ANA จะเลิกใช้พลาสติกเสิร์ฟอาหารตั้งแต่ ส.ค.

โตเกียว 25 เม.ย.- ออลนิปปอนแอร์เวย์หรือเอเอ็นเอ (ANA) สายการบินใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่นจะใช้ภาชนะทำจากวัสดุเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมแทนพลาสติก เสิร์ฟอาหารให้แก่ผู้โดยสารชั้นประหยัดเที่ยวบินระหว่างประเทศตั้งแต่เดือนสิงหาคมนี้ เอเอ็นเอระบุว่า จะเป็นสายการบินแรกของญี่ปุ่นที่นำวัสดุย่อยสลายได้มาใช้เป็นภาชนะเสิร์ฟอาหารให้แก่ผู้โดยสาร คาดว่าจะลดปริมาณขยะพลาสติกได้ถึง 317 ตันต่อปี คิดเป็นร้อยละ 30 ของพลาสติกที่ใช้แล้วทิ้งในปีการเงินสิ้นสุดเดือนมีนาคม 2563 เจ้าหน้าที่สายการบินเผยว่า ประเทศส่วนใหญ่ในยุโรปได้จำกัดการใช้พลาสติกแล้ว เอเอ็นเอจึงดำเนินมาตรการเชิงรุกเพื่อเป็นการเตรียมตัวล่วงหน้า โดยใช้ภาชนะเสิร์ฟอาหารที่ทำจากชานอ้อย ส่วนเที่ยวบินในประเทศใช้ภาชนะที่เป็นกล่องกระดาษอยู่ สายการบินยังไม่ตัดสินใจว่า จะเปลี่ยนเป็นชานอ้อยด้วยหรือไม่ เอเอ็นเอเริ่มใช้ช้อนส้อมทำจากไม้และหลอดทำจากพลาสติกย่อยสลายได้ตั้งแต่ปี 2563 เดินหน้าลดขยะพลาสติกเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากการผลิตภาชนะพลาสติกและเผาทำลายขยะพลาสติก นายกรัฐมนตรีโยชิฮิเดะ ซูงะของญี่ปุ่นรับปากว่า จะบรรลุเป้าหมายปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซเรือนกระจกอื่น ๆ ให้เป็นศูนย์ภายในปี 2593 เริ่มจากลดการปล่อยก๊าซลงร้อยละ 46 ของปีงบประมาณสิ้นสุดเดือนมีนาคม 2556 ให้ได้ภายในปี 2573.-สำนักข่าวไทย

ASIAVISION : ชุบชีวิตเศษแก้วและพลาสติก

หนุ่มชาวเวียดนามใช้เวลาศึกษาเรื่องการรีไซเคิลอยู่หลายปี จนพบกระบวนการเปลี่ยนเศษพลาสติกและเศษแก้วให้เป็นของมีค่า แปลงเศษขยะให้กลายเป็นทรัพยากร

เด็กดื่มนมขวดอาจกินไมโครพลาสติกเข้าไปด้วย

ปารีส 20 ต.ค.- ผลการวิจัยใหม่เตือนว่า ทารกที่ดื่มนมจากขวดอาจได้รับไมโครพลาสติกเข้าไปด้วย ตอกย้ำอันตรายของผลิตภัณฑ์พลาสติกจำนวนมหาศาลที่ปะปนในอาหาร มีหลักฐานชัดเจนมากขึ้นว่าคนรับประทานไมโครพลาสติกที่แตกตัวจากพลาสติกชิ้นใหญ่ แต่ยังไม่มีงานวิจัยเรื่องผลกระทบต่อสุขภาพมากนัก คณะนักวิจัยในไอร์แลนด์เผยผลการศึกษาในวารสารเนเจอร์ฟูด วิเคราะห์อัตราที่ไมโครพลาสติกปล่อยออกมาจากขวดนมทารกหรือภาชนะผลิตจากโพลีโพรไพลีน หรือพีพี (PP) 10 ประเภทเป็นเวลา 21 วัน พบว่าขวดนมปล่อยไมโครพลาสติก 1.3-16.2 ล้านไมโครพาร์ติเคิลต่อลิตร จากนั้นนำไปสร้างแบบจำลองที่ทารกทั่วโลกจะได้รับไมโครพลาสติกจากการดื่มนมจากขวด อ้างอิงจากอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่โดยเฉลี่ยในระดับประเทศ ประเมินได้ว่า ทารกที่ดื่มนมจากขวดอาจได้รับไมโครพลาสติก 1.6 ล้านไมโครพาร์ติเคิลทุกวันในช่วง 12 เดือนแรกเกิด ผลการศึกษาพบด้วยว่า การฆ่าเชื้อและอุ่นด้วยน้ำร้อนมีผลต่อการปล่อยไมโครพลาสติกมากที่สุด จาก 0.6 ล้านพาร์ติเคิลต่อลิตรที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียสเป็น 55 ล้านพาร์ติเคิลต่อลิตรที่อุณหภูมิ 95 องศาเซลเซียส และพบว่าทารกในประเทศพัฒนาแล้วเสี่ยงได้รับมากที่สุดคือ 2.3 ล้านพาร์ติเคิลต่อวันในอเมริกาเหนือ และ 2.6 ล้านพาร์ติเคิลต่อวันในยุโรป เนื่องจากมีอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมมารดาต่ำกว่าประเทศกำลังพัฒนา คณะนักวิจัยยืนยันว่า ไม่ได้ต้องการทำให้พ่อแม่กังวลเรื่องไมโครพลาสติกจากขวดนม เพราะยังไม่ทราบผลกระทบทางสุขภาพและเป็นสิ่งที่กำลังเดินหน้าศึกษาอยู่ พร้อมกับแนะนำวิธีที่จะช่วยลดการปล่อยไมโครพลาสติกจากภาชนะพลาสติก เช่น ใช้น้ำเย็นฆ่าเชื้อแล้วล้างขวดนม เตรียมนมผงในภาชนะที่ไม่ใช่พลาสติกก่อนเทลงขวด.-สำนักข่าวไทย

กินอยู่ปลอดภัย : โควิด-19 ผลต่อโรดแมปเลิกใช้ 7 พลาสติก

รายงานพิเศษ “กินอยู่ปลอดภัย” วันนี้ คุณธันยมัย อนันตกรณีวัฒน์ นำประเด็นสถานการณ์โควิด-19 กับผลกระทบต่อการบังคับใช้นโยบายเลิกใช้โฟมและพลาสติก มาให้รับทราบกัน

KVIS ทดลองใช้เอนไซม์แบคทีเรียย่อยสลายพลาสติก

ทั่วโลกมีความพยายามแก้ปัญหา ขยะพลาสติก หลายแนวทาง หนึ่งในนั้น คือ นำจุลินทรีย์มาย่อยสลายพลาสติก ซึ่งโครงงานทดลองของโรงเรียนกำเนิดวิทย์ ที่กลุ่ม ปตท.ร่วมจัดตั้ง ก็พบว่าแบคทีเรียในดินย่อยพลาสติกได้ และกำลังต่อยอดการทดลอง

GPSC ตามติดยอดขายไฟลดลง

GPSC ตามติดยอดขายไฟฟ้าช่วงครึ่งปีหลัง ภายหลังครึ่งปีแรกลดลง พร้อมส่งเสริม เยาวชนประกวดนวัตกรรม เด็กไทยเจ๋งพัฒนาเเบตเตอรี่โดยใช้ถ่านกัมมันต์ที่ถูกฉายรังสี ผลิตจากข้าวเหนียว

หมอมาเลเซียทำหน้ากากเองขณะประเทศเสี่ยงเข้าระยะสาม

แพทย์หญิงในมาเลเซียคนหนึ่งซื้อพลาสติกจากร้านเครื่องเขียนมาทำหน้ากากป้องกันตนเอง เนื่องจากบุคลากรทางการแพทย์ที่เป็นแนวหน้า ขาดแคลนอุปกรณ์ป้องกัน

อินโดนีเซียเสนอให้เก็บภาษีเครื่องดื่มรสหวาน รถยนต์ก่อมลภาวะ และพลาสติก

อินโดนีเซียเสนอให้เก็บภาษีกับเครื่องดื่มที่มีรสหวาน พาหนะที่ปล่อยก๊าซาร์บอนไดออกไซด์ และถุงพลาสติก เพื่อควบคุมการบริโภค

ชัวร์ก่อนแชร์ : ถุงสปันบอนด์ไม่ใช่ถุงผ้า ทำจากพลาสติก จริงหรือ ?

สังคมออนไลน์แชร์ข้อมูลว่า “ถุงสปันบอนด์” แท้จริงไม่ใช่ “ถุงผ้า” แต่ทำมาจากพลาสติก สามารถกลายเป็นไมโครพลาสติกลงสู่แหล่งน้ำ เป็นอันตรายต่อสุขภาพและธรรมชาติได้ เรื่องนี้จริงหรือไม่ ? ติดตามจากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์

1 2 3 4 5 8
...