อินโดนีเซีย-มาเลเซียเล็งอาเซียนหารือสถานการณ์เมียนมา

จาการ์ตา 5 ก.พ. – ผู้นำอินโดนีเซียและมาเลเซียระบุว่า ทั้งสองประเทศกำลังหาโอกาสจัดการประชุมวาระพิเศษของประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพื่อหารือเกี่ยวกับสถานการณ์ในเมียนมา ซึ่งเกิดเหตุรัฐประหารยึดอำนาจจากรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา ประธานาธิบดีโจโก วิโดโด ของอินโดนีเซีย หรือเป็นที่รู้จักกันในชื่อ โจโกวี กล่าวภายหลังจากพบปะหารือกับนายกรัฐมนตรีมูห์ยิดดิน ยัสซิน ของมาเลเซียว่า จะขอให้กระทรวงต่างประเทศของทั้งสองประเทศติดต่อขอคุยกับบรูไน ซึ่งขณะนี้เป็นประธานหมุนเวียนของสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ อาเซียน เพื่อจัดการประชุมวาระพิเศษเพื่อหารือเกี่ยวกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในเมียนมา ขณะที่ผู้นำมาเลเซียระบุว่า การก่อเหตุรัฐประหารของกองทัพเมียนมาทำให้กระบวนการประชาธิปไตยถอยหลังไปหนึ่งก้าว การจัดประชุมในลักษณะดังกล่าวถือเป็นเรื่องที่ไม่เกิดบ่อยนักและท้าทาย อย่างไรก็ดี อาเซียนมีนโยบายไม่แทรกแซงปัญหาภายในของประเทศสมาชิกและไม่แสดงท่าทีขัดแย้งกับการยึดอำนาจของกองทัพ แต่ระบุว่าจะคอยติดตามสถานการณ์ในเมียนมาอย่างใกล้ชิด ประธานาธิบดีโจโกวียังได้กล่าวถึงปัญหามาตรการกีดกันน้ำมันปาล์มที่อินโดนีเซียและมาเลเซียกำลังเผชิญอยู่ว่า ทั้งสองประเทศ ซึ่งเป็นผู้ผลิตน้ำมันปาล์มในอันดับต้น ๆ ของโลกมีความเหมาะสมที่จะทำงานร่วมกันเพื่อต่อสู้กับมาตรการกีดกันน้ำมันปาล์ม ขณะที่นายกรัฐมนตรีมูห์ยิดดินระบุว่า มาตรการระงับนำเข้าน้ำมันปาล์มในทวีปยุโรปเป็นการให้ข้อมูลที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับอุตสาหกรรมนี้ นอกจากนี้ ผู้นำของทั้งสองประเทศยังกล่าวว่า จะหารือเกี่ยวกับข้อตกลงเพิ่มเติมในการเดินทางอย่างเป็นทางการและการเดินทางเพื่อธุรกิจระหว่างทั้งสองประเทศในช่วงที่มีการระบาดของโรคโควิด-19 และเน้นย้ำถึงความสำคัญของกฎหมายระหว่างประเทศในทะเลจีนใต้ ตลอดจนประเด็นเกี่ยวกับชาวโรฮิงญาที่อพยพเข้ามาอยู่ในอินโดนีเซียและมาเลเซีย.-สำนักข่าวไทย

มาเลเซียตั้งเป้าฉีดวัคซีนโควิดให้เสร็จในปีหน้า

รัฐบาลมาเลเซียกล่าววันนี้ว่า ทางรัฐบาลคาดหวังว่าจะสามารถดำเนินการโครงการฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 แก่ประชาชน ให้เสร็จสิ้นภายในเดือนกุมภาพันธ์ปีหน้า ซึ่งจะครอบคลุมประชาชนร้อยละ 80 ของประชากรทั้งหมดที่มีอยู่ราว 32 ล้านคน

มาเลเซียขยายเวลาล็อกดาวน์ออกไปอีก 2 สัปดาห์

รัฐบาลมาเลเซียตัดสินใจขยายระยะเวลาการล็อกดาวน์และควบคุมการเคลื่อนที่เดินทางของประชาชนออกไปอีก 2 สัปดาห์ ในขณะที่มาเลเซียยังคงพบผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สูงต่อเนื่อง โดยยอดสะสมผู้ติดเชื้อทะลุเกิน 200,000 คนแล้ว

ชาวโรฮิงญาหลายร้อยหายตัวไปจากค่ายลี้ภัยในอินโดนีเซีย

จาการ์ตา 28 ม.ค. – ชาวโรฮิงญาหลายร้อยคนหายตัวไปจากค่ายผู้ลี้ภัยในอินโดนีเซีย โดยคาดว่าเข้าร่วมกับขบวนการค้ามนุษย์เพื่อข้ามฝั่งไปยังมาเลเซีย เจ้าหน้าที่ของอินโดนีเซียเผยว่า ค่ายผู้ลี้ภัยในเมืองล็อกเซอูมาเวทางชายฝั่งตอนเหนือของอินโดนีเซียเหลือชาวโรฮิงญาเพียง 112 คน ลดลงจากเดิมที่มีเกือบ 400 คนที่เดินทางมาอาศัยที่ค่ายแห่งนี้ระหว่างเดือนมิถุนายนและกันยายนปีก่อน เจ้าหน้าที่ของอินโดนีเซียและองค์การสหประชาชาติหรือยูเอ็นไม่สามารถระบุเบาะแสของผู้ลี้ภัยเหล่านี้ที่เป็นชนกลุ่มน้อยชาวมุสลิมไร้สัญชาติจากเมียนมา คาดว่าผู้ลี้ภัยได้ขอให้ขบวนการค้ามนุษย์ช่วยพาพวกเขาข้ามช่องแคบมะละกาเข้าไปยังมาเลเซีย หัวหน้าคณะทำงานเฉพาะกิจด้านการดูแลชาวโรฮิงญาของเมืองล็อกเซอูมาเวกล่าวว่า ไม่มีใครรู้ว่าชาวโรฮิงญากลุ่มดังกล่าวไปไหน แต่ถ้าพวกเขาหาลู่ทางได้ก็จะหนีไปเพื่อทำตามเป้าหมายที่วางไว้ ขณะที่สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) ประจำอินโดนีเซียระบุว่า เคยเตือนชาวโรฮิงญาไม่ให้หนีออกนอกค่ายผู้ลี้ภัยแล้ว เนื่องจากการเดินทางมีความเสี่ยงสูงและอันตรายมาก รวมถึงการใช้บริการของขบวนการค้ามนุษย์ด้วย เมื่อเร็ว ๆ นี้ ตำรวจอินโดนีเซียจับกุมชาวโรฮิงญาได้อย่างน้อย 18 คนจากค่ายผู้ลี้ภัยในเมืองล็อกเซอูมาเวและนายหน้าค้ามนุษย์สิบกว่าคนในพื้นที่ทางตอนใต้ของเมืองเมดานที่ตั้งอยู่บนชายฝั่งทิศเหนือของอินโดนีเซีย ซึ่งถูกใช้เป็นจุดลักลอบข้ามไปยังฝั่งมาเลเซียโดยผิดกฎหมายอยู่บ่อยครั้ง. -สำนักข่าวไทย

สงขลาพบคนไทยกลับจากมาเลเซีย ติดโควิดเพิ่ม 2 คน

จ.สงขลา เพิ่มความเข้มงวดตรวจตราการเดินทางเข้า-ออกชายแดน หลังพบคนไทยเดินทางกลับจากมาเลเซีย ป่วยโควิด-19 เพิ่มอีก 2 คน ทำให้ยอดสะสมผู้ป่วยโควิด-19 ของ จ.สงขลา รวมเป็น 7 คน

เพิ่มความเข้มพรมแดนนราธิวาส สกัดกั้นโควิด-19

จ.นราธิวาส ต้องเพิ่มความเข้มข้นตามแนวชายแดน หลังจากสถานการณ์แพรร่ะบาดของโรคโควิด-19 ระลอกที่ 2 ในมาเลเซียที่พบผู้ติดเชื้อขณะนี้วันละหลายพันคน

ยื่นจดเมนู “เสือร้องไห้” ไม่กระทบไทย

อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญาย้ำชัดกรณี Noor Khan Enterprise ยื่นจดเครื่องหมายการค้าในมาเลเซีย ไม่กระทบสิทธิการใช้ชื่อเมนู “เสือร้องไห้” ของไทยแน่

ยกเลิกขอจดชื่อภาษามาเลย์ “เสือร้องไห้” แล้ว

กัวลาลัมเปอร์ 14 ม.ค.- มารดานักแสดงสาวชาวมาเลเซียยกเลิกการยื่นขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าชื่อภาษามาเลย์รายการอาหารที่ตรงกับชื่อ “เสือร้องไห้” แล้ว และขอโทษที่ทำให้เกิดความสับสน เว็บไซต์มาเลย์เมลรายงานว่า ดาติน นูร์ การ์ตินี นูร์ โมฮัมหมัด มารดาของนีโลฟา นักแสดงวัย 31 ปี แถลงข่าวออนไลน์วันนี้ว่า เธอตัดสินใจยกเลิกการยื่นขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า Harimau Menangis (ฮาริเมา เมอนางิส แปลเป็นภาษาไทยได้ว่า เสือร้องไห้) ทันทีที่สามารถทำได้ เหตุผลที่ยื่นขอเพราะต้องการปกป้องชื่อธุรกิจและตัวแทนไม่ให้ถูกลอกเลียนแบบเท่านั้น เธอขออภัยและตระหนักดีว่าทำให้เกิดความสับสน หวังว่าการตัดสินใจของเธอจะทำให้เกิดความชัดเจนและยุติเรื่องราวทั้งหมด นางนูร์ การ์ตินี ถูกผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในมาเลเซียวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก หลังจากมีการแชร์ภาพหน้าจอเว็บไซต์บรรษัททรัพย์สินทางปัญญาแห่งมาเลเซีย (MyIPO) ว่า บริษัทนูร์ข่านเอ็นเตอร์ไพรซ์ของเธอยื่นขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าลงวันที่ 24 พฤศจิกายน 2563 เว็บไซต์แสดงสถานะเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายนปีเดียวกันว่า อยู่ระหว่างการตรวจยืนยันอย่างเป็นทางการ เธอทำให้คนสับสนมากขึ้นไปอีก เพราะบันทึกเทปการทำรายการอาหารเสือร้องไห้ และพูดเป็นนัยว่าสูตรอาหารนี้จดสิทธิบัตรแล้ว.-สำนักข่าวไทย

ผู้นำฝ่ายค้านมาเลเซียจะขอให้กษัตริย์ยกเลิกภาวะฉุกเฉิน

นายอันวาร์ อิบราฮิม ผู้นำฝ่ายค้านของมาเลเซียกล่าววันนี้ว่า เขาจะถวายจดหมายถึง กษัตริย์แห่งมาเลเซีย ขอให้ประกาศยกเลิกการประกาศภาวะฉุกเฉินในประเทศเพื่อควบคุมการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยเขากล่าวว่า เป็นความพยายามของนายกรัฐมนตรีในการหาทางอยู่ในอำนาจต่อไป

โซเชียลมาเลเซียร้อนหลังมีคนยื่นขอจดชื่อเสือร้องไห้

กัวลาลัมเปอร์ 14 ม.ค.- โลกสื่อสังคมออนไลน์มาเลเซียเต็มไปด้วยกระแสวิพากษ์วิจารณ์ร้อนแรง หลังจากมีรายงานข่าวบริษัทดังแห่งหนึ่งยื่นขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารายการอาหาร “เสือร้องไห้” เว็บไซต์มาเลย์เมลรายงานว่า เชื่อกันว่าบริษัทนูร์ข่านเอ็นเตอร์ไพรซ์ได้ยื่นขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าชื่อภาษามาเลย์ harimau menangis (ฮาริเมา เมอนางิส) มีที่มาจากชื่อ “เสือร้องไห้” ที่เป็นรายการอาหารของไทย ผู้ใช้ทวิตเตอร์พากันรีทวีตภาพหน้าจอการยื่นขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในเว็บไซต์ MyIPO ซึ่งเป็นเว็บท่าทางการของบรรษัททรัพย์สินทางปัญญาแห่งมาเลเซียลงวันที่ 24 พฤศจิกายน 2563 แสดงสถานะเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายนปีเดียวกันว่า อยู่ระหว่างการตรวจยืนยันอย่างเป็นทางการ ผู้ใช้ทวิตเตอร์จำนวนมากแสดงความไม่พอใจว่า การกระทำนี้จะกระทบต่อเจ้าของธุรกิจรายเล็กที่จำหน่ายอาหารรายการนี้ หลายคนร้องเรียนต่อเจ้าหน้าที่ทรัพย์สินทางปัญญาและชักชวนคนอื่นร่วมร้องเรียนด้วย ขณะที่บางคนตั้งข้อสังเกตว่า บริษัทดังกล่าวไม่ได้คิดรายการอาหารนี้ขึ้นเองจึงไม่น่าจะจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าได้ ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาอ้างพจนานุกรมของทางการว่า คำว่า harimau menangis (ฮาริเมา เมอนางิส) เป็นชื่อทั่วไป มักใช้อ้างถึงชิ้นเนื้อวัว มากกว่ารายการอาหาร มาเลย์เมลอธิบายเพิ่มเติมว่า ปกติแล้วบรรษัททรัพย์สินทางปัญญาแห่งมาเลเซียใช้เวลา 12 เดือนในการพิจารณาการยื่นขอจดทะเบียนการค้า และใช้เวลา 7 เดือนในการพิจารณาแบบเร่งด่วน.-สำนักข่าวไทย

มาเลเซียประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินสกัดโควิด

กัวลาลัมเปอร์ 12 ม.ค. –  สมเด็จพระราชาธิบดีอับดุลเลาะห์ ชาห์ กษัตริย์แห่งมาเลเซียทรงประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินทั่วประเทศเพื่อควบคุมการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 หลังจากที่ทรงเห็นด้วยกับคำร้องของนายกรัฐมนตรีมูห์ยิดดิน ยัสซิน ของมาเลเซีย แถลงการณ์ของสำนักพระราชวังมาเลเซียระบุว่า ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินดังกล่าวมีผลบังคับใช้ไปจนถึงวันที่ 1 สิงหาคมนี้ หรืออาจจะสิ้นสุดเร็วกว่านั้นโดยขึ้นอยู่กับว่ามาเลเซียจะสามารถควบคุมการระบาดของโรคโควิดได้หรือไม่ นายกรัฐมนตรีมูห์ยิดดินเป็นผู้ถวายคำร้องให้มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเพื่อควบคุมยอดผู้ป่วยติดเชื้อ และสมเด็จพระราชาธิบดีอับดุลเลาะห์ ชาห์ทรงเห็นว่าสถานการณ์ระบาดของโรคโควิด-19 ในมาเลเซียเข้าขั้นรุนแรง จึงจำเป็นที่จะต้องประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ขณะนี้ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันของชาวมาเลเซียอย่างไร แต่รัฐธรรมนูญได้อนุญาตให้เลื่อนการเปิดสมัยประชุมรัฐสภาในช่วงเวลาดังกล่าว ซึ่งจะทำให้สถานะความไม่แน่นอนทางการเมืองของนายกรัฐมนตรีมูห์ยิดดินยุติลงไปอย่างน้อยระยะหนึ่ง ทั้งนี้ อำนาจของผู้นำมาเลเซียตกอยู่ในภาวะสั่นคลอนนับตั้งแต่เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในเดือนมีนาคมปีก่อน เนื่องจากเป็นรัฐบาลเสียงปริ่มน้ำ และพรรคร่วมรัฐบาลเรียกร้องให้เขาลาออกและจัดการเลือกตั้งก่อนกำหนด มาเลเซียทำสถิติผู้ป่วยติดเชื้อรายใหม่สูงสุดเมื่อสัปดาห์ก่อน โดยพบผู้ป่วยติดเชื้อรายวันทะลุ 3,000 คนเป็นครั้งแรก ขณะนี้มาเลเซียมียอดผู้ป่วยติดเชื้อสะสมกว่า 138,000 คน และผู้เสียชีวิตทั้งสิ้น 555 คน.-สำนักข่าวไทย

มาเลเซียซื้อวัคซีนโควิดจากไฟเซอร์เพิ่ม 12.2 ล้านโดส

กัวลาลัมเปอร์ 11 ม.ค. – มาเลเซียลงนามในข้อตกลงซื้อวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 จากไฟเซอร์/ไบออนเทคเพิ่มอีก 12.2 ล้านโดส แถลงการณ์ของกระทรวงสาธารณสุขมาเลเซียระบุว่า การลงนามในข้อตกลงดังกล่าวจะทำให้มาเลเซียสั่งซื้อวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 จากไฟเซอร์รวมทั้งหมด 25 ล้านโดส เพียงพอที่จะฉีดให้แก่ประชาชนร้อยละ 39 จากประชากรทั้งประเทศ 32.58  ล้านคน ขณะที่ทางการมาเลเซียรายงานวานนี้ว่า พบผู้ป่วยติดเชื้อรายใหม่ 2,433 คน ซึ่งถือเป็นวันที่หกติดต่อกันที่มาเลเซียมีผู้ป่วยติดเชื้อสูงกว่า 2,000 คน และมีผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้น 9 คน ซึ่งเป็นผู้ชาย 6 คน และผู้หญิง 3 คน โดยมีอายุระหว่าง 37-94 ปี ทำให้มียอดผู้ป่วยติดเชื้อสะสม 27,332 คน และผู้เสียชีวิตทั้งสิ้น 551 คน. -สำนักข่าวไทย

1 28 29 30 31 32 110
...