เมิร์คไฟเขียวแจกสูตรยา “โมลนูพิราเวียร์” ให้ประเทศยากจน

วอชิงตัน 29 ต.ค. – เมิร์ค แอนด์ โค บริษัทเวชภัณฑ์ของสหรัฐ เผยเมื่อวันพุธตามเวลาท้องถิ่นว่า ได้ลงนามในข้อตกลงด้านสิทธิบัตรยากับองค์การจัดการสิทธิบัตรยา (MPP) ที่ได้รับการสนับสนุนจากสหประชาชาติ หรือยูเอ็น เพื่อเปิดทางให้บริษัทยาในประเทศรายได้ต่ำถึงปานกลาง 105 ประเทศเข้าถึงยาโมลนูพิราเวียร์ เมิร์คและองค์การจัดการสิทธิบัตรยาระบุในแถลงการณ์ร่วมว่า บริษัทยาในประเทศรายได้ต่ำถึงปานกลาง 105 ประเทศสามารถยื่นเรื่องขอรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีผลิตยาโมลนูพิราเวียร์โดยไม่เสียค่าสิทธิบัตรตราบเท่าที่องค์การอนามัยโลกยังคงจัดให้การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 เป็นภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ อย่างไรก็ดี องค์การแพทย์ไร้พรมแดน หรือเอ็มเอสเอฟ ได้แสดงความผิดหวังเกี่ยวกับการให้สิทธิบัตรยาดังกล่าวอย่างจำกัดของเมิร์ค เนื่องจากไม่นับรวมประชากรอีกเกือบครึ่งหนึ่งของโลกและประเทศที่มีรายได้ปานกลางค่อนข้างสูงที่มีกำลังการผลิตยาสูง เช่น บราซิลและจีน ขณะนี้ สำนักงานอาหารและยาของสหรัฐ หรือเอฟดีเอ กำลังพิจารณาอนุมัติใช้ยาโมลนูพิราเวียร์เป็นกรณีฉุกเฉิน โดยที่ผลการทดลองทางคลินิกระบุว่า ยาดังกล่าวช่วยลดอัตราป่วยรุนแรงและเสียชีวิตได้ร้อยละ 50 ในกลุ่มผู้ป่วยโควิดที่ได้รับยาตั้งแต่เนิ่น ๆ.-สำนักข่าวไทย

มูลนิธิเกตส์บริจาคเงินช่วยชาติยากจนเข้าถึงยาโมลนูพิราเวียร์

วอชิงตัน 20 ต.ค. – มูลนิธิบิลและเมลินดา เกตส์ ประกาศวันนี้ว่า จะบริจาคเงิน 120 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (4 พันล้านบาท) เพื่อช่วยเหลือประเทศรายได้ต่ำให้ได้รับยาเม็ดต้านเชื้อโควิด หรือเป็นที่รู้จักกันในชื่อ ‘โมลนูพิราเวียร์’ ที่อยู่ในระหว่างการทดลองของเมิร์ค แอนด์ โค บริษัทเวชภัณฑ์ของสหรัฐ นางเมลินดา เกตส์ ประธานร่วมของมูลนิธิบิลและเมลินดา เกตส์ ระบุในแถลงการณ์ว่า มูลนิธิให้คำมั่นว่าจะทำให้ผู้คนในหลายประเทศเข้าถึงยาโมลนูพิราเวียร์มากขึ้น แต่เรื่องดังกล่าวคงไม่จบสิ้นเพียงเท่านี้ มูลนิธิต้องการให้ผู้บริจาครายอื่น ๆ เช่น องค์กรและรัฐบาล ลงมือแก้ไขปัญหานี้เช่นกัน ขณะนี้ เมิร์คกำลังพัฒนายาเม็ดต้านเชื้อโควิดร่วมกับริดจ์แบ็ก ไบโอเทราพิวติกส์ เพื่อรักษาผู้ป่วยติดเชื้อโควิดที่มีอาการป่วยเล็กน้อยถึงปานกลาง และได้ยื่นขออนุมัติใช้ยาดังกล่าวต่อหน่วยงานกำกับดูแลยาของสหรัฐในเดือนนี้ ขั้นตอนดังกล่าวมีขึ้นในขณะที่ประเทศรายได้ต่ำถึงปานกลางกำลังประสบปัญหาขาดแคลนวัคซีนป้องกันโรคโควิด โดยเฉพาะประเทศในทวีปแอฟริกาที่มีอัตราฉีดวัคซีนให้ประชาชนเพียงร้อยละ 5 ก่อนหน้านี้ สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานเมื่อวันอังคารว่า องค์การอนามัยโลกได้เตรียมจัดทำโครงการที่ช่วยให้ประเทศยากจนมีโอกาสเข้าถึงยาเม็ดต้านเชื้อโควิดในราคาคอร์สละ 10 ดอลลาร์สหรัฐ (330 บาท) สำหรับกลุ่มผู้ป่วยติดเชื้อที่มีอาการป่วยระดับปานกลาง โดยที่ยาโมลนูพิราเวียร์ที่เมิร์คกำลังพัฒนาขึ้นอาจเป็นหนึ่งในนั้น.-สำนักข่าวไทย

ธนาคารโลกหวังจีนบริจาคเงินเพิ่มช่วยประเทศยากจน

นายเดวิด มัลพาสส์ ประธานธนาคารโลก หรือเวิลด์แบงก์ กล่าวเมื่อวันพฤหัสบดีตามเวลาท้องถิ่นว่า เขาหวังว่าจีนจะเพิ่มยอดเงินบริจาคให้แก่กองทุนเพื่อประเทศยากจนของสมาคมการพัฒนาระหว่างประเทศ หรือไอดีเอ เนื่องจากเศรษฐกิจจีนเติบโตได้ดีในขณะนี้

WHO วอนประเทศรวยบริจาควัคซีนโควิดที่จะใช้เป็นเข็ม 3

องค์การอนามัยโลก (WHO) ชี้ยังไม่มีหลักฐานมากเพียงพอว่า จำเป็นต้องฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 เข็มที่ 3 เพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกัน และขอให้ประเทศร่ำรวยบริจาควัคซีนให้ประเทศยากจนที่ยังไม่ได้ฉีดวัคซีนให้ประชาชนเลย แทนการนำไปใช้เป็นเข็มที่ 3

จี 7 จะบริจาควัคซีนโควิด 1 พันล้านโดสให้ประเทศยากจน

นายกรัฐมนตรีบอริส จอห์นสัน ของอังกฤษคาดว่า กลุ่มประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำ 7 ประเทศของโลก หรือจี 7 จะตกลงบริจาควัคซีนโควิด-19 จำนวน 1,000 ล้านโดส ให้แก่ประเทศยากจน

อดีตผู้นำโลกขอกลุ่มจี 7 จ่ายวัคซีนโควิดให้ประเทศยากจน

ลอนดอน 7 มิ.ย. – อดีตประธานาธิบดี นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีต่างประเทศ 100 คน เรียกร้องให้กลุ่มประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำ 7 ประเทศ หรือจี 7 (G7) จ่ายค่าวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ทั่วโลก เพื่อช่วยหยุดยั้งการกลายพันธุ์ของเชื้อโควิดที่ทำให้เกิดภัยคุกคามไปทั่ว กลุ่มอดีตผู้นำระดับโลกได้ระบุในจดหมายที่ส่งถึงกลุ่มจี 7 ว่า ความร่วมมือระดับโลกล้มเหลวเมื่อปีก่อน แต่ในปีนี้อาจก้าวไปสู่ยุคใหม่ได้ การสนับสนุนจากกลุ่มจี 7 และจี 20 เพื่อทำให้ประเทศที่มีรายได้ต่ำถึงปานกลางเข้าถึงวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ไม่ใช่การกุศล แต่เป็นผลประโยชน์เชิงกลยุทธ์ของแต่ละประเทศมากกว่า ทั้งยังระบุว่า กลุ่มจี 7 และผู้นำประเทศอื่น ๆ ที่ได้รับเชิญให้เข้าร่วมการประชุมสุดยอดที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษในวันศุกร์นี้ ควรรับประกันว่าจะจ่ายเงินสูงสุดปีละ 30,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 93.6 ล้านล้านบาท) เป็นเวลาสองปีเพื่อรับมือกับการระบาดของโรคโควิด-19 ทั่วโลก ในบรรดาผู้นำที่ลงนามในจดหมายดังกล่าว ได้แก่ นายกอร์ดอน บราวน์ และนายโทนี แบลร์ อดีตนายกรัฐมนตรีอังกฤษ นายบัน […]

องค์การอนามัยโลกชี้ประเทศยากจนยังเข้าไม่ถึงวัคซีนโควิด

เจนีวา 23 เม.ย. – องค์การอนามัยโลกระบุว่า ประเทศยากจนยังคงเข้าไม่ถึงวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ในขณะที่องค์การอนามัยโลกก่อตั้งโครงการโคแวกซ์ครบรอบ 1 ปี ดร. ทีโดรส อัดฮานอม กีบรีเยซุส ผู้อำนวยการใหญ่องค์การอนามัยโลกกล่าวถึงโครงการส่งเสริมการเข้าถึงเครื่องมือในการรับมือกับโรคโควิด-19 (ACT) ที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อปีก่อนว่า ขณะนี้ทั่วโลกฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ไปเกือบ 900 ล้านโดส แต่วัคซีนกว่าร้อยละ 81 ได้รับการจัดส่งไปยังประเทศที่มีรายได้สูงหรือสูงกว่าระดับปานกลาง ขณะที่ประเทศที่มีรายได้ต่ำได้รับวัคซีนเพียงร้อยละ 0.3 ก่อนหน้านี้ ดร. ทีโดรสได้ตำหนิความไม่เท่าเทียมในการจัดส่งวัคซีนมาแล้วหลายครั้ง และเรียกร้องให้ประเทศร่ำรวยแบ่งปันวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ให้แก่ประเทศยากจน เพื่อนำไปฉีดเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ในขณะเดียวกัน โครงการโคแวกซ์ได้จัดส่งวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 จำนวน 40.5 ล้านโดสให้แก่ 118 ประเทศทั่วโลก และตั้งเป้าจัดหาวัคซีนให้ได้ราว 2,000 ล้านโดสภายในสิ้นปีหน้า นอกจากนี้ โครงการดังกล่าวกำลังหาแหล่งผลิตวัคซีนรายใหม่เพื่อเพิ่มการจัดส่งวัคซีนให้แก่ประเทศยากจน และบรรเทาปัญหาขาดแคลนวัคซีนของแอสตราเซเนกา ซึ่งเป็นวัคซีนหลักของโครงการและได้รับการผลิตในอินเดีย ขณะนี้ ทั่วโลกมีผู้เสียชีวิตจากโรคโควิด-19 กว่า 3 ล้านคนแล้ว.-สำนักข่าวไทย

ยูนิเซฟจะส่งวัคซีนโควิดให้ประเทศยากจนปีหน้า

องค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติหรือยูนิเซฟ (UNICEF) จะจัดส่งวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 เกือบ 2,000 ล้านโดสให้กลุ่มประเทศกำลังพัฒนาในปีหน้า

แนะการปล่อยให้เกิดภูมิต้านทานหมู่อาจเหมาะกับอินเดีย

ผู้เชี่ยวชาญบางคนแนะนำว่า การปล่อยให้เกิดภูมิต้านทานหมู่อาจเป็นวิธีรับมือกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ที่เหมาะสมกับประเทศยากจนแต่ประชากรเป็นคนหนุ่มสาวอย่างอินเดีย

สหรัฐตำหนิธนาคารโลกให้เงินกู้ประเทศร่ำรวยอย่างจีน

เจ้าหน้าที่คลังสหรัฐวิจารณ์ว่า ธนาคารโลกให้เงินกู้กับจีนซึ่งถือว่าเป็นประเทศร่ำรวยอยู่แล้ว และกระทบประเทศยากจนที่จำเป็นมากกว่า

...