เพื่อไทย ชี้ รัฐประหาร 16 ปี ไม่ใช่คำตอบประเทศ
พรรคเพื่อไทย 19 ก.ย.- เพื่อไทย ชี้ รัฐประหาร 16 ปี ความหลังที่ขมขื่นเสื่อมถอย ระบุ ไม่ใช่คำตอบของประเทศ
พรรคเพื่อไทย 19 ก.ย.- เพื่อไทย ชี้ รัฐประหาร 16 ปี ความหลังที่ขมขื่นเสื่อมถอย ระบุ ไม่ใช่คำตอบของประเทศ
ผู้นำรัฐบาลทหารเมียนมา กล่าววันศุกร์ว่า เขาจะพิจารณาอนุญาตให้นางอองซาน ซูจี อดีตผู้นำรัฐบาลพลเรือนย้ายจากเรือนจำไปกักบริเวณที่บ้านพักได้ หลังจากที่การพิจารณาคดีที่เธอถูกตั้งข้อกล่าวหาในคดีต่าง ๆ หลายคดีสิ้นสุดหมดแล้ว
ย่างกุ้ง 17 ส.ค. – รัฐบาลทหารเมียนมากล่าววันนี้โจมตีอาเซียนที่ไม่เชิญผู้นำรัฐบาลทหารเมียนมาให้เข้าร่วมการประชุมอาเซียน โดยกล่าวหาอาเซียนว่า ยอมจำนนต่อแรงกดดันภายนอก ซอ มิน ตัน โฆษกรัฐบาลทหารเมียนมากล่าววันนี้ว่า หากเก้าอี้สำหรับตัวแทนจากเมียนมาในการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนยังว่างอยู่ ก็ไม่ควรจะเรียกว่าเป็นการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน เขากล่าวด้วยว่า รัฐบาลทหารเมียนมากำลังทำงานเพื่อริเริ่มแผนสันติภาพภายในประเทศ เขากล่าวว่า สิ่งที่อาเซียนต้องการคือ ให้เมียนมาพบและเจรจากับผู้ก่อการร้าย ซึ่งเป็นถ้อยคำที่รัฐบาลทหารที่ใช้เรียกขานกลุ่มเคลื่อนไหวเรียกร้องประขาธิปไตยที่จับอาวุธขึ้นต่อต้านรัฐบาลทหาร ที่เข้ายึดอำนาจการปกครองจากรัฐบาลพลเรือนเมื่อปีที่แล้ว เขากล่าวด้วยว่า อาเซียนละเมิดนโยบายของตนเองที่จะไม่แทรกแซงกิจการภายในของประเทศอื่น ๆ ในขณะที่อาเซียนเผชิญกับแรงกดดันจากภายนอก แต่เขาไม่ได้เปิดเผยรายละเอียดในเรื่องนี้.-สำนักข่าวไทย
พนมเปญ 1 ส.ค.- มาเลเซียเตรียมเป็นแกนนำผลักดันให้ดำเนินมาตรการที่แข็งกร้าวมากขึ้นกับเมียนมา เมื่อรัฐมนตรีต่างประเทศสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียนจะประชุมกันในสัปดาห์นี้ นายไซฟุดดิน อับดุลลาห์ รัฐมนตรีต่างประเทศมาเลเซียเผยกับสำนักข่าวเอเอฟพีว่า ในการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนที่กรุงพนมเปญของกัมพูชาระหว่างวันที่ 2-6 สิงหาคมนี้ มาเลเซียจะนำเสนอกรอบเวลาในการปฏิบัติตามแผนฉันทามติ 5 ประการที่อาเซียนและเมียนมาตกลงกันเมื่อเดือนเมษายน ปี 2564 และไม่มีความคืบหน้า องค์ประกอบสำคัญในกรอบข้อตกลงนี้คือ การที่จะต้องปฏิบัติตามแผนให้แล้วเสร็จ นายไซฟุดดินยังได้เขียนบทความลงในหนังสือพิมพ์สุดสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า การที่เมียนมาประหารชีวิตนักเคลื่อนไหว 4 คนเมื่อเดือนก่อน แสดงให้เห็นว่า เมียนมาลบหลู่แผนฉันทามติที่เรียกร้องให้ยุติการใช้ความรุนแรง และให้มีการเจรจาระหว่างรัฐบาลทหารเมียนมากับกลุ่มต่อต้านการรัฐประหาร อาเซียนประณามเมียนมาเรื่องประหารชีวิตนักเคลื่อนไหว ขณะที่สมาชิกอาเซียนหลายประเทศก็วิพากษ์วิจารณ์เมียนมา แต่นักการทูตอาวุโสในอาเซียนไม่คิดว่า จะมีประเทศใดถึงขั้นเรียกร้องให้ขับเมียนมาออกจากอาเซียน.-สำนักข่าวไทย
เนปิดอว์ 1 ส.ค.- สื่อทางการเมียนมารายงานว่า พล.อ.อาวุโสมิน อ่อง หล่าย ผู้นำสูงสุดของเมียนมาจะขยายประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินออกไปอีก 6 เดือน โดยที่สภาความมั่นคงและกลาโหมได้ให้ความเห็นชอบแล้ว หนังสือพิมพ์โกลบอลนิวไลท์ออฟเมียนมารายงานว่า สมาชิกสภาความมั่นคงสนับสนุนอย่างเป็นเอกฉันท์ต่อข้อเสนอขยายระยะเวลาของการใช้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินออกไปอีก 6 เดือน พร้อมกับอ้างคำกล่าวของ พล.อ.อาวุโสมิน อ่อง หล่ายว่า เมียนมาต้องเดินหน้าเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้แก่ระบอบประชาธิปไตยที่แท้จริงแบบหลายพรรคที่มีวินัย ซึ่งเป็นความปรารถนาของประชาชน รัฐบาลทหารเมียนมาประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินครั้งแรก หลังจากรัฐประหารยึดอำนาจการปกครองจากรัฐบาลพลเรือนของนางออง ซาน ซู จีเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2564 โดยอ้างเรื่องมีการโกงเลือกตั้งทั่วไปในเดือนพฤศจิกายน 2563 ที่พรรคของนางซู จีชนะเลือกตั้ง เมียนมาได้ตกอยู่ในความวุ่นวายตั้งแต่นั้น เนื่องจากกองทัพใช้กำลังปราบปรามผู้ประท้วงตามเมืองต่าง ๆ ที่ส่วนใหญ่ชุมนุมอย่างสันติ กองทัพเมียนมารับปากจะจัดการเลือกตั้งครั้งใหม่ในเดือนสิงหาคม 2566.-สำนักข่าวไทย
ย่างกุ้ง 25 ก.ค.- สื่อทางการเมียนมารายงานวันนี้ว่า กองทัพได้ประหารชีวิตนักเคลื่อนไหวเรียกร้องประชาธิปไตย 4 คนที่ถูกกล่าวหาว่า ช่วยเหลือการก่อการร้าย นับเป็นการประหารชีวิตครั้งแรกในรอบหลายทศวรรษ หนังสือพิมพ์โกลบอลนิวไลท์ออฟเมียนมารายงานว่า นักเคลื่อนไหวทั้ง 4 คนถูกตัดสินประหารชีวิตเมื่อเดือนมกราคมในการพิจารณาคดีแบบปิด โดยถูกกล่าวหาว่า ช่วยเหลือกลุ่มติดอาวุธต่อสู้กับกองทัพ ทั้งหมดถูกตั้งข้อหาภายใต้กฎหมายต่อต้านการก่อการร้ายและประมวลกฎหมายอาญา ส่วนการประหารชีวิตดำเนินการตามกระบวนการของเรือนจำ รายงานระบุว่า ผู้ถูกประหารชีวิตรวมนายจ่อ มิน ยู วัย 53 ปี นักเรียกร้องประชาธิปไตยคนสำคัญที่รู้จักกันในชื่อ จิมมี และนายพโย จียา ตอ วัย 41 ปี นักดนตรีแนวฮิปฮอปและอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่เป็นพันธมิตรกับนางออง ซาน ซู จี ทั้งคู่ยื่นอุทธรณ์แต่ถูกศาลปัดตกไปในเดือนมิถุนายน รอยเตอร์รายงานเพิ่มเติมว่า ที่ผ่านมาเมียนมาประหารชีวิตด้วยการแขวนคอ สมาคมช่วยเหลือนักโทษทางการเมืองเผยว่า เมียนมามีการประหารชีวิตครั้งหลังสุดในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษหลังปี 1980 และตั้งแต่กองทัพรัฐประหารยึดอำนาจรัฐบาลพลเรือนเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2564 มีคนถูกเจ้าหน้าที่รักษาความมั่นคงสังหารแล้วมากกว่า 2,100 คน.-สำนักข่าวไทย
เนปิดอว์ 23 มิ.ย.- นางออง ซาน ซู จี ผู้นำพลเรือนเมียนมาที่ถูกรัฐประหารเมื่อปีก่อน ถูกย้ายจากการกักบริเวณในบ้านพัก ไปอยู่ห้องขังเดี่ยวในเรือนจำที่อยู่ในกรุงเนปิดอว์แล้ว โฆษกรัฐบาลทหารเมียนมาแถลงวันนี้ว่า นางซู จี ถูกนำตัวไปขังเดี่ยวตั้งแต่วันพุธ ตามข้อกำหนดในกฎหมายอาญา ความเคลื่อนไหวนี้มีขึ้นหลังจากเมื่อวานนี้รัฐบาลทหารเมียนมาได้สั่งการให้ย้ายกระบวนการทางกฎหมายทุกอย่าง รวมถึงการพิจารณาคดีนางซู จี จากห้องพิจารณาคดีในศาล ไปยังเรือนจำ โดยไม่ได้อธิบายเหตุผลใด ๆ ส่วนช่วงที่รัฐบาลทหารเมียนมาชุดก่อนที่นางซู จี จะชนะการเลือกตั้ง เธอถูกกักบริเวณในบ้านพักที่นครย่างกุ้งรวมเกือบ 15 ปี ในช่วงปี 2532-2553 แหล่งข่าวเผยว่า นางซู จี วัย 77 ปี ถูกกักบริเวณในบ้านพักซึ่งเป็นสถานที่ไม่มีการเปิดเผยในกรุงเนปิดอว์ตั้งแต่กองทัพรัฐประหารเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ โดยมีเจ้าหน้าที่การทูตหลายคนและสุนัขของเธออาศัยอยู่ด้วย เธอได้รับอนุญาตให้ออกจากบ้านพักเพื่อขึ้นศาลเท่านั้น เธอถูกตั้งข้อหาหลายคดีซึ่งมีโทษจำคุกสูงสุดรวมกันไม่ต่ำกว่า 150 ปี โดยถูกตัดสินว่ามีความผิดไปแล้วในข้อหาทุจริต ข้อหายุยงให้ต่อต้านกองทัพ ข้อหาละเมิดมาตรการจำกัดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 และข้อหาฝ่าฝืนกฎหมายโทรคมนาคม มีโทษจำคุกจนถึงขณะนี้แล้ว 11 ปี.-สำนักข่าวไทย
รัฐบาลทหารเมียนมาสั่งการให้ย้ายกระบวนการทางกฎหมายทุกอย่าง รวมถึงการพิจารณาคดดี นางอองซาน ซูจี ผู้นำรัฐบาลพลเรือนที่ถูกรัฐประหาร จากห้องพิจารณาคดีในศาล ไปยังเรือนจำ โดยไม่ได้อธิบายเหตุผลใด ๆ เกี่ยวกับการย้ายดังกล่าว
นายกฯ เมินหาเสียงผู้ว่าฯ กทม. โค้งสุดท้ายหยิบวาทกรรม “รัฐประหาร” โจมตี ถามกลับใครจะทำ ขอให้ย้อนดูอดีต ยืนยันไม่ย้าย ผบ.ทบ.
‘อภิสิทธิ์’ โต้ ‘จาตุรนต์’ อย่าบิดเบือน ยันไม่เคยขู่ประชาชน แต่เตือนสตินักการเมืองเพื่อหาวิธีการป้องกันการรัฐประหาร
โตเกียว 2 พ.ค.- เอเนออส (Eneos) บริษัทพลังงานยักษ์ใหญ่ของญี่ปุ่นเผยว่า จะถอนตัวออกจากโครงการก๊าซธรรมชาติในเมียนมา เพราะสถานการณ์ความวุ่นวายทางการเมืองในเมียนมา เอเนออสแถลงว่า บรรษัทสำรวจน้ำมันและก๊าซเจเอ็กซ์นิปปอนที่เป็นบริษัทในเครือได้แจ้งให้หุ้นส่วนทางธุรกิจในโครงการแหล่งก๊าซเยตากุนในเมียนมาทราบถึงการตัดสินใจแล้วเมื่อวันศุกร์ บรรษัทซึ่งถือหุ้นร้อยละ 19.3 ในโครงการนี้ตัดสินใจตามที่ได้พิจารณาถึงสถานการณ์ปัจจุบันของเมียนมารวมถึงประเด็นทางสังคม และพิจารณาถึงสภาพเศรษฐกิจของโครงการโดยอ้างอิงตามการประเมินทางเทคนิค เอเนออสระบุว่า การถอนตัวจะมีผลหลังจากรัฐบาลเมียนมาอนุมัติแล้ว และคาดว่าจะมีผลกระทบต่อรายได้ของบริษัทเพียงเล็กน้อย ก่อนหน้านี้คิริน โฮลดิงส์ บริษัทแม่ของกลุ่มธุรกิจเครื่องดื่มยักษ์ใหญ่ของญี่ปุ่นเพิ่งประกาศเมื่อเดือนกุมภาพันธ์เรื่องจะถอนตัวจากตลาดเมียนมา เพื่อยุติความเป็นหุ้นส่วนทางธุรกิจกับองค์กรที่โยงกับกองทัพเมียนมาโดยทันที หลังจากกองทัพเมียนมารัฐประหารยึดอำนาจรัฐบาลพลเรือนของนางออง ซาน ซู จี เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2564.-สำนักข่าวไทย
เนปิดอว์ 27 เม.ย.- นางออง ซาน ซู จี ผู้นำรัฐบาลพลเรือนเมียนมาที่ถูกรัฐประหาร ถูกศาลตัดสินจำคุก 5 ปีในวันนี้คดีรับทองคำและเงินสด ซึ่งเป็นคดีรับสินบนคดีแรกจากคดีรับสินบนทั้งหมด 11 คดี แหล่งข่าวเผยว่า ศาลในกรุงเนปิดอว์มีคำตัดสินโทษจำคุกดังกล่าวหลังจากเปิดศาลได้ไม่นานในการไต่สวนที่เป็นแบบปิด โดยได้ตัดสินว่านางซู จี วัย 76 ปี มีความผิดในข้อหารับทองคำหนัก 11.4 กิโลกรัม และเงินสดรวม 600,000 ดอลลาร์สหรัฐ (ราว 20 ล้านบาท) จากนายพโย มิน เต อดีตมุขมนตรีเขตย่างกุ้งที่ผันตัวจากพวกเดียวกันมาเป็นผู้กล่าวหาเธอ นายพโยดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี 2559 จนกระทั่งกองทัพรัฐประหารเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2564 นางซู จี ถูกตั้งข้อหารวมทั้งหมดอย่างน้อย 18 กระทง หากถูกตัดสินว่ามีความผิดทุกกระทงจะมีโทษจำคุกรวมกันเกือบ 190 ปี ยังไม่ชัดเจนว่าเธอจะถูกนำตัวไปยังเรือนจำหรือไม่ เพราะปัจจุบันถูกควบคุมตัวในสถานที่ที่ไม่มีการเปิดเผย พล.อ.อาวุโสมิน อ่อง หล่าย ผู้นำรัฐบาลทหารเมียนมาระบุว่า เธอยังสามารถอยู่ในที่ควบคุมตัวดังกล่าวได้ต่อไป […]