“นายกฯ อิ๊งค์” ประชุมสภานโยบายการอุดมศึกษาฯ

“นายกฯ อิ๊งค์” นั่งหัวโต๊ะประชุมสภานโยบายการอุดมศึกษาฯ ย้ำรัฐบาลให้ความสำคัญวิทยาศาสตร์-วิจัย ต่อยอดอุตสาหกรรม ตอบโจทย์ตลาดแรงงาน ดึงดูดนักลงทุน สร้างรายได้ให้ประเทศ

กสพท.เปิดโอกาสเด็กสายอื่น สอบหลักสูตรทันตแพทย์

กสพท.เผยการรับสมัครแพทย์-ทันต-สัตวแพทย์-เภสัชกร ประจำปี 2567 หลักเกณฑ์เหมือนเดิม แต่หลักสูตรทันตแพทย์ เปิดโอกาสให้เด็กสายอื่นเข้าศึกษาต่อได้ ปีนี้รับ 2,380 คน ยันแม้มีปัญหาหมอลาออก ไม่จำเป็นต้องรับเพิ่ม เพราะปัญหาคือการกระจายตัวของแพทย์

วธ.รวมพลังเครือข่าย จัดงานวัฒนธรรม ศาสนา วิทยาศาสตร์

ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม เปิดงาน วัฒนธรรม ศาสนา วิทยาศาสตร์ สร้างโอกาสให้เยาวชนจังหวัดอุทัยธานี โดยมีนักเรียน เข้าร่วมงานกว่า 12,000 คน

คุมประชากรยุง บนเกาะกาลาปากอส

เอกวาดอร์ปล่อยยุงลายเป็นหมัน บนเกาะลาปากอส เพื่อควบคุมประชากรยุง และควบคุมการระบาดของไข้เลือดออก ลดการใช้สารเคมีรมควันฆ่าเชื้อโรค

ชี้โฆษณานมผงทารกส่วนใหญ่ไม่มีผลวิจัยสนับสนุน

ลอนดอน 16 ก.พ.- ผลการศึกษาล่าสุดระบุว่า ข้ออ้างเรื่องผลดีต่อสุขภาพที่นมผงสำหรับทารกใช้โฆษณาทั่วโลกไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์สนับสนุนอย่างจริงจัง ดร. แดเนียล มันบลิต นักวิชาการที่มหาวิทยาลัยอิมพีเรียล คอลเลจ ลอนดอนของอังกฤษเผยว่า เขาและคณะนักวิจัยที่ทำการศึกษานี้ไม่ได้ทำสงครามต่อต้านนมผงสำหรับทารก เพราะยังคงเป็นทางเลือกสำหรับมารดาที่ไม่สามารถหรือเลือกที่จะไม่ให้นมบุตรด้วยนมตนเอง แต่ต่อต้านอย่างมากกับการทำการตลาดนมผงสำหรับทารกที่ไม่เหมาะสม ด้วยข้ออ้างที่ทำให้เข้าใจผิดและไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์สนับสนุนอย่างจริงจัง ผลการศึกษานี้พบว่า ข้ออ้างเรื่องผลดีต่อสุขภาพที่บริษัทนมผงสำหรับทารกใน 15 ประเทศใช้โฆษณาผลิตภัณฑ์บนเว็บไซต์มากที่สุดคือ ข้ออ้างว่าส่งเสริมพัฒนาการทางสมอง ข้ออ้างว่าเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน และข้ออ้างว่าส่งเสริมการเจริญเติบโต ผลิตภัณฑ์ครึ่งหนึ่งจากที่วิเคราะห์ทั้งหมด 608 ชนิดไม่ได้เชื่อมโยงข้ออ้างกับส่วนผสมใดเป็นพิเศษ ผลิตภัณฑ์ 3 ใน 4 ไม่มีการอ้างอิงถึงหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ใช้สนับสนุนข้ออ้าง ส่วนผลิตภัณฑ์ที่มีการอ้างอิงถึงพบว่า กว่าครึ่งอ้างบทวิจารณ์ บทความแสดงความเห็น หรือผลการทดลองกับสัตว์ มีเพียงร้อยละ 14 ที่อ้างการทดลองทางคลินิกกับคนที่มีการบันทึกไว้ แต่ส่วนใหญ่เป็นการทดลองที่เสี่ยงมีอคติ เช่น ข้อมูลไม่ครบถ้วน ผลการทดลองไม่สนับสนุนข้ออ้าง หรือผู้ทำการทดลองรับทุนหรือมีความสัมพันธ์กับอุตสาหกรรมนมผงสำหรับทารก ดร. มันบลิตชี้ว่า ข้ออ้างเรื่องผลดีต่อสุขภาพทำให้บิดามารดาเข้าใจผิดว่า สารอาหารสำคัญเหล่านี้มีในนมผงสำหรับทารกคุณภาพดีเท่านั้น วิธีที่จะแก้ปัญหานี้คือ กำหนดให้นมผงสำหรับทารกใช้บรรจุภัณฑ์ทั่วไปที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน ก่อนหน้านี้เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว แพทย์และนักวิทยาศาสตร์กลุ่มหนึ่งได้เรียกร้องให้ทางการเข้มงวดกับอุตสาหกรรมนมผงสำหรับทารกที่มีมูลค่า 55,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 1.88 ล้านล้านบาท) […]

รัฐบาลทุ่มงบ 1.46 แสนล้านบาท พัฒนานวัตกรรม

ครม. ทุ่มงบปี67 วงเงิน 1.46 แสนล้านบาท พัฒนาบัณฑิตกว่าล้านคน รองรับอุตสาหกรรมแห่งอนาคต ขับเคลื่อนวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรมของไทย

จีนใช้ ‘เกสรโบราณ’ ชี้ช่วงเวลา ‘ที่ราบสูงชิงไห่-ทิเบต’ ยกตัวสูงขึ้น

หลานโจว, 13 ธ.ค. (ซินหัว) — คณะนักวิทยาศาสตร์จีนใช้ละอองเกสรดอกไม้ของต้นไม้โบราณในการเปิดเผยช่วงเวลาที่พื้นที่ฝั่งตะวันออกเฉียงเหนือของที่ราบสูงชิงไห่-ทิเบต ยกตัวสูงขึ้นสู่ระดับความสูงปัจจุบัน ซึ่งบอกใบ้ข้อมูลใหม่เกี่ยวกับการก่อตัวของหลังคาโลก การศึกษาที่เผยแพร่เมื่อวันศุกร์ (9 ธ.ค.) ในวารสารไซเอนซ์ (Science) ชี้ให้เห็นว่าพื้นที่ฝั่งตะวันออกเฉียงเหนือนี้ยกตัวสูงขึ้นแตะระดับปัจจุบันอย่างรวดเร็วเมื่อเกือบ 8-10 ล้านปีที่แล้ว ระดับความสูงของที่ราบสูงฯ มีอิทธิพลต่อความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิอากาศของภูมิภาคแห่งนี้ อย่างไรก็ดี วิวัฒนาการพื้นที่ฝั่งตะวันออกเฉียงเหนือของที่ราบสูงฯ ได้รับการตรวจสอบน้อยกว่า แตกต่างจากพื้นที่ฝั่งตอนใต้ที่มีการศึกษาอย่างใกล้ชิด คณะนักวิทยาศาสตร์จีนนำโดยเหมียวอวิ๋นฟา นักวิจัยจากสถาบันสภาพแวดล้อมเชิงนิเวศวิทยาและทรัพยากรซีเป่ย (NIEER) สังกัดสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีน ประเมินข้อมูลตะกอนใหม่จากแอ่งไฉต๋ามู่ในที่ราบสูงฯ ซึ่งเป็นแหล่งสะสมละอองเกสรดอกไม้โบราณจากสนภูเขาที่เติบโตในระดับความสูงเฉพาะ คณะนักวิทย์จัดทำบันทึกการเปรียบเทียบขึ้นใหม่คู่กันสองรายการสำหรับการยกตัวของที่ราบสูงฯ ครอบคลุมระยะเวลา 16 ล้านปี โดยพบว่าเมื่อราว 15 ล้านปีก่อน ภูมิภาคทางตะวันออกและตะวันตกของพื้นที่ฝั่งตะวันออกเฉียงเหนือของที่ราบสูงฯ อยู่สูงเหนือระดับน้ำทะเลราว 1,969 เมตร และ 1,449 เมตร ตามลำดับ ผลการศึกษาพบว่าพื้นที่ฝั่งตะวันออกเฉียงเหนือยกตัวสูงขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงหลายล้านปีถัดมา โดยสูงขึ้นราว 2,000 เมตร ซึ่งภูมิภาคทางตะวันออกสูงแตะที่ราว 3,685 เมตรเมื่อประมาณ 11 ล้านปีก่อน ส่วนทางตะวันตกสูงแตะที่ 3,589 เมตรเมื่อประมาณ […]

ครม.พลิกโฉมไทยเป็นประเทศพัฒนาแล้วในปี 80 

ทำเนียบฯ 13 ธ.ค. -ครม. หวังพลิกโฉมไทยเป็นประเทศพัฒนาแล้ว ภายในปี 2580  เห็นชอบ ยุทธศาสตร์ ขับเคลื่อนด้วย เศรษฐกิจสร้างคุณค่า  เศรษฐกิจสร้างสรรค์  

จีนเผย 10 ความท้าทายวิทยาศาสตร์ด้าน ‘การบินในอวกาศ’

ไห่โข่ว, 22 พ.ย. (ซินหัว) — คณะนักวิทยาศาสตร์และวิศวกรด้านอวกาศของจีน เผยแพร่ความท้าทายด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 10 ประการ สำหรับสาขาการบินในอวกาศ ประจำปี 2022 ที่การประชุมว่าด้วยอวกาศของจีน (China Space Conference) ซึ่งจัดขึ้นนาน 4 วัน ณ นครไห่โข่ว เมืองเอกของมณฑลไห่หนาน (ไหหลำ) ทางตอนใต้ของจีน รายการความท้าทายดังกล่าว ประกอบด้วยพลังงานจากพลวัตของจักรวาล (cosmic dynamics) การค้นหาดาวเคราะห์นอกระบบที่อาศัยอยู่ได้และสัญญาณของสิ่งมีชีวิต เทคโนโลยีที่สำคัญสำหรับระบบขนส่งอวกาศแบบกระสวย การสังเกตการณ์และการป้องกันดาวเคราะห์น้อยใกล้โลก และการพัฒนาวัสดุสังเคราะห์แสงประดิษฐ์สำหรับการยังชีพนอกโลก เทคโนโลยีการถ่ายโอนพลังงานสูงแบบไร้สายระยะไกล การก่อสร้างบนพื้นผิวดวงจันทร์โดยใช้ตะกอนฝุ่นหิน (regolith) การควบคุมเครื่องบินข้ามสื่อ การทำงานร่วมบนกลุ่มดาวในอวกาศแบบอัตโนมัติและใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) และการคาดการณ์วิวัฒนาการสนามการไหลของบรรยากาศชั้นบนโลกที่มีความแม่นยำสูง ถูกรวมเป็นความท้าทายในการสำรวจอวกาศเช่นกัน หวังเวย ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและพัฒนาของบริษัทวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอวกาศแห่งประเทศจีน ประกาศรายการความท้าทายดังกล่าวผ่านทางระบบวิดีโอระหว่างการประชุมฯ ซึ่งเริ่มต้นเมื่อวันจันทร์ (21 พ.ย.) หวังกล่าวว่า การปฏิวัติเทคโนโลยีรอบใหม่ซึ่งขับเคลื่อนด้วยพลังงานใหม่ วัสดุใหม่ และความฉลาดทางดิจิทัล กำลังยกระดับการขับเคลื่อนในภูมิทัศน์อวกาศระดับโลก โดยรายการความท้าทายเหล่านี้จะมีบทบาทสนับสนุนการวิจัยของจีนด้านวิทยาศาสตร์พื้นฐาน และความก้าวหน้าต่างๆ ในโครงการด้านวิศวกรรม -สำนักข่าวซินหัว […]

ฟอสซิล 200 ล้านปี เผยจุดเชื่อมโยง ‘แมลงวางไข่-แมลงล่าไข่’ ในใบไม้

พฤติกรรมการวางไข่ในเนื้อเยื่อพืช (endophytic oviposition) แสดงกลยุทธ์การสืบเผ่าพันธุ์อันสลับซับซ้อนของแมลง โดยกระบวนการนี้เกิดขึ้นจากการที่แมลงใช้กลไกการวางไข่แบบพิเศษ ซึ่งช่วยปกป้องไข่อย่างมีประสิทธิภาพผ่านการซุกซ่อนในเนื้อเยื่อพืช เฝิงจัว นักวิทยาศาสตร์จากสถาบันบรรพชีวินวิทยา มหาวิทยาลัยอวิ๋นหนาน และทีมงาน ซึ่งทำการวิจัยภาคสนามระยะยาว ได้เก็บรวบรวมซากฟอสซิลพืชสภาพดีจำนวนมากในเมืองจื้อกง มณฑลซื่อชวน (เสฉวน) ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน ผลการศึกษาซากฟอสซิลข้างต้นพบหลักฐานฟอสซิลร่างกายของแมลงที่มีพฤติกรรมการวางไข่ในเนื้อเยื่อพืชและการล่ากินไข่ โดยนักวิจัยศึกษารูในไข่และพบของเหลวในไข่ถูกกินโดยแมลงชนิดอื่นๆ เฝิงกล่าวว่าของเหลวในไข่มีสารบำรุงกำลัง และการที่แมลงชนิดอื่นๆ สามารถค้นหาจนเจอไข่ที่ซุกซ่อนอยู่ในใบไม้เช่นนี้หมายความว่าพวกมันมีระบบประสาทดมกลิ่นหรือมองเห็นที่พิเศษ “การวางไข่ในเนื้อเยื่อพืชและการกินของเหลวในไข่เป็นประโยชน์ต่อการสืบพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต โดยพฤติกรรมทั้งสองปรากฏขึ้นมาตั้งแต่ 200 ล้านปีก่อน” เฝิงกล่าว อนึ่ง การค้นพบนี้เผยแพร่ทางออนไลน์ผ่านวารสารเคอร์เรนต์ ไบโอโลจี (Current Biology) เมื่อวันอังคาร (8 พ.ย.) ที่ผ่านมา 点击浏览中文新闻 (คลิกเพื่ออ่านข่าวภาษาจีน) http://www.news.cn/science/2022-11/09/c_1310674959.htmอ่านข่าวภาษาอังกฤษ http://english.news.cn/20221109/03da97f78e2b41cd9a7520a7b4d212f7/c.htmlอ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง https://www.xinhuathai.com/china/319797_20221111 ขอบคุณภาพจาก Xinhua (แฟ้มภาพซินหัว : ภาพฟอสซิลพืชที่แมลงวางไข่)

1 2 3
...