เจาะลึกยารักษาโควิด “ทรัมป์”
นพ.ยง เจาะรายละเอียดยาที่ใช้รักษาประธานาธิบดี “โดนัล ทรัมป์” หลังติดเชื้อโควิด เผยวารสารต่างประเทศเผยแพร่ว่า รักษาด้วยยา Remdesivir และ antibody cocktail
นพ.ยง เจาะรายละเอียดยาที่ใช้รักษาประธานาธิบดี “โดนัล ทรัมป์” หลังติดเชื้อโควิด เผยวารสารต่างประเทศเผยแพร่ว่า รักษาด้วยยา Remdesivir และ antibody cocktail
กรุงเทพฯ 4 ก.ย.-“นพ.ยง” ชี้การพัฒนาวัคซีนโควิด-19 ของไทย อุปสรรคคือการศึกษาในคน ระยะที่ 3 ซึ่งต้องใช้กลุ่มประชากรหลักหมื่นและทำในแหล่งระบาดของโรค ต้องไปจ้างต่างประเทศผลิต มีค่าใช้จ่ายจำนวนมาก ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ผ่านเฟซบุ๊ก Yong Poovorawan ว่า โควิด-19 กับการพัฒนาวัคซีน ในยามปกติการพัฒนาวัคซีน จะใช้กับป้องกันโรคให้กับคนปกติ จะมี ลำดับขั้นตอน ดังนี้ การศึกษาในห้องปฏิบัติการที่ได้มาตรฐาน เพื่อพิสูจน์หลักการทดสอบในสัตว์ทดลองที่เป็นสัตว์ขนาดเล็กก่อน เช่น หนู กระต่าย ทดสอบความปลอดภัยและผลของภูมิต้านทานในสัตว์ใหญ่ เช่นลิง ทดสอบประสิทธิภาพในสัตว์ เช่น ให้วัคซีนในสัตว์ แล้วให้เชื้อที่ทำให้เกิดโรค ดูว่าป้องกันโรคได้ หรือไม่ (ถ้าทำได้) ทุกขั้นตอนจะต้องทำในสถานที่ที่ได้มาตรฐาน GLP (Good Laboratory Practice) และวัคซีนที่ผลิตมาทดลอง ก็จะต้องได้มาตรฐานคงที่ จากห้องปฏิบัติการที่มีมาตรฐาน GLP ข้อมูลทั้งหมดจะต้องถูกนำมาขึ้นทะเบียน องค์กรอาหารและยา FDA เป็น […]
กรุงเทพฯ 3 ก.ย.-“นพ.ยง” คาดสิ้นปีนี้ทั่วโลกติดเชื้อโควิด-19 กว่า 50 ล้านคน ความหวังหยุดยั้งการระบาด คือวัคซีน หวังให้มีประสิทธิภาพไม่น้อยกว่า 60% ชี้หากไม่มีวัคซีนมาช่วยเลย การระบาดจะนานกว่า 2 ปี ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ผ่านเฟซบุ๊ก Yong Poovorawan ว่า โควิด-19 ประเทศไทยสามารถควบคุมไม่ให้มีการระบาดในประเทศได้ถึง 100 วันแล้ว ขณะเดียวกัน จำนวนผู้ติดเชื้อทั่วโลกรวม 26 ล้านคนแล้ว มีผู้ป่วยเสียชีวิตมากกว่า 800,000 คน จะยังคงเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ประมาณ 4 วัน หนึ่งล้านคน ภายในสิ้นปีนี้น่าจะมีผู้ติดเชื้อมากกว่า 50 ล้านคน และมีการสูญเสียชีวิตมากกว่าล้านแน่นอน ความหวังที่จะหยุดยั้งการระบาดของโรคได้ ทุกคนตั้งความหวังไว้ที่วัคซีนแต่การให้วัคซีนกับคนทั้งโลกไม่ใช่เรื่องง่าย การจะหยุดยั้งการระบาดของโรคได้ จะต้องมีคนติดเชื้อไปแล้ว รวมทั้งเกิดภูมิต้านทานที่ได้จากวัคซีนรวมกันแล้ว ต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 50-60 ของประชากร วัคซีนจะต้องมีประสิทธิภาพในการป้องกันโรค […]
กทม.29 ส.ค.-“นพ.ยง”ชี้โควิด-19 คืบคลานเข้าใกล้ไทยมากขึ้น เป็นห่วงช่องทางธรรมชาติ นับแต่นี้ต่อไปจะต้องมีมาตรการที่เข้มแข็งขึ้นในการควบคุมโรค ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ผ่านเฟซบุ๊ก เรื่อง “โควิด-19 ได้คืบคลานเข้ามาใกล้ประเทศไทยมากขึ้น” โดยระบุว่า เราจะเห็นได้ว่า มีการระบาดอย่างมากเกิดขึ้นใน ประเทศอินเดียเข้าสู่บังกลาเทศ และขณะนี้ได้เข้ามาสู่ในประเทศพม่า ที่เมืองยะไข่ ที่เป็นเขตติดต่อกับบังกลาเทศ และจะคืบคลานเข้าสู่ประเทศพม่า อัตราการเพิ่มขึ้นของผู้ป่วยในพม่า เพิ่มขึ้นเป็นแบบก้าวกระโดด และคงจะหนีไม่พ้น การระบาดใหญ่ต่อมา ในอดีตที่ผ่านมา โควิด-19 เข้าสู่ประเทศไทยด้วยการบินมา เรามีมาตรการในการกักกันได้ดีมาก มี State quarantine ป้องกันได้เป็นอย่างดี ต่อไปนี้ โควิด-19 จะเข้าสู่ประเทศไทยด้วยการเดินมา เพราะเรามีดินแดนธรรมชาติ อันยาวไกลที่เชื้อจะได้เดินทางเข้ามา ไม่ว่าจะเป็นเดินมา หรือนั่งเรือมา หรือว่ายน้ำมา ยกตัวอย่างเช่น ไข้ปวดข้อยุงลายสายพันธุ์ที่ระบาดของบ้านเรา ก็เป็นสายพันธุ์ที่เกิดก่อนในต่างประเทศแล้วค่อยระบาดเข้าสู่ประเทศไทย นับแต่นี้ต่อไป เราจะต้องมีมาตรการที่เข้มแข็งขึ้น ในการควบคุมโรค ถ้ามีการพบภายในประเทศไทย จะต้องควบคุมให้เกิดการระบาดให้น้อยที่สุด ให้ระบบสาธารณสุขรองรับได้ ประชาชนทุกคนสามารถดำรงชีวิต ทำมาหากินได้ และเกิดความสูญเสียให้น้อยที่สุด […]
กทม. 28 ส.ค.-แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านไวรัสฯ ชี้ไทยยังอยู่กับโควิด-19 อีกไม่น้อยกว่า 1ปี ขอทุกคนช่วยกันเข้มแข็ง-อดทน ดูแลป้องกันไม่ให้เกิดการระบาด หรือหากเกิด ให้อยู่ในวงจำกัดที่ควบคุมได้ ทุกคนจะได้อยู่ได้ ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ผ่านเฟซบุ๊ก Yong Poovorawan ว่า บรรยากาศหลังโควิด-19 ขณะนี้เริ่มมีการผ่อนปรนในประเทศไทย ให้มีการการประชุมวิชาการได้ แต่ยังอยู่ในจำนวนจำกัด มีการควบคุมการประชุม เช่นการประชุมใหญ่ต้องไม่เกิน 500 คน และทุกคนต้องมีมาตรการในการป้องกันแบบเข็มแข็ง บรรยากาศได้กลับมามีการประชุมที่โรงแรมได้ ได้ไปประชุมวิชาการเทคนิคการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ประจำปี 2563 ที่จังหวัดกาญจนบุรี ได้ทราบผลกระทบของทางโรงแรม และบุคลากรทำงานในโรงแรมอย่างมาก และเงินประกันสังคมที่ช่วยเดือนนี้เป็นเดือนสุดท้ายอยากให้พวกเราช่วยกันเข้มแข็ง อดทน ช่วยกันดูแลป้องกันไม่ให้เกิดการระบาดของโควิด-19 หรือถ้าเกิดก็ให้อยู่ในวงจำกัดที่ควบคุมได้ ทุกคนจะได้อยู่ได้ เราจะต้องช่วยกันอีกยาวนานไม่น้อยกว่า 1 ปี .-สำนักข่าวไทย
สำนักข่าวไทย 27 ส.ค.-แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านไวรัสวิทยาคลินิก ชี้การพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 ซ้ำครั้งที่ 2 มีความเป็นไปได้ ล่าสุดพบที่ฮ่องกง เนเธอร์แลนด์และเบลเยี่ยม แต่เป็นคนละสายพันธุ์กับครั้งแรก ข้อมูลดังกล่าวมีผลต่อการศึกษาวัคซีน ระบบภูมิต้านทาน และการคงอยู่ของระบบภูมิต้านทานของโควิด-19 ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ผ่านเฟซบุ๊ก เรื่อง “โควิด-19 การติดเชื้อซ้ำครั้งที่ 2” โดยระบุว่า มีข้อมูลการติดเชื้อซ้ำครั้งที่ 2 จากฮ่องกง เนเธอร์แลนด์ และเบลเยียม การติดเชื้อที่ฮ่องกงแสดงได้ชัดเจนว่าการติดเชื้อครั้งแรก เป็น สายพันธุ์ V การติดเชื้อครั้งที่ 2 เป็นสายพันธุ์ G คนละสายพันธุ์กับครั้งแรก การติดเชื้อห่างกัน 4 เดือนครึ่งในการติดเชื้อครั้งแรก มีการตรวจวัดภูมิต้านทาน ไม่สามารถตรวจพบภูมิต้านทานในช่วง10 วันแรกของการติดเชื้อครั้งแรก มาตรวจอีกครั้งหนึ่งใน 3วันแรกของการติดเชื้อครั้งที่ 2 ก็ยังไม่พบภูมิต้านทาน ภูมิต้านทานเริ่มเกิดขึ้นหลังวันที่ 5 ไปแล้ว ของการติดเชื้อครั้งที่ 2 อย่างไรก็ตามทั้ง […]
“นพ.ยง” ชี้ขาดการพบซากไวรัสในหญิงจังหวัดเลย มีประวัติกลับจากดูไบไม่ใช่การระบาดในประเทศ และเป็นการติดเชื้อจากต่างประเทศ พร้อมย้ำนี่ไม่ใช่การระบาดระลอก 2 พร้อมคาดปลายปีนี้ทั่วโลกน่าจะมีผู้ป่วยพุ่งสูง 50 ล้านคน ตาย 1-5 ล้านคน หลังสถานการณ์ในปัจจุบัน พบเฉลี่ย 4 วันมีผู้ป่วย 1 ล้านคน
“นพ.ยง” ชี้การพบเชื้อโควิด-19 หลังกักตัว 14 วันมีความเป็นไปได้ คาดติดเชื้อมาจากต่างประเทศ มาถึงเมืองไทย เชื้อปริมาณน้อย ตรวจไม่พบ แต่ต่อมาตรวจพบ จำนวนน้อยโอกาสแพร่กระจายโรคไปสู่ผู้อื่นก็น้อยมากๆ
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านไวรัส ชี้โรคโควิด-19 แพร่กระจายโรคได้ดีในกลุ่มคนหมู่มาก กิจกรรมทางศาสนา สถานบันเทิง สนามกีฬา การชุมนุมทางการเมือง
“นพ.ยง”ลุ้นไทยปลอดโควิด-19เกิน 100 วัน ห่วงสภาพอากาศในฤดูนี้ชื้นเย็นเชื้อไวรัสอยู่นาน แพร่ระบาดโรคทางเดินหายใจได้ง่าย ขอทุกคนคงเข้มมาตรการล้างมือ–ใส่หน้ากาก-กำหนดระยะห่าง และเน้นมาตรการสุ่มตรวจเชิงรุกให้วินิจฉัยได้ตั้งแต่เริ่มแรก
กรุงเทพฯ 10 ส.ค.-“นพ.ยง”ชี้โควิด-19 อัตราผู้ป่วยเสียชีวิตสูงขึ้นตามอายุ โดยเฉพาะ 50ปีขึ้นไป ห่วงการป้องกันในผู้สูงอายุของไทย เป็นครอบครัวใหญ่ติดต่อกันง่าย ยกสิงคโปร์และญี่ปุ่น เป็นต้นแบบสู้การระบาดรอบ 2 ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Yong Poovorawan ว่า โควิด-19 อัตราการป่วยตาย ในโรคอุบัติใหม่ ในกลุ่ม coronavirus ได้รวบรวม สไลด์เก่ามารวมให้ดู จะเห็นว่า ตั้งแต่โรค ทางเดินหายใจอักเสบอย่างรุนแรง (SARS) ปอดบวมตะวันออกกลาง (MERS) มาจนถึง โควิด- 19 ผู้ป่วยเสียชีวิตจะสูงขึ้นตามอายุ โดยเฉพาะหลังอายุ 50 ปี เมื่อเปรียบเทียบกับไข้หวัดใหญ่สเปน อัตราการป่วยตายจะสูง ในเด็กเล็ก คนหนุ่มสาวและผู้สูงอายุ แต่ถ้าเป็นไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาลจะพบความสูญเสียถึงชีวิต ในเด็กเล็กกับผู้สูงอายุ โควิด-19 จึงสร้างปัญหาให้กับผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป กลยุทธ์หนึ่งในการควบคุมการระบาดและความสูญเสียจะปกป้องผู้สูงอายุ ไม่ให้เป็นโควิด-19 ในสิงคโปร์มีผู้ป่วยถึง 55,000 […]
กทม. 3 ส.ค.-“นพ.ยง” ผู้เชี่ยวชาญด้านไวรัส ชี้โควิด-19 สายพันธุ์ G พบมากที่สุดในปัจจุบัน แพร่กระจายเชื้อได้เร็ว แต่โรคไม่ได้รุนแรงขึ้น ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กเรื่อง “โควิด-19 สายพันธุ์ G” ว่า สายพันธุ์ไวรัสที่เรียกว่าสายพันธุ์ G หรือมีการเปลี่ยนแปลงกรดอะมิโน จากเดิมคือ Aspartate (D)ในตำแหน่งที่ 614 ของ spike โปรตีน หรือเรียกว่า D614 ไปเป็น Glycine เรียกว่า G614 คือกรดอะมิโนของ spike หรือหนามแหลมที่ยื่นออกมา ในตำแหน่งที่ 614 จากสายพันธุ์เดิม ถ้าตรวจพบว่าเป็น Glycine ก็จะเรียกว่า G type การเปลี่ยนกรดอะมิโนตัวเดียว ไม่ได้ทำให้รูปร่างของโปรตีน spike เปลี่ยนแปลงไป แต่การเปลี่ยนแปลงในตำแหน่งนี้ มีผลทำให้ ปลดปล่อยไวรัสหรือแพร่กระจายไวรัสออกมา […]