ชัวร์ก่อนแชร์ Keyword : BRANDYCHOICER ? — ยิ่งเสิร์ชข้อมูล ยิ่งป่วยร้ายแรง

25 พฤษภาคม 2567 สิ่งนี้…เป็นความกังวลจากการวินิจฉัยโรคให้ตนเอง ผ่านข้อมูลที่ค้นหาบนโลกออนไลน์ และเคยมีงานวิจัยจากบริษัท Microsoft พบว่า กว่า 70% ของคนที่มีอาการอย่าง สิ่งนี้ มักค้นหาข้อมูลที่ร้ายแรงขึ้นในอนาคต คือคำว่าอะไร ? มาร่วมไขคำตอบของคำปริศนากัน ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ อาจารย์ ธาม เชื้อสถาปนศิริ อาจารย์ประจำสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล สัมภาษณ์เมื่อ : 13 พฤษภาคม 2567 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : จิรัชยา นวลนิ่มน้อย และ จิราภา อ่อนเกลี้ยง

ชัวร์ก่อนแชร์ : เบียร์มีคุณประโยชน์เหมือนน้ำสมุนไพร จริงหรือ ?

26 พฤษภาคม 2567 – บนโซเชียลมีการแชร์ว่าเบียร์มีคุณประโยชน์หลากหลายอย่าง จัดเป็นน้ำสมุนไพร ควรดื่มวันละ 1-2 แก้ว บทสรุป : จริงบางส่วน ไม่ควรแชร์ ⚠️ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ผศ.ดร.กฤษกมล ณ จอม อาจารย์ภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สัมภาษณ์เมื่อ : 22 ธันวาคม 2566 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : ตาบอดกลางคืน

23 พฤษภาคม 2567 – ตาบอดกลางคืนเกิดจากสาเหตุใด เป็นอันตรายหรือไม่ และจะมีวิธีการรักษาอย่างไร ต่อไปนี้คือข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศาสตราจารย์วุฒิคุณ นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย สัมภาษณ์เมื่อ : 30 เมษายน 2567ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย :  พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ Motor Check : สาเหตุเครื่องยนต์สั่น กระตุก จริงหรือ ?

21 พฤษภาคม 2567 – บนสังคมออนไลน์มีการแชร์สาเหตุที่ทำให้เครื่องยนต์สั่น กระตุก และรอบเครื่องยนต์ไม่นิ่งเช่น หัวฉีดสกปรก และ คอยล์จุดระเบิดเสื่อมสภาพ บทสรุป : แชร์ได้ อธิบายเพิ่ม ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ สุรมิส เจริญงาม นักทดสอบและผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยียานยนต์ สัมภาษณ์เมื่อ 20 พฤษภาคม 2567 ตรวจสอบข้อเท็จจริง โดย ณัฐพล อินทร์สวัสดิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST : 5 เรื่องฮิต สารพัดอาหารก่อมะเร็ง จริงหรือ ?

22 พฤษภาคม 2567 – บนโซเชียลมีการแชร์เกี่ยวกับสารพัดอาหารก่อมะเร็ง ทั้งการกินผลไม้เป็นประจำจะทำให้เป็นมะเร็งตับ และการกินปลานิลเลี้ยง เสี่ยงมะเร็งถึง 10 เท่า ?! ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศ.ดร.นพ.อิศรางค์ นุชประยูร คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผศ.ดร. กนิฐพร วังใน อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน เรณุกา นิธิบุณยบดี รรท.หน.กลุ่มตรวตสอบคุณภาพทางจุลินทรีย์ กรมประมง ตะวัน มีสอาด เกษตรกรผู้เลี้ยงปลานิล อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี พรชัย บัวประดิษฐ์ ประธานสหกรณ์ผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชลบุรี แสงเดือน นาคสุวรรณ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด เขต 7 กรมประมง ภก.ประพนธ์ อางตระกูล อดีตรองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา รศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศ.พิเศษ นพ.ธีรวุฒิ คูหะเปรมะ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลวัฒโนสถ โรงพยาบาลมะเร็งกรุงเทพ ดร.มลฤดี […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : ตาเขม่น หรือตากระตุก

17 พฤษภาคม 2567 – ตาเขม่นคืออะไร เกิดจากสาเหตุใด และจะมีวิธีการรักษาอย่างไร ต่อไปนี้คือข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศาสตราจารย์วุฒิคุณ นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย สัมภาษณ์เมื่อ 30 เมษายน 2567 ตรวจสอบข้อเท็จจริง โดย พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ Keyword : MRISPEOATNOIN ? — กลโกงยอดฮิต มิจฉาชีพมักทำ

18 พฤษภาคม 2567  สิ่งนี้… คือ การแอบอ้าง หรือการปลอมตัวเป็นบุคคลอื่น และ สิ่งนี้…ถูกใช้เป็นวิธีการหลอกของมิจฉาชีพ ที่เคยสร้างความเสียหายจากสถิติแจ้งความออนไลน์กว่า 4 ร้อยล้านบาท คือคำว่าอะไร ? มาร่วมไขคำตอบของคำปริศนากัน ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ พลอากาศตรี อมร ชมเชย เลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ สัมภาษณ์เมื่อ : 15 มีนาคม 2567ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : จิรัชยา นวลนิ่มน้อย และ จิราภา อ่อนเกลี้ยง

ชัวร์ก่อนแชร์ : เป็นมะเร็ง ห้ามนวด จริงหรือ ?

19 พฤษภาคม 67 – บนโซเชียลแชร์เตือนว่า ผู้ที่เป็นมะเร็ง หากไปนวด จะทำให้มะเร็งแพร่กระจายมากขึ้น เพราะเลือดมีการไหลเวียนมากขึ้น สรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ต่อ ❌ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศ.ดร.นพ.อิศรางค์ นุชประยูร คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สัมภาษณ์เมื่อ : 17 พฤษภาคม 2567 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์

โจรปลอมเอกสาร AIS อ้างยกเลิกเบอร์ พัวพันกับเว็บพนัน l ชัวร์ก่อนแชร์ CyberAlert!🚨

17 พฤษภาคม 2567 เว็บไซต์และเพจเฟซบุ๊ก AIS ประกาศเตือนระวังมิจฉาชีพปลอมแปลงเอกสารบริษัท ยืนยัน ! ไม่มีนโยบายแจ้งการดำเนินธุรกรรมเกี่ยวกับเลขหมายทุกรูปแบบ ในทุกช่องทาง จากกรณีที่ลูกค้าได้รับเอกสารแจ้งเตือนการยกเลิกสัญญา เนื่องจากมีการกล่าวอ้างว่าหมายเลขดังกล่าวได้การเข้าไปพัวพันกับการพนันออนไลน์และนำข้อมูลอันเป็นเท็จเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์และจะถูกระงับการใช้งานภายใน 2 ชั่วโมง ซึ่งเอกสารดังกล่าวมีการแอบอ้างโดยใช้แบบฟอร์มและลงนามโดยผู้บริหารจาก AIS ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายให้แก่ลูกค้า นั้น AIS จึงขอแจ้งเตือนลูกค้า และประชาชน อย่าหลงเชื่อกลุ่มมิจฉาชีพที่ปลอมแปลงเอกสาร หรือ ข้อความที่ส่งต่อ โดยขอยืนยันว่า บริษัทไม่มีนโยบายในการส่งเอกสาร หรือ ข้อความในทุกช่องทาง ให้ดำเนินธุรกรรมเกี่ยวกับเลขหมายในทุกรูปแบบ รวมถึงจะไม่มีการทัก หรือ ติดต่อลูกค้าไปในทุกช่องทางเช่นกัน ดังนั้นหากพบเจอ เอกสาร หรือ ข้อความ ในลักษณะดังกล่าว สามารถแจ้งมาได้ที่ AIS Spam Report Center 1185 ฟรี ตลอด 24 ชั่วโมง ทีมข่าวไซเบอร์ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ผู้สื่อข่าว : เสาวภาคย์ รัตนพงศ์

ชัวร์ก่อนแชร์ : ประโยชน์ของมะเขือเปราะ จริงหรือ ?

16 พฤษภาคม 2567 – บนโซเชียลมีการแชร์มะเขือเปราะ เป็นพืชผักสมุนไพร มีประโยชน์ รับประทานบ่อย ๆ ช่วยบำรุงหัวใจ ลดไข้และความดันโลหิต ลดการอักเสบ และที่สำคัญยังช่วยลดน้ำหนักได้ บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ แพทย์แผนไทยคมสัน ทินกร ณ อยุธยา รองคณบดี วิทยาลัยแพทย์ตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต แพทย์แผนไทยปฏิบัติการ คลินิกการแพทย์แผนไทย มรว.สอาดทินกร สัมภาษณ์เมื่อ : 8 พฤศจิกายน 2566 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST : 5 เรื่องฮิต วิธีกำจัดยุง จริงหรือ ?

15 พฤษภาคม 2567 – บนโซเชียลมีการแชร์เกี่ยวกับสารพัดวิธีไล่ยุง ทั้งใช้น้ำสบู่ น้ำส้มสายชู น้ำตาลทราย ผสมกันช่วยไล่ยุงได้ อีกทั้งให้ใช้น้ำมันงา ทาตัว ยุงกลัวหายห่วง ?! ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศ.นพ.ดร.เผด็จ สิริยะเสถียร หัวหน้าภาควิชาปรสิตวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดร.มณฑาทิพย์ คงมี ภาควิชากีฏวิทยา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์

ระวัง ! เพจปลอมอ้างธนาคารกรุงเทพหลอกปล่อยสินเชื่อ l ชัวร์ก่อนแชร์ CyberAlert!🚨

15 พฤษภาคม 2567 เพจเฟซบุ๊กของธนาคารกรุงเทพ ประกาศเตือนเพจเฟซบุ๊กปลอมและโฆษณาปลอม แอบอ้างเป็นธนาคารกรุงเทพ โดยใช้โลโก้ธนาคารและตั้งชื่อเพจให้คล้ายกับชื่อธนาคารหรือสื่อถึงธนาคาร หลอกปล่อยสินเชื่อ ชี้จุดสังเกตเพจเฟซบุ๊กของแท้ ต้องใช้ชื่อ “Bangkok Bank” สะกดถูกต้องทุกตัวอักษร และมีเครื่องหมายถูกสีฟ้าต่อท้ายชื่อเท่านั้น ธนาคารกรุงเทพ เปิดศูนย์รับแจ้งเหตุเพื่อผู้ประสบภัยทางการเงินที่ได้รับผลกระทบจากมิจฉาชีพ ลูกค้าธนาคารที่ได้รับความเสียหายหรือต้องการความช่วยเหลือ สามารถติดต่อได้ที่ โทร 1333 หรือ 02-645-5555 กด *3 ตลอด 24 ชั่วโมง ทีมข่าวไซเบอร์ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ผู้สื่อข่าว : เสาวภาคย์ รัตนพงศ์

1 7 8 9 10 11 199
...