โรงงานสิ่งทอบังกลาเทศปิดหลายร้อยแห่ง
โรงงานสิ่งทอในบังกลาเทศปิดทำการหลายร้อยแห่ง หลังจากคนงานใช้ความรุนแรงประท้วงเรียกร้องขอขึ้นค่าแรงเกือบ 3 เท่า
โรงงานสิ่งทอในบังกลาเทศปิดทำการหลายร้อยแห่ง หลังจากคนงานใช้ความรุนแรงประท้วงเรียกร้องขอขึ้นค่าแรงเกือบ 3 เท่า
ผู้สนับสนุนพรรคฝ่ายค้าน 2 พรรคของบังกลาเทศ จำนวนกว่า 100,000 คน เดินขบวนในกรุงธากา ในวันนี้ เพื่อเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีชีค ฮาสินา (Sheikh Hasina) ผู้นำหญิงลาออกจากตำแหน่ง และเปิดทางให้มีการเลือกตั้งอย่างเสรีและเป็นธรรมภายใต้รัฐบาลที่เป็นกลาง
ยอดผู้เสียชีวิตจากโรคไข้เลือดออกในบังกลาเทศทะลุเกิน 1,000 รายแล้ว นับตั้งแต่เกิดการระบาดของโรคนี้เมื่อต้นปีที่ผ่านมา นับเป็นการระบาดครั้งเลวร้ายที่สุดเป็นประว้ติการณ์ในบังกลาเทศ
ธากา 28 ก.ย.- บังกลาเทศแจ้งว่า มีผู้เสียชีวิตจากโรคไข้เลือดออกแล้วร่วม 1,000 คน ในช่วงไม่กี่สัปดาห์ นับเป็นการระบาดร้ายแรงที่สุดของประเทศเท่าที่เคยมีมา ปกติแล้วไข้เลือดออกเป็นโรคตามฤดูกาลในบังกลาเทศ แต่ฤดูมรสุมที่มีฝนตกหนักขึ้นและอากาศอุ่นขึ้นเพราะสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง เอื้อต่อการวางไข่แพร่พันธุ์ของยุงลาย ซึ่งเป็นพาหะนำเชื้อไวรัสเดงกี่ที่เป็นสาเหตุของไข้เลือดออก ทำให้โรคเกิดบ่อยครั้งขึ้น นับตั้งแต่พบการระบาดครั้งแรกในปี 2563 เจ้าหน้าที่สาธารณสุขเผยว่า การระบาดระลอกปัจจุบันรุนแรงเกินกว่าที่เจ้าหน้าที่จะรับมือไหว เพราะเป็นเชื้อไวรัสสายพันธุ์ที่รุนแรงขึ้น โดยตั้งข้อสังเกตว่า ผู้ป่วยไข้เลือดออกในขณะนี้มีอาการทรุดลงเร็วกว่าผู้ป่วยเมื่อไม่กี่ปีก่อน และในช่วง 2 เดือนมานี้มีผู้ป่วยเสียชีวิตมากถึงวันละ 20 คน องค์การอนามัยโลกระบุว่า มีรายงานพบไข้เลือดออกระบาดในทั้ง 64 เขตของบังกลาเทศ จำนวนผู้ป่วยล้นโรงพยาบาล จนขาดแคลนน้ำเกลือที่จำเป็นต่อการรักษาผู้ป่วยที่มักเกิดภาวะขาดน้ำ ทางการบังกลาเทศรณรงค์ให้ประชาชนตื่นตัวเรื่องการกำจัดแหล่งน้ำขังที่ยุงใช้วางไข่ แต่ผู้เชี่ยวชาญเตือนว่า ผู้เกี่ยวข้องอาจคิดว่าไข้เลือดออกเป็นโรคที่เกิดขึ้นชั่วคราว จึงไม่มีการวางมาตรการระยะยาวหรือมาตรการที่มีประสิทธิภาพ.-สำนักข่าวไทย
สหรัฐจะจัดสรรเงินช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมเพิ่มเติมให้แก่เมียนมาและบังกลาเทศ เพิ่มอีก 116 ล้านดอลลาร์ เพื่อนำไปช่วยเหลือผู้ลี้ภัยชาวโรฮีนจา
อุบัติเหตุรถโดยสารลื่นไถลตกบ่อข้างถนนในบังกลาเทศ มีผู้เสียชีวิตกว่า 20 ราย และบาดเจ็บกว่า 40 คน
ธากา 7 มิ.ย.- บังกลาเทศสั่งปิดโรงเรียนประถมศึกษาจำนวนมาก เนื่องจากกำลังเผชิญกับคลื่นความร้อนยาวนานที่สุดในรอบ 50 ปี และต้องดับไฟฟ้าเป็นวงกว้าง ซ้ำเติมความเดือดร้อนของประชาชน อุณหภูมิในกรุงธากาของบังกลาเทศร้อนแตะ 40 องศาเซลเซียส เจ้าหน้าที่สำนักอุตุนิยมวิทยาบังกลาเทศเผยว่า บังกลาเทศไม่เคยเผชิญกับคลื่นความร้อนยาวนานเช่นในขณะนี้มาก่อน นับตั้งแต่ได้รับเอกราชในปี 2514 คลื่นความร้อนเริ่มเกิดขึ้นตั้งแต่เดือนเมษายนจนถึงต้นเดือนพฤษภาคม จากนั้นได้บรรเทาลง ก่อนกลับมารุนแรงขึ้นอีกในช่วงปลายเดือน บังกลาเทศเกิดคลื่นความร้อนในทุกฤดูร้อนอยู่แล้ว โดยมักเกิดขึ้นเพียงไม่กี่วันหรือเพียงสัปดาห์เดียว แต่ปีนี้เกิดขึ้นยาวนาน 2 สัปดาห์แล้ว และจะมีแนวโน้มจะต่อเนื่องไปจนถึงสุดสัปดาห์นี้ รัฐบาลบังกลาเทศสั่งปิดโรงเรียนประถมศึกษาหลายหมื่นโรง และสั่งลดกำลังผลิตไฟฟ้าลงอย่างมาก แม้ว่ามีความต้องการใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นมาก เพราะประชาชนต้องเปิดเครื่องปรับอากาศและพัดลมบรรเทาความร้อน ส่วนเมื่อวันจันทร์ทางการได้สั่งงดเดินเครื่องโรงไฟฟ้าใหญ่ที่สุดของประเทศ เนื่องจากไม่มีเงินซื้อถ่านหินที่เป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า สกุลเงินตากาของบังกลาเทศอ่อนค่าลงร้อยละ 25 เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐตั้งแต่ปี 2565 ทำให้การนำเข้าเชื้อเพลิงและอุปกรณ์ในการผลิตไฟฟ้ามีราคาแพงขึ้น ขณะที่โรงไฟฟ้าที่มีอยู่ก็ผลิตไฟฟ้าได้น้อยกว่าความต้องการ ทำให้ต้องมีการดับไฟนานหลายชั่วโมง.-สำนักข่าวไทย
พายุไซโคลนโมคา พัดถล่มเมียนมาและบังกลาเทศ วานนี้ สร้างความเสียหายไม่มากนัก แต่ สตอร์มเซิร์จ ทำระบบสื่อสารถูกตัดขาดเป็นวงกว้าง
เทคนาฟ 14 พ.ค.- สำนักงานอุตุนิยมวิทยาบังกลาเทศแจ้งว่า ไซโคลนโมคา (Mocha) ได้ขึ้นฝั่งพรมแดนบังกลาเทศ-เมียนมาแล้วในวันนี้ ทำให้ต้นไม้ล้มและมีฝนตกในพื้นที่ที่มีผู้ลี้ภัยโรฮีนจาอาศัยอยู่ร่วมล้านคน สำนักงานฯ แจ้งว่า ไซโคลนมีความเร็วลมสูงสุด 195 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ขึ้นฝั่งในพื้นที่ที่อยู่ระหว่างเมืองค็อกซ์บาซาร์ของบังกลาเทศกับเมืองซิตตเว รัฐยะไข่ของเมียนมา ก่อนหน้านี้ศูนย์เตือนภัยไต้ฝุ่นร่วมสหรัฐแจ้งว่า ไซโคลนมีความเร็วลมสูงสุด 140 นอตหรือ 259 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เทียบเท่าเฮอริเคนระดับ 5 ชายชาวโรฮีนจาวัย 28 ปีที่ลี้ภัยอยู่ในบังกลาเทศเผยว่า ที่พักในค่ายผู้ลี้ภัยสร้างด้วยผ้าใบกันน้ำและไม้ไผ่ เพียงแค่ถูกลมพัดเบา ๆ ก็เสียหายแล้ว ส่วนโรงเรียนที่ใช้เป็นที่หลบภัยไซโคลนก็ไม่แข็งแรงมากพอที่จะต้านทานแรงลมได้ ทำให้ทุกคนรู้สึกหวาดกลัว ด้านชาวโรฮีนจาที่อยู่ในค่ายผู้พลัดถิ่นในเมืองซิตตเวเผยว่า เริ่มมีลมพัดแรงตั้งแต่เช้าและแรงขึ้นเรื่อย ๆ บ้านพักในค่ายพังเสียหาย หลังคาของที่หลบภัยซึ่งสร้างโดยสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติหรือยูเอ็นเอชซีอาร์ (UNHCR) ถูกลมพัดปลิวหาย บังกลาเทศเคยถูกไซโคลนซิดร์ (Sidr) พัดถล่มทางตอนใต้ในเดือนพฤศจิกายน 2550 คร่าชีวิตคนไปมากกว่า 9,000 คน สร้างความเสียหายมูลค่ามหาศาล ขณะที่เมียนมาเคยถูกไซโคลนนาร์กิส (Nargis) พัดถล่มบริเวณสันดอนแม่น้ำอิรวดีในปี 2551 คร่าชีวิตคนไปมากถึง 138,000 คน.-สำนักข่าวไทย
ประชาชนตามแนวชายฝั่งทะเลของเมียนมาและบังกลาเทศนับแสนคนเร่งอพยพหาที่หลบภัย หลังคาดว่าอิทธิพลของพายุโมคาจะทำให้เกิดฝนตกหนัก ลมพัดแรง และดินถล่ม
ค็อกซ์บาซาร์ 14 พ.ค.- เจ้าหน้าที่พยากรณ์ว่า ไซโคลนโมคา (Mocha) จะขึ้นฝั่งพื้นที่ที่อยู่ระหว่างเมืองค็อกซ์บาซาร์ของบังกลาเทศกับเมืองซิตตเว รัฐยะไข่ของเมียนมาราวเวลา 13:30 น.วันนี้ตามเวลาไทย เว็บไซต์ซูมเอิร์ธ (Zoom Earth) รายงานว่า ไซโคลนโมคามีความเร็วลมสูงสุด 240 กิโลเมตรต่อชั่วโมง จัดเป็นซูเปอร์ไซโคลน ทางการบังกลาเทศอพยพคน 190,000 คนในเมืองค็อกซ์บาซาร์และอีก 100,000 คนในเมืองจิตตะกองไปยังพื้นที่ปลอดภัย เมืองค็อกซ์บาซาร์เป็นที่ตั้งของค่ายผู้ลี้ภัยจำนวนมากที่มีชาวโรฮีนจาลี้ภัยอยู่ร่วมล้านคน ค่ายเหล่านี้ตั้งอยู่ตามเชิงเขาที่เสี่ยงเกิดดินถล่ม และสร้างขึ้นอย่างลวก ๆ ด้วยผ้าใบกันน้ำและไม้ไผ่ เพราะทางการเกรงว่าหากสร้างถาวรผู้ลี้ภัยจะไม่เดินทางกลับเมียนมา หลังจากหนีมาตั้งแต่ 5 ปีก่อน ด้านชาวโรฮีนจาที่อาศัยอยู่ในค่ายผู้พลัดถิ่นในเมืองซิตตเว รัฐยะไข่ ทางตะวันตกสุดของเมียนมาก็เสี่ยงภัยจากไซโคลนโมคาเช่นกัน แกนนำในค่ายเผยว่า ทางการไม่ได้อพยพพวกเขาไปยังสถานที่ปลอดภัย โดยจัดหาให้เพียงอาหารและสิ่งจำเป็นเท่านั้น พวกเขากังวลว่าจะตกอยู่ในอันตรายหากระดับน้ำในแม่น้ำเพิ่มสูงขึ้น ขณะที่ชาวเมืองซิตตเวพากันอพยพขึ้นสู่ที่สูงตั้งแต่วันเสาร์ เพราะมีคำพยากรณ์เตือนว่า อาจเกิดคลื่นพายุซัดฝั่งหรือสตอร์มเซิร์จสูงถึง 3.5 เมตร ด้านนครย่างกุ้งที่อยู่ห่างออกไป 500 กิโลเมตรมีฝนตกและลมแรงแล้วในวันนี้ ไซโคลนเป็นพายุหมุนเขตร้อนที่เกิดขึ้นในมหาสมุทรอินเดียด้านทะเลอันดามันและอ่าวเบงกอล เทียบเท่ากับไต้ฝุ่นที่เกิดขึ้นทางตะวันตกเฉียงเหนือของมหาสมุทรแปซิฟิก และเฮอริเคนที่เกิดขึ้นทางเหนือของมหาสมุทรแอตแลนติก.-สำนักข่าวไทย
นิวยอร์ก 13 พ.ค.- หน่วยงานที่เกี่ยวข้องของสหประชาชาติหรือยูเอ็น (UN) กำลังเตรียมพร้อมรับมือกับภัยพิบัติที่จะเกิดขึ้นจากการที่ไซโคลนโมคา (Mocha) จะพัดถล่มบังกลาเทศและเมียนมาราวเที่ยงวันอาทิตย์นี้ องค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐานหรือไอโอเอ็ม (IOM) แจ้งว่า ไซโคลนโมคากำลังมุ่งหน้าตรงไปยังค่ายผู้ลี้ภัยในบังกลาเทศ เจ้าหน้าที่ไอโอเอ็มเผยจากเมืองค็อกบาซาร์ที่มีผู้ลี้ภัยชาวโรฮีนจาเกือบล้านคนอาศัยตามค่ายต่าง ๆ เผยว่า บังกลาเทศมีแผนความเตรียมพร้อมขนานใหญ่ไว้แล้ว โดยมีไอโอเอ็มเข้าร่วมด้วย ค่ายผู้ลี้ภัยแต่ละค่ายจะมีอาสาสมัครที่ผ่านการฝึกอบรมแล้วคอยดูแล 100 คน และมีการใช้ระบบเตือนภัยด้วยธงในค่ายผู้ลี้ภัย 17 แห่งที่ไอโอเอ็มดูแลอยู่ อาสาสมัครทุกคนมีชุดอุปกรณ์ป้องกันตัวส่วนบุคคล และมีการจัดเตรียมชุดสุขอนามัยและอุปกรณ์ที่พักฉุกเฉินไว้พร้อม ด้านองค์การอนามัยโลกแจ้งว่า ได้เตรียมพร้อมรถฉุกเฉิน 40 คัน และทีมแพทย์เคลื่อนที่ 33 ทีมไว้ที่ค็อกซ์บาซาร์แล้ว เช่นเดียวกับสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งยูเอ็นหรือยูเอ็นเอชซีอาร์ (UNHCR) ที่ได้จัดเตรียมอาหารแห้ง 230 ตัน และบิสกิตเสริมสารอาหาร 24.5 ตัน รวมทั้งเตรียมพร้อมจัดส่งอาหารร้อนวันละ 50,000 ชุดในกรณีที่จำเป็น ด้านสำนักงานมนุษยธรรมยูเอ็นแจ้งว่า ชุมชนในเมียนมาได้รับแจ้งให้เตรียมตัวรับมือไซโคลนโมคา และมีการประกาศใช้แผนเตรียมพร้อมรับมือเหตุฉุกเฉินด้านมนุษยธรรมทั่วทั้งเมียนมาแล้วตั้งแต่ต้นสัปดาห์ องค์กรมนุษยธรรมต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรัฐยะไข่ได้ตระเตรียมบุคลากรและสิ่งจำเป็นเท่าที่สามารถหาได้ ปัจจุบันมีคนในรัฐยะไข่และภาคตะวันตกเฉียงเหนือของเมียนมาต้องการความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมมากถึง 6 ล้านคน และมีคนพลัดถิ่นประมาณ 1 ล้าน […]