเมียนมา เรื่องนี้มีความหมายอย่างยิ่ง เนื่องจากกองทัพเมียนมาใช้อาวุธเหล่านี้โจมตีทางอากาศ สังหารพลเรือนตามหมู่บ้าน รายงานระบุว่า หน่วยงานในความควบคุมของกระทรวงกลาโหมเมียนมามีการจัดซื้อจัดจ้างทางทหารมูลค่า 630 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 23,185 ล้านบาท) ระหว่างปี 2565-2567 โดยจัดซื้อจัดจ้างจากสิงคโปร์ลดลง จากมากกว่า 110 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (กว่า 4,048 ล้านบาท) ในปีงบประมาณ 2565 เหลือ 10 ล้านดอลลาร์สหรัฐเศษ (ราว 368 ล้านบาท) […]
ย่างกุ้ง 17 มิ.ย.- รัฐบาลเงาของเมียนมาคาดว่า มีชาวโรฮีนจามากถึง 70,000 คน ติดอยู่ในการสู้รบทางภาคตะวันตกของเมียนมา รัฐมนตรีช่วยกระทรวงสิทธิมนุษยชนของรัฐบาลเอกภาพแห่งชาติ ซึ่งเป็นรัฐบาลเงาของเมียนมาเผยกับรอยเตอร์ว่า ขณะนี้มีชาวโรฮีนจาประมาณ 70,000 คน ติดอยู่ในเมืองมองดอ (Maungdaw) เนื่องจากไม่มีสถานที่ให้หลบหนีจากการสู้รบที่กำลังเข้ามาใกล้ เดือนที่แล้วชาวโรฮีนจาหลายหมื่นคนได้หนีไปยังบังกลาเทศที่มีพรมแดนติดกันเพื่อหลบหนีการสู้รบ แม้ว่าบังกลาเทศไม่เต็มใจที่จะรับผู้ลี้ภัยเพิ่ม เมืองมองดออยู่ห่างจากเมืองบูตีต่อง (Buthidaung) ไปทางตะวันตกเพียง 25 กิโลเมตร เมืองบูตีต่องเกิดการสู้รบทั้งในและรอบ หลังจากกองทัพอาระกันหรือเอเอ (AA) ยึดได้ด้วยการสู้รบอย่างหนักหน่วง เอเอซึ่งต่อสู้เพื่อเรียกร้องอำนาจปกครองตนเองรัฐยะไข่ปฏิเสธว่า ไม่ได้มุ่งเล่นงานชุมชนชาวโรฮีนจาตามที่ถูกกล่าวหา และประกาศให้ชาวโรฮีนจาออกจากเมืองมองดอภายในเวลา 21:00 น.วันอาทิตย์ เพราะเตรียมจะโจมตีเมืองนี้.-814.-สำนักข่าวไทย
วอชิงตัน 12 มิ.ย.- ธนาคารโลกปรับลดการคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจเมียนมาในปีงบประมาณ 2567/2568 ลงครึ่งหนึ่งจากร้อยละ 2 เหลือร้อยละ 1 เนื่องจากความรุนแรงที่เพิ่มขึ้น การขาดแคลนแรงงาน และสกุลเงินอ่อนค่า ทำให้การทำธุรกิจประสบปัญหา ธนาคารโลกคาดการณ์ในเดือนธันวาคม 2566 ว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศหรือจีดีพี (GDP) ของเมียนมาจะขยายตัวราวร้อยละ 2 ในปีงบประมาณ 2567/2568 แต่ได้ปรับลดลงเหลือร้อยละ 1 ในการคาดการณ์ล่าสุด เหตุผลหลักคือ อัตราเงินเฟ้อยังคงสูงอยู่ และข้อจำกัดในการเข้าถึงแรงงาน การแลกเปลี่ยนเงินตรา และกระแสไฟฟ้า สิ่งเหล่านี้มีแนวโน้มจะส่งผลกระทบต่อการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจมากกว่าที่เคยคาดไว้ รายงานของธนาคารโลกระบุว่า การประกาศบังคับเกณฑ์ทหารเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2567 ยิ่งทำให้คนอพยพหนีไปยังชนบทและต่างประเทศ มีรายงานเพิ่มขึ้นว่า บางอุตสาหกรรมประสบปัญหาขาดแคลนแรงงาน ขณะเดียวกันการที่รัฐบาลเมียนมาเสียการควบคุมพื้นที่ชายแดนทางบกกับจีนและไทย ได้ทำให้การนำเข้าและส่งออกทางชายแดนลดลงร้อยละ 50 และ 44 ตามลำดับ ขณะที่การนำเข้าและส่งออกทั้งหมดของเมียนมาในช่วง 6 เดือนจนถึงเดือนมีนาคม 2567 ลดลงร้อยละ 20 และ 13 ตามลำดับ เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน.-814.-สำนักข่าวไทย